เมื่อต้นกรกฎาคมปีที่แล้ว พรรคร่วมรัฐบาลเสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง 3-4 ฉบับเข้าสภา พร้อมๆ กับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อที่จะตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่กำลังจะลงมติในวาระที่ 3 มีประชาชนหลายกลุ่ม ทั้งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เสื้อหลากสีออกมาคัดค้านอย่างแข็งขัน
พรรคร่วมรัฐบาลต้องตัดสินใจไม่นำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือ พ.ร.บ.ปรองดอง 3-4 ฉบับมาพิจารณา ส่วนตนที่จะลงมติวาระที่ 3 ก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญเบรกไว้ ด้วยการรับคำร้องของคณะบุคคลกลุ่มต่างๆ ที่ร้องต่อศาลว่า พรรคร่วมรัฐบาลที่แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อที่จะตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับนั้น ทำในสิ่งที่ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 68 พรรคร่วมรัฐบาลต้องระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่
แต่การเสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง หรือการนิรโทษกรรมก็ดี การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ดี ที่เป็นเป้าหมายของรัฐบาลเป็นความต้องการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้บงการรัฐบาลเพื่อที่จะฟอกผิดให้ตัวเอง ให้ได้กลับบ้านอย่างเท่ๆ ให้ความผิดทั้งหลายทั้งปวงที่ตัวทำไว้พ้นไปจากสารบบของศาล จะต้องดำเนินต่อไป
มาวันนี้ภารกิจชั่วๆ ของรัฐบาลหุ่นนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงกลับมาอีก
วันที่ 7 สิงหาคมนี้อาจจะมีการประชุมสภาเพื่อผ่านร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง หรือร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งไม่ว่าร่างฉบับไหน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็จะได้ประโยชน์
การเคลื่อนไหวของรัฐบาลคราวนี้จะผ่านไปได้ด้วยความสะดวกโยธินหรือไม่ยังไม่รู้ แต่ที่ประกาศออกมาแล้วว่าจะต้องคัดค้านอย่างแข็งขันคือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้านพรรคเดียวที่ทำหน้าที่อย่างแข็งขันในเรื่องนี้
ส่วนภาคประชาชนดูเหมือนจะมีกลุ่มนายทหารนอกราชการกลุ่มหนึ่งที่เป็นแกนนำจะออกมาชุมนุมคัดค้าน ส่วนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เป็นกลุ่มประชาชนที่คัดค้านรัฐบาลหุ่นนางสาวยิ่งลักษณ์อย่างแข็งขันนั้น นายสนธิ ลิ้มทองกุล หนึ่งในแกนนำพันธมิตรฯ บอกกล่าวให้รู้ในรายการ คุยทุกเรื่องกับสนธิ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาแล้วว่า เหตุสำคัญที่แกนนำพันธมิตรฯ ไม่ออกมาเคลื่อนไหวเพราะแกนนำพันธมิตรฯ ติดเงื่อนไขการประกันตัวต่อศาลในคดีบุกสนามบิน เมื่อครั้งคัดค้านรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกฯ หุ่นอีกตัวหนึ่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตั้งข้อหาแกนนำพันธมิตรฯ และคนสำคัญของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และคนอื่นๆ เกือบร้อยคน
ถ้าหากศาลถอนประกันก็ต้องเข้าไปอยู่ในคุกกว่าจะเสร็จคดีจะเป็น 5 ปี 7 ปีหรือ 10 ปีก็ไม่รู้ได้ เป็นการติดคุกที่ไม่เกิดประโยชน์อันใด
คราวนี้พรรคประชาธิปัตย์ที่ประกาศแต่ไหนแต่ไรมาว่า เชื่อและยึดมั่นในระบบรัฐสภา ก็จะได้รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่อและยึดมั่นนั้นจะยังเชื่อและยึดมั่นได้ต่อไปหรือไม่ ซึ่งดูเหมือนว่า ทุกวันนี้ความเชื่อและความยึดมั่นนั้นจะเสื่อมถอยไปแล้ว
เพราะวันนี้ยอมรับแล้วว่า ยกทั้งมือทั้งตีนก็ไม่อาจเอาชนะฝ่ายรัฐบาลได้
ที่เคยดูหมิ่นดูแคลนการเคลื่อนไหวของประชาชนว่าเป็นแก๊งข้างถนนนั้น ดูเหมือนพรรคประชาธิปัตย์ก็วิ่งเข้าหาประชาชนแล้ว
แต่ก็นั่นแหละ นักการเมืองไม่ว่าพรรคไหนมันก็เหมือนกันหมด เชื่อถือมันไม่ได้หรอก อะไรที่จะเป็นประโยชน์กับมัน มันก็เอาหมดแหละครับ
ที่เคยเชื่อมั่นในระบบรัฐสภา นั่นก็เพราะระบบรัฐสภาทำให้พวกเขาได้มีโอกาสมีอำนาจรัฐ มีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีมีหน้ามีตาในสังคม มีอำนาจที่จะได้ใช้อำนาจรัฐได้ควบคุมข้าราชการประจำ ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน และอาจจะได้สร้างฐานะสร้างความมั่งคั่งมั่นคง และในที่สุดก็ใช้ความมั่งคั่งมั่นคงนั่นแหละ เอาชนะการเลือกตั้งเพื่อที่จะได้กลับมามีอำนาจอีก
แต่ถ้าเอาชนะการเลือกตั้งไม่ได้ ไม่มีโอกาสได้อำนาจรัฐ ไม่มีโอกาสเป็นรัฐบาล ก็อาจจะได้คิดอย่างที่พรรคประชาธิปัตย์ได้คิดอยู่ขณะนี้
มีคนจำนวนไม่น้อยคิดว่า ประชาธิปไตยต้องเลือกตั้ง หรือต้องเลือกตั้งเท่านั้นจึงจะเป็นประชาธิปไตย เพราะเราเคยอยู่กับเผด็จการทหารอย่าง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร ที่เราประชาชนไม่มีโอกาสได้เลือกตั้ง แต่พอพ้นยุคเผด็จการมาเป็นประชาธิปไตย เราก็เข้าสู่การลือกตั้ง เราก็ได้นักเลือกตั้ง ได้ผู้รับเหมา ได้เถ้าแก่ ได้ขี้ข้านักการเมือง
อาจจะได้คนดีเข้าสภามาบ้างเป็นศักดิ์เป็นศรีของจังหวัด ของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ได้บ้าง แต่ก็นับคนได้ แต่ลองดูรายชื่อในสภาทุกวันนี้ซิครับ แทบไม่น่าเชื่อ บางคนผ่านการต่อสู้กับเผด็จการเข้าป่าเข้าดงเพื่อที่จะสร้างประเทศไทยใหม่มาแล้ว กับมาเป็นขี้ข้าคนทุจริตอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร บางคนเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เป็นนักกฎหมาย เป็นอดีตตุลาการที่ทำท่าว่าน่าจะใช้ได้ แต่ก็มีหน้าที่แก้ต่างให้ทักษิณ เป็นมือเป็นตีนให้ทักษิณ เพียงเพื่อที่จะได้เป็นใหญ่เป็นโต ได้อำนาจรัฐ ได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล โดยที่ไม่ละอายลูกศิษย์ ไม่ละอายตุลาการด้วยกัน
นี่แหละครับระบบรัฐสภาในปัจจุบัน
ถ้าจะต้องเชื่อมั่นจะต้องปฏิรูป จะต้องเปลี่ยนแปลง จะต้องยกระดับคุณภาพของคนที่เลือก คนที่หย่อนบัตรลงคะแนน ยกระดับพรรคการเมืองที่คัดเลือกคนมาให้ประชาชนเลือก
พรรคร่วมรัฐบาลต้องตัดสินใจไม่นำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือ พ.ร.บ.ปรองดอง 3-4 ฉบับมาพิจารณา ส่วนตนที่จะลงมติวาระที่ 3 ก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญเบรกไว้ ด้วยการรับคำร้องของคณะบุคคลกลุ่มต่างๆ ที่ร้องต่อศาลว่า พรรคร่วมรัฐบาลที่แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อที่จะตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับนั้น ทำในสิ่งที่ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 68 พรรคร่วมรัฐบาลต้องระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่
แต่การเสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง หรือการนิรโทษกรรมก็ดี การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ดี ที่เป็นเป้าหมายของรัฐบาลเป็นความต้องการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้บงการรัฐบาลเพื่อที่จะฟอกผิดให้ตัวเอง ให้ได้กลับบ้านอย่างเท่ๆ ให้ความผิดทั้งหลายทั้งปวงที่ตัวทำไว้พ้นไปจากสารบบของศาล จะต้องดำเนินต่อไป
มาวันนี้ภารกิจชั่วๆ ของรัฐบาลหุ่นนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงกลับมาอีก
วันที่ 7 สิงหาคมนี้อาจจะมีการประชุมสภาเพื่อผ่านร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง หรือร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งไม่ว่าร่างฉบับไหน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็จะได้ประโยชน์
การเคลื่อนไหวของรัฐบาลคราวนี้จะผ่านไปได้ด้วยความสะดวกโยธินหรือไม่ยังไม่รู้ แต่ที่ประกาศออกมาแล้วว่าจะต้องคัดค้านอย่างแข็งขันคือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้านพรรคเดียวที่ทำหน้าที่อย่างแข็งขันในเรื่องนี้
ส่วนภาคประชาชนดูเหมือนจะมีกลุ่มนายทหารนอกราชการกลุ่มหนึ่งที่เป็นแกนนำจะออกมาชุมนุมคัดค้าน ส่วนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เป็นกลุ่มประชาชนที่คัดค้านรัฐบาลหุ่นนางสาวยิ่งลักษณ์อย่างแข็งขันนั้น นายสนธิ ลิ้มทองกุล หนึ่งในแกนนำพันธมิตรฯ บอกกล่าวให้รู้ในรายการ คุยทุกเรื่องกับสนธิ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาแล้วว่า เหตุสำคัญที่แกนนำพันธมิตรฯ ไม่ออกมาเคลื่อนไหวเพราะแกนนำพันธมิตรฯ ติดเงื่อนไขการประกันตัวต่อศาลในคดีบุกสนามบิน เมื่อครั้งคัดค้านรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกฯ หุ่นอีกตัวหนึ่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตั้งข้อหาแกนนำพันธมิตรฯ และคนสำคัญของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และคนอื่นๆ เกือบร้อยคน
ถ้าหากศาลถอนประกันก็ต้องเข้าไปอยู่ในคุกกว่าจะเสร็จคดีจะเป็น 5 ปี 7 ปีหรือ 10 ปีก็ไม่รู้ได้ เป็นการติดคุกที่ไม่เกิดประโยชน์อันใด
คราวนี้พรรคประชาธิปัตย์ที่ประกาศแต่ไหนแต่ไรมาว่า เชื่อและยึดมั่นในระบบรัฐสภา ก็จะได้รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่อและยึดมั่นนั้นจะยังเชื่อและยึดมั่นได้ต่อไปหรือไม่ ซึ่งดูเหมือนว่า ทุกวันนี้ความเชื่อและความยึดมั่นนั้นจะเสื่อมถอยไปแล้ว
เพราะวันนี้ยอมรับแล้วว่า ยกทั้งมือทั้งตีนก็ไม่อาจเอาชนะฝ่ายรัฐบาลได้
ที่เคยดูหมิ่นดูแคลนการเคลื่อนไหวของประชาชนว่าเป็นแก๊งข้างถนนนั้น ดูเหมือนพรรคประชาธิปัตย์ก็วิ่งเข้าหาประชาชนแล้ว
แต่ก็นั่นแหละ นักการเมืองไม่ว่าพรรคไหนมันก็เหมือนกันหมด เชื่อถือมันไม่ได้หรอก อะไรที่จะเป็นประโยชน์กับมัน มันก็เอาหมดแหละครับ
ที่เคยเชื่อมั่นในระบบรัฐสภา นั่นก็เพราะระบบรัฐสภาทำให้พวกเขาได้มีโอกาสมีอำนาจรัฐ มีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีมีหน้ามีตาในสังคม มีอำนาจที่จะได้ใช้อำนาจรัฐได้ควบคุมข้าราชการประจำ ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน และอาจจะได้สร้างฐานะสร้างความมั่งคั่งมั่นคง และในที่สุดก็ใช้ความมั่งคั่งมั่นคงนั่นแหละ เอาชนะการเลือกตั้งเพื่อที่จะได้กลับมามีอำนาจอีก
แต่ถ้าเอาชนะการเลือกตั้งไม่ได้ ไม่มีโอกาสได้อำนาจรัฐ ไม่มีโอกาสเป็นรัฐบาล ก็อาจจะได้คิดอย่างที่พรรคประชาธิปัตย์ได้คิดอยู่ขณะนี้
มีคนจำนวนไม่น้อยคิดว่า ประชาธิปไตยต้องเลือกตั้ง หรือต้องเลือกตั้งเท่านั้นจึงจะเป็นประชาธิปไตย เพราะเราเคยอยู่กับเผด็จการทหารอย่าง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร ที่เราประชาชนไม่มีโอกาสได้เลือกตั้ง แต่พอพ้นยุคเผด็จการมาเป็นประชาธิปไตย เราก็เข้าสู่การลือกตั้ง เราก็ได้นักเลือกตั้ง ได้ผู้รับเหมา ได้เถ้าแก่ ได้ขี้ข้านักการเมือง
อาจจะได้คนดีเข้าสภามาบ้างเป็นศักดิ์เป็นศรีของจังหวัด ของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ได้บ้าง แต่ก็นับคนได้ แต่ลองดูรายชื่อในสภาทุกวันนี้ซิครับ แทบไม่น่าเชื่อ บางคนผ่านการต่อสู้กับเผด็จการเข้าป่าเข้าดงเพื่อที่จะสร้างประเทศไทยใหม่มาแล้ว กับมาเป็นขี้ข้าคนทุจริตอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร บางคนเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เป็นนักกฎหมาย เป็นอดีตตุลาการที่ทำท่าว่าน่าจะใช้ได้ แต่ก็มีหน้าที่แก้ต่างให้ทักษิณ เป็นมือเป็นตีนให้ทักษิณ เพียงเพื่อที่จะได้เป็นใหญ่เป็นโต ได้อำนาจรัฐ ได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล โดยที่ไม่ละอายลูกศิษย์ ไม่ละอายตุลาการด้วยกัน
นี่แหละครับระบบรัฐสภาในปัจจุบัน
ถ้าจะต้องเชื่อมั่นจะต้องปฏิรูป จะต้องเปลี่ยนแปลง จะต้องยกระดับคุณภาพของคนที่เลือก คนที่หย่อนบัตรลงคะแนน ยกระดับพรรคการเมืองที่คัดเลือกคนมาให้ประชาชนเลือก