วานนี้ (29 ก.ค.56)เครือข่ายบำนาญภาคประชาชน(คบช.) นำโดย น.ส.อรุณี ศรีโต ประธานคบช. เข้ายื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง และนายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักเศรษฐกิจการคลัง ต่อศาลปกครอง โดยระบุว่าผู้ถูกฟ้องละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้ พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ 2554 (กอช.) ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหาย ไม่สามารถสมัครเป็นสมาชิกกอช.ได้
นอกจากนี้ ยิ่งเลื่อนเวลาออกไปก็ยิ่งทำให้ระยะเวลาการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบจากรัฐบาลลดลงตามระยะเวลาที่เลื่อนออกไป อีกทั้งทำให้ผู้มีอายุใกล้ 60 ปีต้องเสียโอกาสเข้ากองทุนนี้โดยปริยาย
ทั้งนี้ จากข้อมูลทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยปี 2554 ไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 7.79 ล้านคน หรือ 12.38% ของประชากรทั้งประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ขณะที่ผลการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าผู้สูงอายุ 31% ไม่มีการเก็บออม และ 42% รายได้ไม่เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิต แม้รัฐจะมีการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แต่ก็ไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพอยู่ดี ดังนั้นโดยหลักการแล้วสังคมต้องพึ่งพาระบบบำนาญ แต่การไม่เปิดรับสมัครสมาชิกกอช.ยิ่งทำให้รัฐบาลต้องเสียงบประมาณแผ่นดินไปเกื้อหนุนผู้สูงอายุเหล่านี้ในรูปแบบอื่นๆ
ด้วยเหตุนี้ คบช.จึงขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งบังคับให้ผูู้ถูกฟ้องดำเนินการรับสมัครสมาชิกกอช. โดยด่วน และคืนสิทธิแก่แรงงานนอกระบบที่เสียสิทธิสมัครเป็นสมาชิกกอช.อันเนื่องมาความล่าช้าในการดำเนินงานด้วย
น.ส.อรุณี ศรีโต ประธานคบช. กล่าวว่า การที่กฎหมายผ่านสภาและประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่บังคับใช้กฎหมายถือเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ และสร้างบรรทัดฐานการไม่บังคับใช้กฎหมายในอนาคต โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับสวัสดิการสังคม
"แม้รัฐบาลจะอ้างว่าได้เพิ่มการออมและบำนาญไว้ในทางเลือกที่3 ของประกันสังคมมาตรา 40 แล้ว แต่ในหลักธรรมภิบาล การนำเงินของกลุ่มคนที่ไม่ใช่ข้าราชการและไม่ได้เป็นสมาชิกประกันสังคม ไปให้ข้าราชการ นายจ้าง และลูกจ้างซึ่งเป็นคณะกรรมการประกันสังคมดูแล ถือว่าผิดหลักธรรมภิบาลและการบริหารจัดการที่ดี"น.ส.อรุณี กล่าว
ทั้งนี้ คบช.ยังเตรียมหารือทนาย เพื่อฟ้องในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามกฏหมายอาญามาตรา 157 อีกด้วย
นอกจากนี้ ยิ่งเลื่อนเวลาออกไปก็ยิ่งทำให้ระยะเวลาการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบจากรัฐบาลลดลงตามระยะเวลาที่เลื่อนออกไป อีกทั้งทำให้ผู้มีอายุใกล้ 60 ปีต้องเสียโอกาสเข้ากองทุนนี้โดยปริยาย
ทั้งนี้ จากข้อมูลทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยปี 2554 ไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 7.79 ล้านคน หรือ 12.38% ของประชากรทั้งประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ขณะที่ผลการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าผู้สูงอายุ 31% ไม่มีการเก็บออม และ 42% รายได้ไม่เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิต แม้รัฐจะมีการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แต่ก็ไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพอยู่ดี ดังนั้นโดยหลักการแล้วสังคมต้องพึ่งพาระบบบำนาญ แต่การไม่เปิดรับสมัครสมาชิกกอช.ยิ่งทำให้รัฐบาลต้องเสียงบประมาณแผ่นดินไปเกื้อหนุนผู้สูงอายุเหล่านี้ในรูปแบบอื่นๆ
ด้วยเหตุนี้ คบช.จึงขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งบังคับให้ผูู้ถูกฟ้องดำเนินการรับสมัครสมาชิกกอช. โดยด่วน และคืนสิทธิแก่แรงงานนอกระบบที่เสียสิทธิสมัครเป็นสมาชิกกอช.อันเนื่องมาความล่าช้าในการดำเนินงานด้วย
น.ส.อรุณี ศรีโต ประธานคบช. กล่าวว่า การที่กฎหมายผ่านสภาและประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่บังคับใช้กฎหมายถือเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ และสร้างบรรทัดฐานการไม่บังคับใช้กฎหมายในอนาคต โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับสวัสดิการสังคม
"แม้รัฐบาลจะอ้างว่าได้เพิ่มการออมและบำนาญไว้ในทางเลือกที่3 ของประกันสังคมมาตรา 40 แล้ว แต่ในหลักธรรมภิบาล การนำเงินของกลุ่มคนที่ไม่ใช่ข้าราชการและไม่ได้เป็นสมาชิกประกันสังคม ไปให้ข้าราชการ นายจ้าง และลูกจ้างซึ่งเป็นคณะกรรมการประกันสังคมดูแล ถือว่าผิดหลักธรรมภิบาลและการบริหารจัดการที่ดี"น.ส.อรุณี กล่าว
ทั้งนี้ คบช.ยังเตรียมหารือทนาย เพื่อฟ้องในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามกฏหมายอาญามาตรา 157 อีกด้วย