โดย...นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคที่เริ่มเดินหน้าเต็มตัวในปี 2545 ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อระบบสุขภาพและการรักษาโรคแก่คนไทยเกือบทุกคน ในท่ามกลางความเจริญทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทุกคนควรต้องมีหลักประกันสุขภาพเพราะค่าใช้จ่ายทางการแพทย์นั้นแพงมาก แม้แต่เศรษฐีก็ยังอาจล้มละลายได้ และเมื่อคนไทยกว่า 99% มีหลักประกันสุขภาพ ภาวะเสี่ยงต่อการล้มละลายก็มาอยู่ในมือของโรงพยาบาลรัฐ โดยเฉพาะโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กในชนบทระบบโรงพยาบาลรัฐของประเทศไทยโดยเป้าหมายไม่ได้มีไว้เพื่อการทำกำไร แต่โรงพยาบาลก็ต้องบริหารให้มีรายได้มากกว่ารายจ่าย ให้มียาใช้ครบถ้วนตลอดปี มีเงินจ่ายค่าน้ำค่าไฟ มีเงินจ่ายเงินเดือนเจ้าหน้าที่ มีเงินจ่ายค่าซ่อมอุปกรณ์ค่าน้ำมันค่าอาหารผู้ป่วยและสารพัดรายจ่ายให้เพียงพอ
โรงพยาบาลของรัฐมีรายได้หลักๆ สองทาง คือ หนึ่งจากเงินจากระบบประกันสุขภาพต่างๆ ที่อาจจะจัดสรรมาล่วงหน้าหรือจัดมาทีหลังหลังตามรายการที่โรงพยาบาลได้ให้บริการไปแล้ว งบประมาณก้อนนี้ค่อนข้างจะคงที่ เพราหลักเกณฑ์การจัดสรรในแต่ละปีนั้นไม่ต่างกันมากนัก ก้อนที่สองคือเงินที่เก็บโดยตรงจากผู้ป่วย ซึ่งขึ้นกับนโยบายของโรงพยาบาลนั้นๆ ว่า จะกำหนดเงื่อนไขโยนภาระให้ผู้ป่วยแบกรับมากน้อยแค่ไหน เงินทั้งสองก้อนนี้จะรวมเป็นเงินในกระเป๋าเดียวกันเรียกว่า “เงินบำรุง” ซึ่งหมายความว่า สามารถใช้จ่ายได้จิปาถะตามระเบียบราชการค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เพิ่มจากเทคโนโลยีและค่ายาค่าวัสดุที่แพงขึ้นเท่านั้น แต่รายจ่ายส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นมาจากวัฒนธรรมการบริหารแบบกระทรวงสาธารณสุขด้วย กล่าวคือ การกำหนดนโยบายใหม่ๆหรือแนวปฏิบัติใหม่ๆ ออกมาก็มักจะระบุว่าให้เบิกจ่ายจากเงินบำรุง เช่น นโยบายขึ้นเงินเดือนลูกจ้าง นโยบายการจ่ายค่าตอบแทนแบบ P4P นโยบายการรณรงค์พ่นหมอกควันป้องกันไข้เลือดออกเป็นต้น ล้วนแต่สั่งให้ใช้จากเงินบำรุงโดยไม่ได้มีการส่งงบประมาณมาสมทบ หรือหากส่งมาก็เพียงบางส่วน โรงพยาบาลก็ต้องใช้เงินบำรุงรับภาระไปด้วยภาวะบีบคั้นทางงบประมาณที่จำกัด แต่ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงและหลีกเลี่ยงที่จะไม่ใช้ไม่จ่ายได้ยาก ดังนั้นรายจ่ายที่พอจะลดได้ประหยัดได้ก่อน จึงเป็นรายจ่ายด้านการส่งเสริมสุขภาพ ลดรายจ่ายที่เกี่ยวกับขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่ งดส่งอบรมพัฒนาความรู้ ลดบริการที่ลดแล้วไม่ถูกตำหนิเช่นลดการเยี่ยมบ้าน ลดการตรวจเลือด ลดเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการลง ลดการซื้อเครื่องมือแพทย์ ลดการก่อสร้างต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพบริการไม่มากก็น้อย และส่งผลต่อการพัฒนาทำให้เกิดการชะงักงัน โรงพยาบาลสีตก ผ้าม่านเก่า มุ้งลวดขาด เจ้าหน้าที่ไม่พอ คิวตรวจยาว พื้นที่คับแคบ และที่สำคัญคือการเสียภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลของรัฐเมื่อเทียบกับโรงพยาบาลเอกชน
ในปัจจุบันมีโรงพยาบาลชุมชนกว่า 200 แห่ง จาก 750 แห่งที่มีภาวะขาดทุนเรื้อรังมาหลายปีจนการพัฒนาหยุดชะงัก ซึ่งหากเป็นเอกชนก็ล้มละลายไปแล้ว และอีกกว่า 400 แห่งที่กำลังมีรายจ่ายสูงขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับรายได้ และจะเข้าสู่ภาวะขาดทุน เพราะใช้เงินบำรุงที่เก่าเก็บมายาวนานจนจะหมดสิ้นแล้ว เงิน 55 ล้านบาทที่ซื้อไอแพดแจก ส.ส./ส.ว.นั้น สามารถใช้เป็นค่ายาสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลจะนะได้นานถึง 5 ปี เงินอีก 15 ล้านที่ซื้อนาฬิกา 200 เรือนแขวนทั่วรัฐสภานั้น ใช้เป็นค่าใช้จ่ายทุกอย่างของโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กได้เกือบปี ประเทศไทยไม่ใช่ไม่มีงบประมาณ แต่รัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไม่สนใจแก้ไขปัญหาหนี้สินและการขาดทุนสะสมของโรงพยาบาลชุมชน คนที่รับกรรมที่แท้จริงก็คือประชาชนโดยเฉพาะคนชนบทและคนจนเมือง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขส่งเสริมเมดิคัลฮับ ให้โรงพยาบาลเอกชนรับผู้ป่วยต่างชาติมาดูแลทำกำไร แต่กลับปล่อยให้โรงพยาบาลของรัฐด้อยพัฒนาเพราะงบประมาณมีไม่พอ แบบนี้น่าจะเอาออกไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ให้คนที่เขามีความสามารถมีความตั้งใจจริงมาทำหน้าที่แทนจะดีกว่าไหม โรงพยาบาลชุมชนกำลังถูกทำให้ล้มละลายทั้งประเทศด้วยมือของรัฐบาลเอง
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคที่เริ่มเดินหน้าเต็มตัวในปี 2545 ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อระบบสุขภาพและการรักษาโรคแก่คนไทยเกือบทุกคน ในท่ามกลางความเจริญทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทุกคนควรต้องมีหลักประกันสุขภาพเพราะค่าใช้จ่ายทางการแพทย์นั้นแพงมาก แม้แต่เศรษฐีก็ยังอาจล้มละลายได้ และเมื่อคนไทยกว่า 99% มีหลักประกันสุขภาพ ภาวะเสี่ยงต่อการล้มละลายก็มาอยู่ในมือของโรงพยาบาลรัฐ โดยเฉพาะโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กในชนบทระบบโรงพยาบาลรัฐของประเทศไทยโดยเป้าหมายไม่ได้มีไว้เพื่อการทำกำไร แต่โรงพยาบาลก็ต้องบริหารให้มีรายได้มากกว่ารายจ่าย ให้มียาใช้ครบถ้วนตลอดปี มีเงินจ่ายค่าน้ำค่าไฟ มีเงินจ่ายเงินเดือนเจ้าหน้าที่ มีเงินจ่ายค่าซ่อมอุปกรณ์ค่าน้ำมันค่าอาหารผู้ป่วยและสารพัดรายจ่ายให้เพียงพอ
โรงพยาบาลของรัฐมีรายได้หลักๆ สองทาง คือ หนึ่งจากเงินจากระบบประกันสุขภาพต่างๆ ที่อาจจะจัดสรรมาล่วงหน้าหรือจัดมาทีหลังหลังตามรายการที่โรงพยาบาลได้ให้บริการไปแล้ว งบประมาณก้อนนี้ค่อนข้างจะคงที่ เพราหลักเกณฑ์การจัดสรรในแต่ละปีนั้นไม่ต่างกันมากนัก ก้อนที่สองคือเงินที่เก็บโดยตรงจากผู้ป่วย ซึ่งขึ้นกับนโยบายของโรงพยาบาลนั้นๆ ว่า จะกำหนดเงื่อนไขโยนภาระให้ผู้ป่วยแบกรับมากน้อยแค่ไหน เงินทั้งสองก้อนนี้จะรวมเป็นเงินในกระเป๋าเดียวกันเรียกว่า “เงินบำรุง” ซึ่งหมายความว่า สามารถใช้จ่ายได้จิปาถะตามระเบียบราชการค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เพิ่มจากเทคโนโลยีและค่ายาค่าวัสดุที่แพงขึ้นเท่านั้น แต่รายจ่ายส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นมาจากวัฒนธรรมการบริหารแบบกระทรวงสาธารณสุขด้วย กล่าวคือ การกำหนดนโยบายใหม่ๆหรือแนวปฏิบัติใหม่ๆ ออกมาก็มักจะระบุว่าให้เบิกจ่ายจากเงินบำรุง เช่น นโยบายขึ้นเงินเดือนลูกจ้าง นโยบายการจ่ายค่าตอบแทนแบบ P4P นโยบายการรณรงค์พ่นหมอกควันป้องกันไข้เลือดออกเป็นต้น ล้วนแต่สั่งให้ใช้จากเงินบำรุงโดยไม่ได้มีการส่งงบประมาณมาสมทบ หรือหากส่งมาก็เพียงบางส่วน โรงพยาบาลก็ต้องใช้เงินบำรุงรับภาระไปด้วยภาวะบีบคั้นทางงบประมาณที่จำกัด แต่ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงและหลีกเลี่ยงที่จะไม่ใช้ไม่จ่ายได้ยาก ดังนั้นรายจ่ายที่พอจะลดได้ประหยัดได้ก่อน จึงเป็นรายจ่ายด้านการส่งเสริมสุขภาพ ลดรายจ่ายที่เกี่ยวกับขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่ งดส่งอบรมพัฒนาความรู้ ลดบริการที่ลดแล้วไม่ถูกตำหนิเช่นลดการเยี่ยมบ้าน ลดการตรวจเลือด ลดเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการลง ลดการซื้อเครื่องมือแพทย์ ลดการก่อสร้างต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพบริการไม่มากก็น้อย และส่งผลต่อการพัฒนาทำให้เกิดการชะงักงัน โรงพยาบาลสีตก ผ้าม่านเก่า มุ้งลวดขาด เจ้าหน้าที่ไม่พอ คิวตรวจยาว พื้นที่คับแคบ และที่สำคัญคือการเสียภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลของรัฐเมื่อเทียบกับโรงพยาบาลเอกชน
ในปัจจุบันมีโรงพยาบาลชุมชนกว่า 200 แห่ง จาก 750 แห่งที่มีภาวะขาดทุนเรื้อรังมาหลายปีจนการพัฒนาหยุดชะงัก ซึ่งหากเป็นเอกชนก็ล้มละลายไปแล้ว และอีกกว่า 400 แห่งที่กำลังมีรายจ่ายสูงขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับรายได้ และจะเข้าสู่ภาวะขาดทุน เพราะใช้เงินบำรุงที่เก่าเก็บมายาวนานจนจะหมดสิ้นแล้ว เงิน 55 ล้านบาทที่ซื้อไอแพดแจก ส.ส./ส.ว.นั้น สามารถใช้เป็นค่ายาสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลจะนะได้นานถึง 5 ปี เงินอีก 15 ล้านที่ซื้อนาฬิกา 200 เรือนแขวนทั่วรัฐสภานั้น ใช้เป็นค่าใช้จ่ายทุกอย่างของโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กได้เกือบปี ประเทศไทยไม่ใช่ไม่มีงบประมาณ แต่รัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไม่สนใจแก้ไขปัญหาหนี้สินและการขาดทุนสะสมของโรงพยาบาลชุมชน คนที่รับกรรมที่แท้จริงก็คือประชาชนโดยเฉพาะคนชนบทและคนจนเมือง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขส่งเสริมเมดิคัลฮับ ให้โรงพยาบาลเอกชนรับผู้ป่วยต่างชาติมาดูแลทำกำไร แต่กลับปล่อยให้โรงพยาบาลของรัฐด้อยพัฒนาเพราะงบประมาณมีไม่พอ แบบนี้น่าจะเอาออกไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ให้คนที่เขามีความสามารถมีความตั้งใจจริงมาทำหน้าที่แทนจะดีกว่าไหม โรงพยาบาลชุมชนกำลังถูกทำให้ล้มละลายทั้งประเทศด้วยมือของรัฐบาลเอง