แมงเม้าท์เล่าอินไซด์มาแล้วจร้าาาาา สัปดาห์ที่ผ่านมาถือเป็นสัปดาห์ที่หฤโหด สำหรับเม่าใจกล้าที่กอดหุ้นไว้ เพราะดัชนีถอยรูดตีทุกแนวรับแตกกระเจิง เพราะพิษความไม่แน่นอนของมาตรการอัดฉีดเม็ดเงินของสหรัฐเดือนละ 8.5 หมื่นล้านดอลลลาร์ หรือ ที่เรียกกันว่า QE ว่าจะยุติเมื่อไหร่ แถมยังเจอเด้งที่ 2 จากพิษโครงการรับจำนำข้าวที่เขาว่าจะขาดทุนบานตะไท จน มูดี้ส์ ประกาศจะปรับลดอันดับเครดิตของไทย ก่อนที่จะปฏิเสธ ดัชนีจึงดิ่งชนิดไร้ที่พักจาก 1562 จุด ไปต่ำสุดๆ ที่ 1483 จุด แต่ภาพสดใสก็กลับมาในช่วงท้ายของสัปดาห์จากการที่หุ้นไทยกลับมาปิดบวกได้ในเย็นวันศุกร์ที่ 1,516.24 จุด สรุปลดลง 45.83 จุด หรือ 2.93% จากสัปดาห์ก่อน
ต่างชาติก็ยังขายแหลกตั้งแต่วันที่ 3-7 มิ.ย. ปาเข้าไป 20,889 ล้านบาท ทำให้ยอดสะสมตั้งแต่ต้นปี เป็นขายสุทธิมากถึง 41,982.17 ล้านบาท แต่อย่าพึ่งตกใจไปเพราะแบงก์ชาติบอกออกมาว่า หุ้นที่ต่างชาติขายออกไปยังไม่ได้หนีไปไหน วนเวียนอยู่ในไทย พักอยู่ในบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ
แต่ไม่ว่าอย่างไรภาพระยะสั้นที่เคยเศร้าหมองมีโอกาสที่จะเปลี่ยนเป็นแววสดใสได้ในจันทร์ หลังจาก ท่าทีของหลายฝ่ายเริ่มเชื่อว่า ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด จะยังไม่ยกเลิกโครงการ QE ในการประชุมที่จะถึงวันที่ 17-18 มิ.ย.นี้แน่ ขณะที่ ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าจะลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรลงเหลือ 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน ในการประชุมวันที่ 29-30 ตุลาคมนี้ ยืดอากาศหายใจได้ซักพัก
สอดคล้องกับภาวะตลาดหุ้นทั่วโลกที่ต่างกลับมาบวกสดใสถ้านหน้า หลังกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานเดือนพฤษภาคมที่เพิ่มสูงขึ้นเกินคาด แต่ อัตราว่างงานกลับขยับขึ้นแตะ 7.6% จาก 7.5% ในเดือนก่อนหน้า แบบนี้เรียกว่า ช่วยหนุนไม่ให้เฟดยกเลิก QE เร็ว โดยดาวโจนส์ปิดตลาดวันที่ 7 มิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.38% 207.50 จุด ปิดที่ 15,248.12 จุด ด้านดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปิดตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.28% 20.82 จุด ปิดที่ 1,643.38 จุด ในขณะที่ดัชนีแนสแด็กปิดตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.32% 45.16 จุด ปิดที่ 3,469.22 จุด ขณะที่หุ้นยุโรปที่กลับมารีบาวน์ขยับขึ้น 1-2% แทบทั้งสิ้น
แน่นอนว่าภาพที่สดใสเช่นนี้ มีโอกาสที่จะทำให้หุ้นไทยเปิดต้นสัปดาห์บวกได้ แต่จุดที่ต้องลุ้นนั่นก็คือจะกลับขึ้นไปยืนเหนือ 1525 จุดได้อย่างสวยงาม แข็งแกร่งหรือไม่ จากนั้นก็ต้องลุ้นต่อว่าจะขึ้นไปยืน 1550 และ 1570 เป็นจุดถัดไปได้หรือไม่ ถ้าไม่ก็เลิก ... ซึ่งถ้าจะให้แกร่งต่างชาติต้องกลับมาซื้อถึงจะดี ถ้าไม่ซื้อใน SET ก็ซื้อใน futures ก็ยังดี แต่ตอนนี้ยังไร้วี่แวว
ขณะที่ บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า นับจากจุดสูงสุดของ SET Index (ระหว่างวัน) ที่ 1649.77 จุดเมื่อ 21 พ.ค.2556 จนถึงปัจจุบัน SET Index ปรับตัวลดลงไปแล้วเกือบ 160 จุด แต่หากพิจารณาในเชิงของปัจจัยพื้นฐาน พบว่าการปรับลดลงของ SET Index ในช่วงที่ผ่านมาทำให้ค่า Current PER ปรับลดลงมาอย่างน่าพอใจจากระดับที่สูงกว่า 17 เท่า มาสู่ระดับต่ำกว่า 16 เท่าเล็กน้อย
และเมื่อคำนวนภายใต้สมมุติฐานที่คาดหมายว่า Market EPS Growth ของตลาดหุ้นไทยในงวดปี 2556 อยู่ที่ 23% ที่ระดับราคา โดยหาก SET Index สามารถยืนอยู่ที่ PER 15–16 เท่าได้ จนถึงสิ้นปี 2556 ก็จะสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนได้ในช่วง 5–12% สำหรับช่วงเวลาที่เหลือของปี ด้วยระดับความคาดหวังผลตอบแทนดังกล่าว จึงเป็นไปได้ที่จะทำให้เริ่มเห็นแรงซื้อสะสมหุ้นของกลุ่มนักลงทุนระยะกลาง–ระยะยาว ทำให้ Down Side สำหรับตลาดหุ้นไทยจำกัดลง
ดังนั้นจึงแนะนำให้นักลงทุนเริ่มมองหาหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง และราคาหุ้นได้ปรับลดลงจนเปิด Upside ที่น่าสนใจ โดยเป้าหมายแรกให้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นจาก 30% เป็น 40% ของพอร์ต โดย หุ้นที่น่าสนใจ เลือก BECL มูลค่าเหมาะสม 52 บาท และ SVI มูลค่าเหมาะสม 5.25 บาท
ส่วน นายสมชาย เอนกทวีผล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส มองแนวโน้มสัปดาห์นี้ ดัชนี จะรีบาวด์ขึ้นต่ออีก โดยประเมินแนวต้านรอบสัปดาห์ที่ 1,550-1,560 จุด และแนวรับรอบสัปดาห์ที่ 1,500-1490 จุด และแนะกลยุทธ์การลงทุนให้ถือสะสม
ขณะที่ นางสาวธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) แนะนำนักลงทุนให้ลดพอร์ตเป็นหุ้น 25% เงินสด 75% และเลือกหุ้นรายตัวที่มีการปรับตัวลดลงมามากแล้วก่อนหน้านี้และมั่นใจว่าจะกลับตัวดีดกลับขึ้นได้ เพื่อ ลุ้นดีดกลับ 1,560จุด
นายวิวัฒน์ เตชะพูลผล หัวหน้ากลยุทธ์การลงทุนและผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาดลูกค้าส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ ระบุ ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวลดลงในช่วงเดือนมิ.ย.นี้ และจะเริ่มแกว่งตัวในช่วงเดือนก.ค. เพราะตามสัญญาณทางเทคนิคมองว่ายังติดแนวรับบริเวณ 1,500 จุดซึ่งการปรับลดลงในรอบนี้จะสิ้นสุดในช่วงปลายเดือน ก.ค. ก่อนจะสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ โดยเป้าหมายทั้งปีนี้ยังมีโอกาสเห็นแนวต้านที่ 1,750 จุด ดังนั้นในช่วงที่ดัชนีฯปรับตัวลดลงถึงแนวรับดังกล่าวแนะนำสามารถเข้าซื้อหุ้นได้
ต่างชาติก็ยังขายแหลกตั้งแต่วันที่ 3-7 มิ.ย. ปาเข้าไป 20,889 ล้านบาท ทำให้ยอดสะสมตั้งแต่ต้นปี เป็นขายสุทธิมากถึง 41,982.17 ล้านบาท แต่อย่าพึ่งตกใจไปเพราะแบงก์ชาติบอกออกมาว่า หุ้นที่ต่างชาติขายออกไปยังไม่ได้หนีไปไหน วนเวียนอยู่ในไทย พักอยู่ในบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ
แต่ไม่ว่าอย่างไรภาพระยะสั้นที่เคยเศร้าหมองมีโอกาสที่จะเปลี่ยนเป็นแววสดใสได้ในจันทร์ หลังจาก ท่าทีของหลายฝ่ายเริ่มเชื่อว่า ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด จะยังไม่ยกเลิกโครงการ QE ในการประชุมที่จะถึงวันที่ 17-18 มิ.ย.นี้แน่ ขณะที่ ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าจะลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรลงเหลือ 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน ในการประชุมวันที่ 29-30 ตุลาคมนี้ ยืดอากาศหายใจได้ซักพัก
สอดคล้องกับภาวะตลาดหุ้นทั่วโลกที่ต่างกลับมาบวกสดใสถ้านหน้า หลังกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานเดือนพฤษภาคมที่เพิ่มสูงขึ้นเกินคาด แต่ อัตราว่างงานกลับขยับขึ้นแตะ 7.6% จาก 7.5% ในเดือนก่อนหน้า แบบนี้เรียกว่า ช่วยหนุนไม่ให้เฟดยกเลิก QE เร็ว โดยดาวโจนส์ปิดตลาดวันที่ 7 มิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.38% 207.50 จุด ปิดที่ 15,248.12 จุด ด้านดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปิดตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.28% 20.82 จุด ปิดที่ 1,643.38 จุด ในขณะที่ดัชนีแนสแด็กปิดตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.32% 45.16 จุด ปิดที่ 3,469.22 จุด ขณะที่หุ้นยุโรปที่กลับมารีบาวน์ขยับขึ้น 1-2% แทบทั้งสิ้น
แน่นอนว่าภาพที่สดใสเช่นนี้ มีโอกาสที่จะทำให้หุ้นไทยเปิดต้นสัปดาห์บวกได้ แต่จุดที่ต้องลุ้นนั่นก็คือจะกลับขึ้นไปยืนเหนือ 1525 จุดได้อย่างสวยงาม แข็งแกร่งหรือไม่ จากนั้นก็ต้องลุ้นต่อว่าจะขึ้นไปยืน 1550 และ 1570 เป็นจุดถัดไปได้หรือไม่ ถ้าไม่ก็เลิก ... ซึ่งถ้าจะให้แกร่งต่างชาติต้องกลับมาซื้อถึงจะดี ถ้าไม่ซื้อใน SET ก็ซื้อใน futures ก็ยังดี แต่ตอนนี้ยังไร้วี่แวว
ขณะที่ บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า นับจากจุดสูงสุดของ SET Index (ระหว่างวัน) ที่ 1649.77 จุดเมื่อ 21 พ.ค.2556 จนถึงปัจจุบัน SET Index ปรับตัวลดลงไปแล้วเกือบ 160 จุด แต่หากพิจารณาในเชิงของปัจจัยพื้นฐาน พบว่าการปรับลดลงของ SET Index ในช่วงที่ผ่านมาทำให้ค่า Current PER ปรับลดลงมาอย่างน่าพอใจจากระดับที่สูงกว่า 17 เท่า มาสู่ระดับต่ำกว่า 16 เท่าเล็กน้อย
และเมื่อคำนวนภายใต้สมมุติฐานที่คาดหมายว่า Market EPS Growth ของตลาดหุ้นไทยในงวดปี 2556 อยู่ที่ 23% ที่ระดับราคา โดยหาก SET Index สามารถยืนอยู่ที่ PER 15–16 เท่าได้ จนถึงสิ้นปี 2556 ก็จะสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนได้ในช่วง 5–12% สำหรับช่วงเวลาที่เหลือของปี ด้วยระดับความคาดหวังผลตอบแทนดังกล่าว จึงเป็นไปได้ที่จะทำให้เริ่มเห็นแรงซื้อสะสมหุ้นของกลุ่มนักลงทุนระยะกลาง–ระยะยาว ทำให้ Down Side สำหรับตลาดหุ้นไทยจำกัดลง
ดังนั้นจึงแนะนำให้นักลงทุนเริ่มมองหาหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง และราคาหุ้นได้ปรับลดลงจนเปิด Upside ที่น่าสนใจ โดยเป้าหมายแรกให้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นจาก 30% เป็น 40% ของพอร์ต โดย หุ้นที่น่าสนใจ เลือก BECL มูลค่าเหมาะสม 52 บาท และ SVI มูลค่าเหมาะสม 5.25 บาท
ส่วน นายสมชาย เอนกทวีผล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส มองแนวโน้มสัปดาห์นี้ ดัชนี จะรีบาวด์ขึ้นต่ออีก โดยประเมินแนวต้านรอบสัปดาห์ที่ 1,550-1,560 จุด และแนวรับรอบสัปดาห์ที่ 1,500-1490 จุด และแนะกลยุทธ์การลงทุนให้ถือสะสม
ขณะที่ นางสาวธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) แนะนำนักลงทุนให้ลดพอร์ตเป็นหุ้น 25% เงินสด 75% และเลือกหุ้นรายตัวที่มีการปรับตัวลดลงมามากแล้วก่อนหน้านี้และมั่นใจว่าจะกลับตัวดีดกลับขึ้นได้ เพื่อ ลุ้นดีดกลับ 1,560จุด
นายวิวัฒน์ เตชะพูลผล หัวหน้ากลยุทธ์การลงทุนและผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาดลูกค้าส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ ระบุ ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวลดลงในช่วงเดือนมิ.ย.นี้ และจะเริ่มแกว่งตัวในช่วงเดือนก.ค. เพราะตามสัญญาณทางเทคนิคมองว่ายังติดแนวรับบริเวณ 1,500 จุดซึ่งการปรับลดลงในรอบนี้จะสิ้นสุดในช่วงปลายเดือน ก.ค. ก่อนจะสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ โดยเป้าหมายทั้งปีนี้ยังมีโอกาสเห็นแนวต้านที่ 1,750 จุด ดังนั้นในช่วงที่ดัชนีฯปรับตัวลดลงถึงแนวรับดังกล่าวแนะนำสามารถเข้าซื้อหุ้นได้