ASTV ผู้จัดการรายวัน-ศาลฎีกาพิพากษายืน ยกฟ้อง คดี "พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์" ฟ้อง "สนธิ-สโรชา" หมิ่นประมาท กรณีวิพากษ์วิจารณ์ว่าไร้ประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ ไม่เคารพองค์กรอิสระ ไม่สนใจไฟใต้ แต่งตั้งโยกย้ายไม่ถูกต้อง ผ่านรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์” ทางช่อง 9 เมื่อปี 47 ชี้เป็นสิทธิของสื่อมวลชนที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้
วานนี้ (21 ส.ค.) ที่ห้องพิจารณาคดี 703 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถ.เจริญกรุง ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีหมายเลขดำ อ.1469/2547 ที่ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และน.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ อดีตผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ เป็นจำเลยที่ 1 และ 2 ฐานร่วมกันดูหมิ่นเจ้าพนักงานในการปฎิบัติหน้าที่และหมิ่นประมาทใส่ความโดยการแพร่ภาพ และการกระจายเสียงหรือป่าวประกาศ
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 26 เม.ย.2547 โดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปัจจุบัน ณ วันฟ้องโจทก์ปฎิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเมื่อวันที่ 19 มี.ค.2547 จำเลยทั้ง 2 ร่วมกันออกอากาศรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท กล่าวหาโจทก์ต่อหน้าประชาชนที่ชมรายการทั่วประเทศว่ายุคที่โจทก์เป็น ผบ.ตร.เป็นยุคที่ตำรวจละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด โจทก์ไร้ประสิทธิภาพ แต่งตั้งตำรวจโดยไม่ถูกต้อง ทำให้ตำรวจที่ได้รับแต่งตั้งไร้ประสิทธิภาพ และว่าโจทก์ไม่ให้ความเคารพในองค์กรอิสระ คือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ไม่เคารพกฎหมาย ละเลยเพิกเฉยต่อการดำเนินการตามขั้นตอนตามกระบวนการของกฎหมาย เกี่ยวข้องกับปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งเกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความมุสลิม
โดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้อง เนื่องจากพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลยในฐานะสื่อมวลชนได้ติชมการทำงานของโจทก์โดยชอบธรรม และอันเป็นวิสัยที่ประชาชนพึงกระทำ และเป็นการติชมโดยมุ่งไปที่การทำงานของโจทก์ โดยไม่ได้มุ่งไปที่เรื่องส่วนตัว ทั้งนี้ ในฐานะที่โจทก์ เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ได้รับมอบอำนาจอธิปไตยจากประชาชนเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น จำเลยในฐานะสื่อมวลชน และประชาชนส่วนใหญ่จึงมีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์การทำงาน ซึ่งเมื่อพิจารณาการกระทำของจำเลยแล้วไม่มีความผิดตามฟ้อง จึงพิพากษายกฟ้อง โดยที่ศาลไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดหรือไม่ อีกทั้งก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าการนำข้อความในรายการไปลงในอินเทอร์เน็ตว่ามีความผิดหรือไม่เช่นกัน โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และต่อมาโจทก์ยื่นฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกา
ศาลฎีกามีคำพิพากษาโดยสรุปว่า ขณะเกิดเหตุ โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจกำกับดูแลการปฏบัติหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งมีหน้าที่ดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง โจทก์จึงเป็นบุคคลที่ประชาชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจติดตามพฤติกรรมและย่อมวิพากษ์วิจารณ์ได้
เหตุคดีนี้ เกิดจากการที่พล.ต.อ.สันต์ ถูกย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ยังอยู่บนเครื่องบินเพื่อเดินทางกลับประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนสนใจ การที่จำเลยทั้ง 2 ในฐานะสื่อมวลชนมีหน้าที่เสนอข่าวสารที่เกิดขึ้นให้ประชาชนทราบ และจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ทางช่อง 9 ในช่วงค่ำวันที่ 19 มี.ค.2547 เวลา 3 ทุ่มตามปกติ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นพิธีกรถามคำถาม จำเลยที่ 1 เป็นผู้ตอบคำถาม โดยนำเรื่องต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่พล.ต.อ.สันต์รับตำแหน่งจนถึงวันเกิดเหตุมาวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ได้สร้างเรื่องขึ้นมาเอง แม้ข้อความบางส่วนที่จำเลยที่ 1 กล่าวบางส่วนจะเป็นข้อความหมิ่นประมาทบ้าง แต่ก็คงถือได้ว่าเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็น ติชม และวิพากษ์วิจารณ์ มิได้ถึงกับเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีความรู้ความสามารถในอันที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ได้แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ตามฟ้อง และจำเลยที่ 2 ซึ่งทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ถามคำถามให้จำเลยที่ 1 ตอบจึงไม่มีความผิดตามฟ้องด้วย
ส่วนการที่โจทก์ฎีกาว่าการที่จำเลยทั้ง 2 จัดทำโพลสำรวจ นำข้อความที่ออกรายการลงเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต และจัดพิมพ์หนังสือเมืองไทยรายสัปดาห์พร้อมแผ่นซีดีออกจำหน่าย เป็นการชี้นำ ตอกย้ำข้อเท็จจริงใส่ความโจทก์ ถือเป็นเจตนาพิเศษในการกระทำความผิดซ้ำ และเป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลยทั้ง 2 นั้น เมื่อได้วินิจฉัยว่าไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การกระทำของจำเลยทั้ง 2 ตามฎีกาเป็นการกระทำผิดซ้ำหรือข้อบ่งชี้ให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลยทั้ง 2 อีกต่อไป เพราะไม่ทำให้คำวินิจฉัยข้างต้นเปลี่ยนแปลงไปได้แต่อย่างใด ที่ศาลล่างทั้ง 2 วินิจฉัยว่าจำเลยทั้ง 2 แสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำนั้นชอบแล้ว ดังนั้น แม้จะมีข้อความบางส่วนเป็นหมิ่นประมาทอยู่บ้าง จำเลยทั้ง 2 ก็ได้การยกเว้นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (1) และ(3) จำเลยทั้ง 2 จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามฟ้อง ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน
นายสนธิ กล่าวถายหลังภายหลังเดินทางมาฟังคำพิพากษาว่า คดีนี้ศาลฎีกาพิพากษายืนให้ยกฟ้อง ในคดีหมิ่นประมาทที่ พล.ต.อ.สันต์ ฟ้องตนตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งความจริงในคดีนี้ควรจบไปตั้งแต่ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องแล้ว แต่พล.ต.อ.สันต์ ซึ่งสนิทสนมกับอัยการสูงสุด ทำให้อัยการสูงสุดมีความเห็นให้สามารถยื่นฎีกาในคดีนี้ได้
อย่างไรก็ตาม ในคดีนี้ตนไม่รู้มาก่อนว่าศาลจะมีคำพิพากษาว่าอย่างไร หากศาลมีพิพากษาให้จำคุก ตนก็พร้อมจะยอมรับ ไม่หนี เพราะตนเชื่อในหลักนิติรัฐ ซึ่งบ้านเมืองจะอยู่ได้ ก็เพราะหลักนิติรัฐเท่านั้น ไม่ใช่ทำผิดแล้วออกกฎหมายเพื่อมาแก้ความผิดในภายหลัง ส่วนเรื่องที่จะฟ้องกลับพล.ต.อ.สันต์ หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความของตนจะดำเนินการต่อไป
เมื่อถามถึงเหตุการความวุ่นวายในการประชุมสภาเมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา นายสนธิกล่าวว่า ตนเป็นมนุษย์จึงไม่สามารถให้ความความเห็นในเรื่องนี้ได้ เพราะในสภาเป็นเรื่องของเดรัจฉาน จึงไม่สามารถวิจารณ์กรณีดังกล่าวได้
วานนี้ (21 ส.ค.) ที่ห้องพิจารณาคดี 703 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถ.เจริญกรุง ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีหมายเลขดำ อ.1469/2547 ที่ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และน.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ อดีตผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ เป็นจำเลยที่ 1 และ 2 ฐานร่วมกันดูหมิ่นเจ้าพนักงานในการปฎิบัติหน้าที่และหมิ่นประมาทใส่ความโดยการแพร่ภาพ และการกระจายเสียงหรือป่าวประกาศ
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 26 เม.ย.2547 โดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปัจจุบัน ณ วันฟ้องโจทก์ปฎิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเมื่อวันที่ 19 มี.ค.2547 จำเลยทั้ง 2 ร่วมกันออกอากาศรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท กล่าวหาโจทก์ต่อหน้าประชาชนที่ชมรายการทั่วประเทศว่ายุคที่โจทก์เป็น ผบ.ตร.เป็นยุคที่ตำรวจละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด โจทก์ไร้ประสิทธิภาพ แต่งตั้งตำรวจโดยไม่ถูกต้อง ทำให้ตำรวจที่ได้รับแต่งตั้งไร้ประสิทธิภาพ และว่าโจทก์ไม่ให้ความเคารพในองค์กรอิสระ คือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ไม่เคารพกฎหมาย ละเลยเพิกเฉยต่อการดำเนินการตามขั้นตอนตามกระบวนการของกฎหมาย เกี่ยวข้องกับปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งเกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความมุสลิม
โดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้อง เนื่องจากพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลยในฐานะสื่อมวลชนได้ติชมการทำงานของโจทก์โดยชอบธรรม และอันเป็นวิสัยที่ประชาชนพึงกระทำ และเป็นการติชมโดยมุ่งไปที่การทำงานของโจทก์ โดยไม่ได้มุ่งไปที่เรื่องส่วนตัว ทั้งนี้ ในฐานะที่โจทก์ เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ได้รับมอบอำนาจอธิปไตยจากประชาชนเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น จำเลยในฐานะสื่อมวลชน และประชาชนส่วนใหญ่จึงมีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์การทำงาน ซึ่งเมื่อพิจารณาการกระทำของจำเลยแล้วไม่มีความผิดตามฟ้อง จึงพิพากษายกฟ้อง โดยที่ศาลไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดหรือไม่ อีกทั้งก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าการนำข้อความในรายการไปลงในอินเทอร์เน็ตว่ามีความผิดหรือไม่เช่นกัน โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และต่อมาโจทก์ยื่นฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกา
ศาลฎีกามีคำพิพากษาโดยสรุปว่า ขณะเกิดเหตุ โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจกำกับดูแลการปฏบัติหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งมีหน้าที่ดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง โจทก์จึงเป็นบุคคลที่ประชาชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจติดตามพฤติกรรมและย่อมวิพากษ์วิจารณ์ได้
เหตุคดีนี้ เกิดจากการที่พล.ต.อ.สันต์ ถูกย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ยังอยู่บนเครื่องบินเพื่อเดินทางกลับประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนสนใจ การที่จำเลยทั้ง 2 ในฐานะสื่อมวลชนมีหน้าที่เสนอข่าวสารที่เกิดขึ้นให้ประชาชนทราบ และจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ทางช่อง 9 ในช่วงค่ำวันที่ 19 มี.ค.2547 เวลา 3 ทุ่มตามปกติ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นพิธีกรถามคำถาม จำเลยที่ 1 เป็นผู้ตอบคำถาม โดยนำเรื่องต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่พล.ต.อ.สันต์รับตำแหน่งจนถึงวันเกิดเหตุมาวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ได้สร้างเรื่องขึ้นมาเอง แม้ข้อความบางส่วนที่จำเลยที่ 1 กล่าวบางส่วนจะเป็นข้อความหมิ่นประมาทบ้าง แต่ก็คงถือได้ว่าเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็น ติชม และวิพากษ์วิจารณ์ มิได้ถึงกับเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีความรู้ความสามารถในอันที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ได้แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ตามฟ้อง และจำเลยที่ 2 ซึ่งทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ถามคำถามให้จำเลยที่ 1 ตอบจึงไม่มีความผิดตามฟ้องด้วย
ส่วนการที่โจทก์ฎีกาว่าการที่จำเลยทั้ง 2 จัดทำโพลสำรวจ นำข้อความที่ออกรายการลงเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต และจัดพิมพ์หนังสือเมืองไทยรายสัปดาห์พร้อมแผ่นซีดีออกจำหน่าย เป็นการชี้นำ ตอกย้ำข้อเท็จจริงใส่ความโจทก์ ถือเป็นเจตนาพิเศษในการกระทำความผิดซ้ำ และเป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลยทั้ง 2 นั้น เมื่อได้วินิจฉัยว่าไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การกระทำของจำเลยทั้ง 2 ตามฎีกาเป็นการกระทำผิดซ้ำหรือข้อบ่งชี้ให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลยทั้ง 2 อีกต่อไป เพราะไม่ทำให้คำวินิจฉัยข้างต้นเปลี่ยนแปลงไปได้แต่อย่างใด ที่ศาลล่างทั้ง 2 วินิจฉัยว่าจำเลยทั้ง 2 แสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำนั้นชอบแล้ว ดังนั้น แม้จะมีข้อความบางส่วนเป็นหมิ่นประมาทอยู่บ้าง จำเลยทั้ง 2 ก็ได้การยกเว้นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (1) และ(3) จำเลยทั้ง 2 จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามฟ้อง ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน
นายสนธิ กล่าวถายหลังภายหลังเดินทางมาฟังคำพิพากษาว่า คดีนี้ศาลฎีกาพิพากษายืนให้ยกฟ้อง ในคดีหมิ่นประมาทที่ พล.ต.อ.สันต์ ฟ้องตนตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งความจริงในคดีนี้ควรจบไปตั้งแต่ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องแล้ว แต่พล.ต.อ.สันต์ ซึ่งสนิทสนมกับอัยการสูงสุด ทำให้อัยการสูงสุดมีความเห็นให้สามารถยื่นฎีกาในคดีนี้ได้
อย่างไรก็ตาม ในคดีนี้ตนไม่รู้มาก่อนว่าศาลจะมีคำพิพากษาว่าอย่างไร หากศาลมีพิพากษาให้จำคุก ตนก็พร้อมจะยอมรับ ไม่หนี เพราะตนเชื่อในหลักนิติรัฐ ซึ่งบ้านเมืองจะอยู่ได้ ก็เพราะหลักนิติรัฐเท่านั้น ไม่ใช่ทำผิดแล้วออกกฎหมายเพื่อมาแก้ความผิดในภายหลัง ส่วนเรื่องที่จะฟ้องกลับพล.ต.อ.สันต์ หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความของตนจะดำเนินการต่อไป
เมื่อถามถึงเหตุการความวุ่นวายในการประชุมสภาเมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา นายสนธิกล่าวว่า ตนเป็นมนุษย์จึงไม่สามารถให้ความความเห็นในเรื่องนี้ได้ เพราะในสภาเป็นเรื่องของเดรัจฉาน จึงไม่สามารถวิจารณ์กรณีดังกล่าวได้