วานนี้(20 ส.ค. 56 ) ร.ท.หญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย หรือ คปก. ซึ่งมี ดร.คณิต ณ นคร เป็นประธาน เกี่ยวกับการทบทวนกฎหมาย 221 ฉบับที่ตราโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 2550
ภายหลังเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย. 49 ถึง 23 ธ.ค. 50 เนื่องจาก พบว่ากระบวนการออกกฎหมายของ สนช. ดังกล่าว มีปัญหาเรื่องความชอบธรรมหลายประการ เช่น ปัญหาองค์ประชุมไม่ครบ และไม่มีตัวแทนของประชาชนร่วมพิจารณา เนื่องจาก เป็นช่วงเวลาภายหลังการปฏิวัติรัฐประหาร ทำให้การเมืองไทยไม่มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดย คปก. ได้เสนอแนวทางปรับปรุงกฎหมายที่ตราโดย สนช. แบ่งเป็น 3 แนวทาง คือ 1. ให้ปรับปรุงแก้ไขเนื้อหากฎหมาย ในสาระสำคัญ จำนวน 34 ฉบับ 2. ให้ยกเลิกกฎหมาย 1 ฉบับ และ 3.ให้คงกฎหมายไว้เช่นเดิมแต่สามารถทบทวนแก้ไขได้ภายหลัง 75 ฉบับ
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีเห็นว่า ในจำนวนกฎหมายที่ คปก. เสนอให้ปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาจำนวน 8 ฉบับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารนั้น เห็นควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ก.ม. ตามข้อเสนอของ คปก. ได้ทันที และให้ความร่วมมือกับคณะกรรมาธิการฯ รัฐสภา ที่เกี่ยวข้องในการให้ความคิดเห็นประกอบการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่ตราโดย สนช. ดังกล่าว
ส่วนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอิสระ ศาล หรือฝ่ายตุลาการ นั้น ครม. เห็นว่า ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ คปก. ในการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญในการศึกษาทบทวนว่าควรจะต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่อย่างไร เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าฝ่ายบริหารไม่ได้มีความประสงค์ที่จะ เข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซง อำนาจตุลาการ หรือ องค์กรอิสระ
สำหรับ กฎหมาย 8 ฉบับที่ คปก. เห็นควรให้ปรับปรุงแก้ไขในสาระสำคัญ ประกอบด้วย 1. พรก. แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549ซึ่ง คปก. เห็นว่าการกำหนดสัดส่วนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ยังไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในการถ่ายโอนภารกิจ 2. พรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 คปก. เห็นควรให้พิจารณาบทบาทและอำนาจหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้ง กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่ง ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และบทบาทหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน 3. พรบ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 คปก. เห็นควรให้พิจารณาประเด็นเกี่ยวกับการสนับสนุนงบประมาณ รวมทั้งบทบาทและอำนาจหน้าที่ของสภาองค์กรชุมชนในภาพรวม
4. พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 คปก. เห็นว่าเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความมั่นคง และมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก จึงควรมีการพิจารณาบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการรับผิด ซึ่งมีเนื้อหากว้างและไม่มีความชัดเจน ประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของ server หรือ ผู้ให้บริการ และ ความผิดซ้ำซ้อนกับประมวลกฎหมายอาญา 5. พรบ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 (คปก. ไม่ได้ระบุเหตุผลที่เสนอให้แก้ไข) 6. พรบ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 (คปก. ไม่ได้ระบุเหตุผลที่เสนอให้แก้ไข)
7. พรบ.พัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 คปก. เห็นควรให้แก้ไขเพิ่มเติมนิยามเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน รวมทั้งปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน และปรับปรุงอำนาจหน้าที่ให้มากขึ้น และ 8. พรบ. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550คปก. เห็นว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบและที่มาของคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ จังหวัด และกรุงเทพมหานคร เพื่อให้รวมถึงองค์กรสวัสดิการชุมชน ส่วนกฎหมายที่ คปก. เห็นควรให้ยกเลิก คือ พรบ.ว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และได้สิ้นสุดไปแล้ว จึงทำให้ พรบ. ดังกล่าวหมดอายุตามไปด้วยโดยปริยาย
ภายหลังเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย. 49 ถึง 23 ธ.ค. 50 เนื่องจาก พบว่ากระบวนการออกกฎหมายของ สนช. ดังกล่าว มีปัญหาเรื่องความชอบธรรมหลายประการ เช่น ปัญหาองค์ประชุมไม่ครบ และไม่มีตัวแทนของประชาชนร่วมพิจารณา เนื่องจาก เป็นช่วงเวลาภายหลังการปฏิวัติรัฐประหาร ทำให้การเมืองไทยไม่มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดย คปก. ได้เสนอแนวทางปรับปรุงกฎหมายที่ตราโดย สนช. แบ่งเป็น 3 แนวทาง คือ 1. ให้ปรับปรุงแก้ไขเนื้อหากฎหมาย ในสาระสำคัญ จำนวน 34 ฉบับ 2. ให้ยกเลิกกฎหมาย 1 ฉบับ และ 3.ให้คงกฎหมายไว้เช่นเดิมแต่สามารถทบทวนแก้ไขได้ภายหลัง 75 ฉบับ
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีเห็นว่า ในจำนวนกฎหมายที่ คปก. เสนอให้ปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาจำนวน 8 ฉบับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารนั้น เห็นควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ก.ม. ตามข้อเสนอของ คปก. ได้ทันที และให้ความร่วมมือกับคณะกรรมาธิการฯ รัฐสภา ที่เกี่ยวข้องในการให้ความคิดเห็นประกอบการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่ตราโดย สนช. ดังกล่าว
ส่วนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอิสระ ศาล หรือฝ่ายตุลาการ นั้น ครม. เห็นว่า ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ คปก. ในการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญในการศึกษาทบทวนว่าควรจะต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่อย่างไร เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าฝ่ายบริหารไม่ได้มีความประสงค์ที่จะ เข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซง อำนาจตุลาการ หรือ องค์กรอิสระ
สำหรับ กฎหมาย 8 ฉบับที่ คปก. เห็นควรให้ปรับปรุงแก้ไขในสาระสำคัญ ประกอบด้วย 1. พรก. แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549ซึ่ง คปก. เห็นว่าการกำหนดสัดส่วนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ยังไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในการถ่ายโอนภารกิจ 2. พรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 คปก. เห็นควรให้พิจารณาบทบาทและอำนาจหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้ง กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่ง ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และบทบาทหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน 3. พรบ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 คปก. เห็นควรให้พิจารณาประเด็นเกี่ยวกับการสนับสนุนงบประมาณ รวมทั้งบทบาทและอำนาจหน้าที่ของสภาองค์กรชุมชนในภาพรวม
4. พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 คปก. เห็นว่าเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความมั่นคง และมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก จึงควรมีการพิจารณาบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการรับผิด ซึ่งมีเนื้อหากว้างและไม่มีความชัดเจน ประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของ server หรือ ผู้ให้บริการ และ ความผิดซ้ำซ้อนกับประมวลกฎหมายอาญา 5. พรบ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 (คปก. ไม่ได้ระบุเหตุผลที่เสนอให้แก้ไข) 6. พรบ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 (คปก. ไม่ได้ระบุเหตุผลที่เสนอให้แก้ไข)
7. พรบ.พัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 คปก. เห็นควรให้แก้ไขเพิ่มเติมนิยามเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน รวมทั้งปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน และปรับปรุงอำนาจหน้าที่ให้มากขึ้น และ 8. พรบ. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550คปก. เห็นว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบและที่มาของคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ จังหวัด และกรุงเทพมหานคร เพื่อให้รวมถึงองค์กรสวัสดิการชุมชน ส่วนกฎหมายที่ คปก. เห็นควรให้ยกเลิก คือ พรบ.ว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และได้สิ้นสุดไปแล้ว จึงทำให้ พรบ. ดังกล่าวหมดอายุตามไปด้วยโดยปริยาย