ASTV ผู้จัดการรายวัน – หุ้นร่วงต่ออีก15 จุด มาร์เกตแคปหลุด12ล้านล้านบาท เบ็ดเสร็จยังไม่หมดสิงหาคม ต่างชาติขายแล้ว 3หมื่นล้าน ดันยอดขายตั้งแต่ต้นปี 106,701ล้านบาท สถาบัน-รายย่อยเข้ารับจนไหลลู่ โบรกฯชี้ความกังวลต่อมาตรการQE ถล่มค่าเงินเอเชียอ่อนตัวหนัก จนหวั่นเกิดวิกฤต หลังต่างชาติกระหน่ำขาย ส่วนไทยโดนอีก2เด้งเศรษฐกิจชะลอตัว และสถานการณ์การเมือง ด้านตลาดหลักทรัพย์เชื่อเป็นเพียงระยะสั้นๆ มั่นใจสิ้นปียังได้เห็น1,500 จุด เห็นมีไอพีโอใหม่ดึงดูดเม็ดเงินอีกเพียบ แถมสัดส่วนนักลงทุนในประเภทยังเพิ่มเกินเป้า
ตลาดหุ้นไทย วานนี้(21ส.ค.) ดัชนีหลักทรัพย์ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบต่อเนื่อง โดยปิดที่ ระดับ 1,355.14 จุด ลดลง 15.72 จุด ระหว่างวันสูงที่ระดับ 1,374.02 จุด และต่ำสุดที่ระดับ 1,354.02 จุด มูลค่าการซื้อขาย 41,865.57 ล้านบาท โดยจากปิดตลาดเมื่อวันที่15ส.ค.พบว่าดัชนีฯปรับลดลงไปแล้ว 97.93 จุด และจากการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องของดัชนีฯ ก็มีผลทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป)ของตลาดหุ้นไทยหลุดระดับ 12 ล้านล้านบาท มาอยู่ที่ระดับ 11,820,053.86 ล้านบาท
โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเพิ่มขึ้น 5,702.59 ล้านบาท เช่นเดียวกับบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ที่ขายสุทธิ 3,434.30 ล้านบาท โดยนักลงทุนทั่วไปซื้อสุทธิ 4,026.36 ล้านบาท และสถาบันซื้อสุทธิ 3,43.30 ล้านบาท โดยรวมตั้งแต่วันที่ 1ส.ค. นักลงทุนทั่วไปซื้อสะสม 23,976.96 ล้านบาท และสถาบันซื้อสะสม 11,327.13 ล้านบาท ส่วนนักลงทุนต่างชาติ ขายออกมา 30,615.21 ล้านบาท และดันยอดขายสะสมตั้งแต่ต้นปีแตะที่ระดับ 106,701.44 ล้านบาท ซึ่งมีสถาบันซื้อสะสม 71,225.08 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปซื้อสะสม 45,429.45 ล้านบาท
นักวิเคราะห์มองว่าตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชีย แต่วันนี้ถือว่าปรับตัวลงน้อยลง เนื่องจากได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ Domestic Demand สามารถไปต่อได้ โดยล่าสุดคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2.50% เท่าเดิม ขณะเดียวกันสกุลค่าเงินของประเทศในเอเชียอ่อนค่าลงมาไม่เฉพาะไทย ได้แก่ จากอินเดีย และ อินโดนีเซีย จนมีความกังวลว่าอาจเกิดวิกฤตค่าเงินขึ้นภูมิภาคนี้ โดยประเทศไทยยังมีปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง เป็นแรงเสริมกดดันดัชนีหลักทรัพย์ด้วย ทำให้แนวโน้มการลงทุนวันนี้ (22ส.ค.) ดัชนีจะแกว่งตัวรอข่าวการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จึงให้?แนวรับ?ไว้ที่ 1,340-1,320 จุด ส่วนแนวต้าน 1,380-1,390 จุด
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ยอมรับว่า ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากการไหลออกของเงินลงทุนต่างชาติ ที่ล่าสุดสุทธิกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท โดยสูงสุดต่อวันในรอบ 7 ปี ซึ่งตั้งแต่ต้นปี 2556 ต่างชาติขายสุทธิทั้งสิ้นราว 1 แสนล้านบาทแล้ว นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติยังมีการขายหนักในตลาดอนุพันธ์ด้วยเกือบ 4.4 พันสัญญา ท่ามกลางความวิตกเรื่องเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาค และการปรับลดมาตรการ QE ส่งผลให้ค่าเงินหลายสกุลรวมถึงเงินบาทอ่อนลงอย่างหนัก ซึ่งวานนี้อยู่ที่ประมาณ 31.66 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
**ตลท.รับเงินไหลออกแสนล.แต่ไม่วิกฤตเท่าปี2008
นางเกศรา มัญชุศรี รองผู้จัดการ สายงานการตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. กล่าวว่า เฉลี่ยนักลงทุนต่างประเทศที่ทยอยขายหุ้นจากตลาดหุ้นไทย ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนกรฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งสรุปยอดสุทธิล่าสุด ประมาณ 1.7 แสนล้านบาทแล้ว แต่โดยรวมแล้วยังถือว่าไม่มากหากเทียบกับปริมาณยอดการขายของปี 2008 ซึ่งถือว่าเป็นภาวะวิกฤตของเศรษฐกิจในขณะนั้น ส่วนหนึ่งมาจากสถาบันการเงินในสหรัฐฯ เป็นหลัก ซึ่งขณะนั้นมีนักลงทุนต่างชาติทยอยขายหุ้นไทยรวมกว่า 1.6 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ดี คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยปลายปีนี้จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ในระดับ 1,500 จุด เนื่องจาก Market Cap ในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านล้านบาท และค่า P/E ของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ประมาณ 15 เท่า ประกอบกับยังมีบริษัทจดทะเบียนที่รอเข้าซื้อขายหุ้น IPO อีกหลายบริษัท ซึ่งจะสามารถดึงความสนใจจากนักลงทุนทั้งไทย และต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้อีกมาก
ตลาดหุ้นไทย วานนี้(21ส.ค.) ดัชนีหลักทรัพย์ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบต่อเนื่อง โดยปิดที่ ระดับ 1,355.14 จุด ลดลง 15.72 จุด ระหว่างวันสูงที่ระดับ 1,374.02 จุด และต่ำสุดที่ระดับ 1,354.02 จุด มูลค่าการซื้อขาย 41,865.57 ล้านบาท โดยจากปิดตลาดเมื่อวันที่15ส.ค.พบว่าดัชนีฯปรับลดลงไปแล้ว 97.93 จุด และจากการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องของดัชนีฯ ก็มีผลทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป)ของตลาดหุ้นไทยหลุดระดับ 12 ล้านล้านบาท มาอยู่ที่ระดับ 11,820,053.86 ล้านบาท
โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเพิ่มขึ้น 5,702.59 ล้านบาท เช่นเดียวกับบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ที่ขายสุทธิ 3,434.30 ล้านบาท โดยนักลงทุนทั่วไปซื้อสุทธิ 4,026.36 ล้านบาท และสถาบันซื้อสุทธิ 3,43.30 ล้านบาท โดยรวมตั้งแต่วันที่ 1ส.ค. นักลงทุนทั่วไปซื้อสะสม 23,976.96 ล้านบาท และสถาบันซื้อสะสม 11,327.13 ล้านบาท ส่วนนักลงทุนต่างชาติ ขายออกมา 30,615.21 ล้านบาท และดันยอดขายสะสมตั้งแต่ต้นปีแตะที่ระดับ 106,701.44 ล้านบาท ซึ่งมีสถาบันซื้อสะสม 71,225.08 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปซื้อสะสม 45,429.45 ล้านบาท
นักวิเคราะห์มองว่าตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชีย แต่วันนี้ถือว่าปรับตัวลงน้อยลง เนื่องจากได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ Domestic Demand สามารถไปต่อได้ โดยล่าสุดคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2.50% เท่าเดิม ขณะเดียวกันสกุลค่าเงินของประเทศในเอเชียอ่อนค่าลงมาไม่เฉพาะไทย ได้แก่ จากอินเดีย และ อินโดนีเซีย จนมีความกังวลว่าอาจเกิดวิกฤตค่าเงินขึ้นภูมิภาคนี้ โดยประเทศไทยยังมีปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง เป็นแรงเสริมกดดันดัชนีหลักทรัพย์ด้วย ทำให้แนวโน้มการลงทุนวันนี้ (22ส.ค.) ดัชนีจะแกว่งตัวรอข่าวการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จึงให้?แนวรับ?ไว้ที่ 1,340-1,320 จุด ส่วนแนวต้าน 1,380-1,390 จุด
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ยอมรับว่า ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากการไหลออกของเงินลงทุนต่างชาติ ที่ล่าสุดสุทธิกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท โดยสูงสุดต่อวันในรอบ 7 ปี ซึ่งตั้งแต่ต้นปี 2556 ต่างชาติขายสุทธิทั้งสิ้นราว 1 แสนล้านบาทแล้ว นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติยังมีการขายหนักในตลาดอนุพันธ์ด้วยเกือบ 4.4 พันสัญญา ท่ามกลางความวิตกเรื่องเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาค และการปรับลดมาตรการ QE ส่งผลให้ค่าเงินหลายสกุลรวมถึงเงินบาทอ่อนลงอย่างหนัก ซึ่งวานนี้อยู่ที่ประมาณ 31.66 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
**ตลท.รับเงินไหลออกแสนล.แต่ไม่วิกฤตเท่าปี2008
นางเกศรา มัญชุศรี รองผู้จัดการ สายงานการตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. กล่าวว่า เฉลี่ยนักลงทุนต่างประเทศที่ทยอยขายหุ้นจากตลาดหุ้นไทย ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนกรฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งสรุปยอดสุทธิล่าสุด ประมาณ 1.7 แสนล้านบาทแล้ว แต่โดยรวมแล้วยังถือว่าไม่มากหากเทียบกับปริมาณยอดการขายของปี 2008 ซึ่งถือว่าเป็นภาวะวิกฤตของเศรษฐกิจในขณะนั้น ส่วนหนึ่งมาจากสถาบันการเงินในสหรัฐฯ เป็นหลัก ซึ่งขณะนั้นมีนักลงทุนต่างชาติทยอยขายหุ้นไทยรวมกว่า 1.6 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ดี คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยปลายปีนี้จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ในระดับ 1,500 จุด เนื่องจาก Market Cap ในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านล้านบาท และค่า P/E ของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ประมาณ 15 เท่า ประกอบกับยังมีบริษัทจดทะเบียนที่รอเข้าซื้อขายหุ้น IPO อีกหลายบริษัท ซึ่งจะสามารถดึงความสนใจจากนักลงทุนทั้งไทย และต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้อีกมาก