ก.ล.ต.เสนอแล้ว เพิ่มการเอาผิดพวกปั่นหุ้นทางแพ่งควบคู่ทางอาญา หวังเพิ่มประสิทธิภาพกำกับดูแล และเพิ่มความรวดเร็วในการลงโทษ ทั้งปรับเพิ่ม สั่งห้ามลงทุน 5 ปี แถมสามารถยึดเงินปั่นส่งเข้าหลวง พร้อมพ่วงสสนอแก้กฎหมายควบรวมกิจการ เอื้อบริษัทจดทะเบียนขยายตัว รองรับ AEC ที่เหลือรอคลังพิจารณา
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า เพื่อลงโทษผู้ทำความผิดคดีปั่นหุ้นให้มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว รองรับการซื้อหลักทรัพย์ในปัจจุบัน ก.ล.ต.ได้เสนอแก้ไขร่าง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 2535 ในเรื่องการดำเนินคดีต่อผู้ที่กระทำผิดในตลาดหลักทรัพย์ฯ กรณีการสร้างราคาหลักทรัพย์ (ปั่นหุ้น) การเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จ และการใช้ข้อมูลภายใน แก่กระทรวงการคลังตั้งแต่ต้นปี 2556 เพราะแต่เดิมเรื่องดังกล่าวถือเป็นความผิดทางอาญา ซึ่งมีกระบวนการ และขั้นตอนหลายขั้นกว่าจะตัดสิน หรือดำเนินคดีต่อผู้ที่กระทำผิดได้ บางหลักฐานที่สามารถเอาผิดได้ แต่ด้วยระยะเวลาของขั้นตอนที่ยาวนานได้ทำให้หลักฐานเหล่านั้นหายไป ทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อผู้กระทำผิดได้เต็มประสิทธิภาพ
“พวกนี้ถือเป็นอาชญากรรมเศรษฐกิจ ไม่ใช่พวกไม่เจตนากระทำ แต่จงใจกระทำ โดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างรัดกุม ทำให้ข้อกฎหมายที่จะเอาผิดไม่สามารถจัดการได้อย่างเต็มที่ หลักฐานที่มีบางทีด้วยขั้นตอนที่ยาวนานก็ทำให้หายไป หรืออ่อนลงไป”
โดยแนวคิดใหม่ ก.ล.ต.ที่ยื่นขอปรับปรุงคือ ให้การกระทำผิดดังกล่าวสามารถดำเนินคดีทางแพ่งควบคู่กับการดำเนินคดีทางอาญาได้ด้วย พร้อมเพิ่มมาตรการลงโทษผู้ที่กระทำผิด ทั้งการเพิ่มค่าปรับ และการห้ามผู้กระทำผิดเข้ามาลงทุนในหลักทรัพย์เป็นระยะเวลา 5 ปี รวมทั้งมีอำนาจหยุดเงินที่เกิดจากการกระทำผิดในการซื้อขายหลักทรัพย์ได้ทันทีที่มีหลักฐาน ไม่ให้ผู้กระทำผิดสามารถนำเงินดังกล่าวไปหาผลประโยชน์จนกว่าคดีจะได้ข้อยุติ เพื่อป้องกันไม่ให้เงินจำนวนดังกล่าวถูกใช้ในการปั่นหุ้นอื่นๆ อีก และต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายให้แก่สำนักงานฯ ที่มีภาระในการตรวจสอบด้วย
“เดิมพวกนี้เป็นคดีอาญา มันมีขั้นตอนหลายขั้นกว่าจะได้ข้อสรุป ต้องผ่านดีเอสไอ อัยการ และขึ้นศาล ซึ่งมีระยะเวลาที่นาน แต่แนวคิดใหม่คือ จะดำเนินคิดได้ทั้งทางแพ่งและอาญา สามารถยึดเงินที่เชื่อว่าทำการปั่นหุ้นได้ทันที ไม่ใช่ปล่อยให้คนทำผิดเอาเงินไปก่อน เงินที่ได้มาก็จะส่งเข้าหลวงเก็บไว้จนกว่าคดีจะแล้วเสร็จ”
เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ในเรื่องการปรับผู้กระทำผิด จะมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการทางแพ่งขึ้นมาพิจารณาในเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งจะพิจารณาว่าเรื่องที่เกิดขึ้นจะดำเนินการเฉพาะทางอาญา หรือทางแพ่งควบคู่ไปด้วย หากเริ่มต้นจากทางแพ่งควบคู่ คณะกรรมการชุดดังกล่าวจะมีการเรียกผู้กระทำผิดมาสอบสวน และอาจ พิจารณายึดเงินที่ต้องสงสัยจากการปั่นหุ้นเข้าคลัง พร้อมเปรียบเทียบปรับทางแพ่ง พอการดำเนินงานทางอาญาได้ข้อสรุปว่าผิดจริงก็จะโดนเปรียบเทียบปรับทางอาญาอีกครั้ง และหากมีความร้ายแรงมากก็อาจจะถูกคณะกรรมการชุดนี้พิจารณาโทษห้ามเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และอื่นๆ เป็นเวลา 5 ปี
“การนำกฎหมายแพ่งมาใช้ จะช่วยทำให้การตรวจสอบการกำกับดูแลมีประสิทธิภาพ และสามารถนำตัวผู้ทำความผิดมาลงโทษได้มากขึ้น เพราะกฎหมายที่ปรับปรุงใหม่หากเชื่อว่ามีการทำความผิด จะสามารถเชิญตัวมาให้ปากคำเพิ่มเติมได้ทันที ไม่ต้องพิสูจน์จนปราศจากข้อสงสัยว่ามีการทำผิดจริงเสียก่อนเหมือนทางอาญาที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งบางครั้งข้อเท็จจริงที่ได้ไม่สามารถต่อภาพให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ทำให้คดีถูกยกฟ้อง หรือไม่มีการส่งฟ้อง”
สำหรับวิธีดำเนินการนั้น จะมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาลงโทษทางแพ่ง หากผู้ทำผิดยอมรับผิดก็จะเสียค่าปรับในอัตราไม่เกิน 3 เท่าของผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น แต่หากไม่ยอมรับก็จะถูกส่งต่อเข้ากระบวนการพิจารณาของศาลต่อไป
ล่าสุด คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้นำเรื่องการปั่นหุ้นเป็นหนึ่งในมูลฐานความผิดตามกฎหมาย ปปง. ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ทำให้ ปปง.สามารถเข้าไปยึดทรัพย์ผู้ที่ทำความผิดปั่นหุ้นได้ และกฎหมายก็ให้อำนาจในการยึดทรัพย์ย้อนหลังได้ด้วยแล้ว
ทั้งนี้ จุดเด่นของร่าง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักกทรัพย์ ที่จะปรับปรุง คือ การให้อำนาจ ก.ล.ต. สามารถสืบสวนสอบสวนได้ เพื่อลดความล่าช้าในการส่งฟ้องผ่านกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งที่ผ่านมา ดีเอสไอจะเริ่มนับหนึ่งใหม่ ทั้งการหาพยานหลักฐาน รวมทั้งสอบสวนพยานบุคคล
โดยร่างกฎหมายมาตรการลงโทษทางแพ่งเป็น 1 ใน 8 มาตรการปฏิรูปตลาดทุนไทย ตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทย 5 ปี (พ.ศ.2553-2557) ขอบข่ายของอำนาจร่างกฎหมายดังกล่าว แบ่งเป็น 5 ลักษณะความผิดประกอบด้วย 1.ความผิดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล เช่น บริษัทเปิดเผยข้อมูลเป็นเท็จ 2.การซื้อขายโดยอาศัยข้อมูลภายใน 3.ปั่นหุ้น 4.การทุจริตในการบริหารบริษัท และ 5.การประกอบธุรกิจเถื่อน ซึ่งในด้านกลไกของร่างกฎหมายมาตรการลงโทษทางแพ่ง เมื่อเข้าข่าย 5 ความผิดดังกล่าวแล้ว ก.ล.ต.จะพิจารณาว่าสมควรจะใช้มาตรการทางแพ่งหรือไม่ โดยการเสนอคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการทางแพ่ง เพื่อไต่สวน/ชั่งน้ำหนัก และกำหนดมาตรการลงโทษแทนการกล่าวโทษต่อดีเอสไอ
พร้อมเร่งคลังแก้ กม.ควบรวมกิจการ
นอกจากนี้ ก.ล.ต.ได้เสนอแก้ไขร่าง พ.ร.บ.บริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ.2535 ในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การควบรวมกิจการของบริษัทจดทะเบียนแก่กระทรวงการคลังด้วย ในช่วง1 เดือนก่อนหน้านี้ หลังพบว่ากฎเกณฑ์ของเรื่องดังกล่าวที่มีอยู่ในปัจจุบันมีความซับซ้อน และไม่เอื้ออำนวยต่อการควบรวมกิจการของภาคเอกชน
“เรามองว่าเกณฑ์ที่มีอยู่ไม่เอื้อต่อการควบรวมกิจการที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการปรับปรุงหลักเกณฑ์ครั้งนี้เพื่อรองรับการเติบโตของประเทศไทยในปัจจุบัน และอนาคต และการขยายตัวทางเสรี ซึ่งภาคเอกชนต้องเตรียมพร้อมรองรับการเปิดเสรีในอนาคต เรามองว่าธุรกิจไทยต้องเข้าไปในภูมิภาคมากขึ้น เอกชนต้องมองถึงการจำหน่ายสินค้าให้แก่ประเทศอื่นๆ ด้วย”
สำหรับเกณฑ์ที่จะมีการปรับปรุง เช่น การแลกหุ้นเพื่อควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ซึ่งเดิมเมื่อทั้ง 2 บริษัทต้องการจะควบรวมกิจการ ราคาหุ้นที่จะใช้ในการแลกเปลี่ยนการถือหุ้น จะถูกนำไปคิดคำนวณด้านภาษีทันที ทั้งที่การดำเนินการยังไม่เกิดขึ้น ปัญหาดังกล่าวจะถูกแก้ไขจัดการตามข้อเสนอแนะที่ ก.ล.ต.ได้ยื่นเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณา นอกจากนี้ ยังมีการเสนอแก้ไขเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การซื้อคืนหุ้นกรณีมีผู้คัดค้านการควบรวมกิจการ เป็นต้น แต่ไม่มีการแก้ไขกรณีบริษัทที่ควบรวมกิจการ สามารถนำผลขาดทุนสะสมมาใช้เพื่อให้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้
โต้งเห็นพ้องเพิ่มโทษทางแพ่งกรณีปั่นหุ้น
เมื่อเร็วๆ นี้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ตนสนับสนุน และเห็นด้วยในหลักการที่ให้มีการเพิ่มโทษทางแพ่ง นอกเหนือจากโทษทางอาญาสำหรับนักปั่นหุ้น ซึ่งถือว่าเป็นการกำหนดตามมาตรฐานสากล แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็ต้องผ่านบทพิสูจน์อีกหลายเรื่อง เช่น ความเชื่อถือในกระบวนการที่โปร่งใส ไม่กลั่นแกล้งใคร ทั้งในชั้นหน่วยงาน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
“ผมคิดว่าโทษทางอาญามันน่าจะแรงเพียงพอ แต่ถ้ามีทางเลือกที่สามารถพิจารณาโทษบางกรณีโทษทางแพ่งได้ไหม ผมก็เห็นด้วยในหลักการ โดยหลักการค่าปรับ คือ 2 เท่าของประโยชน์ที่ได้รับ ก็ถือว่าไม่คุ้มกับประโยชน์ที่ได้ แถมเสียคนด้วย” นายกิตติรัตน์ กล่าว
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า เพื่อลงโทษผู้ทำความผิดคดีปั่นหุ้นให้มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว รองรับการซื้อหลักทรัพย์ในปัจจุบัน ก.ล.ต.ได้เสนอแก้ไขร่าง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 2535 ในเรื่องการดำเนินคดีต่อผู้ที่กระทำผิดในตลาดหลักทรัพย์ฯ กรณีการสร้างราคาหลักทรัพย์ (ปั่นหุ้น) การเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จ และการใช้ข้อมูลภายใน แก่กระทรวงการคลังตั้งแต่ต้นปี 2556 เพราะแต่เดิมเรื่องดังกล่าวถือเป็นความผิดทางอาญา ซึ่งมีกระบวนการ และขั้นตอนหลายขั้นกว่าจะตัดสิน หรือดำเนินคดีต่อผู้ที่กระทำผิดได้ บางหลักฐานที่สามารถเอาผิดได้ แต่ด้วยระยะเวลาของขั้นตอนที่ยาวนานได้ทำให้หลักฐานเหล่านั้นหายไป ทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อผู้กระทำผิดได้เต็มประสิทธิภาพ
“พวกนี้ถือเป็นอาชญากรรมเศรษฐกิจ ไม่ใช่พวกไม่เจตนากระทำ แต่จงใจกระทำ โดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างรัดกุม ทำให้ข้อกฎหมายที่จะเอาผิดไม่สามารถจัดการได้อย่างเต็มที่ หลักฐานที่มีบางทีด้วยขั้นตอนที่ยาวนานก็ทำให้หายไป หรืออ่อนลงไป”
โดยแนวคิดใหม่ ก.ล.ต.ที่ยื่นขอปรับปรุงคือ ให้การกระทำผิดดังกล่าวสามารถดำเนินคดีทางแพ่งควบคู่กับการดำเนินคดีทางอาญาได้ด้วย พร้อมเพิ่มมาตรการลงโทษผู้ที่กระทำผิด ทั้งการเพิ่มค่าปรับ และการห้ามผู้กระทำผิดเข้ามาลงทุนในหลักทรัพย์เป็นระยะเวลา 5 ปี รวมทั้งมีอำนาจหยุดเงินที่เกิดจากการกระทำผิดในการซื้อขายหลักทรัพย์ได้ทันทีที่มีหลักฐาน ไม่ให้ผู้กระทำผิดสามารถนำเงินดังกล่าวไปหาผลประโยชน์จนกว่าคดีจะได้ข้อยุติ เพื่อป้องกันไม่ให้เงินจำนวนดังกล่าวถูกใช้ในการปั่นหุ้นอื่นๆ อีก และต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายให้แก่สำนักงานฯ ที่มีภาระในการตรวจสอบด้วย
“เดิมพวกนี้เป็นคดีอาญา มันมีขั้นตอนหลายขั้นกว่าจะได้ข้อสรุป ต้องผ่านดีเอสไอ อัยการ และขึ้นศาล ซึ่งมีระยะเวลาที่นาน แต่แนวคิดใหม่คือ จะดำเนินคิดได้ทั้งทางแพ่งและอาญา สามารถยึดเงินที่เชื่อว่าทำการปั่นหุ้นได้ทันที ไม่ใช่ปล่อยให้คนทำผิดเอาเงินไปก่อน เงินที่ได้มาก็จะส่งเข้าหลวงเก็บไว้จนกว่าคดีจะแล้วเสร็จ”
เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ในเรื่องการปรับผู้กระทำผิด จะมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการทางแพ่งขึ้นมาพิจารณาในเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งจะพิจารณาว่าเรื่องที่เกิดขึ้นจะดำเนินการเฉพาะทางอาญา หรือทางแพ่งควบคู่ไปด้วย หากเริ่มต้นจากทางแพ่งควบคู่ คณะกรรมการชุดดังกล่าวจะมีการเรียกผู้กระทำผิดมาสอบสวน และอาจ พิจารณายึดเงินที่ต้องสงสัยจากการปั่นหุ้นเข้าคลัง พร้อมเปรียบเทียบปรับทางแพ่ง พอการดำเนินงานทางอาญาได้ข้อสรุปว่าผิดจริงก็จะโดนเปรียบเทียบปรับทางอาญาอีกครั้ง และหากมีความร้ายแรงมากก็อาจจะถูกคณะกรรมการชุดนี้พิจารณาโทษห้ามเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และอื่นๆ เป็นเวลา 5 ปี
“การนำกฎหมายแพ่งมาใช้ จะช่วยทำให้การตรวจสอบการกำกับดูแลมีประสิทธิภาพ และสามารถนำตัวผู้ทำความผิดมาลงโทษได้มากขึ้น เพราะกฎหมายที่ปรับปรุงใหม่หากเชื่อว่ามีการทำความผิด จะสามารถเชิญตัวมาให้ปากคำเพิ่มเติมได้ทันที ไม่ต้องพิสูจน์จนปราศจากข้อสงสัยว่ามีการทำผิดจริงเสียก่อนเหมือนทางอาญาที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งบางครั้งข้อเท็จจริงที่ได้ไม่สามารถต่อภาพให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ทำให้คดีถูกยกฟ้อง หรือไม่มีการส่งฟ้อง”
สำหรับวิธีดำเนินการนั้น จะมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาลงโทษทางแพ่ง หากผู้ทำผิดยอมรับผิดก็จะเสียค่าปรับในอัตราไม่เกิน 3 เท่าของผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น แต่หากไม่ยอมรับก็จะถูกส่งต่อเข้ากระบวนการพิจารณาของศาลต่อไป
ล่าสุด คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้นำเรื่องการปั่นหุ้นเป็นหนึ่งในมูลฐานความผิดตามกฎหมาย ปปง. ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ทำให้ ปปง.สามารถเข้าไปยึดทรัพย์ผู้ที่ทำความผิดปั่นหุ้นได้ และกฎหมายก็ให้อำนาจในการยึดทรัพย์ย้อนหลังได้ด้วยแล้ว
ทั้งนี้ จุดเด่นของร่าง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักกทรัพย์ ที่จะปรับปรุง คือ การให้อำนาจ ก.ล.ต. สามารถสืบสวนสอบสวนได้ เพื่อลดความล่าช้าในการส่งฟ้องผ่านกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งที่ผ่านมา ดีเอสไอจะเริ่มนับหนึ่งใหม่ ทั้งการหาพยานหลักฐาน รวมทั้งสอบสวนพยานบุคคล
โดยร่างกฎหมายมาตรการลงโทษทางแพ่งเป็น 1 ใน 8 มาตรการปฏิรูปตลาดทุนไทย ตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทย 5 ปี (พ.ศ.2553-2557) ขอบข่ายของอำนาจร่างกฎหมายดังกล่าว แบ่งเป็น 5 ลักษณะความผิดประกอบด้วย 1.ความผิดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล เช่น บริษัทเปิดเผยข้อมูลเป็นเท็จ 2.การซื้อขายโดยอาศัยข้อมูลภายใน 3.ปั่นหุ้น 4.การทุจริตในการบริหารบริษัท และ 5.การประกอบธุรกิจเถื่อน ซึ่งในด้านกลไกของร่างกฎหมายมาตรการลงโทษทางแพ่ง เมื่อเข้าข่าย 5 ความผิดดังกล่าวแล้ว ก.ล.ต.จะพิจารณาว่าสมควรจะใช้มาตรการทางแพ่งหรือไม่ โดยการเสนอคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการทางแพ่ง เพื่อไต่สวน/ชั่งน้ำหนัก และกำหนดมาตรการลงโทษแทนการกล่าวโทษต่อดีเอสไอ
พร้อมเร่งคลังแก้ กม.ควบรวมกิจการ
นอกจากนี้ ก.ล.ต.ได้เสนอแก้ไขร่าง พ.ร.บ.บริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ.2535 ในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การควบรวมกิจการของบริษัทจดทะเบียนแก่กระทรวงการคลังด้วย ในช่วง1 เดือนก่อนหน้านี้ หลังพบว่ากฎเกณฑ์ของเรื่องดังกล่าวที่มีอยู่ในปัจจุบันมีความซับซ้อน และไม่เอื้ออำนวยต่อการควบรวมกิจการของภาคเอกชน
“เรามองว่าเกณฑ์ที่มีอยู่ไม่เอื้อต่อการควบรวมกิจการที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการปรับปรุงหลักเกณฑ์ครั้งนี้เพื่อรองรับการเติบโตของประเทศไทยในปัจจุบัน และอนาคต และการขยายตัวทางเสรี ซึ่งภาคเอกชนต้องเตรียมพร้อมรองรับการเปิดเสรีในอนาคต เรามองว่าธุรกิจไทยต้องเข้าไปในภูมิภาคมากขึ้น เอกชนต้องมองถึงการจำหน่ายสินค้าให้แก่ประเทศอื่นๆ ด้วย”
สำหรับเกณฑ์ที่จะมีการปรับปรุง เช่น การแลกหุ้นเพื่อควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ซึ่งเดิมเมื่อทั้ง 2 บริษัทต้องการจะควบรวมกิจการ ราคาหุ้นที่จะใช้ในการแลกเปลี่ยนการถือหุ้น จะถูกนำไปคิดคำนวณด้านภาษีทันที ทั้งที่การดำเนินการยังไม่เกิดขึ้น ปัญหาดังกล่าวจะถูกแก้ไขจัดการตามข้อเสนอแนะที่ ก.ล.ต.ได้ยื่นเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณา นอกจากนี้ ยังมีการเสนอแก้ไขเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การซื้อคืนหุ้นกรณีมีผู้คัดค้านการควบรวมกิจการ เป็นต้น แต่ไม่มีการแก้ไขกรณีบริษัทที่ควบรวมกิจการ สามารถนำผลขาดทุนสะสมมาใช้เพื่อให้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้
โต้งเห็นพ้องเพิ่มโทษทางแพ่งกรณีปั่นหุ้น
เมื่อเร็วๆ นี้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ตนสนับสนุน และเห็นด้วยในหลักการที่ให้มีการเพิ่มโทษทางแพ่ง นอกเหนือจากโทษทางอาญาสำหรับนักปั่นหุ้น ซึ่งถือว่าเป็นการกำหนดตามมาตรฐานสากล แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็ต้องผ่านบทพิสูจน์อีกหลายเรื่อง เช่น ความเชื่อถือในกระบวนการที่โปร่งใส ไม่กลั่นแกล้งใคร ทั้งในชั้นหน่วยงาน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
“ผมคิดว่าโทษทางอาญามันน่าจะแรงเพียงพอ แต่ถ้ามีทางเลือกที่สามารถพิจารณาโทษบางกรณีโทษทางแพ่งได้ไหม ผมก็เห็นด้วยในหลักการ โดยหลักการค่าปรับ คือ 2 เท่าของประโยชน์ที่ได้รับ ก็ถือว่าไม่คุ้มกับประโยชน์ที่ได้ แถมเสียคนด้วย” นายกิตติรัตน์ กล่าว