ในที่สุดวันที่หลายคนหวั่นเกรงว่าจะเกิดความขัดแย้งรอบใหม่ในสังคมไทยก็มาถึง เมื่อมีการเปิดสภาฯ ในวันที่ 7 สิงหาคม และจะมีการนำ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับของนายวรชัย เหมะ เข้าสู่วาระการประชุมของสภาฯ ในวันที่ 7 สิงหาคม
ในทันทีที่ข่าวการนำ พ.ร.บ.ที่ว่านี้เข้าสู่วาระการประชุม เสียงคัดค้านก็ได้ดังกระหึ่มจากกลุ่มต่างๆ ที่ไม่เห็นด้วย ทั้งในสภาฯ ซึ่งนำโดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และนอกสภาฯ ซึ่งนำโดยม็อบกลุ่มต่างๆ เช่น องค์กรพิทักษ์สยาม และไทยสปริง เป็นต้น และในขณะที่กลุ่มต่อต้านออกมา กลุ่มคนเสื้อแดงในฐานะองครักษ์พิทักษ์รัฐบาลก็ออกมาด้วย
ดังนั้น ถ้ามองในเชิงตรรกะแล้ววันนี้ค่อนข้างเชื่อได้ว่าสังคมไทยวันนี้คงจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและนำไปสู่ความรุนแรงได้ยาก ทั้งนี้อนุมานจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาฯ คงจะไม่ยอมเสียอำนาจจากการเป็นรัฐบาลโดยที่ยังไม่มีความพร้อมที่จะยุบสภา และยังมีทางออกอื่นเพื่อยืดอายุของการเป็นรัฐบาลออกไปอย่างน้อยเพื่อรอให้ พ.ร.บ.งบประมาณ และ พ.ร.บ.เงินกู้ที่รอผ่านสภาฯ อยู่ ผ่านสภาฯ ออกเป็นกฎหมายเรียบร้อยแล้วจึงค่อยเคลื่อนไหวในการผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมอีกครั้ง และถ้าไม่ไหวก็ยุบสภาฯ เพื่อกลับมาต่อสู้ทางการเมืองอีกครั้งในอนาคต
แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ถ้าดูเพียงผิวเผินโอกาสที่พรรคเพื่อไทยจะชนะและกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้งมีความเป็นไปได้ แต่ก็คงไม่ง่ายเหมือนครั้งที่แล้ว เพราะในครั้งนี้ภาพในทางลบของรัฐบาลมีมากจนยากจะแก้ไข
ด้วยเหตุว่ารัฐบาลภายใต้การนำของอดีตนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกกองทัพโค่นล้มเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เกือบหนึ่งปีเต็มนับจากที่เกิดความขัดแย้ง และจากที่รัฐบาลในยุคนั้นถูกโค่นล้มจึงทำให้เกิดขบวนการปลุกเร้ามวลชนขึ้นมาต่อต้านการทำปฏิวัติรัฐประหารภายใต้ชื่อย่อ นปช. และกลายมาเป็นองค์กรพิทักษ์รัฐบาลทุกรัฐบาล แต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน และที่สำคัญอันน่าสนใจของคนกลุ่มนี้ก็คือ ทำงานภายใต้การบงการของคนคนเดียว คือ อดีตนายกฯ ทักษิณ
2. เมื่ออดีตนายกฯ ทักษิณคือแกนแห่งความขัดแย้ง และเป็นที่มาของการต่อต้าน ดังนั้นเมื่อ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่จะเข้าสภาฯ ไม่ว่าฉบับไหนถ้าช่วยให้อดีตนายกฯ ทักษิณ ซึ่งมีความผิดทางอาญาติดตัวโดยมีโทษจำคุก 2 ปี และมีคดีรออยู่อีกหลายคดีพ้นผิด คงจะผ่านสภาฯ โดยที่ไม่มีกระแสคัดค้านคงจะยาก และพูดได้เลยว่าการนำ พ.ร.บ.ลักษณะนี้เข้าสู่การประชุมสภาฯ ก็เท่ากับเป็นการนำระเบิดมาระเบิดตัวเองของรัฐบาล และ ส.ส.พรรคเพื่อไทยค่อนข้างแน่นอน
นอกจาก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแล้ว รัฐบาลภายใต้การนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังมีเหตุอื่นๆ ที่ถูกนำมาเป็นเหตุอ้างในการขับไล่ เช่น การทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ข้าวของแพง และโครงการกู้เงิน 3.5 แสนล้าน โครงการเงินกู้ 2 ล้านล้าน ก็มีส่วนมิใช่น้อยในการจูงใจให้คนออกมาขับไล่รัฐบาลนี้
ส่วนจะทำให้รัฐบาลเพลี่ยงพล้ำถึงขั้นต้องยุบสภาหนีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. จำนวนประชาชนที่ออกมาชุมนุมมากพอที่จะทำให้รัฐบาลเกิดความกลัว และต้องยุบสภาหนีหรือไม่
2. ในขณะที่กระแสคัดค้านนอกสภาฯ ดำเนินไป คดีต่างๆ ที่รออยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญและค้างอยู่ที่ ป.ป.ช.จะดำเนินการไปถึงขั้นทำให้ภาวะความเป็นผู้นำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีอันต้องยุติลงด้วยมีความผิดตามที่มีผู้ร้องหรือไม่
3. ถ้ามวลชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเพิ่มขึ้น และในขณะเดียวกันกลุ่มหนุนรัฐบาลได้ออกมาเผชิญหน้ากันถึงขั้นก่อจลาจล กองทัพที่มีหน้าที่รักษาความสงบออกมายุติความขัดแย้ง โดยการใช้กำลังบีบรัฐบาลให้ลาออก ยุบสภา หรือสุดท้ายถูกโค่นล้มหรือไม่
ทั้งหมดที่บอกมาเป็นเพียงการมองภาพความขัดแย้ง และคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นตามมา โดยอาศัยตรรกะในการคาดการณ์
แต่ถ้านำโหราศาสตร์มาใช้ในการคาดการณ์ร่วมด้วย ก็จะพบว่าในช่วงวันที่ 19 ส.ค.-27 พ.ย. 56 นี้ ดาวอังคารจะโคจรในราศีกรกฎ และสิงห์ ทำมุมโยคอังคารเดิม และอาทิตย์เดิม จะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งค่อนข้างรุนแรง แต่ก็มีดาวพฤหัสบดีโคจรทำมุมช่วยดวงเมืองอยู่ ความขัดแย้งจึงน่าจะจบลงด้วยการใช้กระบวนการยุติธรรมมาแก้ปัญหาก่อน แต่ถ้าแก้แล้วยุ่งมากและจบลงไม่ได้ เชื่อได้ค่อนข้างมากว่ารัฐบาลชุดนี้อาจจบลงในทำนองเดียวกับอดีตนายกฯ ทักษิณ เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 49
ส่วนประเด็นยุบสภาหนี ถ้าดูตามโหราศาสตร์แล้วไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะจะแก้ไขปัญหาให้จบลงโดยสิ้นเชิงไม่ได้ จะทำได้ก็เพียงชะลอการเกิดปัญหารอบใหม่ดังที่เกิดขึ้นแล้วในกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ยุบสภา และเลือกตั้งใหม่เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 และเป็นที่มาของความขัดแย้งในวันนี้นั่นเอง
สุดท้ายในฐานะโหรสมัครเล่น ผู้เขียนเชื่อว่าประเทศไทยและสังคมไทยจะผ่านพ้นอันตรายทางการเมืองไปได้ด้วยคนดีชนะคนไม่ดี และฝ่ายอธรรมย่อมแพ้ภัยตัวเองในที่สุด
ในทันทีที่ข่าวการนำ พ.ร.บ.ที่ว่านี้เข้าสู่วาระการประชุม เสียงคัดค้านก็ได้ดังกระหึ่มจากกลุ่มต่างๆ ที่ไม่เห็นด้วย ทั้งในสภาฯ ซึ่งนำโดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และนอกสภาฯ ซึ่งนำโดยม็อบกลุ่มต่างๆ เช่น องค์กรพิทักษ์สยาม และไทยสปริง เป็นต้น และในขณะที่กลุ่มต่อต้านออกมา กลุ่มคนเสื้อแดงในฐานะองครักษ์พิทักษ์รัฐบาลก็ออกมาด้วย
ดังนั้น ถ้ามองในเชิงตรรกะแล้ววันนี้ค่อนข้างเชื่อได้ว่าสังคมไทยวันนี้คงจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและนำไปสู่ความรุนแรงได้ยาก ทั้งนี้อนุมานจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาฯ คงจะไม่ยอมเสียอำนาจจากการเป็นรัฐบาลโดยที่ยังไม่มีความพร้อมที่จะยุบสภา และยังมีทางออกอื่นเพื่อยืดอายุของการเป็นรัฐบาลออกไปอย่างน้อยเพื่อรอให้ พ.ร.บ.งบประมาณ และ พ.ร.บ.เงินกู้ที่รอผ่านสภาฯ อยู่ ผ่านสภาฯ ออกเป็นกฎหมายเรียบร้อยแล้วจึงค่อยเคลื่อนไหวในการผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมอีกครั้ง และถ้าไม่ไหวก็ยุบสภาฯ เพื่อกลับมาต่อสู้ทางการเมืองอีกครั้งในอนาคต
แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ถ้าดูเพียงผิวเผินโอกาสที่พรรคเพื่อไทยจะชนะและกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้งมีความเป็นไปได้ แต่ก็คงไม่ง่ายเหมือนครั้งที่แล้ว เพราะในครั้งนี้ภาพในทางลบของรัฐบาลมีมากจนยากจะแก้ไข
ด้วยเหตุว่ารัฐบาลภายใต้การนำของอดีตนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกกองทัพโค่นล้มเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เกือบหนึ่งปีเต็มนับจากที่เกิดความขัดแย้ง และจากที่รัฐบาลในยุคนั้นถูกโค่นล้มจึงทำให้เกิดขบวนการปลุกเร้ามวลชนขึ้นมาต่อต้านการทำปฏิวัติรัฐประหารภายใต้ชื่อย่อ นปช. และกลายมาเป็นองค์กรพิทักษ์รัฐบาลทุกรัฐบาล แต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน และที่สำคัญอันน่าสนใจของคนกลุ่มนี้ก็คือ ทำงานภายใต้การบงการของคนคนเดียว คือ อดีตนายกฯ ทักษิณ
2. เมื่ออดีตนายกฯ ทักษิณคือแกนแห่งความขัดแย้ง และเป็นที่มาของการต่อต้าน ดังนั้นเมื่อ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่จะเข้าสภาฯ ไม่ว่าฉบับไหนถ้าช่วยให้อดีตนายกฯ ทักษิณ ซึ่งมีความผิดทางอาญาติดตัวโดยมีโทษจำคุก 2 ปี และมีคดีรออยู่อีกหลายคดีพ้นผิด คงจะผ่านสภาฯ โดยที่ไม่มีกระแสคัดค้านคงจะยาก และพูดได้เลยว่าการนำ พ.ร.บ.ลักษณะนี้เข้าสู่การประชุมสภาฯ ก็เท่ากับเป็นการนำระเบิดมาระเบิดตัวเองของรัฐบาล และ ส.ส.พรรคเพื่อไทยค่อนข้างแน่นอน
นอกจาก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแล้ว รัฐบาลภายใต้การนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังมีเหตุอื่นๆ ที่ถูกนำมาเป็นเหตุอ้างในการขับไล่ เช่น การทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ข้าวของแพง และโครงการกู้เงิน 3.5 แสนล้าน โครงการเงินกู้ 2 ล้านล้าน ก็มีส่วนมิใช่น้อยในการจูงใจให้คนออกมาขับไล่รัฐบาลนี้
ส่วนจะทำให้รัฐบาลเพลี่ยงพล้ำถึงขั้นต้องยุบสภาหนีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. จำนวนประชาชนที่ออกมาชุมนุมมากพอที่จะทำให้รัฐบาลเกิดความกลัว และต้องยุบสภาหนีหรือไม่
2. ในขณะที่กระแสคัดค้านนอกสภาฯ ดำเนินไป คดีต่างๆ ที่รออยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญและค้างอยู่ที่ ป.ป.ช.จะดำเนินการไปถึงขั้นทำให้ภาวะความเป็นผู้นำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีอันต้องยุติลงด้วยมีความผิดตามที่มีผู้ร้องหรือไม่
3. ถ้ามวลชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเพิ่มขึ้น และในขณะเดียวกันกลุ่มหนุนรัฐบาลได้ออกมาเผชิญหน้ากันถึงขั้นก่อจลาจล กองทัพที่มีหน้าที่รักษาความสงบออกมายุติความขัดแย้ง โดยการใช้กำลังบีบรัฐบาลให้ลาออก ยุบสภา หรือสุดท้ายถูกโค่นล้มหรือไม่
ทั้งหมดที่บอกมาเป็นเพียงการมองภาพความขัดแย้ง และคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นตามมา โดยอาศัยตรรกะในการคาดการณ์
แต่ถ้านำโหราศาสตร์มาใช้ในการคาดการณ์ร่วมด้วย ก็จะพบว่าในช่วงวันที่ 19 ส.ค.-27 พ.ย. 56 นี้ ดาวอังคารจะโคจรในราศีกรกฎ และสิงห์ ทำมุมโยคอังคารเดิม และอาทิตย์เดิม จะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งค่อนข้างรุนแรง แต่ก็มีดาวพฤหัสบดีโคจรทำมุมช่วยดวงเมืองอยู่ ความขัดแย้งจึงน่าจะจบลงด้วยการใช้กระบวนการยุติธรรมมาแก้ปัญหาก่อน แต่ถ้าแก้แล้วยุ่งมากและจบลงไม่ได้ เชื่อได้ค่อนข้างมากว่ารัฐบาลชุดนี้อาจจบลงในทำนองเดียวกับอดีตนายกฯ ทักษิณ เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 49
ส่วนประเด็นยุบสภาหนี ถ้าดูตามโหราศาสตร์แล้วไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะจะแก้ไขปัญหาให้จบลงโดยสิ้นเชิงไม่ได้ จะทำได้ก็เพียงชะลอการเกิดปัญหารอบใหม่ดังที่เกิดขึ้นแล้วในกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ยุบสภา และเลือกตั้งใหม่เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 และเป็นที่มาของความขัดแย้งในวันนี้นั่นเอง
สุดท้ายในฐานะโหรสมัครเล่น ผู้เขียนเชื่อว่าประเทศไทยและสังคมไทยจะผ่านพ้นอันตรายทางการเมืองไปได้ด้วยคนดีชนะคนไม่ดี และฝ่ายอธรรมย่อมแพ้ภัยตัวเองในที่สุด