นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ระบุ จะขอพบเพื่อทาบทามให้เข้าร่วมสภาปฏิรูปการเมือง ตามที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลภาพรวมในเรื่องนี้จาก นายกรัฐมนตรี ว่า ตนยังยืนยันจุดยืนเดิม แต่หากมาพูดคุย ก็จะเรียนตรงๆ เกี่ยวกับที่มาของปัญหาที่เกิดจากรัฐบาล และรัฐบาลต้องเป็นผู้ปลดความขัดแย้ง พร้อมมองว่า ควรเอาเวลาไปแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนก่อน อย่างเช่น เรื่องราคายางที่รัฐบาลประกาศแนวทางจะไม่แทรกแซงกลไกตลาด ทั้งที่สามารถทำได้
ทั้งนี้ หากจะดำเนินแนวทางการปฏิรูป ก็ควรเอาผลการศึกษาการปฏิรูปประเทศที่มี นายอานันท์ ปันยารชุน และ นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธานมาใช้ ส่วนที่นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า ตนยอมลดเงื่อนไขในการคุยรัฐบาล จากการถอน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เหลือเพียงการชะลอร่างนั้น ยืนยันว่า ตนได้ระบุเงื่อนไขนี้มากว่า 2 สัปดาห์แล้ว สิ่งที่นายอลงกรณ์ระบุ เป็นการอ้างอิงจากสิ่งที่ตนเคยพูดไว้ แต่นายกรัฐมนตรี และรัฐบาล ปฏิเสธแนวทางดังกล่าว โดยระบุว่าไม่ต้องพูดถึงอดีต ให้พูดถึงอนาคต ทั้งที่เกี่ยวเนืองกันว่า ต้นเหตุเกิดจากอะไร ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยปิดประตูตายในเรื่องนี้
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ยืนยันว่าตนจะไม่เข้าร่วมสภาปฏิรูปการเมือง เพราะไม่เชื่อว่าจะนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาให้กับคนในรัฐบาล ที่กำลังทำตัวเป็นปัญหามากกว่า
พร้อมกันนี้ อยากฝากไปยังรัฐบาลว่า ควรปฏิรูปคนในรัฐบาลก่อน เพราะย่อมรู้ดีว่าปัญหาบ้านเมืองเกิดจากอะไร และควรมีความจริงใจ หรือตั้งใจจริงในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ของพวกพ้อง
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยถึงการเตรียมนัดพูดคุยแกนนำกลุ่มมวลชนที่ร่วมต่อต้านระบอบทักษิณ ประมาณ 10 กลุ่มในช่วงต้นเดือนหน้า โดยยังไม่ชัดเจนว่า จะเป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะใด แต่ยืนยันจะไม่มี ส.ส.ของพรรคลาออก เพื่อไปร่วมต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่หากรัฐบาลเดินหน้าผ่านร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และแกนนำ นปช.ให้พ้นผิด ก็จะเดินหน้าต่อสู้ทั้งในและนอกสภาฯ เพื่อถ่วงดุลอำนาจรัฐบาลไปพร้อมๆ กัน
** เย้ยปชป.จะล่มสลายในยุค"มาร์ค"
นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ โฆษกกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวถึงกรณี นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า ขณะนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง กับกลุ่มการเมือง 12 กลุ่ม และมีความเห็นตรงกันว่า จะมีการเดินเกมทั้งใน และนอกสภา โดยการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ จะยึดประเด็นนิรโทษกรรมเป็นหลักในการเคลื่อนไหว ว่า เราคาดหมายไว้แล้ว ในเมื่อพรรคประชาธิปัตย์สู้ในระบบไม่ได้ ก็ต้องออกมาสู้นอกระบบ และทางเดียวที่เขาทำได้หากต้องการให้มีอำนาจอีกครั้ง ก็ต้องทำเหมือนตอนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งการที่พรรคประชาธิปัตย์ ไปพบกับกลุ่มต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่เคยมีส่วนในการล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และไม่เคยสนคำท้วงติงของกลุ่มองค์กรต่างๆ ทำให้เห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์ มุ่งเน้นแต่ที่อยากจะกลับมามีอำนาจอีกครั้ง
“การที่พรรประชาธิปัตย์ตัดสินใจต่อสู้นอกสภาฯ ทำให้ทางกลุ่มคนเสื้อแดงเลิกคาดหวังที่จะเห็นพรรคประชาธิปัตย์สู้ในระบบ แต่ขณะนี้ เป็นพรรคการเมืองที่ต่อสู้นอกระบบรัฐสภา สวนทางกับนปช. ที่ต้องการปกป้องรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ สวนทางกับกระแสโลก ก่อตั้งพรรคโดยอภิสิทธิ์ชน แต่อาจล่มสลายเพราะนายอภิสิทธิ์ ก็เป็นไปได้” โฆษกนปช. กล่าว
ส่วนการที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมาระบุว่าจะระดมมวลชน 1 แสนคนออกมาคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก่อนที่นายกฯ จะนำขึ้นทูลเกล้าฯนั้น นายวรวุฒิ กล่าวว่า ไม่ว่ากฏหมายใดเขาก็ต้าน ไม่คิดช่วยพัฒนาชาติไทย เรื่องนี้ต้องมาดูว่าประชาชนเขาจะเอาด้วยหรือป่าว จุดติดหรือไม่ เพราะร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมก็ระบุชัดเจนอยู่แล้วว่า ช่วยเหลือประชาชน ทุกกลุ่มทุกสีเสื้อยกเว้นแกนนำ แต่พรรคประชาธิปัตย์ ก็ออกมาต่อต้านคัดค้านทุกวิธีทาง แล้วแบบนี้ประชาชนอาจจะไม่เอาด้วยก็ได้ แต่หากปลุกระดมมวลชนจริง ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและฝ่ายความมั่นคง ที่ต้องออกมาควบคุมไม่ให้มีความเป็นอนาธิปไตย ส่วนคนเสื้อแดงจะขออยู่ในที่ตั้ง คอยติดตามดูสถานการณ์ของพวกเขา เพราะเรารู้ทันเกมของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ต้องการยั่วยุให้เราออกมา เพื่อให้เกิดความวุ่นวาย เพื่อให้ทหารออกมาปฏิวัติ
** ประชุมกมธ.นิรโทษฯถกกันวุ่น
วานนี้ (29ส.ค.) ที่อาคารรัฐสภา 3 ห้องประชุมงบประมาณ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ... ที่มี นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกมธ. ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้หารือถึงการตั้งตำแหน่งที่ปรึกษาฯ โดยกมธ.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ยังคงปฏิเสธที่จะเสนอ
ด้านนายพิชิต ชื่นบาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะกมธ. จึงเสนอว่า การหาที่ปรึกษาที่มีความเป็นกลางนั้น เป็นเรื่องยาก ขอเสนอให้มีการตั้งคณะอนุกรรมาธิการ เพื่อให้ร่วมรับฟังแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง เช่น กลุ่มตัวแทนจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) เป็นต้น เพราะมองว่าหากเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลนั้น จะกลายเป็นการซักถามระหว่างทนายกับโจทก์ เหมือนในศาล
ซึ่งคณะกมธ.ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย เนื่องจากอยากให้ คณะกมธ.ทุกคนทำงานได้อย่างเต็มที่ และยังสามารถเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจงให้ข้อมูลได้ ส่วนที่ปรึกษานั้น คิดว่าควรตั้งที่ปรึกษาที่เป็นคนนอกมากกว่า ส่วน กมธ.สัดส่วนรัฐบาลมองว่าการตั้งที่ปรึกษาจากคนภายนอก จะยิ่งทำให้กระบวนการหารือยากขึ้น ดังนั้นควรตั้งที่ปรึกษาที่เป็นคนใน อย่างเช่น ส.ส. อาวุโส ที่มีประสบการณ์การทำงาน เป็นต้น โดย นายพิชิต อธิบายเพิ่มเติมว่า คณะกมธ. 35 คน ไม่ควรจะเป็นผู้ตัดสินใจแต่ฝ่ายเดียว เพราะสามารถคาดการณ์ได้เลยว่า เมื่อมีการหารือในประเด็นอะไร จะต้องโดนกล่าวหาว่าเป็นพวกมากลากไปอย่างแน่นอน เช่น หากหารือเพื่อกำหนดประเภทคดี หรือกำหนดตัวบุคคลว่าจะมีใครได้ประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้บ้าง ก็จะเถียงกันไม่รู้จบแน่นอน จึงอยากให้คณะกมธ.เลือกคณะอนุฯ ขึ้นมาเพื่อไปรับฟังความเห็นประชาชนอย่างรอบด้าน แล้วมาเสนอให้ที่ประชุมได้พิจารณา
ส่วน น.พ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เสนอว่า ให้มีการเชิญนักวิชาการที่มีความเป็นกลางเข้าชี้แจง อย่างเช่น นักวิชาการที่จัดทำรายงาน ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณีเม.ย.–พ.ค.53 (ศปช.) เป็นต้น
จากนั้นนายสามารถ ได้เปิดโอกาสให้ที่ประชุม กมธ. ได้พูดคุยเพื่อหารือถึงกรอบแนวทางการในการพิจารณาร่างฯ นิรโทษกรรมกว้างขว้าง อาทิผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้ ประกอบด้วยใครบ้าง หรือกรอบระยะเวลาในการนิรโทษกรรม จะเริ่มและสิ้นสุดเมื่อใด เป็นต้น และได้สั่งให้ฝ่ายเลขาฯตรียมข้อมูลผู้ที่ถูกดำเนินคดีที่อยู่ในชั้น ศาล อัยการ ตำรวจ ราชทัณฑ์ และผู้ที่ถูกออกหมายจับ ตั้งแต่ระหว่าง 19 ก.ย. 49 –10พ.ค.53 เพื่อเป็นข้อมูลให้ กมธ.พิจารณา พร้อมทั้งขอหารือที่ประชุมว่า ในการประชุมครั้งต่อไปจะมีการเชิญบุคคลมาให้ข้อมูลหรือไม่
ด้านนายอรรถวิทย์ สุวรรณภักดี ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนขอเสนอให้ผู้เสนอร่างฯ นิรโทษกรรม คือ นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย กับนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้มีการอธิบายเจตนารมณ์ของการเสนอกฎหมาย ทั้งกรอบเวลา และตัวบุคคล ว่าจะมีใครบ้างที่ได้ประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้
ภายหลังการประชุม นายสามารถ ให้สัมภาษณ์ ว่า ในการประชุมครั้งถัดไป จะให้ นายวรชัย และนายสุนัย เสนอเจตนารมณ์ และให้คณะกมธ.ได้ซักถาม และหลังจากนี้ไปก็จะเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจง และให้ข้อมูล เพื่อให้คณะกมธ. ได้ตลกผลึกทางความคิดร่วมกัน ส่วนเรื่องการตั้งที่ปรึกษานั้นต้องคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้ ไม่ใช่เข้ามาสร้างปัญหา และการตั้งคณะอนุกรรมาธิการนั้นคงจะต้องเฉพาะที่จำเป็นเมื่อต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมให้คณะกมธ. เช่น หากต้องการข้อมูล108 เวที ของกระทรวงมหาดไทย ก็ค่อยตั้งอนุฯ ขึ้นมา
ทั้งนี้ หากจะดำเนินแนวทางการปฏิรูป ก็ควรเอาผลการศึกษาการปฏิรูปประเทศที่มี นายอานันท์ ปันยารชุน และ นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธานมาใช้ ส่วนที่นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า ตนยอมลดเงื่อนไขในการคุยรัฐบาล จากการถอน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เหลือเพียงการชะลอร่างนั้น ยืนยันว่า ตนได้ระบุเงื่อนไขนี้มากว่า 2 สัปดาห์แล้ว สิ่งที่นายอลงกรณ์ระบุ เป็นการอ้างอิงจากสิ่งที่ตนเคยพูดไว้ แต่นายกรัฐมนตรี และรัฐบาล ปฏิเสธแนวทางดังกล่าว โดยระบุว่าไม่ต้องพูดถึงอดีต ให้พูดถึงอนาคต ทั้งที่เกี่ยวเนืองกันว่า ต้นเหตุเกิดจากอะไร ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยปิดประตูตายในเรื่องนี้
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ยืนยันว่าตนจะไม่เข้าร่วมสภาปฏิรูปการเมือง เพราะไม่เชื่อว่าจะนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาให้กับคนในรัฐบาล ที่กำลังทำตัวเป็นปัญหามากกว่า
พร้อมกันนี้ อยากฝากไปยังรัฐบาลว่า ควรปฏิรูปคนในรัฐบาลก่อน เพราะย่อมรู้ดีว่าปัญหาบ้านเมืองเกิดจากอะไร และควรมีความจริงใจ หรือตั้งใจจริงในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ของพวกพ้อง
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยถึงการเตรียมนัดพูดคุยแกนนำกลุ่มมวลชนที่ร่วมต่อต้านระบอบทักษิณ ประมาณ 10 กลุ่มในช่วงต้นเดือนหน้า โดยยังไม่ชัดเจนว่า จะเป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะใด แต่ยืนยันจะไม่มี ส.ส.ของพรรคลาออก เพื่อไปร่วมต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่หากรัฐบาลเดินหน้าผ่านร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และแกนนำ นปช.ให้พ้นผิด ก็จะเดินหน้าต่อสู้ทั้งในและนอกสภาฯ เพื่อถ่วงดุลอำนาจรัฐบาลไปพร้อมๆ กัน
** เย้ยปชป.จะล่มสลายในยุค"มาร์ค"
นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ โฆษกกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวถึงกรณี นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า ขณะนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง กับกลุ่มการเมือง 12 กลุ่ม และมีความเห็นตรงกันว่า จะมีการเดินเกมทั้งใน และนอกสภา โดยการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ จะยึดประเด็นนิรโทษกรรมเป็นหลักในการเคลื่อนไหว ว่า เราคาดหมายไว้แล้ว ในเมื่อพรรคประชาธิปัตย์สู้ในระบบไม่ได้ ก็ต้องออกมาสู้นอกระบบ และทางเดียวที่เขาทำได้หากต้องการให้มีอำนาจอีกครั้ง ก็ต้องทำเหมือนตอนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งการที่พรรคประชาธิปัตย์ ไปพบกับกลุ่มต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่เคยมีส่วนในการล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และไม่เคยสนคำท้วงติงของกลุ่มองค์กรต่างๆ ทำให้เห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์ มุ่งเน้นแต่ที่อยากจะกลับมามีอำนาจอีกครั้ง
“การที่พรรประชาธิปัตย์ตัดสินใจต่อสู้นอกสภาฯ ทำให้ทางกลุ่มคนเสื้อแดงเลิกคาดหวังที่จะเห็นพรรคประชาธิปัตย์สู้ในระบบ แต่ขณะนี้ เป็นพรรคการเมืองที่ต่อสู้นอกระบบรัฐสภา สวนทางกับนปช. ที่ต้องการปกป้องรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ สวนทางกับกระแสโลก ก่อตั้งพรรคโดยอภิสิทธิ์ชน แต่อาจล่มสลายเพราะนายอภิสิทธิ์ ก็เป็นไปได้” โฆษกนปช. กล่าว
ส่วนการที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมาระบุว่าจะระดมมวลชน 1 แสนคนออกมาคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก่อนที่นายกฯ จะนำขึ้นทูลเกล้าฯนั้น นายวรวุฒิ กล่าวว่า ไม่ว่ากฏหมายใดเขาก็ต้าน ไม่คิดช่วยพัฒนาชาติไทย เรื่องนี้ต้องมาดูว่าประชาชนเขาจะเอาด้วยหรือป่าว จุดติดหรือไม่ เพราะร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมก็ระบุชัดเจนอยู่แล้วว่า ช่วยเหลือประชาชน ทุกกลุ่มทุกสีเสื้อยกเว้นแกนนำ แต่พรรคประชาธิปัตย์ ก็ออกมาต่อต้านคัดค้านทุกวิธีทาง แล้วแบบนี้ประชาชนอาจจะไม่เอาด้วยก็ได้ แต่หากปลุกระดมมวลชนจริง ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและฝ่ายความมั่นคง ที่ต้องออกมาควบคุมไม่ให้มีความเป็นอนาธิปไตย ส่วนคนเสื้อแดงจะขออยู่ในที่ตั้ง คอยติดตามดูสถานการณ์ของพวกเขา เพราะเรารู้ทันเกมของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ต้องการยั่วยุให้เราออกมา เพื่อให้เกิดความวุ่นวาย เพื่อให้ทหารออกมาปฏิวัติ
** ประชุมกมธ.นิรโทษฯถกกันวุ่น
วานนี้ (29ส.ค.) ที่อาคารรัฐสภา 3 ห้องประชุมงบประมาณ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ... ที่มี นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกมธ. ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้หารือถึงการตั้งตำแหน่งที่ปรึกษาฯ โดยกมธ.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ยังคงปฏิเสธที่จะเสนอ
ด้านนายพิชิต ชื่นบาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะกมธ. จึงเสนอว่า การหาที่ปรึกษาที่มีความเป็นกลางนั้น เป็นเรื่องยาก ขอเสนอให้มีการตั้งคณะอนุกรรมาธิการ เพื่อให้ร่วมรับฟังแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง เช่น กลุ่มตัวแทนจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) เป็นต้น เพราะมองว่าหากเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลนั้น จะกลายเป็นการซักถามระหว่างทนายกับโจทก์ เหมือนในศาล
ซึ่งคณะกมธ.ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย เนื่องจากอยากให้ คณะกมธ.ทุกคนทำงานได้อย่างเต็มที่ และยังสามารถเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจงให้ข้อมูลได้ ส่วนที่ปรึกษานั้น คิดว่าควรตั้งที่ปรึกษาที่เป็นคนนอกมากกว่า ส่วน กมธ.สัดส่วนรัฐบาลมองว่าการตั้งที่ปรึกษาจากคนภายนอก จะยิ่งทำให้กระบวนการหารือยากขึ้น ดังนั้นควรตั้งที่ปรึกษาที่เป็นคนใน อย่างเช่น ส.ส. อาวุโส ที่มีประสบการณ์การทำงาน เป็นต้น โดย นายพิชิต อธิบายเพิ่มเติมว่า คณะกมธ. 35 คน ไม่ควรจะเป็นผู้ตัดสินใจแต่ฝ่ายเดียว เพราะสามารถคาดการณ์ได้เลยว่า เมื่อมีการหารือในประเด็นอะไร จะต้องโดนกล่าวหาว่าเป็นพวกมากลากไปอย่างแน่นอน เช่น หากหารือเพื่อกำหนดประเภทคดี หรือกำหนดตัวบุคคลว่าจะมีใครได้ประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้บ้าง ก็จะเถียงกันไม่รู้จบแน่นอน จึงอยากให้คณะกมธ.เลือกคณะอนุฯ ขึ้นมาเพื่อไปรับฟังความเห็นประชาชนอย่างรอบด้าน แล้วมาเสนอให้ที่ประชุมได้พิจารณา
ส่วน น.พ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เสนอว่า ให้มีการเชิญนักวิชาการที่มีความเป็นกลางเข้าชี้แจง อย่างเช่น นักวิชาการที่จัดทำรายงาน ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณีเม.ย.–พ.ค.53 (ศปช.) เป็นต้น
จากนั้นนายสามารถ ได้เปิดโอกาสให้ที่ประชุม กมธ. ได้พูดคุยเพื่อหารือถึงกรอบแนวทางการในการพิจารณาร่างฯ นิรโทษกรรมกว้างขว้าง อาทิผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้ ประกอบด้วยใครบ้าง หรือกรอบระยะเวลาในการนิรโทษกรรม จะเริ่มและสิ้นสุดเมื่อใด เป็นต้น และได้สั่งให้ฝ่ายเลขาฯตรียมข้อมูลผู้ที่ถูกดำเนินคดีที่อยู่ในชั้น ศาล อัยการ ตำรวจ ราชทัณฑ์ และผู้ที่ถูกออกหมายจับ ตั้งแต่ระหว่าง 19 ก.ย. 49 –10พ.ค.53 เพื่อเป็นข้อมูลให้ กมธ.พิจารณา พร้อมทั้งขอหารือที่ประชุมว่า ในการประชุมครั้งต่อไปจะมีการเชิญบุคคลมาให้ข้อมูลหรือไม่
ด้านนายอรรถวิทย์ สุวรรณภักดี ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนขอเสนอให้ผู้เสนอร่างฯ นิรโทษกรรม คือ นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย กับนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้มีการอธิบายเจตนารมณ์ของการเสนอกฎหมาย ทั้งกรอบเวลา และตัวบุคคล ว่าจะมีใครบ้างที่ได้ประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้
ภายหลังการประชุม นายสามารถ ให้สัมภาษณ์ ว่า ในการประชุมครั้งถัดไป จะให้ นายวรชัย และนายสุนัย เสนอเจตนารมณ์ และให้คณะกมธ.ได้ซักถาม และหลังจากนี้ไปก็จะเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจง และให้ข้อมูล เพื่อให้คณะกมธ. ได้ตลกผลึกทางความคิดร่วมกัน ส่วนเรื่องการตั้งที่ปรึกษานั้นต้องคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้ ไม่ใช่เข้ามาสร้างปัญหา และการตั้งคณะอนุกรรมาธิการนั้นคงจะต้องเฉพาะที่จำเป็นเมื่อต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมให้คณะกมธ. เช่น หากต้องการข้อมูล108 เวที ของกระทรวงมหาดไทย ก็ค่อยตั้งอนุฯ ขึ้นมา