หุ้นรีบาวน์แรง 17 จุด วอลุ่มเทรด 3.8 หมื่นล้าน เหตุผ่อนคลายการเมือง แนวโน้มถัดไปส่อพักฐาน เพราะไร้ปัจจัยใหม่หนุน หากหมดข่าวผลประกอบการ Q2 โบรกฯเตือนอย่านิ่งนอนใจ แค่ปัจจัยบวกระยะสั้น จับตาการประชชุมเฟดกันยายน QEยังส่งสัญญาณกดดันตลาดต่อ
ภาวะตลาดหุ้นไทย วานนี้ (8 ส.ค.) ดัชนีปิดตลาดที่ระดับ 1,447.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.17 จุด หรือเปลี่ยนแปลง +1.2% มูลค่าการซื้อขาย 38,828.98 ล้านบาท ภาพรวมนักลงทุนผ่อนคลายความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง ในเรื่องการคัดค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ไม่มีความรุนแรงงเกิดขึ้น ทำให้มีแรงซื้อกลับเข้ามาในตลาด หลังจาก2วันก่อนวอลุ่มเทรดเบาเบามากเหลือเพียงประมาณ2หมื่นล้านบาท โดยสัดส่วนการลงทุน พบว่า นักลงทุนต่างชาติขาย 3.3 พันล้านบาท นักลงทุนททั่วไปซื้อ 944 ล้านบาท สถาบันซื้อ 1,000ล้านบาท และบัญชีโบรกเกอร์ซื้อ 1,300 ล้านบาท
นักวิเคราะห์ กล่าวว่า การที่ดัชนีรีบาวด์กลับได้เพราะจากความผ่อนคลายจากสถานการณ์ทางการเมือง แต่จากนี้ไปหุ้นจะไม่มีปัจจัยรองรับที่ชัดเจน และคาดว่าจะเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบแคบไปสักพัก ก่อนที่จะค่อยๆ เข้าสู่การปรับฐาน เพราะไร้ปัจจัยสนับสนุน ที่ตอนนี้มีอยู่เพียงเรื่องเดียว คือ การประกาศงบผลประกอบการไตรมาส 2/2556
"หลังจากหมดเรื่องนี้แล้ว ตลาดหุ้นคงจะซึมไปสักพักหรือประมาณ 2 เดือน เพื่อรอปัจจัยใหม่เข้ามา ประกอบกับในระหว่างนี้ นักลงทุนต่างชาติพักพอร์ต และสถาบันในประเทศก็ยังไม่มีเงินใหม่เข้ามาลงทุน การลงทุนจะมีเพียงรายย่อยกับพอร์ตโบรกเกอร์เท่านั้น กลยุทธ์การลงทุน คือเลือกลงทุนเป็นรายตัว แนวต้าน 1,460 จุด และแนวรับ 1,435 จุด"
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส บล.เอเซียพลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยคลายกังวลปัญหาทางการเมือง หลังจากสถานการณ์ชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมาไม่ได้มีเหตุการณ์ร้ายแรง ส่วนแนวโน้มดัชนีวันนี้(9ส.ค.) คาดว่าจะแกว่งตัวในกรอบแคบ เนื่องจากความกังวลเรื่องการเมืองยังคงกดดันอยู่ และจะต่อเนื่องไปจนกว่าจะมีความชัดเจน โดยจะแกว่งตัวอยู่ในกรอบระดับ 1,450-1,460 จุด ซึ่งหากมาอยู่ในระดับ 1,450 มองว่าเป็นจุดที่นักลงทุนจะหาหุ้นพื้นฐานดีเพื่อลงทุน เช่นหุ้นในกลุ่มสื่อสาร และวัสดุก่อสร้าง
นางสาวธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า แม้นักลงทุนจะผ่อนคลายกับการเมืองในประเทศ แต่เป็นเพียงปัจจัยหนุนดัชนีฯในระยะสั้นๆเท่านั้น ซึ่งยังคงต้องติดตามสถานการณ์การเมืองต่อไปว่า หลังจากนี้ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด โดยแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในวันนี้(9ส.ค.) คาดว่าจะแกว่งตัวแม้จะคลายความกังวลจากการเมืองในประเทศ แต่คาดว่าจะมีปัจจัยกดดันจากประเด็นเรื่องการปรับลดนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ซึ่งยังไม่มีกำหนดการที่แน่นอน แต่ในสัปดาห์หน้ามีโอกาสเห็นดัชนีฯไปแตะระดับ 1,500 จุดได้อีกครั้ง
ภาวะตลาดหุ้นไทย วานนี้ (8 ส.ค.) ดัชนีปิดตลาดที่ระดับ 1,447.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.17 จุด หรือเปลี่ยนแปลง +1.2% มูลค่าการซื้อขาย 38,828.98 ล้านบาท ภาพรวมนักลงทุนผ่อนคลายความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง ในเรื่องการคัดค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ไม่มีความรุนแรงงเกิดขึ้น ทำให้มีแรงซื้อกลับเข้ามาในตลาด หลังจาก2วันก่อนวอลุ่มเทรดเบาเบามากเหลือเพียงประมาณ2หมื่นล้านบาท โดยสัดส่วนการลงทุน พบว่า นักลงทุนต่างชาติขาย 3.3 พันล้านบาท นักลงทุนททั่วไปซื้อ 944 ล้านบาท สถาบันซื้อ 1,000ล้านบาท และบัญชีโบรกเกอร์ซื้อ 1,300 ล้านบาท
นักวิเคราะห์ กล่าวว่า การที่ดัชนีรีบาวด์กลับได้เพราะจากความผ่อนคลายจากสถานการณ์ทางการเมือง แต่จากนี้ไปหุ้นจะไม่มีปัจจัยรองรับที่ชัดเจน และคาดว่าจะเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบแคบไปสักพัก ก่อนที่จะค่อยๆ เข้าสู่การปรับฐาน เพราะไร้ปัจจัยสนับสนุน ที่ตอนนี้มีอยู่เพียงเรื่องเดียว คือ การประกาศงบผลประกอบการไตรมาส 2/2556
"หลังจากหมดเรื่องนี้แล้ว ตลาดหุ้นคงจะซึมไปสักพักหรือประมาณ 2 เดือน เพื่อรอปัจจัยใหม่เข้ามา ประกอบกับในระหว่างนี้ นักลงทุนต่างชาติพักพอร์ต และสถาบันในประเทศก็ยังไม่มีเงินใหม่เข้ามาลงทุน การลงทุนจะมีเพียงรายย่อยกับพอร์ตโบรกเกอร์เท่านั้น กลยุทธ์การลงทุน คือเลือกลงทุนเป็นรายตัว แนวต้าน 1,460 จุด และแนวรับ 1,435 จุด"
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส บล.เอเซียพลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยคลายกังวลปัญหาทางการเมือง หลังจากสถานการณ์ชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมาไม่ได้มีเหตุการณ์ร้ายแรง ส่วนแนวโน้มดัชนีวันนี้(9ส.ค.) คาดว่าจะแกว่งตัวในกรอบแคบ เนื่องจากความกังวลเรื่องการเมืองยังคงกดดันอยู่ และจะต่อเนื่องไปจนกว่าจะมีความชัดเจน โดยจะแกว่งตัวอยู่ในกรอบระดับ 1,450-1,460 จุด ซึ่งหากมาอยู่ในระดับ 1,450 มองว่าเป็นจุดที่นักลงทุนจะหาหุ้นพื้นฐานดีเพื่อลงทุน เช่นหุ้นในกลุ่มสื่อสาร และวัสดุก่อสร้าง
นางสาวธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า แม้นักลงทุนจะผ่อนคลายกับการเมืองในประเทศ แต่เป็นเพียงปัจจัยหนุนดัชนีฯในระยะสั้นๆเท่านั้น ซึ่งยังคงต้องติดตามสถานการณ์การเมืองต่อไปว่า หลังจากนี้ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด โดยแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในวันนี้(9ส.ค.) คาดว่าจะแกว่งตัวแม้จะคลายความกังวลจากการเมืองในประเทศ แต่คาดว่าจะมีปัจจัยกดดันจากประเด็นเรื่องการปรับลดนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ซึ่งยังไม่มีกำหนดการที่แน่นอน แต่ในสัปดาห์หน้ามีโอกาสเห็นดัชนีฯไปแตะระดับ 1,500 จุดได้อีกครั้ง