ปตท.สผ.วางงบลงทุนในพม่า 5ปี 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ลงทุนในแหล่งซอติก้า คาดผลิตเชิงพาณิชย์ในไตรมาส 1/57 ยันการลงทุนยึดหลักโปร่งใส มีจรรยาบรรณ ชี้ได้สัมปทาน MD7 และMD8 มาอย่างถูกต้อง ไม่ผิดปกติ แย้มเตรียมยื่นประมูลซื้อสินทรัพย์ของHess Corp ถือในแหล่งปิโตรเลียมในไทยและอินโดฯคาดได้ข้อสรุปปลายปีนี้
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า บริษัทฯได้วางงบลงทุน 5ปี (2556-2560)ในประเทศพม่าประมาณ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงการซอติก้าถึง 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจาะสำรวจ ติดตั้งแท่นและวางท่อส่งก๊าซฯ คาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาส 1/2557 กำลังการผลิต 300 ล้านลบ.ฟุต/วัน โดยขายให้พม่า 60 ล้านลบ.ฟุต/วัน และเข้าไทย 300 ล้านลบ.ฟุต/วัน
ที่ผ่านมา บริษัทฯมีการลงทุนในพม่ามานานถึง 23 ปีจนกล่าวได้ว่าเป็นบ้านแห่งที่ 2 ซึ่งการลงทุนในพม่าของปตท.สผ.นั้นทำอย่างโปร่งใส ถูกต้อง มีจรรยาบรรณ และเน้นทำธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยปตท.สผ.เป็นบริษัทมหาชนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งการได้รับสัมปทานแหล่ง MD 7 และMD 8 โดยไม่ต้องประมูลสัมปทานนั้น บริษัทฯไม่ใช่รายแรก แต่ก่อนหน้านี้ก็มีผู้ประกอบการบางรายได้สัมปทานโดยไม่ต้องประมูลเช่นกัน อีกทั้งแหล่งดังกล่าว บริษัทฯยื่นได้ขอสัมปทานจากรัฐบาลพม่ามา 3 ปีก่อน และเพิ่งได้สัมปทานเมื่อต้นปี 2556 เพราะทางพม่าก็เห็นว่ามีประโยชน์ร่วมกัน อีกทั้งเป็นแหล่งที่อยู่ใกล้แหล่งสัมปทานน้ำลึกทะเลอันดามันของปตท.สผ.ในไทยอยู่แล้ว เพื่อให้การเจาะสำรวจฯทำไปพร้อมกัน อันจะลดต้นทุนการผลิต
สำหรับงบประมาณลงทุนของปตท.สผ. 5ปีนี้ ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 24,671 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในประเทศไทย 40% เพื่อเป็นการรักษาระดับการผลิตในประเทศที่ 2.4- 2.5 แสนบาร์เรลต่อวัน ที่เหลือเป็นการลงทุนในต่างประเทศ ทำให้อนาคตสัดส่วนปริมาณการผลิตปิโตรเลียมและรายได้ของปตท.สผ.จะมาจากต่างประเทศเป็นหลักและเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่จะเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้ถึง 6 แสนบาร์เรล/วันในปี 2563 ทำให้บริษัทฯมองหาโอกาสที่การลงทุนโครงการใหม่ๆ โดยเจ้นะประเทศที่มีปตท.สผ.มีการลงทุนอยู่แล้ว เช่น ไทย พม่า ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปแอฟริกาตะวันออก โดยจะเน้นลงทุนในโครงการที่ใกล้จะเริ่มการผลิตหรือโครงการที่ทำการผลิตแล้ว
ในปีนี้ คาดว่าบริษัทฯมียอดขายปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น 9%จากปีก่อนอยู่ที่ 3.1แสนบาร์เรลต่อวัน และปีหน้าจะขยายตัวเพิ่มอีก 10% เนื่องจากมีปริมาณปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นจากโครงการมอนทารา ประเทศออสเตรเลีย โครงการซอติก้าที่พม่า เป็นต้น ขณะที่ราคาขายปิโตรเลียมในครึ่งปีหลังนี้คาดว่าจะใกล้เคียง 6 เดือนแรกของปีนี้ที่ 66 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลเนื่องจากราคาน้ำมันดิบดูไบขณะนี้ทรงตัวในระดับสูง 106-107 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
นายอัษฎากร ลิ้มปิติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ ปตท.สผ. กล่าวว่า ใน 1-2 เดือนนี้บริษัทฯจะจับมือพันธมิตรเข้าประมูลซื้อทรัพย์สินในโครงการปิโตรเลียมที่บริษัทHess Corp ประกาศขายในประเทศไทย และอินโดนีเซีย คาดว่าจะได้ข้อสรุปในปลายปีนี้
ทั้งนี้ Hess Corp ที่ถือหุ้นในแหล่งไพลิน และแหล่งภูฮ่อม ในประเทศไทย ส่วนอินโดนีเซียอีก2 แหล่ง พบว่าขณะนี้มีบริษัทหลายรายสนใจยื่นประมูลด้วย ขณะที่แหล่งเงินทุนของบริษัทฯมีเพียงพอ
ด้านนายเทวินทร์ กล่าวว่า ตามที่มีข่าวว่าบริษัทฯได้จ่ายเงินชดเชยความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่แหล่งมอนทารา ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี 2552 เป็นวงเงิน 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐนั้น ไม่เป็นความจริง เพียงแต่จ่ายเงินค่าปรับจากการทำน้ำมันมันรั่วแก่ รัฐบาลออสเตรเลีย 500,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย และมีการจ่ายค่าติดตามดูแลสิ่งแวดล้อมการดำเนินการปิดหลุมผลิต กว่า100 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย โดยเหตุการณ์ดังกล่าว มีน้ำมันดิบรั่วไหลวันละ 400 บาร์เรลเป็นเวลา 74 วัน จากการสำรวจวิจัยของนักวิชาการมหาวิทยาลัยชั้นนำของออสเตรเลีย ระบุว่า อุบัติเหตุครั้งนี้ไม่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ วันละ400 บาร์เร
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า บริษัทฯได้วางงบลงทุน 5ปี (2556-2560)ในประเทศพม่าประมาณ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงการซอติก้าถึง 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจาะสำรวจ ติดตั้งแท่นและวางท่อส่งก๊าซฯ คาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาส 1/2557 กำลังการผลิต 300 ล้านลบ.ฟุต/วัน โดยขายให้พม่า 60 ล้านลบ.ฟุต/วัน และเข้าไทย 300 ล้านลบ.ฟุต/วัน
ที่ผ่านมา บริษัทฯมีการลงทุนในพม่ามานานถึง 23 ปีจนกล่าวได้ว่าเป็นบ้านแห่งที่ 2 ซึ่งการลงทุนในพม่าของปตท.สผ.นั้นทำอย่างโปร่งใส ถูกต้อง มีจรรยาบรรณ และเน้นทำธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยปตท.สผ.เป็นบริษัทมหาชนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งการได้รับสัมปทานแหล่ง MD 7 และMD 8 โดยไม่ต้องประมูลสัมปทานนั้น บริษัทฯไม่ใช่รายแรก แต่ก่อนหน้านี้ก็มีผู้ประกอบการบางรายได้สัมปทานโดยไม่ต้องประมูลเช่นกัน อีกทั้งแหล่งดังกล่าว บริษัทฯยื่นได้ขอสัมปทานจากรัฐบาลพม่ามา 3 ปีก่อน และเพิ่งได้สัมปทานเมื่อต้นปี 2556 เพราะทางพม่าก็เห็นว่ามีประโยชน์ร่วมกัน อีกทั้งเป็นแหล่งที่อยู่ใกล้แหล่งสัมปทานน้ำลึกทะเลอันดามันของปตท.สผ.ในไทยอยู่แล้ว เพื่อให้การเจาะสำรวจฯทำไปพร้อมกัน อันจะลดต้นทุนการผลิต
สำหรับงบประมาณลงทุนของปตท.สผ. 5ปีนี้ ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 24,671 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในประเทศไทย 40% เพื่อเป็นการรักษาระดับการผลิตในประเทศที่ 2.4- 2.5 แสนบาร์เรลต่อวัน ที่เหลือเป็นการลงทุนในต่างประเทศ ทำให้อนาคตสัดส่วนปริมาณการผลิตปิโตรเลียมและรายได้ของปตท.สผ.จะมาจากต่างประเทศเป็นหลักและเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่จะเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้ถึง 6 แสนบาร์เรล/วันในปี 2563 ทำให้บริษัทฯมองหาโอกาสที่การลงทุนโครงการใหม่ๆ โดยเจ้นะประเทศที่มีปตท.สผ.มีการลงทุนอยู่แล้ว เช่น ไทย พม่า ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปแอฟริกาตะวันออก โดยจะเน้นลงทุนในโครงการที่ใกล้จะเริ่มการผลิตหรือโครงการที่ทำการผลิตแล้ว
ในปีนี้ คาดว่าบริษัทฯมียอดขายปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น 9%จากปีก่อนอยู่ที่ 3.1แสนบาร์เรลต่อวัน และปีหน้าจะขยายตัวเพิ่มอีก 10% เนื่องจากมีปริมาณปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นจากโครงการมอนทารา ประเทศออสเตรเลีย โครงการซอติก้าที่พม่า เป็นต้น ขณะที่ราคาขายปิโตรเลียมในครึ่งปีหลังนี้คาดว่าจะใกล้เคียง 6 เดือนแรกของปีนี้ที่ 66 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลเนื่องจากราคาน้ำมันดิบดูไบขณะนี้ทรงตัวในระดับสูง 106-107 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
นายอัษฎากร ลิ้มปิติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ ปตท.สผ. กล่าวว่า ใน 1-2 เดือนนี้บริษัทฯจะจับมือพันธมิตรเข้าประมูลซื้อทรัพย์สินในโครงการปิโตรเลียมที่บริษัทHess Corp ประกาศขายในประเทศไทย และอินโดนีเซีย คาดว่าจะได้ข้อสรุปในปลายปีนี้
ทั้งนี้ Hess Corp ที่ถือหุ้นในแหล่งไพลิน และแหล่งภูฮ่อม ในประเทศไทย ส่วนอินโดนีเซียอีก2 แหล่ง พบว่าขณะนี้มีบริษัทหลายรายสนใจยื่นประมูลด้วย ขณะที่แหล่งเงินทุนของบริษัทฯมีเพียงพอ
ด้านนายเทวินทร์ กล่าวว่า ตามที่มีข่าวว่าบริษัทฯได้จ่ายเงินชดเชยความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่แหล่งมอนทารา ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี 2552 เป็นวงเงิน 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐนั้น ไม่เป็นความจริง เพียงแต่จ่ายเงินค่าปรับจากการทำน้ำมันมันรั่วแก่ รัฐบาลออสเตรเลีย 500,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย และมีการจ่ายค่าติดตามดูแลสิ่งแวดล้อมการดำเนินการปิดหลุมผลิต กว่า100 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย โดยเหตุการณ์ดังกล่าว มีน้ำมันดิบรั่วไหลวันละ 400 บาร์เรลเป็นเวลา 74 วัน จากการสำรวจวิจัยของนักวิชาการมหาวิทยาลัยชั้นนำของออสเตรเลีย ระบุว่า อุบัติเหตุครั้งนี้ไม่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ วันละ400 บาร์เร