ตั้งแต่ตัดสินใจเด็ดเดี่ยวเสี่ยงชีวิตลุกขึ้นสู้ชนิดตายเป็นตายเจ๊งเป็นเจ๊งตั้งแต่เมื่อ 8 ปีก่อน คุณสนธิ ลิ้มทองกุลก็ไม่ได้มีจุดยืนเพียงเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเท่านั้น แต่ได้แสดงจุดยืนไว้ชัดว่าเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงในความหมายที่กว้างกว่านั้น
นี่คือคำปฏิญาณที่มีต่อหน้าพระบรมฉายาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2548 ณ สวนลุมพินี หลังจบรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร
.........
ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
สถานการณ์ของประเทศไทย ณ บัดนี้ เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าวิกฤตกำลังเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน ทั้งวิกฤตทางสังคม วิกฤตทางจริยธรรม วิกฤตทางเศรษฐกิจ และวิกฤตทางการเมือง เป็นวิกฤตที่ไม่อาจขจัดปัดเป่าได้ด้วยระบอบการเมืองและคณะผู้นำทางการเมืองที่ดำรงอยู่ ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ประเด็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยได้รับการหยิบยกขึ้นมาอภิปรายในสังคมไทยอย่างกว้างขวางในลักษณะไม่เคยปรากฏมาก่อน นี่ไม่ใช่เหตุบังเอิญ หากแต่เป็นสัจธรรมที่ว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้นำไร้คุณธรรม เมื่อนั้นประชาชนจะถวิลหาพระเจ้าอยู่หัว เพราะพระเจ้าอยู่หัวของพสกนิกรชาวไทย คือใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทฯ ทรงอยู่ในราชสมบัติมาต่อเนื่องยาวนาน ไม่แพ้กษัตริย์พระองค์ใดในโลก รวมแล้ว 59 ปีเต็ม นับตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2489 ปีหน้าจะครบ 60 ปีเต็ม จึงทำให้ทรงรู้ ทรงเห็นเหตุการณ์ต่างๆ ในบ้านเมืองมาตลอด เป็นแหล่งสะสมประสบการณ์ของบ้านเมืองไว้มากที่สุด มากกว่ารัฐสภา มากกว่ารัฐบาล ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทฯ ไม่ได้ทรงมีบารมีขึ้นมาจากทฤษฎีการเมืองใด หากแต่โดยการปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อพสกนิกร
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทฯ ทรงพิสูจน์พระองค์แล้วว่าเป็นสัจจะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทฯ ทรงยุติวิกฤติในบ้านเมืองลงได้หลายครั้งหลายหน นับตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 สงครามการเมืองกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย สงครามกับความยากจนผ่านโครงการพระราชดำริต่าง ๆ เหตุการณ์ 17-20 พฤษภาคม 2535 และที่สำคัญที่สุดก็คือ การพระราชทานยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ที่พิจารณาอย่างถึงที่สุดแล้ว คือฉันทมติกรุงรัตนโกสินทร์ ที่หากได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจังทั้งสังคมแล้ว ภายใต้การนำของรัฐบาลที่มีจิตสำนึกแล้ว ย่อมเป็นอาวุธอันทรงพลานุภาพ สามารถต่อกรกับฉันทมติกรุงวอชิงตันได้
ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในอดีตที่ก่อให้เกิดการนำแนวคิดของระบอบกึ่งประธานาธิบดีมาผสมผสานในโครงการสร้างพื้นฐานทางการเมืองของประเทศไทยโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ด้วยมาตรการหลาย ๆ ประการที่มอบอำนาจ เอกสิทธิ์ และอภิสิทธิ์ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงบังคับผู้สมัคร ส.ส.ให้ต้องสังกัดพรรคการเมือง และการให้ย้ายออกจากพรรคการเมืองทำได้ยากขึ้นนั้น เมื่อนำมาใช้ในประเทศไทย ภายใต้สภาพสังคมวิทยาทางการเมืองที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเงื่อนไขเดิม กล่าวคือ ความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ ระหว่างชนบทกับเมือง วัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์ที่หยั่งรากลึก และการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ เมื่อประกอบส่วนเข้ากับลัทธิเสรีนิยมใหม่ ที่นำพาลัทธิบริโภคนิยมเข้าครอบงำจิตสำนึก และจิตวิญญาณของคนไทย รวมทั้งวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ที่เปลี่ยนแปลงภูมิศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์ของกลุ่มทุนในประเทศไทย ทำให้การเมืองใหม่กลายเป็นการเมืองผูกขาดของเงินที่เข้มแข็งที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทำให้รัฐบาลที่มาจากพันธมิตรกลุ่มทุนใหม่เป็นรัฐบาลที่เข้มแข็งที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ทำให้ผู้นำของรัฐบาลใหม่ที่มาจากพันธมิตรของกลุ่มทุนใหม่ เป็นผู้นำที่เต็มไปด้วยความอหังการมมังการ เย่อหยิ่ง จองหอง และไม่สนใจขนบประเพณีใด ๆ กับทั้งมีพฤติกรรมในลักษณะละเมิดพระราชอำนาจมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
กลุ่มทุนผูกขาดที่เข้าครองอำนาจรัฐได้ใช้อำนาจรัฐนั้น ปกป้องและขยายฐานทางธุรกิจของตนเองด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง และบิดเบือนการใช้อำนาจหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งฉ้อฉลนำทรัพย์สมบัติของแผ่นดินมาแบ่งปันกันในหมู่พวกพ้องโดยอาศัยนวัตกรรมของลัทธิเสรีนิยมใหม่จนก่อให้เกิดสภาพผูกขาดทางธุรกิจ ที่จะเป็นวัฏจักรนำไปสู่การผูกขาดทางการเมืองให้กระชับแน่นขึ้นอีก
วัฏจักรอุบาทว์ใหม่นี้จะยุติลงได้ด้วยหลักราชประชาสมาสัย ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน อันเป็นหลักนิติธรรมดั้งเดิมของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศไทย
เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า กลุ่มทุนผูกขาดที่เข้ามาครองอำนาจรัฐต้องการสร้างหลักนิติธรรมใหม่ขึ้นมาเพื่อลบล้างหลักนิติธรรมเดิมที่ว่าด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนนี้ลง โดยให้รัฐบาลที่อ้างว่ามาจากความชอบธรรม จากการชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไปเข้ามาแทรกอยู่ตรงกลาง
ปวงข้าพระพุทธเจ้าไม่ปฏิเสธรัฐบาลภายใต้เงื่อนไขที่ว่า รัฐบาลยังเป็นตัวแทนของประชาชน ตราบเท่าที่รัฐบาลยังยึดมั่นในครองแห่งธรรม ตราบเท่าที่รัฐบาลนั้นยังคงซื่อสัตย์ต่อพันธะสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน และตราบเท่าที่รัฐบาลนั้นสัตย์ซื่อในคำปฏิญาณที่มีไว้ให้กับใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท รัฐบาลนั้นยังเป็นตัวแทนของประชาชน
สถานการณ์ของชาติบ้านเมืองในเวลานี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการแก้ไข ปรับปรุงรายละเอียดของรัฐธรรมนูญด้วยแนวทางสันติวิธี และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดการถวายพระราชอำนาจคืนแด่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ในการพระราชทานผู้นำในการปฏิรูปการเมือง เพื่อดำเนินการจัดโครงสร้างองค์กรทางการเมืองใหม่ ผ่านการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ที่อย่างน้อยจะต้องมีสารัตถะไม่บังคับผู้สมัคร ส.ส.สังกัดพรรคการเมือง ไม่มีมาตรการทำลายพรรคขนาดเล็ก นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง และจัดระบบที่มาของวุฒิสภาเสียใหม่ไม่ให้เป็นช่องทางแทรกแซงของพรรคการเมืองทั้งหมด รวมทั้งจะต้องมีมาตรการพิเศษเฉพาะหน้าเพื่อการขจัดคอร์รัปชั่นในโครงการใหญ่ ให้เป็นผลเป็นรูปธรรม
โครงสร้างทางการเมืองใหม่ที่มาจากการพระราชทานผู้นำในการปฏิรูปการเมืองของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทนี้ ประชาชนทั้งประเทศจะเป็นผู้ออกเสียงเป็นประชามติก่อนประกาศใช้ เพื่อให้เป็นไปตามหลักของราชประชาสมาศรัย เป็นความอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
.......
ผมเชื่อว่าคุณสนธิ ลิ้มทองกุลไม่ใช่คนที่รักตัวกลัวตาย ไม่ใช่คนที่เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนเป็นสรณะ และไม่ใช่คนที่จะนั่งดูดายตลอดไปในยามที่บ้านเมืองยังวิบัติและการต่อสู้ของตนยังไม่บรรลุผล
คน ๆ นี้ยังพร้อมที่จะเสี่ยง ยังพร้อมที่จะเสียสละ อย่าว่าแต่จะขัดคำสั่งศาลเลย แม้ชีวิตก็พร้อมพลี
เพียงแต่กับชีวิตเดียวที่เหลืออยู่ และชีวิตของพี่น้องประชาชนที่ยังยึดมั่นศรัทธากันอยู่
การเสี่ยงและการเสียสละครั้งสุดท้ายจะต้องเป็นไปเพื่อเป้าหมายสูงสุดที่ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณไว้นี้เท่านั้น
ข้อเสนอที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุลมีต่อพรรคการเมืองพรรคหนึ่งอยู่บนหลักการพื้นฐานนี้
เป็นข้อเสนอที่ผ่านการใคร่ครวญแล้วว่าหากพรรคการเมืองพรรคนั้นขานรับ และร่วมปฏิบัติ แม้จะไม่มีหลักประกันจะต้องสำเร็จเต็มร้อย แต่ก็เต็มใจที่จะร่วมเดินตามในฐานะมวลชนคนหนึ่งทันที
เป็นข้อเสนอที่แม้เสมือนมีต่อพรรคการเมืองหนึ่ง แต่แท้จริงแล้ว เป็นการตอบคำถามทั้งมวลต่อการตัดสินใจทางการเมืองตลอด 1 ปีที่ผ่านมาของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และการตัดสินใจที่จะมีในอนาคต
จะรักจะชังจะเห็นพ้องหรือเห็นต่างไม่สำคัญเท่ากับว่าเข้าใจหลักการพื้นฐานนี้อย่างถ่องแท้แล้วหรือยัง
นี่คือคำปฏิญาณที่มีต่อหน้าพระบรมฉายาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2548 ณ สวนลุมพินี หลังจบรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร
.........
ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
สถานการณ์ของประเทศไทย ณ บัดนี้ เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าวิกฤตกำลังเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน ทั้งวิกฤตทางสังคม วิกฤตทางจริยธรรม วิกฤตทางเศรษฐกิจ และวิกฤตทางการเมือง เป็นวิกฤตที่ไม่อาจขจัดปัดเป่าได้ด้วยระบอบการเมืองและคณะผู้นำทางการเมืองที่ดำรงอยู่ ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ประเด็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยได้รับการหยิบยกขึ้นมาอภิปรายในสังคมไทยอย่างกว้างขวางในลักษณะไม่เคยปรากฏมาก่อน นี่ไม่ใช่เหตุบังเอิญ หากแต่เป็นสัจธรรมที่ว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้นำไร้คุณธรรม เมื่อนั้นประชาชนจะถวิลหาพระเจ้าอยู่หัว เพราะพระเจ้าอยู่หัวของพสกนิกรชาวไทย คือใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทฯ ทรงอยู่ในราชสมบัติมาต่อเนื่องยาวนาน ไม่แพ้กษัตริย์พระองค์ใดในโลก รวมแล้ว 59 ปีเต็ม นับตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2489 ปีหน้าจะครบ 60 ปีเต็ม จึงทำให้ทรงรู้ ทรงเห็นเหตุการณ์ต่างๆ ในบ้านเมืองมาตลอด เป็นแหล่งสะสมประสบการณ์ของบ้านเมืองไว้มากที่สุด มากกว่ารัฐสภา มากกว่ารัฐบาล ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทฯ ไม่ได้ทรงมีบารมีขึ้นมาจากทฤษฎีการเมืองใด หากแต่โดยการปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อพสกนิกร
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทฯ ทรงพิสูจน์พระองค์แล้วว่าเป็นสัจจะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทฯ ทรงยุติวิกฤติในบ้านเมืองลงได้หลายครั้งหลายหน นับตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 สงครามการเมืองกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย สงครามกับความยากจนผ่านโครงการพระราชดำริต่าง ๆ เหตุการณ์ 17-20 พฤษภาคม 2535 และที่สำคัญที่สุดก็คือ การพระราชทานยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ที่พิจารณาอย่างถึงที่สุดแล้ว คือฉันทมติกรุงรัตนโกสินทร์ ที่หากได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจังทั้งสังคมแล้ว ภายใต้การนำของรัฐบาลที่มีจิตสำนึกแล้ว ย่อมเป็นอาวุธอันทรงพลานุภาพ สามารถต่อกรกับฉันทมติกรุงวอชิงตันได้
ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในอดีตที่ก่อให้เกิดการนำแนวคิดของระบอบกึ่งประธานาธิบดีมาผสมผสานในโครงการสร้างพื้นฐานทางการเมืองของประเทศไทยโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ด้วยมาตรการหลาย ๆ ประการที่มอบอำนาจ เอกสิทธิ์ และอภิสิทธิ์ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงบังคับผู้สมัคร ส.ส.ให้ต้องสังกัดพรรคการเมือง และการให้ย้ายออกจากพรรคการเมืองทำได้ยากขึ้นนั้น เมื่อนำมาใช้ในประเทศไทย ภายใต้สภาพสังคมวิทยาทางการเมืองที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเงื่อนไขเดิม กล่าวคือ ความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ ระหว่างชนบทกับเมือง วัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์ที่หยั่งรากลึก และการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ เมื่อประกอบส่วนเข้ากับลัทธิเสรีนิยมใหม่ ที่นำพาลัทธิบริโภคนิยมเข้าครอบงำจิตสำนึก และจิตวิญญาณของคนไทย รวมทั้งวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ที่เปลี่ยนแปลงภูมิศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์ของกลุ่มทุนในประเทศไทย ทำให้การเมืองใหม่กลายเป็นการเมืองผูกขาดของเงินที่เข้มแข็งที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทำให้รัฐบาลที่มาจากพันธมิตรกลุ่มทุนใหม่เป็นรัฐบาลที่เข้มแข็งที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ทำให้ผู้นำของรัฐบาลใหม่ที่มาจากพันธมิตรของกลุ่มทุนใหม่ เป็นผู้นำที่เต็มไปด้วยความอหังการมมังการ เย่อหยิ่ง จองหอง และไม่สนใจขนบประเพณีใด ๆ กับทั้งมีพฤติกรรมในลักษณะละเมิดพระราชอำนาจมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
กลุ่มทุนผูกขาดที่เข้าครองอำนาจรัฐได้ใช้อำนาจรัฐนั้น ปกป้องและขยายฐานทางธุรกิจของตนเองด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง และบิดเบือนการใช้อำนาจหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งฉ้อฉลนำทรัพย์สมบัติของแผ่นดินมาแบ่งปันกันในหมู่พวกพ้องโดยอาศัยนวัตกรรมของลัทธิเสรีนิยมใหม่จนก่อให้เกิดสภาพผูกขาดทางธุรกิจ ที่จะเป็นวัฏจักรนำไปสู่การผูกขาดทางการเมืองให้กระชับแน่นขึ้นอีก
วัฏจักรอุบาทว์ใหม่นี้จะยุติลงได้ด้วยหลักราชประชาสมาสัย ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน อันเป็นหลักนิติธรรมดั้งเดิมของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศไทย
เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า กลุ่มทุนผูกขาดที่เข้ามาครองอำนาจรัฐต้องการสร้างหลักนิติธรรมใหม่ขึ้นมาเพื่อลบล้างหลักนิติธรรมเดิมที่ว่าด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนนี้ลง โดยให้รัฐบาลที่อ้างว่ามาจากความชอบธรรม จากการชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไปเข้ามาแทรกอยู่ตรงกลาง
ปวงข้าพระพุทธเจ้าไม่ปฏิเสธรัฐบาลภายใต้เงื่อนไขที่ว่า รัฐบาลยังเป็นตัวแทนของประชาชน ตราบเท่าที่รัฐบาลยังยึดมั่นในครองแห่งธรรม ตราบเท่าที่รัฐบาลนั้นยังคงซื่อสัตย์ต่อพันธะสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน และตราบเท่าที่รัฐบาลนั้นสัตย์ซื่อในคำปฏิญาณที่มีไว้ให้กับใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท รัฐบาลนั้นยังเป็นตัวแทนของประชาชน
สถานการณ์ของชาติบ้านเมืองในเวลานี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการแก้ไข ปรับปรุงรายละเอียดของรัฐธรรมนูญด้วยแนวทางสันติวิธี และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดการถวายพระราชอำนาจคืนแด่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ในการพระราชทานผู้นำในการปฏิรูปการเมือง เพื่อดำเนินการจัดโครงสร้างองค์กรทางการเมืองใหม่ ผ่านการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ที่อย่างน้อยจะต้องมีสารัตถะไม่บังคับผู้สมัคร ส.ส.สังกัดพรรคการเมือง ไม่มีมาตรการทำลายพรรคขนาดเล็ก นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง และจัดระบบที่มาของวุฒิสภาเสียใหม่ไม่ให้เป็นช่องทางแทรกแซงของพรรคการเมืองทั้งหมด รวมทั้งจะต้องมีมาตรการพิเศษเฉพาะหน้าเพื่อการขจัดคอร์รัปชั่นในโครงการใหญ่ ให้เป็นผลเป็นรูปธรรม
โครงสร้างทางการเมืองใหม่ที่มาจากการพระราชทานผู้นำในการปฏิรูปการเมืองของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทนี้ ประชาชนทั้งประเทศจะเป็นผู้ออกเสียงเป็นประชามติก่อนประกาศใช้ เพื่อให้เป็นไปตามหลักของราชประชาสมาศรัย เป็นความอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
.......
ผมเชื่อว่าคุณสนธิ ลิ้มทองกุลไม่ใช่คนที่รักตัวกลัวตาย ไม่ใช่คนที่เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนเป็นสรณะ และไม่ใช่คนที่จะนั่งดูดายตลอดไปในยามที่บ้านเมืองยังวิบัติและการต่อสู้ของตนยังไม่บรรลุผล
คน ๆ นี้ยังพร้อมที่จะเสี่ยง ยังพร้อมที่จะเสียสละ อย่าว่าแต่จะขัดคำสั่งศาลเลย แม้ชีวิตก็พร้อมพลี
เพียงแต่กับชีวิตเดียวที่เหลืออยู่ และชีวิตของพี่น้องประชาชนที่ยังยึดมั่นศรัทธากันอยู่
การเสี่ยงและการเสียสละครั้งสุดท้ายจะต้องเป็นไปเพื่อเป้าหมายสูงสุดที่ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณไว้นี้เท่านั้น
ข้อเสนอที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุลมีต่อพรรคการเมืองพรรคหนึ่งอยู่บนหลักการพื้นฐานนี้
เป็นข้อเสนอที่ผ่านการใคร่ครวญแล้วว่าหากพรรคการเมืองพรรคนั้นขานรับ และร่วมปฏิบัติ แม้จะไม่มีหลักประกันจะต้องสำเร็จเต็มร้อย แต่ก็เต็มใจที่จะร่วมเดินตามในฐานะมวลชนคนหนึ่งทันที
เป็นข้อเสนอที่แม้เสมือนมีต่อพรรคการเมืองหนึ่ง แต่แท้จริงแล้ว เป็นการตอบคำถามทั้งมวลต่อการตัดสินใจทางการเมืองตลอด 1 ปีที่ผ่านมาของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และการตัดสินใจที่จะมีในอนาคต
จะรักจะชังจะเห็นพ้องหรือเห็นต่างไม่สำคัญเท่ากับว่าเข้าใจหลักการพื้นฐานนี้อย่างถ่องแท้แล้วหรือยัง