เมื่อเร็วๆนี้ เครือข่ายอนุรักษ์มรดกโลกเขาใหญ่และประชาชนในพื้นที่ ร่วมกับประชาชนที่ลงชื่อผ่าน change.org ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ริมถนนธนะรัชต์ เพื่อเป็นกดดันให้กรมทางหลวงทำตามสัญญาที่ได้รับปากไว้ว่าจะฟื้นฟูทางขึ้นเขาใหญ่ หลังจากที่่ก่อนหน้านี้ทางเครือข่ายฯ ได้ยื่นรายชื่อประชาชนกว่า 6,000 คน ที่ลงชื่อผ่าน change.org/replant เรียกร้องให้กรมทางหลวงปลูกต้นไม้คืนทางขึ้นเขาใหญ่ แต่กว่า 1 เดือนผ่านไปกลับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าว ใช้ชื่องานว่า “ขอต้นไม้เราคืน ฟื้นชีวิตผืนป่าถนนธนะรัชต์” โดยเครือข่ายฯและประชาชนกว่า 100 คน ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ใหญ่ริมถนนธนะรัชต์ ซึ่งประกอบไปด้วย ต้นไม้ใหญ่ คือ ต้นตะแบกอายุ 27 ปี และต้นไม้อื่นๆ สูงกว่า 3 เมตร รวม 128 ต้น ซึ่งเป็นจำนวนต้นไม้ใหญ่ที่กรมทางหลวงได้ตัดโค่นไปในปี 2553 เพราะการขยายถนนธนะรัชต์ และต้นไม้ขนาดเล็กนับร้อยต้น ซึ่งได้มาจากการบริจาคเงินเพื่อซื้อต้นไม้ของประชาชน
นายธารา บัวคำศรี ตัวแทนเครือข่ายอนุรักษ์มรดกโลกเขาใหญ่ กล่่าวว่า กิจกรรมปลูกต้นไม้ครั้งนี้ เป็นการรณรงค์ต่อเนื่องให้กรมทางหลวงฟื้นฟูทางขึ้นเขาใหญ่ และเป็นการแสดงให้กรมทางหลวงเห็นว่าการปลูกต้นไม้เป็นเรื่องที่ทำได้ ซึ่งทางเครือข่ายฯยังยืนเจตนารมย์เดิมว่าต่้องการเห็นทางขึ้นเขาใหญ่กลับมาสวยงามเหมือนเดิม
“การปลูกต้นไม้ครั้งนี้ทางเครือข่ายฯได้เชิญกรมทางหลวงไปแล้ว แต่กรมทางหลวงปฏิเสธทั้งที่เคยรับปากไว้ว่าจะร่วมฟื้นฟูทางขึ้นเขาใหญ่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่่จริงใจของกรมทางหลวง ทำให้ภาคประชาชนต้องเดินหน้าฟื้นฟูถนนธนะรัชต์เอง และทางเครือข่ายฯยังยืนยันเจตนารมย์เดิมว่ากรมทางหลวงต้องยกเลิกการอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางต่อไป”นายธารา กล่าว
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนที่ได้ลงชื่อผ่าน Change.org และมีโอกาสได้มาร่วมปลูกต้นไม้ครั้งนี้ อาทิ นายศิริชัย พรรณธนะ อายุ 61 ปี กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจมากที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ เพราะเราเป็นเพียงแค่่ส่วนเล็กๆของสังคม แต่เราได้มีส่วนทำให้การฟื้นฟูเขาใหญ่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งได้เรียนรู้ว่าการปลูกต้นไม้ต้องใช้ใจและเวลาในการเติบโตเหมือนกับคนทุกคน ดังนั้น รัฐบาลและทุกคนควรช่วยกันอนุรักษ์และปลูกต้นไม้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ใช่ตัดไปโดยไม่คิดอะไร และขอให้กรณีการตัดต้นไม้ริมถนนธนะรัชต์เป็นครั้งสุดท้่ายที่รัฐบาลทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะการพัฒนาที่แท้จริงต้องควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม
ขณะที่ นายวุฒิ เพชรสิงห์ ซึ่งเดินทางมาพร้อมกับลูกสาววัย 10 ขวบ กล่าวว่า ได้ร่วมลงชื่อกับ Change.org เพราะไม่เห็นด้วยที่กับการตัดไม้ของกรมทางหลวง และทำให้เห็นว่า change.org ไม่่ใช่การรณรงค์ออนไลน์แค่ผิวเผินเท่านั้น แต่เป็นการรณรงค์ที่ลงมือทำจริงและไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่วนตัวอยากให้ประชาชนได้รู้จักการรณรงค์ของ change.org มากกว่านี้ เพราะเป็นมากกว่าการคลิกไลค์และคลิกแชร์ แต่เป็นการนำปัญหาของสังคมมาพูดคุยกันอย่างจริงจังทาง Social media ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยควรให้ความสำคัญเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงดีๆเกิดขึ้น
นายตุลย์ ปิ่นแก้ว ผู้อำนวยการ Change.org ประเทศไทย กล่าวว่า กิจกรรมที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่า การลงชื่อของทุกคนมีความหมาย สิ่งเรารณรงค์กันในโลกของออนไลน์สามารถทำให้เป็นจริงได้ ถ้าทุกคนมีความตั้งใจมุ่งมั่นที่สร้างการเปลี่ยนแปลง เราต้องการให้ทุกคนรู้ว่าทุกอย่างสามารถเป็นไปได้ ถ้่าทุกคนพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อความถูกต้อง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ก็ตาม
“วันนี้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ต้นเดียวกันกับคนจากที่ต่างๆทั่วประเทศไทย แสดงให้เห็นว่าปัญหาเรื่องธรรมชาติและป่าไม้ เป็นเรื่องที่ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนให้ความสำคัญและรู้สึกห่วงใย” นายตุลย์ กล่าว
ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าว ใช้ชื่องานว่า “ขอต้นไม้เราคืน ฟื้นชีวิตผืนป่าถนนธนะรัชต์” โดยเครือข่ายฯและประชาชนกว่า 100 คน ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ใหญ่ริมถนนธนะรัชต์ ซึ่งประกอบไปด้วย ต้นไม้ใหญ่ คือ ต้นตะแบกอายุ 27 ปี และต้นไม้อื่นๆ สูงกว่า 3 เมตร รวม 128 ต้น ซึ่งเป็นจำนวนต้นไม้ใหญ่ที่กรมทางหลวงได้ตัดโค่นไปในปี 2553 เพราะการขยายถนนธนะรัชต์ และต้นไม้ขนาดเล็กนับร้อยต้น ซึ่งได้มาจากการบริจาคเงินเพื่อซื้อต้นไม้ของประชาชน
นายธารา บัวคำศรี ตัวแทนเครือข่ายอนุรักษ์มรดกโลกเขาใหญ่ กล่่าวว่า กิจกรรมปลูกต้นไม้ครั้งนี้ เป็นการรณรงค์ต่อเนื่องให้กรมทางหลวงฟื้นฟูทางขึ้นเขาใหญ่ และเป็นการแสดงให้กรมทางหลวงเห็นว่าการปลูกต้นไม้เป็นเรื่องที่ทำได้ ซึ่งทางเครือข่ายฯยังยืนเจตนารมย์เดิมว่าต่้องการเห็นทางขึ้นเขาใหญ่กลับมาสวยงามเหมือนเดิม
“การปลูกต้นไม้ครั้งนี้ทางเครือข่ายฯได้เชิญกรมทางหลวงไปแล้ว แต่กรมทางหลวงปฏิเสธทั้งที่เคยรับปากไว้ว่าจะร่วมฟื้นฟูทางขึ้นเขาใหญ่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่่จริงใจของกรมทางหลวง ทำให้ภาคประชาชนต้องเดินหน้าฟื้นฟูถนนธนะรัชต์เอง และทางเครือข่ายฯยังยืนยันเจตนารมย์เดิมว่ากรมทางหลวงต้องยกเลิกการอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางต่อไป”นายธารา กล่าว
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนที่ได้ลงชื่อผ่าน Change.org และมีโอกาสได้มาร่วมปลูกต้นไม้ครั้งนี้ อาทิ นายศิริชัย พรรณธนะ อายุ 61 ปี กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจมากที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ เพราะเราเป็นเพียงแค่่ส่วนเล็กๆของสังคม แต่เราได้มีส่วนทำให้การฟื้นฟูเขาใหญ่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งได้เรียนรู้ว่าการปลูกต้นไม้ต้องใช้ใจและเวลาในการเติบโตเหมือนกับคนทุกคน ดังนั้น รัฐบาลและทุกคนควรช่วยกันอนุรักษ์และปลูกต้นไม้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ใช่ตัดไปโดยไม่คิดอะไร และขอให้กรณีการตัดต้นไม้ริมถนนธนะรัชต์เป็นครั้งสุดท้่ายที่รัฐบาลทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะการพัฒนาที่แท้จริงต้องควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม
ขณะที่ นายวุฒิ เพชรสิงห์ ซึ่งเดินทางมาพร้อมกับลูกสาววัย 10 ขวบ กล่าวว่า ได้ร่วมลงชื่อกับ Change.org เพราะไม่เห็นด้วยที่กับการตัดไม้ของกรมทางหลวง และทำให้เห็นว่า change.org ไม่่ใช่การรณรงค์ออนไลน์แค่ผิวเผินเท่านั้น แต่เป็นการรณรงค์ที่ลงมือทำจริงและไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่วนตัวอยากให้ประชาชนได้รู้จักการรณรงค์ของ change.org มากกว่านี้ เพราะเป็นมากกว่าการคลิกไลค์และคลิกแชร์ แต่เป็นการนำปัญหาของสังคมมาพูดคุยกันอย่างจริงจังทาง Social media ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยควรให้ความสำคัญเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงดีๆเกิดขึ้น
นายตุลย์ ปิ่นแก้ว ผู้อำนวยการ Change.org ประเทศไทย กล่าวว่า กิจกรรมที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่า การลงชื่อของทุกคนมีความหมาย สิ่งเรารณรงค์กันในโลกของออนไลน์สามารถทำให้เป็นจริงได้ ถ้าทุกคนมีความตั้งใจมุ่งมั่นที่สร้างการเปลี่ยนแปลง เราต้องการให้ทุกคนรู้ว่าทุกอย่างสามารถเป็นไปได้ ถ้่าทุกคนพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อความถูกต้อง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ก็ตาม
“วันนี้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ต้นเดียวกันกับคนจากที่ต่างๆทั่วประเทศไทย แสดงให้เห็นว่าปัญหาเรื่องธรรมชาติและป่าไม้ เป็นเรื่องที่ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนให้ความสำคัญและรู้สึกห่วงใย” นายตุลย์ กล่าว