สัปดาห์ที่ผ่านมามีเหตุการณ์สำคัญทางการเงินการคลังของประเทศสมควรบันทึกไว้ ณ ที่นี้ 2 ประเด็นด้วยกัน แต่ไม่ค่อยปรากฏเป็นข่าวมากนัก เพราะไม่ใช่เรื่องหวือหวาฮือฮาและทำความเข้าใจได้ง่าย ๆ เหมือนข่าวความขัดแย้งทางการเมืองรายวัน
เป็นคำมั่นสัญญาหรือสัจจวาจาของผู้มีตำแหน่งในกระบวนการกำหนดทิศทางนโยบายการเงินการคลังของประเทศนี้ 2 คน คนหนึ่งคือนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อีกคนหนึ่งคือนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย และประธานกยอ. คนแรกในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2556 ในชั้นวุฒิสภา ประมาณ 22.00 น. วันจันทร์ที่ 3 กันยายน 2555 คนหลังในการมาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการเงินการคลังการธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา เวลาประมาณ 14.00 น. วันที่ 4 กันยายน 255
นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัยลุกขึ้นตอบคำอภิปราย 35 นาทีของผมประโยคสำคัญที่สุดคืนนั้นคือ...
“รัฐบาลนี้ไม่มีความคิดยุ่งเกี่ยวกับทุนสำรองระหว่างประเทศ...”
แม้ว่ามันจะขัดกับเหตุการณ์ที่ผ่านมา แต่ไม่เป็นไร ในเมื่อ ณ วันนั้น ณ วินาทีนั้นท่านนั่งอยู่บนที่นั่งคณะรัฐมนตรีในห้องประชุมรัฐสภาขณะกำลังพิจารณาวาระสำคัญต่อหน้าพระพุทธรูปทางด้านขวาและพระบรมฉายาทิสลักษณ์ด้านหลังข้างบนทางด้านซ้าย ก็ต้องถือว่าท่านพูดในนามคณะรัฐมนตรี และต้องเชื่อท่านไว้ก่อน
หลังท่านพูดอย่างนี้ ผมลุกขึ้นทวนคำอีกครั้ง ขอคำยืนยันว่าแน่นะ ท่านไม่ได้ลุกขึ้นปฏิเสธ
รุ่งขึ้นเวลาระหว่าง 13.30 – 15.00 น. ในการประชุมของคณะกรรมาธิการการเงินการคลังการธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา วาระศึกษาปัญหาความคิดเห็นที่แตกต่างกันของประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายวีรพงษ์ รามางกูรแม้จะยังคงยืนยันความคิดเห็นที่แตกต่างกับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุลประเด็นการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศ แต่ท่านก็ได้พูดจาหนักแน่นในประเด็นสำคัญรวมทั้งสิ้น 4 ประเด็น
1. ตราบใดที่ท่านยังเป็นประธานคณะกรรมการธปท.อยู่ ขอรับรองว่าจะไม่มีการแตะต้องทุนสำรองระหว่างประเทศในส่วนที่เรียกว่า "ทุนสำรองเงินตรา" ทั้ง 3 บัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "บัญชีทุนสำรองพิเศษ" ที่รู้จักกันในนาม "คลังหลวง" ที่อยู่ในความดูแลของฝ่ายออกบัตร ธปท. อย่างเด็ดขาด และแม้จะพ้นตำแหน่งไปแล้ว ถ้ามีใครคิดจะแตะต้อง ท่านก็จะร่วมคัดค้าน
2. หากรัฐบาลจะนำทุนสำรองระหว่างประเทศในส่วนที่เรียกว่า "ทุนสำรองทั่วไป" ที่อยู่ในความดูแลของฝ่ายการธนาคาร ธปท. มาลงทุน ก็จะใช้วิธีที่ถูกต้อง คือออกพันธบัตรเงินบาทระดมทุนในตลาดมาแลกออกไป จะไม่มีการออกพันธบัตรเงินดอลลาร์แน่นอน เพราะผิดกฎหมาย และขัดหลักการ
3. ไม่ว่าผู้ว่าการธปท.จะเห็นด้วยกับแนวความคิดของท่านในที่สุดหรือไม่ ไม่ว่าธปท.จะหยุดการขาดทุนหรือไม่ จะไม่ถือว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องของผู้ว่าการธปท.จนนำไปสู่การประเมินของคณะกรรมการธปท.ตามมาตรา 25 (1) ว่าผู้ว่าการธปท.บกพร่องอย่างร้ายแรงอันเป็นฐานนำไปสู่การปลดผู้ว่าการธปท.ตามมาตรา 28/19 (5)
4. การกำหนดนโยบายการเงินเป็นอำนาจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่มีผู้ว่าการธปท.เป็นประธาน ไม่ใช่คณะกรรมการชุดใหญ่ที่ท่านเป็นประธาน ในเรื่องนี้ถือว่า กนง.ใหญ่กว่ากรรมการชุดใหญ่
ประเด็นสำคัญที่สุดเกี่ยวกับทุนสำรองระหว่างประเทศคือประเด็นที่ 2 ครับ เรื่องวิธีการเอาไปใช้โดยออกพันธบัตรเงินบาทระดมทุนมาแลกไปตามปกติ หรือออกพันธบัตรเงินดอลลาร์ แตกต่างกันมหาศาล
เรื่องแนวคิดออกพันธบัตรเงินดอลลาร์นี้ก็เคยปรากฏในข้อเขียนของนายวีรพงษ์ รางมางกูรเองเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2554 ผมจึงถามซ้ำ โดยยกข้อเขียนของท่านมาแสดง
ท่านตอบว่าตอนนี้เลิกคิดแบบนั้นแล้ว ตอนนั้นเข้าใจผิด แต่ตอนนี้รู้แล้วว่าทำไม่ได้ จะไม่ทำแบบนั้นแน่นอน !
ในห้องประชุมหมายเลข 310 อาคารรัฐสภา 2 มีผู้ทรงศีลห่มผ้ากาสาวพัตร์นั่งอยู่ด้วย 2 รูป เป็นศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนที่ติดตามเรื่องทุนสำรองระหว่างประเทศไปทุกเวที คือพระอาจารย์นภดล และพระอาจารย์เปิ้ล
ก็ต้องเชื่อนายวีรพงษ์ รามางกูรกันไว้ก่อนละครับ !
ผมสนใจเรื่องการเงินการคลังอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2550 ตอนเป็นสนช. ตอนนั้นรัฐบาล(และธนาคารแห่งประเทศไทย)กำลังจะเสนอแก้ไขพ.ร.บ.เงินตรา เปลี่ยนแปลงวิธีการลงบัญชีใน 3 บัญชีของทุนสำรองเงินตรา หรือคลังหลวง หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนและคณะศิษย์คัดค้านแข็งขัน ผมในฐานะศิษย์ห่าง ๆ แต่สำนึกในความเมตตาของหลวงตาที่ช่วยปกป้องพวกเราตั้งแต่ครั้งเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรก็เริ่มศึกษาเพื่ออภิปรายคัดค้านในสนช. ใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อทำความเข้าใจ เพราะไม่ได้เรียนมาทางเศรษฐศาสตร์ ทำให้อัศจรรย์อย่างยิ่งในญาณหยั่งรู้ของหลวงตา ปรากฎว่ารัฐบาลถอย 2 ครั้ง 2 ครา ไม่มีการเสนอกฎหมายเข้าสนช. แต่ที่เตรียมไว้ก็ไม่เสียหลาย กลายเป็นพื้นความรู้
มาเป็นส.ว.สมัยแรก 2551 - 2554 ก็ยังไม่ได้เข้ามาทำงานเรื่องการเงินการคลังในกรรมาธิการ เพราะการเมืองกำลังร้อน มีเหตุเฉพาะหน้ามากมาย จนกระทั่งปลาย ๆ สมัย รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์(และธนาคารแห่งประเทศไทย)เริ่มฟื้นความคิดที่จะแก้กฎหมายเงินตราอีกครั้ง แต่ก็ยังไม่ทันทำอะไรเป็นรูปเป็นร่าง ทว่าก็ทำให้ผมกลับมาฟื้นความรู้เดิมอีกครั้ง
เป็นส.ว.สมัยปัจจุบันตั้งแต่ปี 2554 รัฐบาลใหม่เขาโห่ร้องเรื่องกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ แล้วก็พูดเรื่องทุนสำรองระหว่างประเทศ ผมจึงตั้งใจเลือกมาอยู่คณะกรรมาธิการการเงินฯ เพื่อเตรียมศึกษาและต่อสู้ช่วยปกป้องคลังหลวง โดยประสานกับคณะศิษย์หลวงตา และก็ทำทุกทางทั้งตั้งกระทู้ถามและถามในที่สาธารณะ เชิญมาตอบในกรรมาธิการโดยเปิดให้สื่อและศิษย์หลวงตาเข้าร่วมรับฟัง
ก็ได้ผลพอสมควรทุกครั้ง
คือรัฐบาลรับปากจะไม่แตะ "ทุนสำรองเงินตรา" ถ้าจะแตะ ก็จะแตะเฉพาะ "ทุนสำรองทั่วไป" ส่วนแบงก์ชาตินั้นแม้ว่ายังจะอยากแก้ไขพ.ร.บ.เงินตราปรับวิธีการรับรู้บัญชีอยู่เหมือนเดิม แต่ในภาวะที่มีศึกกับรัฐบาล ย่อมไม่อยากเปิดศึก 2 ด้าน จึงเก็บความคิดนี้ไว้ก่อน
ทุกครั้งที่มีโอกาสไปวัดป่าบ้านตาด ผมจะกราบอธิษฐานให้ตัวเองมีสติปัญญาแจ่มใส ทำความเข้าใจในเรื่องยาก ๆ ที่ไม่ได้เรียนมาได้ บางครั้งก่อนอภิปรายในกระทู้ถาม ก็อธิษฐานในใจทุกครั้ง
รู้สึกลึก ๆ ว่าเป็น "ธรรมะจัดสรร" ให้ตัวเองได้มาอยู่ในกรรมาธิการการเงินฯ
สิ่งที่ทำไปแต่ละครั้งก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ ที่ต้องสะสมผลไปเรื่อย ๆ แน่นอนว่าเราเชื่อใครไม่ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าดร.โกร่ง รัฐมนตรีคลัง หรือแบงก์ชาติ แต่การที่เขาตกปากรับคำว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร อย่างไร ในที่สาธารณะ มันย่อมเป็นผลต่อการต่อสู้ ไม่มากก็น้อย เพราะไม่ว่าใครก็ตามที่ไม่ทำตามที่รับปากไว้ในอนาคต เรื่องยาก ๆ ที่คนทั่วไปเคยเข้าใจยากจะเข้าใจได้ขึ้น ในข้อหา...
ตระบัดสัตย์ !
เป็นคำมั่นสัญญาหรือสัจจวาจาของผู้มีตำแหน่งในกระบวนการกำหนดทิศทางนโยบายการเงินการคลังของประเทศนี้ 2 คน คนหนึ่งคือนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อีกคนหนึ่งคือนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย และประธานกยอ. คนแรกในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2556 ในชั้นวุฒิสภา ประมาณ 22.00 น. วันจันทร์ที่ 3 กันยายน 2555 คนหลังในการมาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการเงินการคลังการธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา เวลาประมาณ 14.00 น. วันที่ 4 กันยายน 255
นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัยลุกขึ้นตอบคำอภิปราย 35 นาทีของผมประโยคสำคัญที่สุดคืนนั้นคือ...
“รัฐบาลนี้ไม่มีความคิดยุ่งเกี่ยวกับทุนสำรองระหว่างประเทศ...”
แม้ว่ามันจะขัดกับเหตุการณ์ที่ผ่านมา แต่ไม่เป็นไร ในเมื่อ ณ วันนั้น ณ วินาทีนั้นท่านนั่งอยู่บนที่นั่งคณะรัฐมนตรีในห้องประชุมรัฐสภาขณะกำลังพิจารณาวาระสำคัญต่อหน้าพระพุทธรูปทางด้านขวาและพระบรมฉายาทิสลักษณ์ด้านหลังข้างบนทางด้านซ้าย ก็ต้องถือว่าท่านพูดในนามคณะรัฐมนตรี และต้องเชื่อท่านไว้ก่อน
หลังท่านพูดอย่างนี้ ผมลุกขึ้นทวนคำอีกครั้ง ขอคำยืนยันว่าแน่นะ ท่านไม่ได้ลุกขึ้นปฏิเสธ
รุ่งขึ้นเวลาระหว่าง 13.30 – 15.00 น. ในการประชุมของคณะกรรมาธิการการเงินการคลังการธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา วาระศึกษาปัญหาความคิดเห็นที่แตกต่างกันของประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายวีรพงษ์ รามางกูรแม้จะยังคงยืนยันความคิดเห็นที่แตกต่างกับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุลประเด็นการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศ แต่ท่านก็ได้พูดจาหนักแน่นในประเด็นสำคัญรวมทั้งสิ้น 4 ประเด็น
1. ตราบใดที่ท่านยังเป็นประธานคณะกรรมการธปท.อยู่ ขอรับรองว่าจะไม่มีการแตะต้องทุนสำรองระหว่างประเทศในส่วนที่เรียกว่า "ทุนสำรองเงินตรา" ทั้ง 3 บัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "บัญชีทุนสำรองพิเศษ" ที่รู้จักกันในนาม "คลังหลวง" ที่อยู่ในความดูแลของฝ่ายออกบัตร ธปท. อย่างเด็ดขาด และแม้จะพ้นตำแหน่งไปแล้ว ถ้ามีใครคิดจะแตะต้อง ท่านก็จะร่วมคัดค้าน
2. หากรัฐบาลจะนำทุนสำรองระหว่างประเทศในส่วนที่เรียกว่า "ทุนสำรองทั่วไป" ที่อยู่ในความดูแลของฝ่ายการธนาคาร ธปท. มาลงทุน ก็จะใช้วิธีที่ถูกต้อง คือออกพันธบัตรเงินบาทระดมทุนในตลาดมาแลกออกไป จะไม่มีการออกพันธบัตรเงินดอลลาร์แน่นอน เพราะผิดกฎหมาย และขัดหลักการ
3. ไม่ว่าผู้ว่าการธปท.จะเห็นด้วยกับแนวความคิดของท่านในที่สุดหรือไม่ ไม่ว่าธปท.จะหยุดการขาดทุนหรือไม่ จะไม่ถือว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องของผู้ว่าการธปท.จนนำไปสู่การประเมินของคณะกรรมการธปท.ตามมาตรา 25 (1) ว่าผู้ว่าการธปท.บกพร่องอย่างร้ายแรงอันเป็นฐานนำไปสู่การปลดผู้ว่าการธปท.ตามมาตรา 28/19 (5)
4. การกำหนดนโยบายการเงินเป็นอำนาจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่มีผู้ว่าการธปท.เป็นประธาน ไม่ใช่คณะกรรมการชุดใหญ่ที่ท่านเป็นประธาน ในเรื่องนี้ถือว่า กนง.ใหญ่กว่ากรรมการชุดใหญ่
ประเด็นสำคัญที่สุดเกี่ยวกับทุนสำรองระหว่างประเทศคือประเด็นที่ 2 ครับ เรื่องวิธีการเอาไปใช้โดยออกพันธบัตรเงินบาทระดมทุนมาแลกไปตามปกติ หรือออกพันธบัตรเงินดอลลาร์ แตกต่างกันมหาศาล
เรื่องแนวคิดออกพันธบัตรเงินดอลลาร์นี้ก็เคยปรากฏในข้อเขียนของนายวีรพงษ์ รางมางกูรเองเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2554 ผมจึงถามซ้ำ โดยยกข้อเขียนของท่านมาแสดง
ท่านตอบว่าตอนนี้เลิกคิดแบบนั้นแล้ว ตอนนั้นเข้าใจผิด แต่ตอนนี้รู้แล้วว่าทำไม่ได้ จะไม่ทำแบบนั้นแน่นอน !
ในห้องประชุมหมายเลข 310 อาคารรัฐสภา 2 มีผู้ทรงศีลห่มผ้ากาสาวพัตร์นั่งอยู่ด้วย 2 รูป เป็นศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนที่ติดตามเรื่องทุนสำรองระหว่างประเทศไปทุกเวที คือพระอาจารย์นภดล และพระอาจารย์เปิ้ล
ก็ต้องเชื่อนายวีรพงษ์ รามางกูรกันไว้ก่อนละครับ !
ผมสนใจเรื่องการเงินการคลังอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2550 ตอนเป็นสนช. ตอนนั้นรัฐบาล(และธนาคารแห่งประเทศไทย)กำลังจะเสนอแก้ไขพ.ร.บ.เงินตรา เปลี่ยนแปลงวิธีการลงบัญชีใน 3 บัญชีของทุนสำรองเงินตรา หรือคลังหลวง หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนและคณะศิษย์คัดค้านแข็งขัน ผมในฐานะศิษย์ห่าง ๆ แต่สำนึกในความเมตตาของหลวงตาที่ช่วยปกป้องพวกเราตั้งแต่ครั้งเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรก็เริ่มศึกษาเพื่ออภิปรายคัดค้านในสนช. ใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อทำความเข้าใจ เพราะไม่ได้เรียนมาทางเศรษฐศาสตร์ ทำให้อัศจรรย์อย่างยิ่งในญาณหยั่งรู้ของหลวงตา ปรากฎว่ารัฐบาลถอย 2 ครั้ง 2 ครา ไม่มีการเสนอกฎหมายเข้าสนช. แต่ที่เตรียมไว้ก็ไม่เสียหลาย กลายเป็นพื้นความรู้
มาเป็นส.ว.สมัยแรก 2551 - 2554 ก็ยังไม่ได้เข้ามาทำงานเรื่องการเงินการคลังในกรรมาธิการ เพราะการเมืองกำลังร้อน มีเหตุเฉพาะหน้ามากมาย จนกระทั่งปลาย ๆ สมัย รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์(และธนาคารแห่งประเทศไทย)เริ่มฟื้นความคิดที่จะแก้กฎหมายเงินตราอีกครั้ง แต่ก็ยังไม่ทันทำอะไรเป็นรูปเป็นร่าง ทว่าก็ทำให้ผมกลับมาฟื้นความรู้เดิมอีกครั้ง
เป็นส.ว.สมัยปัจจุบันตั้งแต่ปี 2554 รัฐบาลใหม่เขาโห่ร้องเรื่องกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ แล้วก็พูดเรื่องทุนสำรองระหว่างประเทศ ผมจึงตั้งใจเลือกมาอยู่คณะกรรมาธิการการเงินฯ เพื่อเตรียมศึกษาและต่อสู้ช่วยปกป้องคลังหลวง โดยประสานกับคณะศิษย์หลวงตา และก็ทำทุกทางทั้งตั้งกระทู้ถามและถามในที่สาธารณะ เชิญมาตอบในกรรมาธิการโดยเปิดให้สื่อและศิษย์หลวงตาเข้าร่วมรับฟัง
ก็ได้ผลพอสมควรทุกครั้ง
คือรัฐบาลรับปากจะไม่แตะ "ทุนสำรองเงินตรา" ถ้าจะแตะ ก็จะแตะเฉพาะ "ทุนสำรองทั่วไป" ส่วนแบงก์ชาตินั้นแม้ว่ายังจะอยากแก้ไขพ.ร.บ.เงินตราปรับวิธีการรับรู้บัญชีอยู่เหมือนเดิม แต่ในภาวะที่มีศึกกับรัฐบาล ย่อมไม่อยากเปิดศึก 2 ด้าน จึงเก็บความคิดนี้ไว้ก่อน
ทุกครั้งที่มีโอกาสไปวัดป่าบ้านตาด ผมจะกราบอธิษฐานให้ตัวเองมีสติปัญญาแจ่มใส ทำความเข้าใจในเรื่องยาก ๆ ที่ไม่ได้เรียนมาได้ บางครั้งก่อนอภิปรายในกระทู้ถาม ก็อธิษฐานในใจทุกครั้ง
รู้สึกลึก ๆ ว่าเป็น "ธรรมะจัดสรร" ให้ตัวเองได้มาอยู่ในกรรมาธิการการเงินฯ
สิ่งที่ทำไปแต่ละครั้งก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ ที่ต้องสะสมผลไปเรื่อย ๆ แน่นอนว่าเราเชื่อใครไม่ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าดร.โกร่ง รัฐมนตรีคลัง หรือแบงก์ชาติ แต่การที่เขาตกปากรับคำว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร อย่างไร ในที่สาธารณะ มันย่อมเป็นผลต่อการต่อสู้ ไม่มากก็น้อย เพราะไม่ว่าใครก็ตามที่ไม่ทำตามที่รับปากไว้ในอนาคต เรื่องยาก ๆ ที่คนทั่วไปเคยเข้าใจยากจะเข้าใจได้ขึ้น ในข้อหา...
ตระบัดสัตย์ !