ปัญญาพลวัตร
โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
ระดับความเข้มข้นของสถานการณ์การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างฝ่ายที่สถาปนาและมีเป้าหมายรักษาระบอบทักษิณกับฝ่ายที่มีเป้าประสงค์โค่นล้มระบอบทักษิณมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง บางช่วงมีระดับความเข้มข้นสูง บางช่วงก็มีความเจือจาง ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติการทางการเมืองของแต่ละฝ่าย
การโค่นล้มระบอบทักษิณเป็นเป้าหมายร่วมของประชาชนผู้รักชาติ รักแผ่นดิน และรักประชาธิปไตยทุกคน แต่หนทางแห่งการโค่นล้มนั่นไม่ง่ายนัก อีกทั้งยังมีบทเรียนของการต่อสู้กับระบอบทักษิณในอดีตหลายประการที่จะต้องสรุป เพื่อไม่ให้วัฏจักรของความผิดพลาดเกิดขึ้นอีก
ลองมาพิจารณาสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้น เราจะเห็นได้ว่าระหว่างการเปิดประชุมรัฐสภาแต่ละครั้ง สถานการณ์ทางการเมืองก็จะทวีความเข้มข้นมากขึ้น เพราะว่ารัฐสภาเป็นเวทีในการแสดงออกของอำนาจทางการเมืองที่สำคัญอันได้แก่การออกกฎหมายนั่นเอง
ความเป็นจริงทางการเมืองประการหนึ่งคือ หากรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรผลักดันกฎหมายที่สมเหตุสมผลและประชาชนทั้งประเทศได้รับประโยชน์ ก็สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกราบรื่นโดยปราศจากการคัดค้าน แต่หากรัฐบาลลุแก่อำนาจ ผลักดันกฎหมายที่ไร้เหตุผล ขัดแย้งกับหลักยุติธรรม เพื่อตอบสนองความปรารถนาของบุคคลบางคนหรือบางกลุ่ม ก็ย่อมเป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งทางสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จากประสบการณ์ในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นจนเป็นแบบแผนทางการเมืองยุคนี้ ก็คือ เมื่อมีการเปิดประชุมรัฐสภาเมื่อไร ฝ่ายระบอบทักษิณมีแนวโน้มปฏิบัติการทางการเมืองในทิศทางสำคัญอย่างน้อย 3 ทิศทางคือ
การขยายและกระชับอำนาจของตนเองให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็พยายามจำกัดอำนาจของประชาชนและองค์การตรวจสอบให้น้อยลง ทิศทางนี้กระทำโดยการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หรือ หากทำไม่ได้ก็เสนอร่างแก้ไขรายมาตรา
การล้างความผิดแก่กลุ่มอาชญากร ผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย ผู้ต้องหาคดีความมั่นคง และผู้ต้องหาคดีทุจริตคอรัปชั่น ที่สำคัญคือ นักโทษชายทักษิณ ซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาดแล้วในคดีทุจริตประพฤติมิชอบ และเป็นผู้ต้องหาหนีหมายจับคดีทุจริตอีกหลายคดี รวมทั้งคดีก่อการร้ายด้วย และบรรดาสมุนของระบอบทักษิณทั้งกลุ่มที่เป็นแกนนำ กลุ่มก่ออาชญากร กลุ่มแนวร่วม และกลุ่มมวลชนต่างๆ
การสร้างและขยายช่องทางการทุจริตโกงกินให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการสะสมทรัพยากรและความมั่งคั่งให้แก่ตนเองและพวกพ้อง และเป็นฐานทางเงินสำหรับการซื้อเสียงและรักษาอำนาจทางการเมืองให้ยาวนานที่สุด รูปธรรมของทิศทางนี้คือ การผลักดัน พ.ร.บ. กู้เงินจำนวน 2.2 ล้านล้านบาทสำหรับโครงการปรับปรุงระบบคมนาคม ซึ่งมีหลายโครงการที่จะทำโดยปราศจากความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม โครงการเหล่านั้นจะเปิดช่องทางให้มีการนำเงินไปใช้อย่างสะดวกสบาย โดยมีการตรวจสอบน้อยหรือไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งจะนำไปสู่การทุจริตครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสังคมไทย มูลค่าการทุจริตจะมากกว่าการทุจริตนับแสนล้านในโครงการจำนำข้าวที่ผ่านมา และโครงการจัดการน้ำที่กำลังจะทำ
อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติการทางการเมืองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามทิศทางทั้งสามของระบอบทักษิณไม่ง่ายอย่างที่พวกเขาคิด เพราะว่ามีประชาชนจำนวนมากที่เห็นถึงภยันตรายหายนะของสังคมรออยู่เบื้องหน้า หากฝ่ายระบอบทักษิณสามารถสถาปนาอำนาจครองความเป็นเจ้าได้อย่างเบ็ดเสร็จในสังคมไทย
กระแสต่อต้านและความต้องการโค่นล้มระบอบทักษิณดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องในสังคมไทย บางช่วงเวลากระแสต่อต้านมีพลังมากจนทำให้ระบอบทักษิณเกิดความสั่นคลอน แต่บางช่วงเวลาก็มีความอ่อนล้า และส่งผลให้ระบอบทักษิณฟื้นกำลังขึ้นมาอีก ระบอบทักษิณมีจุดแข็งบางอย่างที่ทำให้การโค่นล้มเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยจุดแข็งที่สำคัญคือ 1) มีความสามารถสูงในการหาช่องทางการทุจริตซึ่งทำให้สามารถสะสมเงินได้อย่างมหาศาล 2) มีความสามารถสูงในการใช้เงินซื้อกลุ่มยุทธศาสตร์ทุกกลุ่มให้มาสนับสนุนและเอื้ออำนวยความสะดวกในการรักษาอำนาจ ระบอบนี้ซื้อคนทั้งแต่มวลชนระดับรากหญ้า ข้าราชการทุกระดับ บุคคลในองค์กรอิสระและนักวิชาการบางคน 3) การสร้างวาทกรรมหลอกลวงให้ผู้คนหลงเชื่อ เกิดจิตสำนึกที่ผิดพลาด มองความเป็นเผด็จการของระบอบทักษิณว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย และ 4) มีความพร้อมที่จะใช้วิธีการรุนแรงอย่างอำมหิตทุกประเภท ทั้งการก่อการร้าย การก่ออาชญากรรม การเผาบ้านเผาเมือง และการปราบปรามเข่นฆ่าผู้ต่อต้านเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง
หากมองย้อนกลับไป การโค่นล้มระบอบทักษิณลงได้ชั่วคราวในช่วงที่ผ่านมามีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ 1) การให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความชั่วร้ายของระบอบทักษิณอย่างรอบด้าน ทุกมิติ เข้มข้น ทั่วถึง และต่อเนื่อง 2) การผนึกผสานพลังของกลุ่มประชาสังคมที่หลากหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งเป็นผู้มีข้อมูลข่าวสาร รักความเป็นธรรม ผู้ต้องการหยุดยั้งความหายนะของชาติ และมีความกล้าหาญทางการเมือง เช่น ประชาชนทั่วไป สื่อมวลชน องค์การพัฒนาเอกชน นักวิชาการ องค์กรชาวบ้าน องค์กรศาสนา องค์กรผู้ใช้แรงงาน องค์กรธุรกิจเอกชน กลุ่มอาชีพต่างๆ และพรรคการเมือง 3) การมีแกนนำองค์กรภาคประชาชนที่มีจิตใจเสียสละ มุ่งมั่น กล้าหาญ อดทน ชาญฉลาด มีอุดมการณ์ ได้รับการยอมรับนับถือจากทุกกลุ่ม และเจตจำนงทางการเมืองเพื่อประเทศชาติและประชาชนโดยไม่มีผลประโยชน์ส่วนตนใดแอบแฝง และ 4) การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและเด็ดขาดของ คณะกรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตแห่งชาติ ศาลยุติธรรม และศาลรัฐธรรมนูญ ในการพิจารณาคดีและความผิดของนักการเมืองในระบอบทักษิณ
บางช่วงเวลาแม้ภาคประชาชนสามารถโค่นล้มระบอบทักษิณได้สำเร็จชั่วคราว แต่เนื่องจากองค์กรภาคประชาชนไม่มีพลังอำนาจเพียงพอในการสถาปนาอำนาจรัฐได้ด้วยตนเอง จึงทำให้ชัยชนะที่ได้มาถูกช่วงชิงไปโดยกลุ่มอำนาจทางการเมืองสองกลุ่มคือ ครั้งแรกคือกลุ่มทหารใน พ.ศ. 2549-2550 ทหารเป็นกลุ่มที่มีพลังอำนาจทางการเมืองสูงในประเทศไทยเพราะมีอาวุธและกำลังพลจำนวนมหาศาลที่สามารถใช้ในการสถาปนาอำนาจรัฐได้ แต่ทว่าน่าเสียดายว่า ผู้นำกลุ่มทหารบางส่วนคิดการสั้น ล้มล้างเพียงแต่เปลือกบางๆของระบอบทักษิณ อีกทั้งยังประนีประนอมกับระบอบทักษิณอีกด้วย จึงทำให้เมื่อได้อำนาจมาก็ไม่มีเจตจำนงทางการเมืองที่เข้มแข็งในการปฏิรูปประเทศอย่างแท้จริง ชัยชนะที่ได้มาของภาคประชาชนจึงสูญสลายไป
ครั้งที่ 2 โดยพรรคการเมือง เมื่อ พ.ศ. 2551-2553 หลังจากภาคประชาชนร่วมกับองค์กรอิสระประสบความสำเร็จในการขับไล่รัฐบาลหุ่นเชิดของระบอบทักษิณลงไปได้ชั่วคราว ก็ถูกพรรคการเมืองบางพรรคฉกฉวยอำนาจไปในทันที โดยอาศัยเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญที่เปิดช่องเอาไว้ เมื่อพรรคการเมืองเหล่านั้นครองอำนาจกลับมีพฤติกรรมเลียนแบบและประนีประนอมกับระบอบทักษิณ ทั้งยังใช้อำนาจรัฐเพื่อสะกดพลังของประชาชนเอาไว้อีกด้วย แต่ท้ายที่สุดพรรคการเมืองเหล่านั้นก็ประสบชะตากรรมอย่างน่าอนาถ
สิ่งที่น่าขบคิดคือ ณ เวลานี้ ก็ยังมีประชาชนบางกลุ่มที่มุ่งประสงค์จะโค่นล้มระบอบทักษิณไม่สรุปบทเรียน และยังคงมีความคาดหวังว่าทหารและพรรคการเมืองจะสนับสนุนประชาชนช่วยโค่นล้มระบอบทักษิณอย่างจริงจัง หากพิจารณาสถานการณ์ที่ผ่านมา ผมคิดว่า ความคาดหวังนี้ค่อนข้างเลื่อนลอย เพราะในอดีตก็ยังไม่เคยเกิดขึ้น และในปัจจุบันก็ไม่มีสัญญาณใดที่บ่งบอกร่องรอยว่าทหารและพรรคการเมืองจะมีเจตจำนงทางการเมืองในการสนับสนุนประชาชนและปฏิรูปสังคมไทยอย่างแท้จริง
ท่าทีอย่างไรจึงเป็นสัญญาณว่าทหารและพรรคการเมืองจะร่วมมือกับประชาชนในการโค่นล้มระบอบทักษิณ สำหรับทหารการแสดงสัญญาณกระทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น การออกมาแถลงไม่ยอมรับ พ.ร.บ. นิรโทษกรรม การแถลงไม่สนับสนุนรัฐบาลที่ทุจริต การแถลงเตือนตำรวจไม่ใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม การแถลงสนับสนุนประชาชนเพื่อโค่นล้มระบอบทักษิณ และการปฏิบัติการทางการเมืองแบบอื่นๆอีกหลายประการ หากทหารแสดงท่าทีเหล่านี้ออกมาสู่สาธารณะอย่างชัดเจน ความคาดหวังว่าทหารจะร่วมมือกับประชาชนก็มีร่องรอยให้สืบสาวได้
ส่วนพรรคการเมืองนั้น การพูด การปราศรัย หรือแถลงว่า หากร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมผ่านวาระ 3 แล้วขอประชาชนมาชุมนุมนั้นคงไม่พียงพอ พรรคการเมืองที่มีเจตจำนงอย่างแน่วแน่ในการโค่นล้มระบอบทักษิณ จะต้อง ลาออกจากการเป็น ส.ส. ทั้งหมดทันที หากร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมผ่านวาระ 1 และ ดำเนินการจัดการชุมนุมทางการเมือง ระดมมวลชนที่สนับสนุนตนเองออกมาคัดค้านอย่างเต็มที่ถึงที่สุด
หากการต่อสู้ของภาคประชาชนประสบชัยชนะโค่นล้มระบอบทักษิณได้ ทั้งพรรคการเมืองและทหารจะต้องกระทำสัญญาประคมกับประชาชนให้ชัดเจนว่าจะไม่ฉกฉวยอำนาจของประชาชนไปอีก จะกวาดล้างระบอบทักษิณให้หมดไป รวมทั้งจะต้องปฏิรูปทางการเมืองร่วมกับภาคประชาชนอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง
โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
ระดับความเข้มข้นของสถานการณ์การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างฝ่ายที่สถาปนาและมีเป้าหมายรักษาระบอบทักษิณกับฝ่ายที่มีเป้าประสงค์โค่นล้มระบอบทักษิณมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง บางช่วงมีระดับความเข้มข้นสูง บางช่วงก็มีความเจือจาง ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติการทางการเมืองของแต่ละฝ่าย
การโค่นล้มระบอบทักษิณเป็นเป้าหมายร่วมของประชาชนผู้รักชาติ รักแผ่นดิน และรักประชาธิปไตยทุกคน แต่หนทางแห่งการโค่นล้มนั่นไม่ง่ายนัก อีกทั้งยังมีบทเรียนของการต่อสู้กับระบอบทักษิณในอดีตหลายประการที่จะต้องสรุป เพื่อไม่ให้วัฏจักรของความผิดพลาดเกิดขึ้นอีก
ลองมาพิจารณาสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้น เราจะเห็นได้ว่าระหว่างการเปิดประชุมรัฐสภาแต่ละครั้ง สถานการณ์ทางการเมืองก็จะทวีความเข้มข้นมากขึ้น เพราะว่ารัฐสภาเป็นเวทีในการแสดงออกของอำนาจทางการเมืองที่สำคัญอันได้แก่การออกกฎหมายนั่นเอง
ความเป็นจริงทางการเมืองประการหนึ่งคือ หากรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรผลักดันกฎหมายที่สมเหตุสมผลและประชาชนทั้งประเทศได้รับประโยชน์ ก็สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกราบรื่นโดยปราศจากการคัดค้าน แต่หากรัฐบาลลุแก่อำนาจ ผลักดันกฎหมายที่ไร้เหตุผล ขัดแย้งกับหลักยุติธรรม เพื่อตอบสนองความปรารถนาของบุคคลบางคนหรือบางกลุ่ม ก็ย่อมเป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งทางสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จากประสบการณ์ในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นจนเป็นแบบแผนทางการเมืองยุคนี้ ก็คือ เมื่อมีการเปิดประชุมรัฐสภาเมื่อไร ฝ่ายระบอบทักษิณมีแนวโน้มปฏิบัติการทางการเมืองในทิศทางสำคัญอย่างน้อย 3 ทิศทางคือ
การขยายและกระชับอำนาจของตนเองให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็พยายามจำกัดอำนาจของประชาชนและองค์การตรวจสอบให้น้อยลง ทิศทางนี้กระทำโดยการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หรือ หากทำไม่ได้ก็เสนอร่างแก้ไขรายมาตรา
การล้างความผิดแก่กลุ่มอาชญากร ผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย ผู้ต้องหาคดีความมั่นคง และผู้ต้องหาคดีทุจริตคอรัปชั่น ที่สำคัญคือ นักโทษชายทักษิณ ซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาดแล้วในคดีทุจริตประพฤติมิชอบ และเป็นผู้ต้องหาหนีหมายจับคดีทุจริตอีกหลายคดี รวมทั้งคดีก่อการร้ายด้วย และบรรดาสมุนของระบอบทักษิณทั้งกลุ่มที่เป็นแกนนำ กลุ่มก่ออาชญากร กลุ่มแนวร่วม และกลุ่มมวลชนต่างๆ
การสร้างและขยายช่องทางการทุจริตโกงกินให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการสะสมทรัพยากรและความมั่งคั่งให้แก่ตนเองและพวกพ้อง และเป็นฐานทางเงินสำหรับการซื้อเสียงและรักษาอำนาจทางการเมืองให้ยาวนานที่สุด รูปธรรมของทิศทางนี้คือ การผลักดัน พ.ร.บ. กู้เงินจำนวน 2.2 ล้านล้านบาทสำหรับโครงการปรับปรุงระบบคมนาคม ซึ่งมีหลายโครงการที่จะทำโดยปราศจากความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม โครงการเหล่านั้นจะเปิดช่องทางให้มีการนำเงินไปใช้อย่างสะดวกสบาย โดยมีการตรวจสอบน้อยหรือไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งจะนำไปสู่การทุจริตครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสังคมไทย มูลค่าการทุจริตจะมากกว่าการทุจริตนับแสนล้านในโครงการจำนำข้าวที่ผ่านมา และโครงการจัดการน้ำที่กำลังจะทำ
อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติการทางการเมืองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามทิศทางทั้งสามของระบอบทักษิณไม่ง่ายอย่างที่พวกเขาคิด เพราะว่ามีประชาชนจำนวนมากที่เห็นถึงภยันตรายหายนะของสังคมรออยู่เบื้องหน้า หากฝ่ายระบอบทักษิณสามารถสถาปนาอำนาจครองความเป็นเจ้าได้อย่างเบ็ดเสร็จในสังคมไทย
กระแสต่อต้านและความต้องการโค่นล้มระบอบทักษิณดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องในสังคมไทย บางช่วงเวลากระแสต่อต้านมีพลังมากจนทำให้ระบอบทักษิณเกิดความสั่นคลอน แต่บางช่วงเวลาก็มีความอ่อนล้า และส่งผลให้ระบอบทักษิณฟื้นกำลังขึ้นมาอีก ระบอบทักษิณมีจุดแข็งบางอย่างที่ทำให้การโค่นล้มเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยจุดแข็งที่สำคัญคือ 1) มีความสามารถสูงในการหาช่องทางการทุจริตซึ่งทำให้สามารถสะสมเงินได้อย่างมหาศาล 2) มีความสามารถสูงในการใช้เงินซื้อกลุ่มยุทธศาสตร์ทุกกลุ่มให้มาสนับสนุนและเอื้ออำนวยความสะดวกในการรักษาอำนาจ ระบอบนี้ซื้อคนทั้งแต่มวลชนระดับรากหญ้า ข้าราชการทุกระดับ บุคคลในองค์กรอิสระและนักวิชาการบางคน 3) การสร้างวาทกรรมหลอกลวงให้ผู้คนหลงเชื่อ เกิดจิตสำนึกที่ผิดพลาด มองความเป็นเผด็จการของระบอบทักษิณว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย และ 4) มีความพร้อมที่จะใช้วิธีการรุนแรงอย่างอำมหิตทุกประเภท ทั้งการก่อการร้าย การก่ออาชญากรรม การเผาบ้านเผาเมือง และการปราบปรามเข่นฆ่าผู้ต่อต้านเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง
หากมองย้อนกลับไป การโค่นล้มระบอบทักษิณลงได้ชั่วคราวในช่วงที่ผ่านมามีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ 1) การให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความชั่วร้ายของระบอบทักษิณอย่างรอบด้าน ทุกมิติ เข้มข้น ทั่วถึง และต่อเนื่อง 2) การผนึกผสานพลังของกลุ่มประชาสังคมที่หลากหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งเป็นผู้มีข้อมูลข่าวสาร รักความเป็นธรรม ผู้ต้องการหยุดยั้งความหายนะของชาติ และมีความกล้าหาญทางการเมือง เช่น ประชาชนทั่วไป สื่อมวลชน องค์การพัฒนาเอกชน นักวิชาการ องค์กรชาวบ้าน องค์กรศาสนา องค์กรผู้ใช้แรงงาน องค์กรธุรกิจเอกชน กลุ่มอาชีพต่างๆ และพรรคการเมือง 3) การมีแกนนำองค์กรภาคประชาชนที่มีจิตใจเสียสละ มุ่งมั่น กล้าหาญ อดทน ชาญฉลาด มีอุดมการณ์ ได้รับการยอมรับนับถือจากทุกกลุ่ม และเจตจำนงทางการเมืองเพื่อประเทศชาติและประชาชนโดยไม่มีผลประโยชน์ส่วนตนใดแอบแฝง และ 4) การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและเด็ดขาดของ คณะกรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตแห่งชาติ ศาลยุติธรรม และศาลรัฐธรรมนูญ ในการพิจารณาคดีและความผิดของนักการเมืองในระบอบทักษิณ
บางช่วงเวลาแม้ภาคประชาชนสามารถโค่นล้มระบอบทักษิณได้สำเร็จชั่วคราว แต่เนื่องจากองค์กรภาคประชาชนไม่มีพลังอำนาจเพียงพอในการสถาปนาอำนาจรัฐได้ด้วยตนเอง จึงทำให้ชัยชนะที่ได้มาถูกช่วงชิงไปโดยกลุ่มอำนาจทางการเมืองสองกลุ่มคือ ครั้งแรกคือกลุ่มทหารใน พ.ศ. 2549-2550 ทหารเป็นกลุ่มที่มีพลังอำนาจทางการเมืองสูงในประเทศไทยเพราะมีอาวุธและกำลังพลจำนวนมหาศาลที่สามารถใช้ในการสถาปนาอำนาจรัฐได้ แต่ทว่าน่าเสียดายว่า ผู้นำกลุ่มทหารบางส่วนคิดการสั้น ล้มล้างเพียงแต่เปลือกบางๆของระบอบทักษิณ อีกทั้งยังประนีประนอมกับระบอบทักษิณอีกด้วย จึงทำให้เมื่อได้อำนาจมาก็ไม่มีเจตจำนงทางการเมืองที่เข้มแข็งในการปฏิรูปประเทศอย่างแท้จริง ชัยชนะที่ได้มาของภาคประชาชนจึงสูญสลายไป
ครั้งที่ 2 โดยพรรคการเมือง เมื่อ พ.ศ. 2551-2553 หลังจากภาคประชาชนร่วมกับองค์กรอิสระประสบความสำเร็จในการขับไล่รัฐบาลหุ่นเชิดของระบอบทักษิณลงไปได้ชั่วคราว ก็ถูกพรรคการเมืองบางพรรคฉกฉวยอำนาจไปในทันที โดยอาศัยเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญที่เปิดช่องเอาไว้ เมื่อพรรคการเมืองเหล่านั้นครองอำนาจกลับมีพฤติกรรมเลียนแบบและประนีประนอมกับระบอบทักษิณ ทั้งยังใช้อำนาจรัฐเพื่อสะกดพลังของประชาชนเอาไว้อีกด้วย แต่ท้ายที่สุดพรรคการเมืองเหล่านั้นก็ประสบชะตากรรมอย่างน่าอนาถ
สิ่งที่น่าขบคิดคือ ณ เวลานี้ ก็ยังมีประชาชนบางกลุ่มที่มุ่งประสงค์จะโค่นล้มระบอบทักษิณไม่สรุปบทเรียน และยังคงมีความคาดหวังว่าทหารและพรรคการเมืองจะสนับสนุนประชาชนช่วยโค่นล้มระบอบทักษิณอย่างจริงจัง หากพิจารณาสถานการณ์ที่ผ่านมา ผมคิดว่า ความคาดหวังนี้ค่อนข้างเลื่อนลอย เพราะในอดีตก็ยังไม่เคยเกิดขึ้น และในปัจจุบันก็ไม่มีสัญญาณใดที่บ่งบอกร่องรอยว่าทหารและพรรคการเมืองจะมีเจตจำนงทางการเมืองในการสนับสนุนประชาชนและปฏิรูปสังคมไทยอย่างแท้จริง
ท่าทีอย่างไรจึงเป็นสัญญาณว่าทหารและพรรคการเมืองจะร่วมมือกับประชาชนในการโค่นล้มระบอบทักษิณ สำหรับทหารการแสดงสัญญาณกระทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น การออกมาแถลงไม่ยอมรับ พ.ร.บ. นิรโทษกรรม การแถลงไม่สนับสนุนรัฐบาลที่ทุจริต การแถลงเตือนตำรวจไม่ใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม การแถลงสนับสนุนประชาชนเพื่อโค่นล้มระบอบทักษิณ และการปฏิบัติการทางการเมืองแบบอื่นๆอีกหลายประการ หากทหารแสดงท่าทีเหล่านี้ออกมาสู่สาธารณะอย่างชัดเจน ความคาดหวังว่าทหารจะร่วมมือกับประชาชนก็มีร่องรอยให้สืบสาวได้
ส่วนพรรคการเมืองนั้น การพูด การปราศรัย หรือแถลงว่า หากร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมผ่านวาระ 3 แล้วขอประชาชนมาชุมนุมนั้นคงไม่พียงพอ พรรคการเมืองที่มีเจตจำนงอย่างแน่วแน่ในการโค่นล้มระบอบทักษิณ จะต้อง ลาออกจากการเป็น ส.ส. ทั้งหมดทันที หากร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมผ่านวาระ 1 และ ดำเนินการจัดการชุมนุมทางการเมือง ระดมมวลชนที่สนับสนุนตนเองออกมาคัดค้านอย่างเต็มที่ถึงที่สุด
หากการต่อสู้ของภาคประชาชนประสบชัยชนะโค่นล้มระบอบทักษิณได้ ทั้งพรรคการเมืองและทหารจะต้องกระทำสัญญาประคมกับประชาชนให้ชัดเจนว่าจะไม่ฉกฉวยอำนาจของประชาชนไปอีก จะกวาดล้างระบอบทักษิณให้หมดไป รวมทั้งจะต้องปฏิรูปทางการเมืองร่วมกับภาคประชาชนอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง