วานนี้(19 ส.ค.56) พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เป็นประธานในงานวันสถาปนาครบรอบ 14ปี สำนักงานป้องักนและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พร้อมแถลงปลดล็อคประเทศไทยจากกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย อย่างสมบูรณ์ โดยพ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการปปง. กล่าวถึงผลดำเนินการของปปง.ตามพรบ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกงเนิ พ.ศ. 2542มีการยึดอายัดทรัพย์สินรวมมูลค่าประมาณ 7พันล้านบาท โดยเฉพาะในปี ที่ 13และปีที่ 14หรือปี พ.ศ. 2555และ 2556มีการยึดทรัพย์ได้รวมมูลค่ามากถึง 2,700ล้านบาท
สำหรับปีนี้ ปปง.จะการตรวจสอบเส้นทางการเงินบัญชีของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์เพื่อไปสู่การยึดอายัด และให้มีการถอนรายชื่อประเทศไทยออกจากประเทศที่ต้องจับตามองในการค้ามนุษย์ (Tier Watch list) โดยงานครบรอบ 14ปี ในวันนี้ ปปง.ได้งดรับดอกไม้หรือกระเช้า แต่ขอให้ร่วมกันบริจาคเงินไปช่วยเหลือเหยื่อที่ถูกกระทำจากการค้ามนุษย์แทน
จากข้อมูลการประเมินความเสี่ยง ประเทศไทย ในด้านการฟอกเงิน ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ร่วมประเมินด้วย ภาพรวมพบว่า ในปี 2554และ 2555ประเทศไทย ยังมีความเสี่ยงเรื่องการฟอกเงิน โดยเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปี 2554ที่มีมูลค่าประมาณ 9.6ล้านล้านบาท พบมีปริมาณเงินในการฟอกเงินประมาณ 120,000ล้านบาท โดยทรัพย์ในการฟอกเงินจำแนกตามประเภทอาชญากรรม อาทิ การพนัน การปลอมแปลงและละเมิดสินค้า การฉ้อโกง การค้าประเวณี การหนีภาษีสรรพสามิต การทุจริตเรียกรับสินบน การค้าอาวุธที่ผิดกฎหมาย คดียาเสพติด คดีลักลอบขนของเถื่อน คดีค้ามนุษย์ และคดีปั่นหุ้น ทั้งนี้ยังพบว่า เงินที่ได้จากการฟอกมาจากความผิดฐานการพนันมากที่สุด หรือมากกว่าครึ่งของเงินในระบบฟอกเงิน ดังนั้นอีกภารกิจที่ต้องเร่งดำเนินการคือการใช้กฎหมายฟอกเงินอย่างจริงจังในการปราบปรามยึดอายัดทรัพย์สินจากบ่อนการพนัน
สำหรับทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดในประเทศครึ่งหนึ่งเป็นธุรกรรมเงินสด ส่วนที่เหลือเป็นตราสารการเงินและทรัพย์สินอื่นๆ โดยสัดส่วนของทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดเป็นขององค์กรอาชญากรรม 80% หรือประมาณ 811,300 ล้านบาท แบ่งเป็นองค์กรอาชญากรรมในประเทศ 55% หรือ 557,000 ล้านบาท และองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ 45% หรือ 456,300 ล้านบาท
สำหรับปีนี้ ปปง.จะการตรวจสอบเส้นทางการเงินบัญชีของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์เพื่อไปสู่การยึดอายัด และให้มีการถอนรายชื่อประเทศไทยออกจากประเทศที่ต้องจับตามองในการค้ามนุษย์ (Tier Watch list) โดยงานครบรอบ 14ปี ในวันนี้ ปปง.ได้งดรับดอกไม้หรือกระเช้า แต่ขอให้ร่วมกันบริจาคเงินไปช่วยเหลือเหยื่อที่ถูกกระทำจากการค้ามนุษย์แทน
จากข้อมูลการประเมินความเสี่ยง ประเทศไทย ในด้านการฟอกเงิน ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ร่วมประเมินด้วย ภาพรวมพบว่า ในปี 2554และ 2555ประเทศไทย ยังมีความเสี่ยงเรื่องการฟอกเงิน โดยเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปี 2554ที่มีมูลค่าประมาณ 9.6ล้านล้านบาท พบมีปริมาณเงินในการฟอกเงินประมาณ 120,000ล้านบาท โดยทรัพย์ในการฟอกเงินจำแนกตามประเภทอาชญากรรม อาทิ การพนัน การปลอมแปลงและละเมิดสินค้า การฉ้อโกง การค้าประเวณี การหนีภาษีสรรพสามิต การทุจริตเรียกรับสินบน การค้าอาวุธที่ผิดกฎหมาย คดียาเสพติด คดีลักลอบขนของเถื่อน คดีค้ามนุษย์ และคดีปั่นหุ้น ทั้งนี้ยังพบว่า เงินที่ได้จากการฟอกมาจากความผิดฐานการพนันมากที่สุด หรือมากกว่าครึ่งของเงินในระบบฟอกเงิน ดังนั้นอีกภารกิจที่ต้องเร่งดำเนินการคือการใช้กฎหมายฟอกเงินอย่างจริงจังในการปราบปรามยึดอายัดทรัพย์สินจากบ่อนการพนัน
สำหรับทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดในประเทศครึ่งหนึ่งเป็นธุรกรรมเงินสด ส่วนที่เหลือเป็นตราสารการเงินและทรัพย์สินอื่นๆ โดยสัดส่วนของทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดเป็นขององค์กรอาชญากรรม 80% หรือประมาณ 811,300 ล้านบาท แบ่งเป็นองค์กรอาชญากรรมในประเทศ 55% หรือ 557,000 ล้านบาท และองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ 45% หรือ 456,300 ล้านบาท