ASTV ผู้จัดการรายวัน – พ.ร.บ.นิรโทษกรรมทำพิษ นักลงทุนผวา หยุดเทรดทั้งในและต่างประเทศ ฉุดวอลุ่มวูบเหลือ 2 หมื่นล้านบาท ดัชนีปิดบวกเพิ่ม3 จุดโบรกฯคาด 7ส.ค.ผันผวนสุด ชี้ภาพรวมแม้ไม่มีการเมือง ช่วงนี้ก็แย่ จากผลดำเนินงานบจ.ลดลง นโยบายภาคาฐล่าช้า จีดีพีโดนหั่น ประชาชนหนี้พุ่ง
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผอ.ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า กระแสข่าวสถานการณ์เปิดประชุมสภาเพื่อยื่น พรบ.นิรโทษกรรมในขณะนี้ สร้างความหวาดกลัวและวิตกังวลกับนักลงทุนไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งหากพิจารณาย้อนหลังกลับไปตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่ 1,513 จุด แต่เมื่อมีกระแสข่าวลือการยื่น พ.ร.บ.นิรโทษกรรมออกมา ทำให้ดัชนีหุ้นไทยร่วงลงไปกว่า 110 จุดในช่วงเวลาสั้นๆแต่รวดเร็วมากจนผิดปกติ
“ภาพรวมดัชนีจะเคลื่อนใหวอยู่ที่ระดับประมาณ 1,400 จุด ซึ่งหากประเมินเป็นค่า P/E จะอยู่ที่ประมาณ 13.4 เท่า โดยสถานการณ์ปกติตลาดหุ้นจะทำการซื้อขายอยู่ที่ค่า P/E ประมาณ 15 เท่า ทำให้มองว่าหากราคาหุ้นปรับตัวลดลงมาก นักลงทุนควรทยอยซื้อสะสม ปรับเพิ่มพอร์ตการลงทุนในสัดส่วนหุ้น โดยเน้นหุ้นตัวใหญ่ที่มีปัจจัยพื้นฐานดีประมาณ 40% เพราะตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้จะยังคงขึ้นลงผันผวนและแกว่งตัวรุนแรงอย่างต่อเนื่องอยู่ การทำกำไรในช่วงระยะเวลานี้จึงค่อนข้างยาก”
ส่วนในครึ่งปีหลังมองว่า ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสที่จะฟื้นตัวกลับขึ้นมาอยู่ในระดับต้นๆของกลุ่มภูมิภาคเอเซีย (TIP) ซึ่งค่า P/E คาดว่าจะกลับมาอยู่ที่ระดับ 15 เท่าได้เช่นเดิม ขณะที่เศรษฐกิจครึ่งปีหลังที่ลดลงมาจากหลายปัจจัยทั้งจากนโยบายการลงทุนภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และบริษัทเอกชนที่ต้องแบกรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทแข็ง แม้จะมีอ่อนตัวลงบ้างในบางช่วง ประกอบกับการพิจารณาปรับลด GDP ลงมา ตัวเลขหนี้ครัวเรือนและหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ประชาชนใช้จ่ายน้อยลง และดุลการค้าระหว่างประเทศก็ยังเชื่อถือไม่ได้
ขณะเดียวกัน บริษัทจดทะเบียนอาจมีการปรับลดกำไรลงบ้างเล็กน้อย จากการประกาศผลกำไรในไตรมาส 3 อาจลดลงโดย กลุ่มที่อาจไม่ได้รับผลกระทบได้แก่กลุ่มพลังงาน เพราะมีความต้องการใช้งานปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง กลุ่มอสังหาฯยังคงมียอดขายที่รอโอน (Backlog) อยู่โดยรวมประมาณ 2.6 แสนล้านบาท กลุ่มรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่11ราย มีสัญญามูลค่างานในมือประมาณเฉลี่ย 4.9 แสนล้านบาท ขณะที่นักลงทุนกังวลในหุ้นกลุ่มธนาคารว่าจะเกิดหนี้เสีย หรือ NPL ในอนาคตจากค่าครองชีพและหนี้สาธารณะแต่ทางธนาคารได้มีมาตรการรองรับความเสี่ยงไว้แล้ว
"ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงสัปดาห์นี้ อาจจะมีความกังวลในเหตุความรุนแรงของการชุมนุมทางการเมืองอยู่บ้าง แต่อาจเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งคาดว่าดัชนี SET INDEX จะอยู่ที่ประมาณ 1,400 - 1,450 จุด โดยวันที่ 7 สิงหาคมนี้ คาดว่าจะเป็นวันที่ตลาดหุ้นไทยจะมีความผันผวนสูงที่สุด"
***วอลุ่มเทรดฮวบเหลือ2หมื่นล.
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ยอมรับว่า บรรยากาศการลงทุนโดยรวมยังเป็นเชิงลบ ส่งผลให้นักลงทุนยังมีความระมัดระวังการลงทุน และรอดูเหตุการณ์ทางการเมือง นอกจากนี้ สถานการณ์ทางการเมืองยังมีโอกาสของการเกิดการชุมนุมในลักษณะดาวกระจาย เมื่อเข้าใกล้วันพิจาณา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในวันที่ 7 ส.ค.นี้ จะกดดันภาวะการลงทุนไปอีกระยะจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ซึ่งยังยากที่จะประเมินว่าผลลัพธ์ได้ จึงแนะนำให้ทยอยลดน้ำหนักการลงทุน และถือเงินสดมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศยากต่อการประเมินได้
โดยล่าสุด ตลาดหุ้นไทยวานนี้ (5ส.ค.) จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมือง กดดันตลาดหุ้น ขยับตัวไปไหนได้ไม่มาก โดยปิดที่ระดับ 1,424.31 จุด เพิ่มขึ้น 3.37% หรือ 0.24% มูลค่าการซื้อขาย 20,881.32 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุด 1,427.93 จุด และต่ำสุด 1,405.71 จุด
นายปริญทร์ กิจจาทรพิทักษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคทีบี(ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยยังคงอยู่ภายใต้ความกดดันจากการเมือง ซึ่งนักลงทุนยังคงกังวล โดยเฉพาะวันที่ 7 ส.ค.ที่จะมีการพิจารณา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม คงต้องติดตามสถานการณ์การเมืองอย่างใกล้ชิด และแม้หากไม่มีประเด็นการเมืองเข้ามากดดัน ในช่วงนี้ซึ่งที่อยู่ในช่วงของการประกาศงบฯไตรมาส 2/56 ของบริษัทจดทะเบียน ก็คาดว่าจะออกมาไม่ค่อยดี
“วอลุ่มเทรดน้อย เนื่องจากนักลงทุนยังชะลอการลงทุน และระยะสั้นนักลงทุนต่างชาติคงจะรอดูสถานการณ์ไปก่อน ทั้งที่จริงนักลงทุนต่างชาติเวลาจะลงทุนมักจะมองระยะยาวมากกว่า โดยแนวโน้มการลงทุนในวันนี้(6 ส.ค.) คาดว่าดัชนีจะเคลื่อนไหวในลักษณะเช่นเดียวกับวานนี้ และคงจะหลีกไม่พ้นที่จะเห็นการเหวี่ยงไปเหวี่ยงมาในระหว่างเทรด พร้อมให้แนวรับ 1,415-1,420 จุด แนวต้าน 1,435 จุด”
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผอ.ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า กระแสข่าวสถานการณ์เปิดประชุมสภาเพื่อยื่น พรบ.นิรโทษกรรมในขณะนี้ สร้างความหวาดกลัวและวิตกังวลกับนักลงทุนไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งหากพิจารณาย้อนหลังกลับไปตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่ 1,513 จุด แต่เมื่อมีกระแสข่าวลือการยื่น พ.ร.บ.นิรโทษกรรมออกมา ทำให้ดัชนีหุ้นไทยร่วงลงไปกว่า 110 จุดในช่วงเวลาสั้นๆแต่รวดเร็วมากจนผิดปกติ
“ภาพรวมดัชนีจะเคลื่อนใหวอยู่ที่ระดับประมาณ 1,400 จุด ซึ่งหากประเมินเป็นค่า P/E จะอยู่ที่ประมาณ 13.4 เท่า โดยสถานการณ์ปกติตลาดหุ้นจะทำการซื้อขายอยู่ที่ค่า P/E ประมาณ 15 เท่า ทำให้มองว่าหากราคาหุ้นปรับตัวลดลงมาก นักลงทุนควรทยอยซื้อสะสม ปรับเพิ่มพอร์ตการลงทุนในสัดส่วนหุ้น โดยเน้นหุ้นตัวใหญ่ที่มีปัจจัยพื้นฐานดีประมาณ 40% เพราะตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้จะยังคงขึ้นลงผันผวนและแกว่งตัวรุนแรงอย่างต่อเนื่องอยู่ การทำกำไรในช่วงระยะเวลานี้จึงค่อนข้างยาก”
ส่วนในครึ่งปีหลังมองว่า ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสที่จะฟื้นตัวกลับขึ้นมาอยู่ในระดับต้นๆของกลุ่มภูมิภาคเอเซีย (TIP) ซึ่งค่า P/E คาดว่าจะกลับมาอยู่ที่ระดับ 15 เท่าได้เช่นเดิม ขณะที่เศรษฐกิจครึ่งปีหลังที่ลดลงมาจากหลายปัจจัยทั้งจากนโยบายการลงทุนภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และบริษัทเอกชนที่ต้องแบกรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทแข็ง แม้จะมีอ่อนตัวลงบ้างในบางช่วง ประกอบกับการพิจารณาปรับลด GDP ลงมา ตัวเลขหนี้ครัวเรือนและหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ประชาชนใช้จ่ายน้อยลง และดุลการค้าระหว่างประเทศก็ยังเชื่อถือไม่ได้
ขณะเดียวกัน บริษัทจดทะเบียนอาจมีการปรับลดกำไรลงบ้างเล็กน้อย จากการประกาศผลกำไรในไตรมาส 3 อาจลดลงโดย กลุ่มที่อาจไม่ได้รับผลกระทบได้แก่กลุ่มพลังงาน เพราะมีความต้องการใช้งานปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง กลุ่มอสังหาฯยังคงมียอดขายที่รอโอน (Backlog) อยู่โดยรวมประมาณ 2.6 แสนล้านบาท กลุ่มรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่11ราย มีสัญญามูลค่างานในมือประมาณเฉลี่ย 4.9 แสนล้านบาท ขณะที่นักลงทุนกังวลในหุ้นกลุ่มธนาคารว่าจะเกิดหนี้เสีย หรือ NPL ในอนาคตจากค่าครองชีพและหนี้สาธารณะแต่ทางธนาคารได้มีมาตรการรองรับความเสี่ยงไว้แล้ว
"ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงสัปดาห์นี้ อาจจะมีความกังวลในเหตุความรุนแรงของการชุมนุมทางการเมืองอยู่บ้าง แต่อาจเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งคาดว่าดัชนี SET INDEX จะอยู่ที่ประมาณ 1,400 - 1,450 จุด โดยวันที่ 7 สิงหาคมนี้ คาดว่าจะเป็นวันที่ตลาดหุ้นไทยจะมีความผันผวนสูงที่สุด"
***วอลุ่มเทรดฮวบเหลือ2หมื่นล.
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ยอมรับว่า บรรยากาศการลงทุนโดยรวมยังเป็นเชิงลบ ส่งผลให้นักลงทุนยังมีความระมัดระวังการลงทุน และรอดูเหตุการณ์ทางการเมือง นอกจากนี้ สถานการณ์ทางการเมืองยังมีโอกาสของการเกิดการชุมนุมในลักษณะดาวกระจาย เมื่อเข้าใกล้วันพิจาณา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในวันที่ 7 ส.ค.นี้ จะกดดันภาวะการลงทุนไปอีกระยะจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ซึ่งยังยากที่จะประเมินว่าผลลัพธ์ได้ จึงแนะนำให้ทยอยลดน้ำหนักการลงทุน และถือเงินสดมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศยากต่อการประเมินได้
โดยล่าสุด ตลาดหุ้นไทยวานนี้ (5ส.ค.) จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมือง กดดันตลาดหุ้น ขยับตัวไปไหนได้ไม่มาก โดยปิดที่ระดับ 1,424.31 จุด เพิ่มขึ้น 3.37% หรือ 0.24% มูลค่าการซื้อขาย 20,881.32 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุด 1,427.93 จุด และต่ำสุด 1,405.71 จุด
นายปริญทร์ กิจจาทรพิทักษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคทีบี(ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยยังคงอยู่ภายใต้ความกดดันจากการเมือง ซึ่งนักลงทุนยังคงกังวล โดยเฉพาะวันที่ 7 ส.ค.ที่จะมีการพิจารณา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม คงต้องติดตามสถานการณ์การเมืองอย่างใกล้ชิด และแม้หากไม่มีประเด็นการเมืองเข้ามากดดัน ในช่วงนี้ซึ่งที่อยู่ในช่วงของการประกาศงบฯไตรมาส 2/56 ของบริษัทจดทะเบียน ก็คาดว่าจะออกมาไม่ค่อยดี
“วอลุ่มเทรดน้อย เนื่องจากนักลงทุนยังชะลอการลงทุน และระยะสั้นนักลงทุนต่างชาติคงจะรอดูสถานการณ์ไปก่อน ทั้งที่จริงนักลงทุนต่างชาติเวลาจะลงทุนมักจะมองระยะยาวมากกว่า โดยแนวโน้มการลงทุนในวันนี้(6 ส.ค.) คาดว่าดัชนีจะเคลื่อนไหวในลักษณะเช่นเดียวกับวานนี้ และคงจะหลีกไม่พ้นที่จะเห็นการเหวี่ยงไปเหวี่ยงมาในระหว่างเทรด พร้อมให้แนวรับ 1,415-1,420 จุด แนวต้าน 1,435 จุด”