ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ตั้งแต่สมัยโบราณ การทำความสะอาดของลำไส้มีอยู่ 2 วิธี ได้แก่ การใช้ยาฉีดสวนทวารหนัก (enema) และยาถ่าย (Catharitics) ชาวอินเดียแดงใช้ยาถ่ายที่ทำจากสมุนไพรผสมกับยา แต่เครื่องมือที่พบนั้นใช้สำหรับการสวนทวารและการให้อาหารผ่านทางหลอดเลือด มีหลักฐานอันเก่าแก่ระบุว่า ชาวอียิปต์มีทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ด้วยของเหลวสำหรับการสวนทวารหลายชนิดทั้งน้ำดีจากวัว โดยในแต่ละเดือนมีการสวนทวาร 3 วันติดต่อกันเพื่อป้องกันโรคที่อาจเกี่ยวเนื่องกับอาหาร
ในราวปี พ.ศ. 739 ฉางจุงฉิน ผู้เป็นบิดาแห่งการแพทย์ของจีน ได้บันทึกเอาไว้ว่า เขาชอบใช้วิธีการสวนทวารมากกว่าการกินยาถ่าย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะวิธีนี้สะดวกรวดเร็วและได้ผลดีกว่า คำว่า enema นี้มาจากภาษากรีก แปลว่า "ส่งเข้า" เพราะชาวกรีกโบราณนิยมสวนทวารด้วยของเหลวพื้นคือน้ำเกลือ ซึ่งการใช้น้ำเกลือก็สอดคล้องกับการล้างลำไส้ในแพทย์แผนปัจจุบัน
แม้แต่ในยุโรปก็เคยมีการใช้สวนทวารล้างลำไส้ในการบำบัดรักษาโรคในศตวรรษที่ 18 อีกด้วย แต่เมื่อเวลาผ่านไปดูเหมือนว่ามนุษย์จะใช้ยาถ่ายที่มีความสะดวกมากกว่า
แต่ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ทำกันมานาน แต่เป็นความลำบากใจของผู้ที่เข้าหลักสูตรล้างพิษตับจำนวนไม่น้อยและทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญที่ยังไม่กล้าเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อล้างพิษนั้นก็คือ ความหวาดกลัวกับการการสวนทวารแล้วเอาน้ำเข้าไปล้างลำไส้ที่เรียกว่าอีนีม่า (Enema) ซึ่งคนไทยนิยมเรียกว่าการดีท็อกซ์ (Detox)แทน เหตุก็เพราะว่าสมัยก่อนที่จะมีหลักสูตรล้างพิษตับนั้นมีความเชื่อว่าการใช้น้ำกาแฟในการสวนทวารล้างลำไส้นั้นสามารถกระตุ้นในตับขับพิษออกมาได้ แต่ต่อมาอาจมีคนท้วงติงฤทธิ์คาเฟอีนที่อาจมีผลเสียที่ลำไส้มีการดูดกลับด้วย จึงเห็นว่าน่าจะใช้น้ำอุ่นมากกว่าโดยเฉพาะน้ำที่มีฤทธิ์ด่างในการสวนทวารล้างลำไส้
จนเกิดคำถามมาจำนวนไม่น้อยว่าไม่สวนทวารล้างลำไส้ได้ไหม?
คำตอบคือ "ได้เหมือนกัน" ... แต่อาจก่อผลร้ายตามมาได้ด้วยในระหว่างการล้างพิษ เพราะเมื่อพิจารณาดูแล้วตัวอย่างกรณีการล้างพิษตับที่ไต้หวันเมื่อใช้เอนไซม์ผงที่ใช้ในการล้างลำไส้แล้วก็ไม่ได้มีการใช้ดีเกลือหรือการสวนล้างแต่ประการใด แต่เมื่อมีการทดลองโดยผมซึ่งเดินทางไปล้างพิษตับกับพลตรีจำลอง ศรีเมือง และคณะที่ไปทดลองล้างพิษตับที่ไต้หวันแล้ว ก็รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว บางคนปวดหัว บางคนอ่อนเพลีย เพราะพิษที่ออกมาจากตับซึ่งระหว่างเดินทางออกจากลำไส้นั้นใช้เวลานานทำให้ลำไส้มีการดูดสารพิษที่ขับออกมาจากตับ ดังนั้นหากไม่มีการสวนล้างแล้วปล่อยให้มีการถ่ายตามธรรมชาติด้วยยาถ่ายก็อาจจะต้องยอมรับในการดูดกลับของสารพิษเหล่านี้บางส่วนด้วย ส่งผลทำให้การขับสารพิษออกมาได้น้อยกว่าการสวนล้างลำไส้ เพราะถ้าใช้การสวนทวารล้างลำไส้เข้าช่วยแล้วก็จะช่วยกระตุ้นทำให้การนำพิษออกจากลำไส้เร็วขึ้น
โดยเฉพาะภายหลังการดื่มน้ำมันมะกอกแล้วต้องบอกเลยว่า หากไม่มีการสวนทวารล้างลำไส้แล้ว ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจากตับนั้นอาจไม่ได้ออกมาตามเวลาที่เรากำหนดเอาไว้เช่น 06.00 น. หรือ ในเวลา 10.00 - 10.30 น. นั่นหมายความว่าสารพิษที่ละลายในไขมันอาจอยู่ในลำไส้ที่ดูดกลับนานกว่าปกติ
การสวนทวารล้างลำไส้จึงเปรียบเสมือนการแข่งกับเวลาว่าพิษที่ออกมาจากตับนั้น กลไกไหนจะเร็วกว่ากันระหว่าง "การขับถ่ายพิษออก" หรือ "การที่ลำไส้ดูดพิษกลับ" ดังนั้นการสวนล้างลำไส้จึงเป็นวิธีที่กระตุ้นที่เร่งการขับพิษให้ออกจากร่างกายให้เร็วที่สุด
เรายังพบปัญหาของคนจำนวนมากว่าระหว่างการล้างพิษตับ ผู้ที่ได้รับผลกระทบเช่นน้ำเหลืองไหล ผื่นพิษขึ้น ลมพิษ ฯลฯ มักจะเกิดกับคนที่ขาดวินัยในการสวนล้างลำไส้ตามกำหนดระยะเวลาโดยเฉพาะในช่วงเช้าที่ต้องทำก่อน 7.00 น. ในทางตรงกันข้ามเมื่อเกิดอาการปวดหัวในระหว่างล้างพิษ หรือ เกิดลมพิษในระหว่างการอดอาหารก็มักจะพบว่าอาการเหล่านี้จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อมีการสวนทวารล้างลำไส้
มีความกังวลอยู่ไม่น้อยเกี่ยวกับการติดเชื้อจากการสวนทวารล้างลำไส้ ซึ่งความจริงแล้วก็ไม่ใช่เรื่องยากก็เพียงแค่ทำความสะอาดขวดและสายยางซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการสวนล้างให้สะอาดก็ใช้ได้แล้ว
บางคนก็มีความกังวลว่าการสวนทวารล้างลำไส้นั้นเป็นการฝืนกลไกการทำงานปกติของลำไส้หรือไม่ จนทำให้พฤติกรรมเราเปลี่ยนแปลงไปไม่สามารถขับถ่ายเองได้ แต่ความจริงแล้วการสวนล้างในช่วงล้างพิษนั้นเป็นการทำความสะอาดลำไส้ที่เราไม่เคยทำมาก่อน และเป็นการเร่งเอาสารพิษและกากอาหารที่หมักหมมอยู่นาน หรือพิษที่ถูกขับออกมาจากตับให้ออกจากลำไส้ให้เร็วที่สุดในเวลาที่กำหนด ดังนั้นหากพ้นจากหลักสูตรไปแล้วก็ให้ทำการสวนทวารล้างลำไส้หลังจากขับถ่ายปกติเสร็จสิ้นก่อน เพื่อให้กลไกการขับถ่ายเป็นปกติ และให้ถือการสวนทวารล้างลำไส้เป็นขั้นตอนทำความสะอาดลำไส้เพิ่มเติม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการล้างลำไส้แล้วในช่วงแรกในลำไส้อาจมีแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อลำไส้น้อยอยู่ ดังนั้นจึงได้มีการแนะนำให้มีการสวนล้างลำไส้เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ในช่วง 7 วันแรก บางคนประมาทไม่ได้ทำการสวนล้างก็สามารถพบอาการผื่นขึ้น ปวดศีรษะ น้ำเหลืองปะทุ ฯลฯ หลังออกจากหลักสูตรล้างพิษตับได้ด้วยเช่นกัน
มีคำถามว่าการสวนทวารล้างลำไส้นั้นควรใช้น้ำอะไรดีที่สุด คำตอบคือน้ำอุ่นที่ไม่ใช่น้ำประปา น้ำที่ถือว่าเหมาะสมที่สุดในการสวนทวารล้างลำไส้คือน้ำที่ทำจากเครื่องทำน้ำด่างที่ผ่านกระบวนการ Water Ioinizer เบอร์สูงสุดผสมน้ำร้อนเล็กน้อยพออุ่น โมเลกุลของน้ำจะละเอียดมาก ทำให้แรงตึงผิวต่ำ สามารถทำปฏิกิริยากับสารพิษซึ่งส่วนใหญ่ออกฤทธิ์เป็นกรด มีประสิทธิภาพทำให้น้ำกับน้ำมันเป็นเนื้อเดียวกันได้ จึงน่าจะเป็นน้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะที่สุดในการล้างลำไส้ในเวลานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหลักสูตรล้างพิษตับได้เลือกใช้น้ำมันมะกอกในการกระตุ้นให้ตับขับน้ำดีและสารพิษที่ละลายในไขมันออกมาได้ตรงประเด็นกว่า การใช้กาแฟเพื่อวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นตับจึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป
แต่ถ้าสมมุติว่าไม่มีเครื่องทำน้ำด่างที่ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้หัวเชื้อน้ำด่างผสมกับน้ำก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน แม้ว่าหัวเชื้อน้ำด่างจะไม่ได้ค่า ORP (Oxidation Reduction Potential) ที่มีค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าเป็นประจุลบที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเหมือนกับเครื่องทำน้ำด่าง แต่ก็ยังมีค่า pH เมื่อผสมกับน้ำตามสัดส่วนแล้วอาจได้ประมาณ 9.0ถือว่า ยังดีกว่าการใช้น้ำธรรมดาทั่วไป ทั้งนี้พึงระวังว่าหัวเชื้อน้ำด่างล้วนๆไม่สามารถนำมาสวนล้างได้ เพราะอาจเกิดการกัดผนังลำไส้อย่างรุนแรงต่างจากน้ำด่างที่ทำจากเครื่อง Water Ionizer ดังนั้นการใช้หัวเชื้อน้ำด่างจำต้องใช้ผสมน้ำตามสัดส่วนที่กำหนดเอาไว้ในสลากเท่านั้น
และถ้าสมมุติว่าไม่มีหัวเชื้อน้ำด่างก็แนะนำน้ำดื่มแร่ยี่ห้อมิเนเร่ ค่า pH 8.71 ซึ่งจะมีค่าความเป็นด่างสูงกว่าน้ำดื่มทั่วไป แม้จะด้อยกว่าหัวเชื้อน้ำด่าง แต่ก็ยังดีกว่าการสวนล้างด้วยน้ำธรรมดาทั่วไป
แต่สำหรับผู้ที่เชื่อในแนวทางปัสสาวะบำบัดก็จะใช้น้ำปัสสาวะในการสวนทวารล้างลำไส้ ก็มีผลลัพธ์ของการสวนล้างได้มีประสิทธิภาพมากๆ เช่นกัน
มีบางคนอาจมีอาการเหมือนจะเป็นลม หรืออาเจียน ในระหว่างการสวนล้าง จากการสำรวจพบว่าคนเหล่านี้ใช้ปริมาณน้ำมากไป ซึ่งลำไส้ที่ไม่สะอาดนั้นอาจมีแก๊สอยู่มากดังนั้นการอัดน้ำเข้าไปในลำไส้จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดแรงอัดจนกระทั่งเกิดความอึดอัดขึ้นได้ ดังนั้นให้ใช้น้ำตามสภาพของลำไส้ของแต่ละคน สำหรับคนที่มีสภาพดังกล่าวก็สามารถป้องกันความเสี่ยงโดยอาจแบ่งน้ำออกเป็น 3 ส่วน คือ ครั้งที่หนึ่ง 500 ซีซี แล้วขับถ่ายหนึ่งครั้ง ครั้งที่สอง 500 ซีซี แล้วขับถ่ายเป็นครั้งที่สอง และครั้งที่สามอีก 500 ซีซี ก็อาจปลอดภัยกว่า แต่สำหรับคนที่มีประสบการณ์แล้วอาจใช้น้ำได้ถึง 700 ถึง 1,200 ซีซี และสำหรับบางคนก็อาจใช้ได้ถึง 1,500 ซีซี ดังนั้นปริมาณน้ำที่ใช้สวนล้างของแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน และอาจเหมาะกับสภาพของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
และเมื่อน้ำเข้าไปในลำไส้แล้วความสามารถในการอั้นเอาไว้เพื่อให้เกิดการล้างลำไส้ของแต่ละคนก็คงไม่เท่ากัน ตามความเชื่อของหลายคนเชื่อว่าการอั้นไว้ได้นาน 12-15 นาที น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด แต่ความจริงแล้วก็ไม่จำเป็นเสมอไปขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดั้งนั้นสรุปว่าอั้นไว้เท่าที่จะทนได้
ข้อสำคัญที่สุดการขับถ่ายหลายครั้งจากยาถ่าย เช่น เอนไซม์ ยาชำระเมือกมัน ดีเกลือ หากปล่อยให้มีการขับถ่ายตามธรรมชาติ อาจทำให้ต้องขับถ่ายหลายครั้งแบบกระปริดกระปรอย นอกจากจะสร้างความรำคาญแล้ว ยังจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและแสบได้ ดังนั้นการใช้น้ำสวนทวารล้างลำไส้จึงเป็นหนทางในการลดจำนวนครั้งของการถ่ายลงเพราะเป็นการเร่งดึงการขับถ่ายให้ออกมาในคราวเดียว ซึ่งจะทำให้ลดจำนวนครั้งของการขับถ่ายลง และลดความอึดอัดในการขับถ่ายระหว่างการล้างลำไส้ได้ด้วย
ในทัศนะของผมเองแล้วจึงแนะนำว่าการสวนทวารล้างลำไส้ยังมีความเหมาะสมและจำเป็นอยู่สำหรับการล้างพิษตับ เพราะทำให้กระบวนการล้างพิษตับนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ตั้งแต่สมัยโบราณ การทำความสะอาดของลำไส้มีอยู่ 2 วิธี ได้แก่ การใช้ยาฉีดสวนทวารหนัก (enema) และยาถ่าย (Catharitics) ชาวอินเดียแดงใช้ยาถ่ายที่ทำจากสมุนไพรผสมกับยา แต่เครื่องมือที่พบนั้นใช้สำหรับการสวนทวารและการให้อาหารผ่านทางหลอดเลือด มีหลักฐานอันเก่าแก่ระบุว่า ชาวอียิปต์มีทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ด้วยของเหลวสำหรับการสวนทวารหลายชนิดทั้งน้ำดีจากวัว โดยในแต่ละเดือนมีการสวนทวาร 3 วันติดต่อกันเพื่อป้องกันโรคที่อาจเกี่ยวเนื่องกับอาหาร
ในราวปี พ.ศ. 739 ฉางจุงฉิน ผู้เป็นบิดาแห่งการแพทย์ของจีน ได้บันทึกเอาไว้ว่า เขาชอบใช้วิธีการสวนทวารมากกว่าการกินยาถ่าย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะวิธีนี้สะดวกรวดเร็วและได้ผลดีกว่า คำว่า enema นี้มาจากภาษากรีก แปลว่า "ส่งเข้า" เพราะชาวกรีกโบราณนิยมสวนทวารด้วยของเหลวพื้นคือน้ำเกลือ ซึ่งการใช้น้ำเกลือก็สอดคล้องกับการล้างลำไส้ในแพทย์แผนปัจจุบัน
แม้แต่ในยุโรปก็เคยมีการใช้สวนทวารล้างลำไส้ในการบำบัดรักษาโรคในศตวรรษที่ 18 อีกด้วย แต่เมื่อเวลาผ่านไปดูเหมือนว่ามนุษย์จะใช้ยาถ่ายที่มีความสะดวกมากกว่า
แต่ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ทำกันมานาน แต่เป็นความลำบากใจของผู้ที่เข้าหลักสูตรล้างพิษตับจำนวนไม่น้อยและทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญที่ยังไม่กล้าเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อล้างพิษนั้นก็คือ ความหวาดกลัวกับการการสวนทวารแล้วเอาน้ำเข้าไปล้างลำไส้ที่เรียกว่าอีนีม่า (Enema) ซึ่งคนไทยนิยมเรียกว่าการดีท็อกซ์ (Detox)แทน เหตุก็เพราะว่าสมัยก่อนที่จะมีหลักสูตรล้างพิษตับนั้นมีความเชื่อว่าการใช้น้ำกาแฟในการสวนทวารล้างลำไส้นั้นสามารถกระตุ้นในตับขับพิษออกมาได้ แต่ต่อมาอาจมีคนท้วงติงฤทธิ์คาเฟอีนที่อาจมีผลเสียที่ลำไส้มีการดูดกลับด้วย จึงเห็นว่าน่าจะใช้น้ำอุ่นมากกว่าโดยเฉพาะน้ำที่มีฤทธิ์ด่างในการสวนทวารล้างลำไส้
จนเกิดคำถามมาจำนวนไม่น้อยว่าไม่สวนทวารล้างลำไส้ได้ไหม?
คำตอบคือ "ได้เหมือนกัน" ... แต่อาจก่อผลร้ายตามมาได้ด้วยในระหว่างการล้างพิษ เพราะเมื่อพิจารณาดูแล้วตัวอย่างกรณีการล้างพิษตับที่ไต้หวันเมื่อใช้เอนไซม์ผงที่ใช้ในการล้างลำไส้แล้วก็ไม่ได้มีการใช้ดีเกลือหรือการสวนล้างแต่ประการใด แต่เมื่อมีการทดลองโดยผมซึ่งเดินทางไปล้างพิษตับกับพลตรีจำลอง ศรีเมือง และคณะที่ไปทดลองล้างพิษตับที่ไต้หวันแล้ว ก็รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว บางคนปวดหัว บางคนอ่อนเพลีย เพราะพิษที่ออกมาจากตับซึ่งระหว่างเดินทางออกจากลำไส้นั้นใช้เวลานานทำให้ลำไส้มีการดูดสารพิษที่ขับออกมาจากตับ ดังนั้นหากไม่มีการสวนล้างแล้วปล่อยให้มีการถ่ายตามธรรมชาติด้วยยาถ่ายก็อาจจะต้องยอมรับในการดูดกลับของสารพิษเหล่านี้บางส่วนด้วย ส่งผลทำให้การขับสารพิษออกมาได้น้อยกว่าการสวนล้างลำไส้ เพราะถ้าใช้การสวนทวารล้างลำไส้เข้าช่วยแล้วก็จะช่วยกระตุ้นทำให้การนำพิษออกจากลำไส้เร็วขึ้น
โดยเฉพาะภายหลังการดื่มน้ำมันมะกอกแล้วต้องบอกเลยว่า หากไม่มีการสวนทวารล้างลำไส้แล้ว ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจากตับนั้นอาจไม่ได้ออกมาตามเวลาที่เรากำหนดเอาไว้เช่น 06.00 น. หรือ ในเวลา 10.00 - 10.30 น. นั่นหมายความว่าสารพิษที่ละลายในไขมันอาจอยู่ในลำไส้ที่ดูดกลับนานกว่าปกติ
การสวนทวารล้างลำไส้จึงเปรียบเสมือนการแข่งกับเวลาว่าพิษที่ออกมาจากตับนั้น กลไกไหนจะเร็วกว่ากันระหว่าง "การขับถ่ายพิษออก" หรือ "การที่ลำไส้ดูดพิษกลับ" ดังนั้นการสวนล้างลำไส้จึงเป็นวิธีที่กระตุ้นที่เร่งการขับพิษให้ออกจากร่างกายให้เร็วที่สุด
เรายังพบปัญหาของคนจำนวนมากว่าระหว่างการล้างพิษตับ ผู้ที่ได้รับผลกระทบเช่นน้ำเหลืองไหล ผื่นพิษขึ้น ลมพิษ ฯลฯ มักจะเกิดกับคนที่ขาดวินัยในการสวนล้างลำไส้ตามกำหนดระยะเวลาโดยเฉพาะในช่วงเช้าที่ต้องทำก่อน 7.00 น. ในทางตรงกันข้ามเมื่อเกิดอาการปวดหัวในระหว่างล้างพิษ หรือ เกิดลมพิษในระหว่างการอดอาหารก็มักจะพบว่าอาการเหล่านี้จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อมีการสวนทวารล้างลำไส้
มีความกังวลอยู่ไม่น้อยเกี่ยวกับการติดเชื้อจากการสวนทวารล้างลำไส้ ซึ่งความจริงแล้วก็ไม่ใช่เรื่องยากก็เพียงแค่ทำความสะอาดขวดและสายยางซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการสวนล้างให้สะอาดก็ใช้ได้แล้ว
บางคนก็มีความกังวลว่าการสวนทวารล้างลำไส้นั้นเป็นการฝืนกลไกการทำงานปกติของลำไส้หรือไม่ จนทำให้พฤติกรรมเราเปลี่ยนแปลงไปไม่สามารถขับถ่ายเองได้ แต่ความจริงแล้วการสวนล้างในช่วงล้างพิษนั้นเป็นการทำความสะอาดลำไส้ที่เราไม่เคยทำมาก่อน และเป็นการเร่งเอาสารพิษและกากอาหารที่หมักหมมอยู่นาน หรือพิษที่ถูกขับออกมาจากตับให้ออกจากลำไส้ให้เร็วที่สุดในเวลาที่กำหนด ดังนั้นหากพ้นจากหลักสูตรไปแล้วก็ให้ทำการสวนทวารล้างลำไส้หลังจากขับถ่ายปกติเสร็จสิ้นก่อน เพื่อให้กลไกการขับถ่ายเป็นปกติ และให้ถือการสวนทวารล้างลำไส้เป็นขั้นตอนทำความสะอาดลำไส้เพิ่มเติม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการล้างลำไส้แล้วในช่วงแรกในลำไส้อาจมีแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อลำไส้น้อยอยู่ ดังนั้นจึงได้มีการแนะนำให้มีการสวนล้างลำไส้เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ในช่วง 7 วันแรก บางคนประมาทไม่ได้ทำการสวนล้างก็สามารถพบอาการผื่นขึ้น ปวดศีรษะ น้ำเหลืองปะทุ ฯลฯ หลังออกจากหลักสูตรล้างพิษตับได้ด้วยเช่นกัน
มีคำถามว่าการสวนทวารล้างลำไส้นั้นควรใช้น้ำอะไรดีที่สุด คำตอบคือน้ำอุ่นที่ไม่ใช่น้ำประปา น้ำที่ถือว่าเหมาะสมที่สุดในการสวนทวารล้างลำไส้คือน้ำที่ทำจากเครื่องทำน้ำด่างที่ผ่านกระบวนการ Water Ioinizer เบอร์สูงสุดผสมน้ำร้อนเล็กน้อยพออุ่น โมเลกุลของน้ำจะละเอียดมาก ทำให้แรงตึงผิวต่ำ สามารถทำปฏิกิริยากับสารพิษซึ่งส่วนใหญ่ออกฤทธิ์เป็นกรด มีประสิทธิภาพทำให้น้ำกับน้ำมันเป็นเนื้อเดียวกันได้ จึงน่าจะเป็นน้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะที่สุดในการล้างลำไส้ในเวลานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหลักสูตรล้างพิษตับได้เลือกใช้น้ำมันมะกอกในการกระตุ้นให้ตับขับน้ำดีและสารพิษที่ละลายในไขมันออกมาได้ตรงประเด็นกว่า การใช้กาแฟเพื่อวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นตับจึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป
แต่ถ้าสมมุติว่าไม่มีเครื่องทำน้ำด่างที่ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้หัวเชื้อน้ำด่างผสมกับน้ำก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน แม้ว่าหัวเชื้อน้ำด่างจะไม่ได้ค่า ORP (Oxidation Reduction Potential) ที่มีค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าเป็นประจุลบที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเหมือนกับเครื่องทำน้ำด่าง แต่ก็ยังมีค่า pH เมื่อผสมกับน้ำตามสัดส่วนแล้วอาจได้ประมาณ 9.0ถือว่า ยังดีกว่าการใช้น้ำธรรมดาทั่วไป ทั้งนี้พึงระวังว่าหัวเชื้อน้ำด่างล้วนๆไม่สามารถนำมาสวนล้างได้ เพราะอาจเกิดการกัดผนังลำไส้อย่างรุนแรงต่างจากน้ำด่างที่ทำจากเครื่อง Water Ionizer ดังนั้นการใช้หัวเชื้อน้ำด่างจำต้องใช้ผสมน้ำตามสัดส่วนที่กำหนดเอาไว้ในสลากเท่านั้น
และถ้าสมมุติว่าไม่มีหัวเชื้อน้ำด่างก็แนะนำน้ำดื่มแร่ยี่ห้อมิเนเร่ ค่า pH 8.71 ซึ่งจะมีค่าความเป็นด่างสูงกว่าน้ำดื่มทั่วไป แม้จะด้อยกว่าหัวเชื้อน้ำด่าง แต่ก็ยังดีกว่าการสวนล้างด้วยน้ำธรรมดาทั่วไป
แต่สำหรับผู้ที่เชื่อในแนวทางปัสสาวะบำบัดก็จะใช้น้ำปัสสาวะในการสวนทวารล้างลำไส้ ก็มีผลลัพธ์ของการสวนล้างได้มีประสิทธิภาพมากๆ เช่นกัน
มีบางคนอาจมีอาการเหมือนจะเป็นลม หรืออาเจียน ในระหว่างการสวนล้าง จากการสำรวจพบว่าคนเหล่านี้ใช้ปริมาณน้ำมากไป ซึ่งลำไส้ที่ไม่สะอาดนั้นอาจมีแก๊สอยู่มากดังนั้นการอัดน้ำเข้าไปในลำไส้จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดแรงอัดจนกระทั่งเกิดความอึดอัดขึ้นได้ ดังนั้นให้ใช้น้ำตามสภาพของลำไส้ของแต่ละคน สำหรับคนที่มีสภาพดังกล่าวก็สามารถป้องกันความเสี่ยงโดยอาจแบ่งน้ำออกเป็น 3 ส่วน คือ ครั้งที่หนึ่ง 500 ซีซี แล้วขับถ่ายหนึ่งครั้ง ครั้งที่สอง 500 ซีซี แล้วขับถ่ายเป็นครั้งที่สอง และครั้งที่สามอีก 500 ซีซี ก็อาจปลอดภัยกว่า แต่สำหรับคนที่มีประสบการณ์แล้วอาจใช้น้ำได้ถึง 700 ถึง 1,200 ซีซี และสำหรับบางคนก็อาจใช้ได้ถึง 1,500 ซีซี ดังนั้นปริมาณน้ำที่ใช้สวนล้างของแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน และอาจเหมาะกับสภาพของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
และเมื่อน้ำเข้าไปในลำไส้แล้วความสามารถในการอั้นเอาไว้เพื่อให้เกิดการล้างลำไส้ของแต่ละคนก็คงไม่เท่ากัน ตามความเชื่อของหลายคนเชื่อว่าการอั้นไว้ได้นาน 12-15 นาที น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด แต่ความจริงแล้วก็ไม่จำเป็นเสมอไปขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดั้งนั้นสรุปว่าอั้นไว้เท่าที่จะทนได้
ข้อสำคัญที่สุดการขับถ่ายหลายครั้งจากยาถ่าย เช่น เอนไซม์ ยาชำระเมือกมัน ดีเกลือ หากปล่อยให้มีการขับถ่ายตามธรรมชาติ อาจทำให้ต้องขับถ่ายหลายครั้งแบบกระปริดกระปรอย นอกจากจะสร้างความรำคาญแล้ว ยังจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและแสบได้ ดังนั้นการใช้น้ำสวนทวารล้างลำไส้จึงเป็นหนทางในการลดจำนวนครั้งของการถ่ายลงเพราะเป็นการเร่งดึงการขับถ่ายให้ออกมาในคราวเดียว ซึ่งจะทำให้ลดจำนวนครั้งของการขับถ่ายลง และลดความอึดอัดในการขับถ่ายระหว่างการล้างลำไส้ได้ด้วย
ในทัศนะของผมเองแล้วจึงแนะนำว่าการสวนทวารล้างลำไส้ยังมีความเหมาะสมและจำเป็นอยู่สำหรับการล้างพิษตับ เพราะทำให้กระบวนการล้างพิษตับนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น