วานนี้(28 ก.ค.56) นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า วันที่ 29 ก.ค. จะยื่นเรื่องต่อนายกรัฐมนตรี ขอให้ตรวจสอบคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) ว่าดำเนินการนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือกระทำการเกินกว่าอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย มาตรา 19 (5) หรือไม่ หลังจาก คปก.ชุดที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธานฯ ได้มีหนังสือที่ คปก. 01/721 เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ว่าอาจขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ซึ่ง คปก.ย่อมทราบดีว่าร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เสนอโดยคณะรัฐมนตรี แต่ในมาตรา 19 (5) ไม่ได้บัญญัตให้อำนาจคปก.ตรวจสอบไว้ ถ้าคปก.ยังไม่เข้าใจอำนาจหน้าที่ หรือไม่ได้พิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนแล้วจะทำหน้าที่ต่อไปได้อย่างไร จึงขอให้นายกฯตรวจสอบ หากพบว่าดำเนินการเกินกว่ากรอบอำนาจหน้าที่จริง ก็ขอให้คปก.พิจารณาตัวเองเพื่อพ้นจากหน้าที่ดังกล่าวหรือไม่
อีกด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงจำนวน 4 เส้นทาง โดยเส้นทางที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน รวมความระยะทาง 225 กิโลเมตร จากการประเมิณเบื้องต้นพบว่าอาจจะมีประชาชนมาใช้บริการไม่มากนัก เนื่องจากคนส่วนใหญ่ที่ต้องการเดินทางไปหัวหินมักจะเดินทางครอบครัว ไม่นิยมเดินทางคนเดียว จากผลการศึกษาพิเคราะห์ว่าไม่คุ้มต่อการลงทุน จึงอาจจะมีการชะลอแผนการสร้าง แล้วนำงบประมาณไปทุ่มทุ่มกับเส้นทางอื่น หรืออาจมีการปรับแผนลงทุกใหม่เป็นรถไฟรางคู่ที่ใช้ระบบการเดินรถแบบระบบไฟฟ้า หรืออาจขยายเส้นทางไปถึงจังหวัดชุมพรแทน
นายจุฬากล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้อาจมีการขยายเส้นทางอื่นเพิ่ม เช่น เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ให้มีระยะทางยาวขึ้น เนื่องจากเส้นทางเหล่านี้ค่อนข้างคุ้มค่าในการลงทุน โดยจะสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหินจะเผยผลการศึกษาได้ในเดือน มิ.ย. 2557, สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก สรุปผลได้ในเดือน ธ.ค. 2557, สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา สรุปผลได้ในเดือน มี.ค. 2557, และสำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา จะสรุปผลได้ในเดือน ส.ค. 2557 นอกจากนี้ยังมีเส้นทางต่อเนื่องพิษณุโลก-เชียงใหม่ คาดว่าจะสรุปผลการศึกษาได้ในเดือน ส.ค.นี้
ส่วนความคืบหน้าเรื่อง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ขณะนี้กำลังเข้าสู่การพิจราณาสภาผู้แทนราษฏรในวันที่ 7 ส.ค. นี้ แต่หากมีความล่าช้าหรือไม่ผ่านการพิจารณาอาจต้องปรับแผนไปใช้เงินกู้รายโครงการตามปีงบประมาณแทน และจะเริ่มเดินหน้าโครงการขยายถนน 4 เลนก่อน เนื่องจากเป็นโครงการที่มีความพร้อมมากที่สุด
อีกด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงจำนวน 4 เส้นทาง โดยเส้นทางที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน รวมความระยะทาง 225 กิโลเมตร จากการประเมิณเบื้องต้นพบว่าอาจจะมีประชาชนมาใช้บริการไม่มากนัก เนื่องจากคนส่วนใหญ่ที่ต้องการเดินทางไปหัวหินมักจะเดินทางครอบครัว ไม่นิยมเดินทางคนเดียว จากผลการศึกษาพิเคราะห์ว่าไม่คุ้มต่อการลงทุน จึงอาจจะมีการชะลอแผนการสร้าง แล้วนำงบประมาณไปทุ่มทุ่มกับเส้นทางอื่น หรืออาจมีการปรับแผนลงทุกใหม่เป็นรถไฟรางคู่ที่ใช้ระบบการเดินรถแบบระบบไฟฟ้า หรืออาจขยายเส้นทางไปถึงจังหวัดชุมพรแทน
นายจุฬากล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้อาจมีการขยายเส้นทางอื่นเพิ่ม เช่น เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ให้มีระยะทางยาวขึ้น เนื่องจากเส้นทางเหล่านี้ค่อนข้างคุ้มค่าในการลงทุน โดยจะสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหินจะเผยผลการศึกษาได้ในเดือน มิ.ย. 2557, สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก สรุปผลได้ในเดือน ธ.ค. 2557, สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา สรุปผลได้ในเดือน มี.ค. 2557, และสำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา จะสรุปผลได้ในเดือน ส.ค. 2557 นอกจากนี้ยังมีเส้นทางต่อเนื่องพิษณุโลก-เชียงใหม่ คาดว่าจะสรุปผลการศึกษาได้ในเดือน ส.ค.นี้
ส่วนความคืบหน้าเรื่อง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ขณะนี้กำลังเข้าสู่การพิจราณาสภาผู้แทนราษฏรในวันที่ 7 ส.ค. นี้ แต่หากมีความล่าช้าหรือไม่ผ่านการพิจารณาอาจต้องปรับแผนไปใช้เงินกู้รายโครงการตามปีงบประมาณแทน และจะเริ่มเดินหน้าโครงการขยายถนน 4 เลนก่อน เนื่องจากเป็นโครงการที่มีความพร้อมมากที่สุด