ASTVผู้จัดการรายวัน- สภาอัปยศ!!! “ค้อนปลอม”เหลิงอำนาจ สั่งลงมติปิดปากฝ่ายค้าน งัดค้อนทุบเปรี้ยง สั่งตำรวจหิ้วส.ส.ที่ประท้วงออกนอกห้องประชุม ขอกำลังตำรวจปราบจลาจลตรึงสภา เจอฝ่ายค้านรุมไล่ "ขี้ข้าทักษิณ" ใช้อำนาจ"รัฐตำรวจ" คุกคามการทำหน้าที่ส.ส. จี้สั่งถอนกำลังทันที พร้อมรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แฉมีการเตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้า“สมศักดิ์”อ้อมแอ้มขอโทษ ก่อนโบ้ยว่า เลขาฯ เป็นคนสั่ง สุดท้ายสภาเดือด เมื่อ"สมศักดิ์" ตัดสินใจสั่งให้ผ่าน มาตรา 1 ไปโดยไม่มีการลงมติ เจอฝ่ายค้านฮือไล่ลงจากบัลลังก์ ต้องเรียกตำรวจมาอารักขา สุดอนาถพักการประชุมถึง 5 รอบ ใช้เวลากว่า 10 ชม. การแก้รธน.ก็ยังเดินหน้าไม่ได้
วานนี้ (20 ส.ค.) มีการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณา ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 115 มาตรา 116 วรรคสอง มาตรา 117 มาตรา 118 มาตรา 120 และ มาตรา 241 วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา 113 และมาตรา 114 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีนายนิคม ไวยรัชพาณิช รองประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม**ค้าน"นิคม"ทำหน้าที่ประธานการประชุม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทันทีที่เปิดประชุม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จะขอหารือเรื่องทั่วไป แต่นายนิคม ไม่อนุญาตให้มีการหารือ ทำให้ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ประท้วงว่าตัดสิทธิการรับรู้ความเดือดร้อนของประชาชน ขณะที่นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้สอบถามการถ่ายทอดสด และไม่ไว้ใจการทำหน้าที่ของนายนิคม เพราะร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ตัวเองมีวาระเพิ่มขึ้นว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อน และไม่มีความเป็นกลาง และขอให้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานวัฐสภา ขึ้นมาทำหน้าที่ตลอดการอภิปราย โดยมี นายธนา ชีรวินิจ ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวสนับสนุนว่า นายนิคม จะผิดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 เพราะทำหน้าที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดยมีการแก้ไขเพื่อให้พวกตนมาลงสมัครรับเลือกตั้งวุฒิสภาฯ ในปีหน้า อีกทั้งยังได้ลงชื่อสนับสนุนในร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ด้วย
ด้านนายนิคม ชี้แจงโดยยืนยันว่า ไม่ได้ทำผิดรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ส่วนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มา ส.ว. ตนไม่ได้ร่วมลงชื่อด้วย แต่ร่วมลงชื่ออีก 2 ร่าง (ม .190 เกี่ยวกับการลงนามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และ มาตรา 68 เกี่ยวกับสิทธิการพิทักษ์รธน. และ มาตรา 237 เกี่ยวกับการยุบพรรค และตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค) อีกทั้งการพิจารณา วาระ1 ตนก็ไม่ได้ร่วมอภิปรายด้วย ดังนั้นยืนยันว่า จะทำหน้าที่ประธานที่ประชุมต่อไป โดยอาศัยข้อบังคับการประชุมและรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ส.ส.ฝ่ายค้าน ยังคงเรียกร้องไม่ให้นายนิคม ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ขณะที่ส.ส.พรรคเพื่อไทยได้พยายามสนับสนุนให้นายนิคม ดำเนินการประชุมต่อไป เพราะอำนาจการตัดสินของประธานเป็นที่สิ้นสุด และยืนยันว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 อีกทั้งสภาชุดที่แล้ว ยังเคยแก้ไขเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส.ทั้ง 500 คน ทำไมจึงทำได้
** "นิคม"ไม่สนท้าให้ไปยื่นถอดถอน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่ม 40 ส.ว. จะพยายามคัดค้านไม่ให้นายนิคม ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพราะเห็นว่าจะทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่รัฐสภา และเกรงว่าจะรีบแก้รัฐธรรมนูญ เพราะกลัวว่าจะลงสมัครวุฒิสภาไม่ทัน แต่นายนิคม ยังแสดงท่าทีนิ่งเฉย พร้อมกับกล่าวว่า หากใครไม่พอใจ ก็ยื่นถอดถอนตนออกจากตำแหน่ง พร้อมกลับยืนยันการทำหน้าที่ และได้ตัดบทเข้าสู่วาระการประชุมทันที
จากนั้นนายสามารถ แก้วมีชัย ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของส.ว ได้อ่านรายงานว่า ที่ประชุมรัฐสภาเห็นสมควรแก้รัฐธรรมนูญ โดยมีหลักการให้ส.ว. มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนทั้งหมดเท่านั้น แต่มีสมาชิกหลายคนไม่เห็นด้วย และเสนอแปรญัตติ จำนวน 57 คน อาทิ ที่เห็นควรให้ให้มีส.ว.สรรหาอยู่ต่อไป ซึ่งเป็นการเสนอให้แก้ไขในหลักการ แต่เป็นการขัดต่อหลักการการแก้กฏหมาย หากที่ประชุมเห็นด้วยกับกรรมาธิการเสียงข้างมาก ก็จะทำให้ผู้แปรญัตติ จำนวน 57 คนนั้นไม่สามารถแปรญัตติในวาระ 2 ได้ แต่หากเห็นว่า สามารถทำได้โดยยกเว้นข้อบังคับการประชุมในเรื่องการขัดหลักการ ก็ต้องมีการลงมติตัดสิน
** โห่"ค้อนปลอม"ปิดปากฝ่ายค้าน
ทั้งนี้ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายยืนยันว่า การแปรญัตติในช่วงรับหลักการ ที่องค์ประชุมไม่ครบในวันที่ 4 เม.ย. ระหว่างการกำหนดวันแปรญัตติ และมีการนัดประชุมรับรองระยะเวลาแปรญัตติย้อนหลัง ถือว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าหากมีการส่งไปตีความ เชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับเป็นโมฆะ ทั้งนี้ตนพร้อมสมาชิกรัฐสภา 1 ใน 10 จะยื่นเรื่องตีความ โดยอาศัยช่องทางตามาตรา 291 วรรค 7 ประกอบมาตรา 154 150 151 เพราะได้รับการยืนยันจากคนที่เขียนกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 50 ว่าทำได้
อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่า ประธานรัฐสภา จะระงับไว้ และไม่ส่งศาลรัฐธรรมนูญ และจะต้องเจอกับตน ที่ศาลอาญาแน่นอน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการประชุมเริ่มตึงเครียด เมื่อมีการเปลี่ยนตัวประธานในที่ประชุม จากนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา มาเป็น นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา โดยนายสมศักดิ์ ได้ตัดบทไม่อนุญาตให้สมาชิก 57 คน ที่ขอแปรญัตติแต่ถูกประธานกรรมาธิการวินิจฉัยว่า ขัดต่อหลักการไปแล้วได้อภิปราย แต่จะอนุญาตให้อภิปรายได้ฝั่งละ 2 คนเท่านั้น
แต่ก็ถูกประท้วงจากฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ เพราะเป็นการจำกัดสิทธิ ของสมาชิกรัฐสภา และเห็นควรให้ทุกคนมีสิทธิพูด แต่ก็ไม่มีฝ่ายใดลดละ ทำให้นายสมศักดิ์ เริ่มโมโห และขอให้ลงมติเลย พร้อมกับบระบุว่า “ผมจำเป็นต้องใช้อำนาจประธาน สั่งให้ลงมติ เป็นไงเป็นกัน เกิดอะไรขึ้น ผมรับผิดชอบเอง”
จากนั้น นายสมศักดิ์ ได้กดสัญญาณให้สมาชิกเข้าห้องประชุมเพื่อลงมติ ท่ามกล่างเสียงโห่ ที่แสดงความไม่พอใจจากฝ่ายค้าน ผลปรากฏที่ประชุมมีมติ 339 เสียง เห็นว่าขัดหลักการ ขณะที่ 15 เสียงเห็นว่า ไม่ขัด
** สั่งตร.ลากส.ส.ที่ประท้วงออกห้อง
จากนั้น นายสามารถ แก้วมีชัย ได้อ่านรายละเอียด ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีการพิจารณาของกรรมาธิการแล้วเสร็จ แต่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ส่งเสียงโห่ประท้วงเป็นระยะ แม้นายสมศักดิ์ จะขอร้องให้รักษามารยาท โดยอ้างว่าประชาชนกำลังดูการถ่ายทอดอยู่ และให้ทุกคนโปรดอยู่ในความสงบ เพราะที่นี่คือรัฐสภา แต่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ยังคงพากันลุกขึ้นส่งเสียงโห่ โดยไม่สนใจต่อคำขอร้องของนายสมศักดิ์ จนทำให้นายสมศักดิ์ ต้องเดินไปหยิบค้อน ออกมา โดยบอกว่าตนไม่เคยใช้เลย พร้อมกับเคาะ 3 ที จากนั้นได้เรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา มาคุมตัวส.ส.ที่ไม่ยอมนั่ง อย่างไม่ต้องรีรอ ถ้าไม่ปฏิบัติตนถือว่าขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา และจะตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ทั้งนี้ บรรยากาศการประชุมเป็นไปอย่างสับสนวุ่นวาย เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา พยายามเข้าไปควบคุมตัว ส.ส. ตามคำสั่งของนายสมศักดิ์ โดยเดินไปล้อม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ อาทิ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ส.ส.อุทัยธานี นายวัชระ เพชรทอง ที่พากันยืนตะโกนว่า “สภาทาส” “ขี้ข้าทักษิณ”ซึ่งขณะนั้น น.ส. นริศา อดิเทพวรพันธุ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช และน.ส. พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล พรรคประชาธิปัตย์ ได้กรีดร้องเพราะตกใจที่เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาชายพยายามจะเข้ามาจับตัว จนเมื่อสถานการณ์เริ่มบานปลาย ทำให้นายสมศักดิ์ได้สั่งพักการประชุม10 นาที โดยระบุว่าเพื่อให้สมาชิกได้สงบสติอารมณ์
** ปิดปาก 57 ส.ส.ที่ยื่นแปรญัตติ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน ได้ขอหารือว่า ตน แปลกใจที่ประธานไม่ได้ตอบคำถามของสมาชิก และเรียกให้ผู้แปรญัติได้อภิปราย มิเช่นนั้นจะปิดการอภิปราย ตนหาทางออกให้เพื่อให้เกิดความร่วมมือกัน การที่ประธานพูด จะมาหารืออะไรทั้งวันทั้งคืน นั้น ไม่ใช่ เพราะนายนิพิฏฐ์ หารือเพื่อถามว่า จะยุติปัญหาอย่างไร และ การที่ประธาน จะขอมติ ไม่ทราบมติอะไร
ตน ถามว่ารัฐธรรมนูญมา ตราไหน หากมีการเสนอไปแล้วบอกว่าขัดหลักการหมด ไม่ใช่เป็นสิทธิ์ขาดของประธาน แต่การจะตีความว่า ขัดหรือไม่ เป็นอำนาจที่ประชุมนี้ว่า สมาชิกเสนออะไร และประธาน มีเหตุผลอะไรที่เห็นว่าขัดหลักการ หากบอกเพื่อประหยัดเวลาให้คนแปรญัตติเหมือนกันมารวมเพื่อวินิฉัยตนยังพอรับได้ แต่จะเหมารวมให้มีการอภิปรายเพียงสองคน แล้วแปลว่าครอบคลุมทั้ง 57 คนไม่ได้ ความจริงสมาชิกแปรญัตติ ไม่ขัดหลักการมีสิทธิ์ที่จะพูดอยู่แล้ว เขาจะแปรให้ขัดหลักการเพื่ออะไร
ด้านนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ยืนยันว่า มีผู้ยื่นแปรญัตติเกินกว่ากำหนดเวลา ซึ่งในข้อบังคับการประชุม ระบุชัดเจนว่า ต้องยื่นภายใน 15 วันหลังสภามีมติให้รับหลักการ วาระ 1 คือวันที่ 5 เม.ย. ดังนั้นต้องยื่นไม่เกินวันที่ 20 เม.ย. และตนใช้อำนาจนี้ วินิจฉัยตามนี้เลย
ส่วนกรณีที่ยื่นแปรญัตติ 57 คน ประธานกรรมาธิการฯ ชี้ว่า ขัดต่อหลักการ เมื่อขัดกับหลักการ ก็ไม่สามารถเสนอเข้ามาที่ประชุมสภาได้เลยแต่แรก
** ส่งตร.ควบคุมฝูงชนตรึงสภา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายในที่ประชุมรัฐสภาไม่ถึง 5 นาที กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจคุมฝูงชน จำนวน 150 นาย หรือหนึ่งกองร้อย นำโดย พล.ต.ต.ฐิติราช หนองหาญพิทักษ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นผู้บัญชาสถานการณ์ และให้เหตุผลการนำกำลังตำรวจมาประจำบริเวณหน้ารัฐสภา เพื่อดูแลความปลอดภัย เนื่องจากเกรงว่าอาจจะมีปัญหาจากภายนอกเข้าไปผสมโรงกับปัญหาในสภา โดยทาง บชน. มีศูนย์เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อยู่แล้ว จึงทำให้มารัฐสภาได้อย่างรวดเร็ว และไม่ได้มีคำสั่งพิเศษใดๆ แต่เป็นการประเมินสถานการณ์ว่า การประชุมรัฐสภาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 2 และ 3 เป็นสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งจากนี้ก็จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจคุมฝูงชนมาประจำการ จนกว่าการพิจารณาทั้ง 3 วาระ จะเสร็จสิ้นโดยจะประเมินจากสถานการณ์เป็นหลัก
ขณะที่บรรยากาศในรัฐสภาเกิดความวุ่นวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อส.ส.ฝ่ายค้าน ได้ทราบเรื่องที่มีการจัดเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนมาดูแลสถานการณ์ จึงมองว่าเป็นการข่มขู่คุกคาม การทำหน้าที่ในรัฐสภา จึงเรียกร้องให้มีการถอนกำลัง และเกิดความวุ่นวายในสภาขึ้น มีการเป่านกหวีดกลางสภา เพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่าไม่ยอมรับการกระทำดังกล่าว
** จวกใช้"รัฐตำรวจ"คุกคามส.ส.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเปิดการประชุมอีกครั้ง เวลา 14.30 น. ได้มีการเปลี่ยนตัวนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา มาทำหน้าที่ประธานแทนนายสมศักดิ์ โดยเริ่มพิจารณาใน มาตรา 1 ชื่อร่างกฎหมาย และคำปรารถ แต่ ส.ส. พรรคฝ่ายค้าน ยังคงตะโกนประท้วงอย่างต่อเนื่อง
โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า บรรยากาศการประชุมในวันนี้ไม่พร้อม เพราะการทำหน้าที่ของ 2 ประธาน วินิจฉัยคนละมาตรฐาน โดยนายนิคม บอกว่าเปิดโอกาสให้ผู้ที่แปรญัตติ ที่มองว่าขัดหลักการจำนวน 57 คน แต่ นายสมศักดิ์ ไม่อนุญาต
จากนั้นนายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้เปิดประเด็นประท้วงกรณีการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาในห้องประชุม กระชากแขนนายเทิดพงษ์ ไชยนันท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อายุกว่า 70 ปี และอุ้มนายนิพิฎฐ์ ด้วย
ขณะที่นายนิพิฎฐ์ อภิปรายว่า นายสมศักดิ์ ได้ประสาน บชน. เพื่อขอตำรวจปราบจลาจลเข้ามาในสภาฯ ขอให้นายสมศักดิ์ ออกคำสั่งถอนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่บริเวณด้านหน้ารัฐสภา เพราะเป็นการคุกคามข่มขู่การทำหน้าที่สมาชิกรัฐสภา จึงขอให้พักการประชุม จนกว่าตำรวจปราบจลาจลจะกลับไป ท่ามกลางสียงตะโกนสนับสนุนของส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ว่าข่มขู่คุกคามสมาชิกรัฐสภา ที่นี่ไม่ใช่รัฐตำรวจ พร้อมกับมีเสียงนกหวีดจากฝั่ง ส.ส.ประชาธิปัตย์ จนทำให้นายนิคม ต้องสั่งพักการประชุม 10 นาที เพื่อตรวจสอบว่ามีตำรวจดังกล่าวจริงหรือไม่
เมื่อเปิดการประชุมอีกครั้ง นายนิคม ได้แจ้งว่าขอให้ดำเนินการประชุมต่อไปได้อย่างสบายใจ เพราะขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้กลับไปหมดแล้ว จากนั้นได้พยายามที่จะทำให้การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเดินต่อไป แต่ ส.ส.ฝ่ายค้านก็ยังคงประท้วงต่อ โดยนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช เรียกร้องให้ตรวจสอบหาตัวผู้สั่งการให้นำกองกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมาประจำที่หน้ารัฐสภา และยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ยกกำลังกลับ แต่มีการหลบเข้าไปอยู่ในบริเวณเขาดินแทน เพราะผู้บังคับบัญชาที่นำมา ได้ยืนยันกับผู้สื่อข่าวชัดเจนว่า มีคำสั่งให้นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจริง
นายฉลอง เรี่ยวแรง ส.ส. นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นกล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับพรรคประชาธิปัตย์ ที่ไม่ควรมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาคุมหน้าสภา โดยตนได้เดินเข้าไปสังเกตการณ์ และพบว่า มีตำรวจเข้ามาหน้าเขาดิน 50 นาย ซึ่งตนได้ซักถามว่าใครสั่งเข้ามา เขาบอกมีคนสั่งให้มา เพราะว่าสภาคุมไม่อยู่ แต่ตนบอกว่า ขอให้กลับไป เพราะพวกเราสามารถควบคุมได้ จะใช้เวทีในสภาจัดการปัญหากันเอง จึงขอให้สมาชิกสบายใจได้ เพราะตนได้ให้เจ้าหน้าที่กลับไปหมดแล้ว
ด้านนายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ ส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนอยากประสานคนที่สั่งเอาตำรวจเข้ามา เพราะเป็นการทำผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 131 เพราะระหว่างสมัยประชุมยังจับส.ส.ไม่ได้เลย แล้วจะเอาตำรวจมาข่มขู่ได้อย่างไร จึงต้องการให้หาตัวผู้สั่งการเพื่อดำเนินการถอดถอน และดำเนินคดีอาญา และยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจยังซุ่มอยู่กับสัตว์ และผีห่าซาตาน
**ส.ส.หญิงเปิดศึก"ชะนีโหยหวน"
ด้าน น.ส. ขัตติยา สวัสดิพล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นกล่าวว่า ตนเป็นสุภาพสตรี อยากให้มีตำรวจมาคุ้มครองความปลอดภัยส.ส.ในสภา เพราะรู้สึกได้ถึงความไม่ปลอดภัยในที่ประชุม อยู่ๆ มีเสียงร้องโหยหวน ไม่รู้ว่าอยู่ในสภา หรือในเขาดิน ไม่รู้เสียงชะนีที่ไหน
ฝ่ายนางนาถยา เบ็ญจศิริวรรณ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นจี้ให้มีการหาคนที่สั่งการให้กำลังเจ้าหน้าที่มาบริเวณหน้าสภา และขอให้ น.ส.ขัตติยา ถอนคำพูดว่า ชะนีโหยหวน ทำให้นายนิคม กล่าวว่า ขอให้พุดจาสุภาพ อย่าไปว่าสุภาพสตรีแสนสวย ซึ่งนางนาถยา ตอบโต้ว่า สวยอย่างต้องใช้สมอง ถ้าไม่มีสมอง ก็ไม่มีประโยชน์
** จี้เอาผิด"สมศักดิ์"สั่งตร.คุกคามส.ส.
ต่อมานายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ต้องการจะเปิดภาพคลิปเหตุการณ์ความวุ่นวายระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับสมาชิกฝ่ายค้านในสภามาเปิดในห้องประชุม แต่นายนิคม ไม่อนุญาต โดยให้นำมามอบให้กับตนดูก่อน
จากนั้นนายวิทยา แก้วภารดัย ส.ส. นครศรีธรรมราช กล่าวว่า นายสมศักดิ์ จะปัดความรับผิดชอบโดยโยนไปให้ ผอ.สำนักรักษาความปลอดภัยฯ ไม่ได้ เพราะเป็นผู้บริหาร จะต้องรับผิดชอบด้วย หากไม่ดำเนินการก็ไม่เหมาะสมที่จะมานั่งเก้าอี้ประธาน และขอให้นายสมศักดิ์ ออกมาชี้แจงเรื่องดังกล่าว
และแม้นายนิคม พยายามจะปัดว่านายสมศักดิ์ ได้รับผิดชอบเบื้องต้นไปแล้ว และจะตั้งกรรมการตรวจสอบต่อไป แต่สถานการณ์ในห้องประชุมก็ยังคงวุ่นวาย เพราะส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จำนวนมากได้ยืนประท้วง จนในที่สุดต้องจึงตัดสินใจพักการประชุม 15 นาที ซึ่งถือว่าเป็นการพักการประชุมเป็นรอบที่ 3 ของวัน
** "ค้อนปลอม"จำยอมรับผิด
ต่อมาเวลา 17.23 น. เริ่มมีการประชุมอีกครั้ง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้อนุญาตให้ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขออนุญาตให้เปิดคลิป เพื่อยืนยันว่ามีการเตรียมการนำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้ก่อนหน้านี้ และมีการเรียกกำลังมาหน้ารัฐสภา และมีการนำตำรวจปราบจลาจล ซึ่งที่ไม่ใช่ตำรวจจรตามที่ประธานอ้าง โดยในคลิปเป็นเหตุการณ์การเตรียมกองกำลังเจ้าหน้าที่ โดยช่วงหนึ่งแสดงให้เห็นเจ้าหน้าที่คนหนึ่งก้มดูนาฬิกา พร้อมกับพูดว่า “2 โมงกว่าแล้วนะ ให้เราเตรียมพร้อม” ซึ่งเป็นการ ยืนยันว่ามีการเตรียมการล่วงหน้า และเพื่อความสบายใจ ตนจะมอบเรื่องให้คณะกรรมาธิการกิจการสภา
น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นายสมศักดิ์ กล่าวชื่นชมผอ.กองรักษาความปลอดภัย ว่าตัดสินใจแก้สถานการณ์ได้ดี แต่ตามข้อบังคับการประชุมสภา ผอ.กองรักษาความปลอดภัย ไม่มีอำนาจสั่งงานแทนประธานรัฐสภา นอกจากเลขาธิการรัฐสภา
“ดังนั้นอย่าโยนขี้ให้ผอ.รับผิด ลูกผู้ชายต้องรับมาเลย แค่นี้คนก็ชื่นชมว่าเป็นลูกผู้ชายจริง อย่างนี้ไม่สมควรนั่งเป็นประธานเลย และที่บอกว่าจะยื่นให้กรรมาธิการกิจการสภา แต่นี่เป็นการประชุมรัฐสภา ไม่ใช่ประชุมส.ส. ดังนั้นต้องตั้งคณะกรรมการพิจารณา ไม่ต้องดูอะไร ประธานผิดเต็มประตูอยู่แล้ว ยอมรับดีกว่าว่าท่านเป็นคนสั่ง วันนี้ไม่ตัดสินเด็ดขาด ต่อไปตำรวจสภาก็สามารถสั่งได้ ถ้าเป็นผู้บริหารที่ดีต้องยอมรับผิด ในฐานะเป็นลูกผู้ชาย ดิฉันจะให้อภัย”
ด้านนายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตนก็อยากจะยอมรับผิด แต่จนใจจริงๆ เพราะไม่รู้จะรับอย่างไรเพราะไม่ได้สั่งจริงๆ แต่ น.ส.รังสิมา กล่าวว่า ถ้านายสมศักดิ์เป็นผู้บริหารที่ดีจริง ควรยอมรับแทนลูกน้อง แค่กล่าวยอมรับในสภา จะเสียหายตรงไหน ทุกคนพร้อมให้อภัยอยู่แล้ว
ในที่สุดนายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตนไม่อยากขัดใจ น.ส.รังสิมา เอาเป็นว่าตนยอมรับผิด และขอให้เข้าสู่วาระต่อไป และตนมีหนังสือคำสั่งเลขาธิการสภา ลงวันที่ 20 ให้ผอ. กองรักษาความปลอดภัยดำเนินการประสานไปยัง บชน.เพื่อขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมาหน้ารัฐสภา
** ปชป.ฮือตะเพิด"ขี้ข้าแม้ว"ลงบัลลังก์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเปิดประชุมมาอีกครั้ง ก็ยังไม่สามารถเดินหน้าพิจารณา ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาส.ว. แม้จะล่วงเลยมาเกือบ10 ชั่วโมง เพราะส.ส.ฝ่ายค้าน ยังคงประท้วงอย่างต่อเนื่อง ส่วนคนที่สงวนคำแปรญัติใน มาตรา 1 ก็ไม่ยอมอภิปราย จนในที่สุด นายสมศักดิ์ ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้ตัดสินใจสั่งให้ผ่านมาตรา 1 ไป โดยไม่มีการลงมติ เพราะถือว่า ส.ส.ที่สงวนคำแปรญัตติไม่ติดใจ ทำให้นายเทพไท เสนพงษ์ ส.ส. นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งต้องเป็นผู้อภิปรายไม่ยอมให้ผ่านไปได้ โดยตะโกนว่าตนยังติดใจที่จะอภิปรายใน มาตรา 1 ประธานไม่มีสิทธิ์มาตัดสิทธิ์ตน หากประธานจะเป็นขี้ข้าทักษิณ ก็เป็นไป แต่ตนไม่ยอม จะปิดปากได้อย่างไร ต้องลงมติ มาตรา 1
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่การประชุมกำลังปั่นป่วนอยู่นั้น ได้มีการเรียกกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา เพื่อมาควบคุมสมาชิกอีกครั้ง ยิ่งทำให้บรรยากาศระอุมากขึ้น โดย ส.ส.ทั้งหมดของพรรคประชาธิปัตย์ พากันลุกขึ้นยืน โดยบางส่วนได้มาล้อมบัลลังก์ของนายสมศักดิ์ พร้อมกับตะโกนด่านายสมศักดิ์ ด้วยถ้อยคำที่เผ็ดร้อน อาทิ นายสมศักดิ์ เป็นขี้ข้าทักษิณ เผด็จการ สภาทาส พร้อมกับมีการเป่านกหวีดตลอดเวลา
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส. ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ตะโกนให้ปิดประชุมไปเถอะ แล้วมาประชุมกันใหม่ เพราะตอนนี้เดินหน้าต่อไปไม่ได้แล้ว มีการเอากำลังมาล้อมแบบนี้ไม่ได้ ไม่สง่างาม
นายบุญยอด ตะโกนเสริมว่า ประธานรับใช้ใคร ตอนนี้เป็นเรื่องจริงแล้วว่าประธานสภารับใช้ใคร นายกฯ อยู่ไหน เห็นบอกว่าให้มาคุยกันในสภาแล้วทำไมไม่เห็นหน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในที่ประชุมยากที่นายสมศักดิ์จะควบคุมได้ต่อไป จึงได้ตัดสินใจสั่งพักการประชุมอีก เป็นครั้งที่ 5 โดยใช้เวลาไปกว่า 10 ชั่วโมง ก็ยังไม่สามารถพิจารณาการแก้ไขรธน.ได้
วานนี้ (20 ส.ค.) มีการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณา ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 115 มาตรา 116 วรรคสอง มาตรา 117 มาตรา 118 มาตรา 120 และ มาตรา 241 วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา 113 และมาตรา 114 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีนายนิคม ไวยรัชพาณิช รองประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม**ค้าน"นิคม"ทำหน้าที่ประธานการประชุม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทันทีที่เปิดประชุม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จะขอหารือเรื่องทั่วไป แต่นายนิคม ไม่อนุญาตให้มีการหารือ ทำให้ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ประท้วงว่าตัดสิทธิการรับรู้ความเดือดร้อนของประชาชน ขณะที่นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้สอบถามการถ่ายทอดสด และไม่ไว้ใจการทำหน้าที่ของนายนิคม เพราะร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ตัวเองมีวาระเพิ่มขึ้นว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อน และไม่มีความเป็นกลาง และขอให้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานวัฐสภา ขึ้นมาทำหน้าที่ตลอดการอภิปราย โดยมี นายธนา ชีรวินิจ ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวสนับสนุนว่า นายนิคม จะผิดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 เพราะทำหน้าที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดยมีการแก้ไขเพื่อให้พวกตนมาลงสมัครรับเลือกตั้งวุฒิสภาฯ ในปีหน้า อีกทั้งยังได้ลงชื่อสนับสนุนในร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ด้วย
ด้านนายนิคม ชี้แจงโดยยืนยันว่า ไม่ได้ทำผิดรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ส่วนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มา ส.ว. ตนไม่ได้ร่วมลงชื่อด้วย แต่ร่วมลงชื่ออีก 2 ร่าง (ม .190 เกี่ยวกับการลงนามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และ มาตรา 68 เกี่ยวกับสิทธิการพิทักษ์รธน. และ มาตรา 237 เกี่ยวกับการยุบพรรค และตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค) อีกทั้งการพิจารณา วาระ1 ตนก็ไม่ได้ร่วมอภิปรายด้วย ดังนั้นยืนยันว่า จะทำหน้าที่ประธานที่ประชุมต่อไป โดยอาศัยข้อบังคับการประชุมและรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ส.ส.ฝ่ายค้าน ยังคงเรียกร้องไม่ให้นายนิคม ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ขณะที่ส.ส.พรรคเพื่อไทยได้พยายามสนับสนุนให้นายนิคม ดำเนินการประชุมต่อไป เพราะอำนาจการตัดสินของประธานเป็นที่สิ้นสุด และยืนยันว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 อีกทั้งสภาชุดที่แล้ว ยังเคยแก้ไขเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส.ทั้ง 500 คน ทำไมจึงทำได้
** "นิคม"ไม่สนท้าให้ไปยื่นถอดถอน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่ม 40 ส.ว. จะพยายามคัดค้านไม่ให้นายนิคม ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพราะเห็นว่าจะทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่รัฐสภา และเกรงว่าจะรีบแก้รัฐธรรมนูญ เพราะกลัวว่าจะลงสมัครวุฒิสภาไม่ทัน แต่นายนิคม ยังแสดงท่าทีนิ่งเฉย พร้อมกับกล่าวว่า หากใครไม่พอใจ ก็ยื่นถอดถอนตนออกจากตำแหน่ง พร้อมกลับยืนยันการทำหน้าที่ และได้ตัดบทเข้าสู่วาระการประชุมทันที
จากนั้นนายสามารถ แก้วมีชัย ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของส.ว ได้อ่านรายงานว่า ที่ประชุมรัฐสภาเห็นสมควรแก้รัฐธรรมนูญ โดยมีหลักการให้ส.ว. มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนทั้งหมดเท่านั้น แต่มีสมาชิกหลายคนไม่เห็นด้วย และเสนอแปรญัตติ จำนวน 57 คน อาทิ ที่เห็นควรให้ให้มีส.ว.สรรหาอยู่ต่อไป ซึ่งเป็นการเสนอให้แก้ไขในหลักการ แต่เป็นการขัดต่อหลักการการแก้กฏหมาย หากที่ประชุมเห็นด้วยกับกรรมาธิการเสียงข้างมาก ก็จะทำให้ผู้แปรญัตติ จำนวน 57 คนนั้นไม่สามารถแปรญัตติในวาระ 2 ได้ แต่หากเห็นว่า สามารถทำได้โดยยกเว้นข้อบังคับการประชุมในเรื่องการขัดหลักการ ก็ต้องมีการลงมติตัดสิน
** โห่"ค้อนปลอม"ปิดปากฝ่ายค้าน
ทั้งนี้ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายยืนยันว่า การแปรญัตติในช่วงรับหลักการ ที่องค์ประชุมไม่ครบในวันที่ 4 เม.ย. ระหว่างการกำหนดวันแปรญัตติ และมีการนัดประชุมรับรองระยะเวลาแปรญัตติย้อนหลัง ถือว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าหากมีการส่งไปตีความ เชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับเป็นโมฆะ ทั้งนี้ตนพร้อมสมาชิกรัฐสภา 1 ใน 10 จะยื่นเรื่องตีความ โดยอาศัยช่องทางตามาตรา 291 วรรค 7 ประกอบมาตรา 154 150 151 เพราะได้รับการยืนยันจากคนที่เขียนกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 50 ว่าทำได้
อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่า ประธานรัฐสภา จะระงับไว้ และไม่ส่งศาลรัฐธรรมนูญ และจะต้องเจอกับตน ที่ศาลอาญาแน่นอน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการประชุมเริ่มตึงเครียด เมื่อมีการเปลี่ยนตัวประธานในที่ประชุม จากนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา มาเป็น นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา โดยนายสมศักดิ์ ได้ตัดบทไม่อนุญาตให้สมาชิก 57 คน ที่ขอแปรญัตติแต่ถูกประธานกรรมาธิการวินิจฉัยว่า ขัดต่อหลักการไปแล้วได้อภิปราย แต่จะอนุญาตให้อภิปรายได้ฝั่งละ 2 คนเท่านั้น
แต่ก็ถูกประท้วงจากฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ เพราะเป็นการจำกัดสิทธิ ของสมาชิกรัฐสภา และเห็นควรให้ทุกคนมีสิทธิพูด แต่ก็ไม่มีฝ่ายใดลดละ ทำให้นายสมศักดิ์ เริ่มโมโห และขอให้ลงมติเลย พร้อมกับบระบุว่า “ผมจำเป็นต้องใช้อำนาจประธาน สั่งให้ลงมติ เป็นไงเป็นกัน เกิดอะไรขึ้น ผมรับผิดชอบเอง”
จากนั้น นายสมศักดิ์ ได้กดสัญญาณให้สมาชิกเข้าห้องประชุมเพื่อลงมติ ท่ามกล่างเสียงโห่ ที่แสดงความไม่พอใจจากฝ่ายค้าน ผลปรากฏที่ประชุมมีมติ 339 เสียง เห็นว่าขัดหลักการ ขณะที่ 15 เสียงเห็นว่า ไม่ขัด
** สั่งตร.ลากส.ส.ที่ประท้วงออกห้อง
จากนั้น นายสามารถ แก้วมีชัย ได้อ่านรายละเอียด ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีการพิจารณาของกรรมาธิการแล้วเสร็จ แต่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ส่งเสียงโห่ประท้วงเป็นระยะ แม้นายสมศักดิ์ จะขอร้องให้รักษามารยาท โดยอ้างว่าประชาชนกำลังดูการถ่ายทอดอยู่ และให้ทุกคนโปรดอยู่ในความสงบ เพราะที่นี่คือรัฐสภา แต่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ยังคงพากันลุกขึ้นส่งเสียงโห่ โดยไม่สนใจต่อคำขอร้องของนายสมศักดิ์ จนทำให้นายสมศักดิ์ ต้องเดินไปหยิบค้อน ออกมา โดยบอกว่าตนไม่เคยใช้เลย พร้อมกับเคาะ 3 ที จากนั้นได้เรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา มาคุมตัวส.ส.ที่ไม่ยอมนั่ง อย่างไม่ต้องรีรอ ถ้าไม่ปฏิบัติตนถือว่าขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา และจะตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ทั้งนี้ บรรยากาศการประชุมเป็นไปอย่างสับสนวุ่นวาย เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา พยายามเข้าไปควบคุมตัว ส.ส. ตามคำสั่งของนายสมศักดิ์ โดยเดินไปล้อม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ อาทิ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ส.ส.อุทัยธานี นายวัชระ เพชรทอง ที่พากันยืนตะโกนว่า “สภาทาส” “ขี้ข้าทักษิณ”ซึ่งขณะนั้น น.ส. นริศา อดิเทพวรพันธุ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช และน.ส. พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล พรรคประชาธิปัตย์ ได้กรีดร้องเพราะตกใจที่เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาชายพยายามจะเข้ามาจับตัว จนเมื่อสถานการณ์เริ่มบานปลาย ทำให้นายสมศักดิ์ได้สั่งพักการประชุม10 นาที โดยระบุว่าเพื่อให้สมาชิกได้สงบสติอารมณ์
** ปิดปาก 57 ส.ส.ที่ยื่นแปรญัตติ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน ได้ขอหารือว่า ตน แปลกใจที่ประธานไม่ได้ตอบคำถามของสมาชิก และเรียกให้ผู้แปรญัติได้อภิปราย มิเช่นนั้นจะปิดการอภิปราย ตนหาทางออกให้เพื่อให้เกิดความร่วมมือกัน การที่ประธานพูด จะมาหารืออะไรทั้งวันทั้งคืน นั้น ไม่ใช่ เพราะนายนิพิฏฐ์ หารือเพื่อถามว่า จะยุติปัญหาอย่างไร และ การที่ประธาน จะขอมติ ไม่ทราบมติอะไร
ตน ถามว่ารัฐธรรมนูญมา ตราไหน หากมีการเสนอไปแล้วบอกว่าขัดหลักการหมด ไม่ใช่เป็นสิทธิ์ขาดของประธาน แต่การจะตีความว่า ขัดหรือไม่ เป็นอำนาจที่ประชุมนี้ว่า สมาชิกเสนออะไร และประธาน มีเหตุผลอะไรที่เห็นว่าขัดหลักการ หากบอกเพื่อประหยัดเวลาให้คนแปรญัตติเหมือนกันมารวมเพื่อวินิฉัยตนยังพอรับได้ แต่จะเหมารวมให้มีการอภิปรายเพียงสองคน แล้วแปลว่าครอบคลุมทั้ง 57 คนไม่ได้ ความจริงสมาชิกแปรญัตติ ไม่ขัดหลักการมีสิทธิ์ที่จะพูดอยู่แล้ว เขาจะแปรให้ขัดหลักการเพื่ออะไร
ด้านนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ยืนยันว่า มีผู้ยื่นแปรญัตติเกินกว่ากำหนดเวลา ซึ่งในข้อบังคับการประชุม ระบุชัดเจนว่า ต้องยื่นภายใน 15 วันหลังสภามีมติให้รับหลักการ วาระ 1 คือวันที่ 5 เม.ย. ดังนั้นต้องยื่นไม่เกินวันที่ 20 เม.ย. และตนใช้อำนาจนี้ วินิจฉัยตามนี้เลย
ส่วนกรณีที่ยื่นแปรญัตติ 57 คน ประธานกรรมาธิการฯ ชี้ว่า ขัดต่อหลักการ เมื่อขัดกับหลักการ ก็ไม่สามารถเสนอเข้ามาที่ประชุมสภาได้เลยแต่แรก
** ส่งตร.ควบคุมฝูงชนตรึงสภา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายในที่ประชุมรัฐสภาไม่ถึง 5 นาที กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจคุมฝูงชน จำนวน 150 นาย หรือหนึ่งกองร้อย นำโดย พล.ต.ต.ฐิติราช หนองหาญพิทักษ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นผู้บัญชาสถานการณ์ และให้เหตุผลการนำกำลังตำรวจมาประจำบริเวณหน้ารัฐสภา เพื่อดูแลความปลอดภัย เนื่องจากเกรงว่าอาจจะมีปัญหาจากภายนอกเข้าไปผสมโรงกับปัญหาในสภา โดยทาง บชน. มีศูนย์เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อยู่แล้ว จึงทำให้มารัฐสภาได้อย่างรวดเร็ว และไม่ได้มีคำสั่งพิเศษใดๆ แต่เป็นการประเมินสถานการณ์ว่า การประชุมรัฐสภาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 2 และ 3 เป็นสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งจากนี้ก็จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจคุมฝูงชนมาประจำการ จนกว่าการพิจารณาทั้ง 3 วาระ จะเสร็จสิ้นโดยจะประเมินจากสถานการณ์เป็นหลัก
ขณะที่บรรยากาศในรัฐสภาเกิดความวุ่นวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อส.ส.ฝ่ายค้าน ได้ทราบเรื่องที่มีการจัดเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนมาดูแลสถานการณ์ จึงมองว่าเป็นการข่มขู่คุกคาม การทำหน้าที่ในรัฐสภา จึงเรียกร้องให้มีการถอนกำลัง และเกิดความวุ่นวายในสภาขึ้น มีการเป่านกหวีดกลางสภา เพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่าไม่ยอมรับการกระทำดังกล่าว
** จวกใช้"รัฐตำรวจ"คุกคามส.ส.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเปิดการประชุมอีกครั้ง เวลา 14.30 น. ได้มีการเปลี่ยนตัวนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา มาทำหน้าที่ประธานแทนนายสมศักดิ์ โดยเริ่มพิจารณาใน มาตรา 1 ชื่อร่างกฎหมาย และคำปรารถ แต่ ส.ส. พรรคฝ่ายค้าน ยังคงตะโกนประท้วงอย่างต่อเนื่อง
โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า บรรยากาศการประชุมในวันนี้ไม่พร้อม เพราะการทำหน้าที่ของ 2 ประธาน วินิจฉัยคนละมาตรฐาน โดยนายนิคม บอกว่าเปิดโอกาสให้ผู้ที่แปรญัตติ ที่มองว่าขัดหลักการจำนวน 57 คน แต่ นายสมศักดิ์ ไม่อนุญาต
จากนั้นนายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้เปิดประเด็นประท้วงกรณีการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาในห้องประชุม กระชากแขนนายเทิดพงษ์ ไชยนันท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อายุกว่า 70 ปี และอุ้มนายนิพิฎฐ์ ด้วย
ขณะที่นายนิพิฎฐ์ อภิปรายว่า นายสมศักดิ์ ได้ประสาน บชน. เพื่อขอตำรวจปราบจลาจลเข้ามาในสภาฯ ขอให้นายสมศักดิ์ ออกคำสั่งถอนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่บริเวณด้านหน้ารัฐสภา เพราะเป็นการคุกคามข่มขู่การทำหน้าที่สมาชิกรัฐสภา จึงขอให้พักการประชุม จนกว่าตำรวจปราบจลาจลจะกลับไป ท่ามกลางสียงตะโกนสนับสนุนของส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ว่าข่มขู่คุกคามสมาชิกรัฐสภา ที่นี่ไม่ใช่รัฐตำรวจ พร้อมกับมีเสียงนกหวีดจากฝั่ง ส.ส.ประชาธิปัตย์ จนทำให้นายนิคม ต้องสั่งพักการประชุม 10 นาที เพื่อตรวจสอบว่ามีตำรวจดังกล่าวจริงหรือไม่
เมื่อเปิดการประชุมอีกครั้ง นายนิคม ได้แจ้งว่าขอให้ดำเนินการประชุมต่อไปได้อย่างสบายใจ เพราะขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้กลับไปหมดแล้ว จากนั้นได้พยายามที่จะทำให้การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเดินต่อไป แต่ ส.ส.ฝ่ายค้านก็ยังคงประท้วงต่อ โดยนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช เรียกร้องให้ตรวจสอบหาตัวผู้สั่งการให้นำกองกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมาประจำที่หน้ารัฐสภา และยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ยกกำลังกลับ แต่มีการหลบเข้าไปอยู่ในบริเวณเขาดินแทน เพราะผู้บังคับบัญชาที่นำมา ได้ยืนยันกับผู้สื่อข่าวชัดเจนว่า มีคำสั่งให้นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจริง
นายฉลอง เรี่ยวแรง ส.ส. นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นกล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับพรรคประชาธิปัตย์ ที่ไม่ควรมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาคุมหน้าสภา โดยตนได้เดินเข้าไปสังเกตการณ์ และพบว่า มีตำรวจเข้ามาหน้าเขาดิน 50 นาย ซึ่งตนได้ซักถามว่าใครสั่งเข้ามา เขาบอกมีคนสั่งให้มา เพราะว่าสภาคุมไม่อยู่ แต่ตนบอกว่า ขอให้กลับไป เพราะพวกเราสามารถควบคุมได้ จะใช้เวทีในสภาจัดการปัญหากันเอง จึงขอให้สมาชิกสบายใจได้ เพราะตนได้ให้เจ้าหน้าที่กลับไปหมดแล้ว
ด้านนายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ ส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนอยากประสานคนที่สั่งเอาตำรวจเข้ามา เพราะเป็นการทำผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 131 เพราะระหว่างสมัยประชุมยังจับส.ส.ไม่ได้เลย แล้วจะเอาตำรวจมาข่มขู่ได้อย่างไร จึงต้องการให้หาตัวผู้สั่งการเพื่อดำเนินการถอดถอน และดำเนินคดีอาญา และยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจยังซุ่มอยู่กับสัตว์ และผีห่าซาตาน
**ส.ส.หญิงเปิดศึก"ชะนีโหยหวน"
ด้าน น.ส. ขัตติยา สวัสดิพล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นกล่าวว่า ตนเป็นสุภาพสตรี อยากให้มีตำรวจมาคุ้มครองความปลอดภัยส.ส.ในสภา เพราะรู้สึกได้ถึงความไม่ปลอดภัยในที่ประชุม อยู่ๆ มีเสียงร้องโหยหวน ไม่รู้ว่าอยู่ในสภา หรือในเขาดิน ไม่รู้เสียงชะนีที่ไหน
ฝ่ายนางนาถยา เบ็ญจศิริวรรณ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นจี้ให้มีการหาคนที่สั่งการให้กำลังเจ้าหน้าที่มาบริเวณหน้าสภา และขอให้ น.ส.ขัตติยา ถอนคำพูดว่า ชะนีโหยหวน ทำให้นายนิคม กล่าวว่า ขอให้พุดจาสุภาพ อย่าไปว่าสุภาพสตรีแสนสวย ซึ่งนางนาถยา ตอบโต้ว่า สวยอย่างต้องใช้สมอง ถ้าไม่มีสมอง ก็ไม่มีประโยชน์
** จี้เอาผิด"สมศักดิ์"สั่งตร.คุกคามส.ส.
ต่อมานายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ต้องการจะเปิดภาพคลิปเหตุการณ์ความวุ่นวายระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับสมาชิกฝ่ายค้านในสภามาเปิดในห้องประชุม แต่นายนิคม ไม่อนุญาต โดยให้นำมามอบให้กับตนดูก่อน
จากนั้นนายวิทยา แก้วภารดัย ส.ส. นครศรีธรรมราช กล่าวว่า นายสมศักดิ์ จะปัดความรับผิดชอบโดยโยนไปให้ ผอ.สำนักรักษาความปลอดภัยฯ ไม่ได้ เพราะเป็นผู้บริหาร จะต้องรับผิดชอบด้วย หากไม่ดำเนินการก็ไม่เหมาะสมที่จะมานั่งเก้าอี้ประธาน และขอให้นายสมศักดิ์ ออกมาชี้แจงเรื่องดังกล่าว
และแม้นายนิคม พยายามจะปัดว่านายสมศักดิ์ ได้รับผิดชอบเบื้องต้นไปแล้ว และจะตั้งกรรมการตรวจสอบต่อไป แต่สถานการณ์ในห้องประชุมก็ยังคงวุ่นวาย เพราะส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จำนวนมากได้ยืนประท้วง จนในที่สุดต้องจึงตัดสินใจพักการประชุม 15 นาที ซึ่งถือว่าเป็นการพักการประชุมเป็นรอบที่ 3 ของวัน
** "ค้อนปลอม"จำยอมรับผิด
ต่อมาเวลา 17.23 น. เริ่มมีการประชุมอีกครั้ง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้อนุญาตให้ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขออนุญาตให้เปิดคลิป เพื่อยืนยันว่ามีการเตรียมการนำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้ก่อนหน้านี้ และมีการเรียกกำลังมาหน้ารัฐสภา และมีการนำตำรวจปราบจลาจล ซึ่งที่ไม่ใช่ตำรวจจรตามที่ประธานอ้าง โดยในคลิปเป็นเหตุการณ์การเตรียมกองกำลังเจ้าหน้าที่ โดยช่วงหนึ่งแสดงให้เห็นเจ้าหน้าที่คนหนึ่งก้มดูนาฬิกา พร้อมกับพูดว่า “2 โมงกว่าแล้วนะ ให้เราเตรียมพร้อม” ซึ่งเป็นการ ยืนยันว่ามีการเตรียมการล่วงหน้า และเพื่อความสบายใจ ตนจะมอบเรื่องให้คณะกรรมาธิการกิจการสภา
น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นายสมศักดิ์ กล่าวชื่นชมผอ.กองรักษาความปลอดภัย ว่าตัดสินใจแก้สถานการณ์ได้ดี แต่ตามข้อบังคับการประชุมสภา ผอ.กองรักษาความปลอดภัย ไม่มีอำนาจสั่งงานแทนประธานรัฐสภา นอกจากเลขาธิการรัฐสภา
“ดังนั้นอย่าโยนขี้ให้ผอ.รับผิด ลูกผู้ชายต้องรับมาเลย แค่นี้คนก็ชื่นชมว่าเป็นลูกผู้ชายจริง อย่างนี้ไม่สมควรนั่งเป็นประธานเลย และที่บอกว่าจะยื่นให้กรรมาธิการกิจการสภา แต่นี่เป็นการประชุมรัฐสภา ไม่ใช่ประชุมส.ส. ดังนั้นต้องตั้งคณะกรรมการพิจารณา ไม่ต้องดูอะไร ประธานผิดเต็มประตูอยู่แล้ว ยอมรับดีกว่าว่าท่านเป็นคนสั่ง วันนี้ไม่ตัดสินเด็ดขาด ต่อไปตำรวจสภาก็สามารถสั่งได้ ถ้าเป็นผู้บริหารที่ดีต้องยอมรับผิด ในฐานะเป็นลูกผู้ชาย ดิฉันจะให้อภัย”
ด้านนายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตนก็อยากจะยอมรับผิด แต่จนใจจริงๆ เพราะไม่รู้จะรับอย่างไรเพราะไม่ได้สั่งจริงๆ แต่ น.ส.รังสิมา กล่าวว่า ถ้านายสมศักดิ์เป็นผู้บริหารที่ดีจริง ควรยอมรับแทนลูกน้อง แค่กล่าวยอมรับในสภา จะเสียหายตรงไหน ทุกคนพร้อมให้อภัยอยู่แล้ว
ในที่สุดนายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตนไม่อยากขัดใจ น.ส.รังสิมา เอาเป็นว่าตนยอมรับผิด และขอให้เข้าสู่วาระต่อไป และตนมีหนังสือคำสั่งเลขาธิการสภา ลงวันที่ 20 ให้ผอ. กองรักษาความปลอดภัยดำเนินการประสานไปยัง บชน.เพื่อขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมาหน้ารัฐสภา
** ปชป.ฮือตะเพิด"ขี้ข้าแม้ว"ลงบัลลังก์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเปิดประชุมมาอีกครั้ง ก็ยังไม่สามารถเดินหน้าพิจารณา ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาส.ว. แม้จะล่วงเลยมาเกือบ10 ชั่วโมง เพราะส.ส.ฝ่ายค้าน ยังคงประท้วงอย่างต่อเนื่อง ส่วนคนที่สงวนคำแปรญัติใน มาตรา 1 ก็ไม่ยอมอภิปราย จนในที่สุด นายสมศักดิ์ ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้ตัดสินใจสั่งให้ผ่านมาตรา 1 ไป โดยไม่มีการลงมติ เพราะถือว่า ส.ส.ที่สงวนคำแปรญัตติไม่ติดใจ ทำให้นายเทพไท เสนพงษ์ ส.ส. นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งต้องเป็นผู้อภิปรายไม่ยอมให้ผ่านไปได้ โดยตะโกนว่าตนยังติดใจที่จะอภิปรายใน มาตรา 1 ประธานไม่มีสิทธิ์มาตัดสิทธิ์ตน หากประธานจะเป็นขี้ข้าทักษิณ ก็เป็นไป แต่ตนไม่ยอม จะปิดปากได้อย่างไร ต้องลงมติ มาตรา 1
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่การประชุมกำลังปั่นป่วนอยู่นั้น ได้มีการเรียกกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา เพื่อมาควบคุมสมาชิกอีกครั้ง ยิ่งทำให้บรรยากาศระอุมากขึ้น โดย ส.ส.ทั้งหมดของพรรคประชาธิปัตย์ พากันลุกขึ้นยืน โดยบางส่วนได้มาล้อมบัลลังก์ของนายสมศักดิ์ พร้อมกับตะโกนด่านายสมศักดิ์ ด้วยถ้อยคำที่เผ็ดร้อน อาทิ นายสมศักดิ์ เป็นขี้ข้าทักษิณ เผด็จการ สภาทาส พร้อมกับมีการเป่านกหวีดตลอดเวลา
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส. ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ตะโกนให้ปิดประชุมไปเถอะ แล้วมาประชุมกันใหม่ เพราะตอนนี้เดินหน้าต่อไปไม่ได้แล้ว มีการเอากำลังมาล้อมแบบนี้ไม่ได้ ไม่สง่างาม
นายบุญยอด ตะโกนเสริมว่า ประธานรับใช้ใคร ตอนนี้เป็นเรื่องจริงแล้วว่าประธานสภารับใช้ใคร นายกฯ อยู่ไหน เห็นบอกว่าให้มาคุยกันในสภาแล้วทำไมไม่เห็นหน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในที่ประชุมยากที่นายสมศักดิ์จะควบคุมได้ต่อไป จึงได้ตัดสินใจสั่งพักการประชุมอีก เป็นครั้งที่ 5 โดยใช้เวลาไปกว่า 10 ชั่วโมง ก็ยังไม่สามารถพิจารณาการแก้ไขรธน.ได้