**การเปิดตัวของ “คณะเสนาธิการร่วม- กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ”เมื่อวันเสาร์ที่ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย หรือสนามม้านางเลิ้ง แกนนำส่วนใหญ่เป็นคนหน้าเก่า จากกลุ่ม"องค์การพิทักษ์สยาม" (อพส.) ที่เคยมี พลเอกบุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย เป็นหัวหอก
อพส.เคยออกมาเขย่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาแล้วเมื่อปี 55 ในการนัดชุมนุมใหญ่สองครั้งที่สนามม้านางเลิ้ง และลานพระบรมรูปทรงม้า ก่อนที่จะเจอกับหลายสารพันปัญหาทั้งการบริหารภายในของ อพส.และการตอบโต้สกัดกั้นจากรัฐบาลและตำรวจ รวมถึงช่วงที่ เสธ.อ้าย ออกมาเคลื่อนไหวสถานการณ์การต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังไม่สุกงอมพอ
ผลก็เลยทำให้กลุ่มอพส.หรือม็อบเสธ.อ้าย ปลุกไม่ขึ้น
ทว่า การเปิดตัวคณะเสนาธิการร่วมใน ”กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ” เมื่อเลือกขับเคลื่อนในจังหวะที่จะมีการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร 1 สิงหาคม ที่หลายฝ่ายคาดการว่า นับแต่สิงหาคมไปจนถึงปลายปีนี้ จะมีหลายเรื่องการเมืองที่จะทำให้อุณหภูมิการเมืองทั้งในและนอกรัฐสภาร้อนแรง ต่อเนื่อง
แม้แต่คนในรัฐบาล รัฐมนตรีบางคนยังหลุดพูดในการประชุมครม.สัญจร ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ 19 ก.ค. 56 แล้วมีข่าวว่า ในที่ประชุมครม.รัฐมนตรีบางคนได้วิเคราะห์สถานการณ์การเมืองในที่ประชุมว่า การเมืองหลังเปิดสภาฯ 1 สิงหาคม จะร้อนแรงรัฐบาลต้องเตรียมตั้งรับให้ดี
ฟากฝ่ายค้าน หัวหมู่ทะลวงฟันอย่าง สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ก็ประกาศกลางเวทีผ่าความจริงเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า ให้จับตาการเมืองหลังสิงหาคม จะมีการต่อสู้การเมืองทั้งในและนอกสภาฯ อย่างดุเดือดเข้มข้น
การขยับเปิดตัว“กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ”ในเวลานี้ แม้จะไม่เซอร์ไพรส์ในตัวคีย์แมนขับเคลื่อน แต่ก็ถือว่าเลือกเปิดในจังหวะเวลาที่ทำให้ตกอยู่ในจุดสนใจทางการเมืองไม่ใช่น้อย
ส่วนการขับเคลื่อนของกลุ่มการเมืองกลุ่มนี้ จะขึ้นมาเป็นทัพหน้ากำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวการเมืองภาคประชาชนนอกรัฐสภาได้หรือไม่ หรือว่าจะแป๊ก ก็อยู่ที่การวางแผนและการบริหารจัดการภายในของทีมเสนาธิการ ที่ประกอบด้วย 5 หัวหอกหลักที่เป็นอดีต 4 ขุนทหาร และอดีตรองประธานวุฒิสภา
คือ พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ อดีตแกนนำกลุ่มเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติรักษาแผ่นดิน ที่พี่น้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดีกับลีลาการปราศรัยอันดุเด็ดเผ็ดมัน สมัยขึ้นเวทีที่สะพานมัฆวานฯ ช่วงพันธมิตรฯ ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร ในช่วงปี 54,
พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และประธานองค์การพิทักษ์สยาม , พล.อ.ชูเกียรติ ตันสุวัจน์ อดีตนายทหารคนสนิท พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร อดีตประธานวุฒิสภา, พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี อดีตโฆษก อพส. และ พิเชฐ พัฒนโชติ อดีตรองประธานวุฒิสภา ซึ่งรายนี้ช่วงหลังผู้คนเห็นหน้าบ่อยครั้งผ่านทีวีดาวเทียมช่องหนึ่ง ที่เจ้าของเป็นนักธุรกิจใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมผลิตปูน และปุ๋ย โดยมี ไทกร พลสุวรรณ จากกลุ่มขบวนการอีสานกู้ชาติ คนนี้มีราคาคุยเกินตัว รับหน้าที่ประสานงานให้กับกลุ่ม
ขณะที่บางคนที่เคยเคลื่อนไหวเปิดตัวกับคนกลุ่มนี้อย่าง พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม หรือ ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ รวมถึง นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ พบว่ารอบนี้ไม่ได้มีชื่อเข้ามาร่วมเปิดตัวด้วย คงมีเหตุผลทางการเมือง และการตัดสินใจบางอย่างที่ทำให้ไม่ได้เข้ามาร่วมวงด้วย
**อย่างไรก็ตาม คาดกันว่าเบื้องหลังทีมงานกองทัพประชาชนฯ ดังกล่าว ก็คงมีอีกหลายคนที่ยังไม่พร้อมเปิดตัว แต่เข้าไปมีส่วนข้อคิดเห็นกำหนดแนวทางการเคลื่อนไหวร่วมในการให้อย่างเช่น เสธ.อ้าย พลเอกบุญเลิศ ก็ยอมรับว่า จะช่วยอยู่ข้างหลังในฐานะที่ปรึกษา จะไม่เปิดหน้าออกมาเต็มตัว เพราะต้องทำตามคำประกาศก่อนหน้านี้ว่า เสธ.อ้าย ขอยุติบทบาทหลังไม่ประสบความสำเร็จในการปลุกม็อบที่ลานพระบรมรูปทรงม้าฯ เมื่อปลายปีที่แล้ว
รวมถึงที่ต้องจับตามองก็คือ “ทุน”ที่จะต้องใช้ในการเคลื่อนไหว แม้ว่าการเคลื่อนไหวการเมืองนอกรัฐสภายุคปัจจุบันเรื่องทุนหรือท่อน้ำเลี้ยงจะไม่ค่อยสำคัญเหมือนในอดีต ขอเพียงแรงใจ-ความคิดเห็นการเมืองที่ตรงกันของกลุ่มประชาชนที่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหว ประชาชนก็จะออกมาร่วมด้วยเองไม่ต้องใช้เงินจ้าง ขอเพียงให้ประเด็นการเคลื่อนไหวชัดเจน แหลมคม ตั้งอยู่บนผลประโยชน์ประชาชนและประเทศ ถึงเวลาแนวร่วมต่างๆ จะเข้ามาเอง
** แต่กองทัพเดินด้วยท้องฉันใด การเคลื่อนไหวการเมืองทุกอย่างก็ต้องมีทุนอยู่ในหน้าตักจำนวนหนึ่งเพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการ
ตรงนี้ ตีกันไว้ล่วงหน้าได้ว่า สัปดาห์นี้ คนในพรรคเพื่อไทย และรัฐบาลอย่าง พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทยหรือไม่ก็ เฉลิม อยู่บำรุง ก็คงออกมาดิสเครดิตคนกลุ่มนี้ว่าเป็นพวกหน้าเดิม จ้องล้มรัฐบาลด้วยวิธีการนอกระบบ แล้วก็โยงไปมั่วว่ามีกลุ่มทุนอะไรต่างๆ อยู่เบื้องหลัง เช่น กลุ่มธุรกิจก่อสร้าง-กลุ่มทุนสนามม้า ตามสไตล์
ทิศทางการเคลื่อนไหวของกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ ดูแล้วคงจะชัดขึ้นช่วงปลายเดือนนี้ หรือต้นเดือนหน้า แต่ไม่เกิน 4 สิงหาคม เพราะเบื้องต้นกลุ่มคีย์แมนหลักบอกว่า จะให้โอกาสรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทำตามข้อเรียกร้องของกลุ่ม อาทิ
ให้รัฐบาลแสดงจุดยืนในความจงรักภักดีต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ ด้วยการหยุดการกระทำอันไม่ควร การจาบจ้วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร -ให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมช.กลาโหม ลาออกจากตำแหน่ง รมว.กลาโหม และ รมช.กลาโหม จากผลพวงคลิปถั่งเช่า -ยื่นเงื่อนไขให้รัฐบาลยุติโครงการกู้เงินเพื่อบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท -บี้ให้สภาผู้แทนราษฎรถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง และ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ทุกฉบับที่เสนอและเตรียมเสนอในสภาฯออกไปทั้งหมด
ดูข้อเรียกร้องที่กลุ่มกองทัพประชาชนยื่นเงื่อนไขไปแล้ว ไม่ต้องคิดมาก และไม่ต้องรอคำตอบจากรัฐบาลให้เสียเวลา เพราะ no way ไม่มีทางที่รัฐบาลจะเอาด้วย ล้านเปอร์เซนต์
กลุ่มเสธ.ฯ ระบุว่าให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องใน 7 วัน หากไม่ดำเนินการใดๆ หรือบ่ายเบี่ยง ซื้อเวลา กองทัพประชาชนฯจะนัดชุมนุม ในวันที่ 4 ส.ค.นี้ เพื่อให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องต่อไป ส่วนเวลาและสถานที่จะแจ้งให้ทราบต่อไป เพราะหากบอกตรงนี้เกรงรัฐบาลจะงัด พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ มาสกัดอีกเหมือนตอนม็อบ เสธ.อ้าย ชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ดูแล้วทางกลุ่มก็ยังกั๊กๆ กันอยู่ในเรื่องนัดเคลื่อนชุมนุมใหญ่เพราะบอกว่า ต้องขอประเมินสถานการณ์ก่อน ว่ามีคนสนใจมากน้อยแค่ไหน จากนั้นถึงค่อยกำหนดท่าทีการชุมนุมอีกครั้ง
** จึงต้องรอดูสถานการณ์กันต่อไป
** อย่างไรก็ตาม สิ่งที่คีย์แมนกลุ่มกองทัพประชาชนฯ ต้องนำไปขบคิดกันตอนนี้คือ จะขับเคลื่อนกลุ่มกันต่อไปอย่างไร ทำจริงจังหรือไม่ ถ้าเคลื่อนแล้วการตอบรับจากประชาชนจะมีมากน้อยแค่ไหน และเป้าหมายสุดท้ายที่ต้องการคืออะไร
ในสภาพตอนนี้เห็นได้ว่ากลุ่มต่อต้านทักษิณ ยังรวมกันไม่ติด และบางปีกก็ไร้ทิศทาง อย่างกลุ่มหน้ากากขาวที่ตอนนี้กระแสก็เริ่มแผ่วแล้ว
สำคัญอย่างยิ่ง ที่คณะเสนาธิการในกองทัพประชาชนฯต้องประเมินสรรพกำลังของฝั่งตัวเองด้วยว่า สามารถผนึกกำลังกันได้เหนียวแน่นแค่ไหน หากถึงยามที่ต้องเคลื่อนถ้าสถานการณ์นำพา เช่น มีเค้าลางสภาฯ เพื่อไทยจะพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ปรองดองของเฉลิม อยู่บำรุง เพื่อล้างผิดให้ทักษิณ ชินวัตร กลุ่มกองทัพประชาชนฯ พร้อมหรือไม่สำหรับการรวมพลแบบทันทีทันใด
และจะทำอย่างไรกับการอาจถูกสกัดกั้นเหมือนอย่างที่เคยเจอมาแล้วในการนัดชุมนุมใหญ่ของเสธ.อ้ายที่ลานพระบรมรูปฯ เมื่อ24 พ.ย. 55 ที่รัฐบาลใช้ทั้งพ.ร.บ.มั่นคงฯและขนกำลังตำรวจกว่า 5 หมื่นคนมาสกัดประชาชนไม่ให้เข้าร่วมชุมนุมจนต้องยุติการชุมนุมไปโดยปริยาย
การบ้านข้อใหญ่ของแนวร่วมต้านรัฐบาลทีมนี้ คงไม่พ้นเรื่องต้องชัดเจนในยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน มียุทธวิธีในการเคลื่อนไหว ไม่เช่นนั้นหากยังเคลื่อนไหวแบบสะเปะสะปะ มีลีลาแต่ไร้ทิศทาง ขาดกระบวนยุทธ์เพื่อนำพามวลชน
**สุดท้าย ก็จะกลายเป็นกลุ่ม “ไม่มีราคาทางการเมือง” ในสายตามวลชนคนไม่เอาระบอบทักษิณไปก็ได้
อพส.เคยออกมาเขย่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาแล้วเมื่อปี 55 ในการนัดชุมนุมใหญ่สองครั้งที่สนามม้านางเลิ้ง และลานพระบรมรูปทรงม้า ก่อนที่จะเจอกับหลายสารพันปัญหาทั้งการบริหารภายในของ อพส.และการตอบโต้สกัดกั้นจากรัฐบาลและตำรวจ รวมถึงช่วงที่ เสธ.อ้าย ออกมาเคลื่อนไหวสถานการณ์การต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังไม่สุกงอมพอ
ผลก็เลยทำให้กลุ่มอพส.หรือม็อบเสธ.อ้าย ปลุกไม่ขึ้น
ทว่า การเปิดตัวคณะเสนาธิการร่วมใน ”กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ” เมื่อเลือกขับเคลื่อนในจังหวะที่จะมีการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร 1 สิงหาคม ที่หลายฝ่ายคาดการว่า นับแต่สิงหาคมไปจนถึงปลายปีนี้ จะมีหลายเรื่องการเมืองที่จะทำให้อุณหภูมิการเมืองทั้งในและนอกรัฐสภาร้อนแรง ต่อเนื่อง
แม้แต่คนในรัฐบาล รัฐมนตรีบางคนยังหลุดพูดในการประชุมครม.สัญจร ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ 19 ก.ค. 56 แล้วมีข่าวว่า ในที่ประชุมครม.รัฐมนตรีบางคนได้วิเคราะห์สถานการณ์การเมืองในที่ประชุมว่า การเมืองหลังเปิดสภาฯ 1 สิงหาคม จะร้อนแรงรัฐบาลต้องเตรียมตั้งรับให้ดี
ฟากฝ่ายค้าน หัวหมู่ทะลวงฟันอย่าง สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ก็ประกาศกลางเวทีผ่าความจริงเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า ให้จับตาการเมืองหลังสิงหาคม จะมีการต่อสู้การเมืองทั้งในและนอกสภาฯ อย่างดุเดือดเข้มข้น
การขยับเปิดตัว“กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ”ในเวลานี้ แม้จะไม่เซอร์ไพรส์ในตัวคีย์แมนขับเคลื่อน แต่ก็ถือว่าเลือกเปิดในจังหวะเวลาที่ทำให้ตกอยู่ในจุดสนใจทางการเมืองไม่ใช่น้อย
ส่วนการขับเคลื่อนของกลุ่มการเมืองกลุ่มนี้ จะขึ้นมาเป็นทัพหน้ากำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวการเมืองภาคประชาชนนอกรัฐสภาได้หรือไม่ หรือว่าจะแป๊ก ก็อยู่ที่การวางแผนและการบริหารจัดการภายในของทีมเสนาธิการ ที่ประกอบด้วย 5 หัวหอกหลักที่เป็นอดีต 4 ขุนทหาร และอดีตรองประธานวุฒิสภา
คือ พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ อดีตแกนนำกลุ่มเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติรักษาแผ่นดิน ที่พี่น้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดีกับลีลาการปราศรัยอันดุเด็ดเผ็ดมัน สมัยขึ้นเวทีที่สะพานมัฆวานฯ ช่วงพันธมิตรฯ ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร ในช่วงปี 54,
พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และประธานองค์การพิทักษ์สยาม , พล.อ.ชูเกียรติ ตันสุวัจน์ อดีตนายทหารคนสนิท พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร อดีตประธานวุฒิสภา, พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี อดีตโฆษก อพส. และ พิเชฐ พัฒนโชติ อดีตรองประธานวุฒิสภา ซึ่งรายนี้ช่วงหลังผู้คนเห็นหน้าบ่อยครั้งผ่านทีวีดาวเทียมช่องหนึ่ง ที่เจ้าของเป็นนักธุรกิจใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมผลิตปูน และปุ๋ย โดยมี ไทกร พลสุวรรณ จากกลุ่มขบวนการอีสานกู้ชาติ คนนี้มีราคาคุยเกินตัว รับหน้าที่ประสานงานให้กับกลุ่ม
ขณะที่บางคนที่เคยเคลื่อนไหวเปิดตัวกับคนกลุ่มนี้อย่าง พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม หรือ ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ รวมถึง นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ พบว่ารอบนี้ไม่ได้มีชื่อเข้ามาร่วมเปิดตัวด้วย คงมีเหตุผลทางการเมือง และการตัดสินใจบางอย่างที่ทำให้ไม่ได้เข้ามาร่วมวงด้วย
**อย่างไรก็ตาม คาดกันว่าเบื้องหลังทีมงานกองทัพประชาชนฯ ดังกล่าว ก็คงมีอีกหลายคนที่ยังไม่พร้อมเปิดตัว แต่เข้าไปมีส่วนข้อคิดเห็นกำหนดแนวทางการเคลื่อนไหวร่วมในการให้อย่างเช่น เสธ.อ้าย พลเอกบุญเลิศ ก็ยอมรับว่า จะช่วยอยู่ข้างหลังในฐานะที่ปรึกษา จะไม่เปิดหน้าออกมาเต็มตัว เพราะต้องทำตามคำประกาศก่อนหน้านี้ว่า เสธ.อ้าย ขอยุติบทบาทหลังไม่ประสบความสำเร็จในการปลุกม็อบที่ลานพระบรมรูปทรงม้าฯ เมื่อปลายปีที่แล้ว
รวมถึงที่ต้องจับตามองก็คือ “ทุน”ที่จะต้องใช้ในการเคลื่อนไหว แม้ว่าการเคลื่อนไหวการเมืองนอกรัฐสภายุคปัจจุบันเรื่องทุนหรือท่อน้ำเลี้ยงจะไม่ค่อยสำคัญเหมือนในอดีต ขอเพียงแรงใจ-ความคิดเห็นการเมืองที่ตรงกันของกลุ่มประชาชนที่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหว ประชาชนก็จะออกมาร่วมด้วยเองไม่ต้องใช้เงินจ้าง ขอเพียงให้ประเด็นการเคลื่อนไหวชัดเจน แหลมคม ตั้งอยู่บนผลประโยชน์ประชาชนและประเทศ ถึงเวลาแนวร่วมต่างๆ จะเข้ามาเอง
** แต่กองทัพเดินด้วยท้องฉันใด การเคลื่อนไหวการเมืองทุกอย่างก็ต้องมีทุนอยู่ในหน้าตักจำนวนหนึ่งเพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการ
ตรงนี้ ตีกันไว้ล่วงหน้าได้ว่า สัปดาห์นี้ คนในพรรคเพื่อไทย และรัฐบาลอย่าง พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทยหรือไม่ก็ เฉลิม อยู่บำรุง ก็คงออกมาดิสเครดิตคนกลุ่มนี้ว่าเป็นพวกหน้าเดิม จ้องล้มรัฐบาลด้วยวิธีการนอกระบบ แล้วก็โยงไปมั่วว่ามีกลุ่มทุนอะไรต่างๆ อยู่เบื้องหลัง เช่น กลุ่มธุรกิจก่อสร้าง-กลุ่มทุนสนามม้า ตามสไตล์
ทิศทางการเคลื่อนไหวของกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ ดูแล้วคงจะชัดขึ้นช่วงปลายเดือนนี้ หรือต้นเดือนหน้า แต่ไม่เกิน 4 สิงหาคม เพราะเบื้องต้นกลุ่มคีย์แมนหลักบอกว่า จะให้โอกาสรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทำตามข้อเรียกร้องของกลุ่ม อาทิ
ให้รัฐบาลแสดงจุดยืนในความจงรักภักดีต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ ด้วยการหยุดการกระทำอันไม่ควร การจาบจ้วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร -ให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมช.กลาโหม ลาออกจากตำแหน่ง รมว.กลาโหม และ รมช.กลาโหม จากผลพวงคลิปถั่งเช่า -ยื่นเงื่อนไขให้รัฐบาลยุติโครงการกู้เงินเพื่อบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท -บี้ให้สภาผู้แทนราษฎรถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง และ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ทุกฉบับที่เสนอและเตรียมเสนอในสภาฯออกไปทั้งหมด
ดูข้อเรียกร้องที่กลุ่มกองทัพประชาชนยื่นเงื่อนไขไปแล้ว ไม่ต้องคิดมาก และไม่ต้องรอคำตอบจากรัฐบาลให้เสียเวลา เพราะ no way ไม่มีทางที่รัฐบาลจะเอาด้วย ล้านเปอร์เซนต์
กลุ่มเสธ.ฯ ระบุว่าให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องใน 7 วัน หากไม่ดำเนินการใดๆ หรือบ่ายเบี่ยง ซื้อเวลา กองทัพประชาชนฯจะนัดชุมนุม ในวันที่ 4 ส.ค.นี้ เพื่อให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องต่อไป ส่วนเวลาและสถานที่จะแจ้งให้ทราบต่อไป เพราะหากบอกตรงนี้เกรงรัฐบาลจะงัด พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ มาสกัดอีกเหมือนตอนม็อบ เสธ.อ้าย ชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ดูแล้วทางกลุ่มก็ยังกั๊กๆ กันอยู่ในเรื่องนัดเคลื่อนชุมนุมใหญ่เพราะบอกว่า ต้องขอประเมินสถานการณ์ก่อน ว่ามีคนสนใจมากน้อยแค่ไหน จากนั้นถึงค่อยกำหนดท่าทีการชุมนุมอีกครั้ง
** จึงต้องรอดูสถานการณ์กันต่อไป
** อย่างไรก็ตาม สิ่งที่คีย์แมนกลุ่มกองทัพประชาชนฯ ต้องนำไปขบคิดกันตอนนี้คือ จะขับเคลื่อนกลุ่มกันต่อไปอย่างไร ทำจริงจังหรือไม่ ถ้าเคลื่อนแล้วการตอบรับจากประชาชนจะมีมากน้อยแค่ไหน และเป้าหมายสุดท้ายที่ต้องการคืออะไร
ในสภาพตอนนี้เห็นได้ว่ากลุ่มต่อต้านทักษิณ ยังรวมกันไม่ติด และบางปีกก็ไร้ทิศทาง อย่างกลุ่มหน้ากากขาวที่ตอนนี้กระแสก็เริ่มแผ่วแล้ว
สำคัญอย่างยิ่ง ที่คณะเสนาธิการในกองทัพประชาชนฯต้องประเมินสรรพกำลังของฝั่งตัวเองด้วยว่า สามารถผนึกกำลังกันได้เหนียวแน่นแค่ไหน หากถึงยามที่ต้องเคลื่อนถ้าสถานการณ์นำพา เช่น มีเค้าลางสภาฯ เพื่อไทยจะพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ปรองดองของเฉลิม อยู่บำรุง เพื่อล้างผิดให้ทักษิณ ชินวัตร กลุ่มกองทัพประชาชนฯ พร้อมหรือไม่สำหรับการรวมพลแบบทันทีทันใด
และจะทำอย่างไรกับการอาจถูกสกัดกั้นเหมือนอย่างที่เคยเจอมาแล้วในการนัดชุมนุมใหญ่ของเสธ.อ้ายที่ลานพระบรมรูปฯ เมื่อ24 พ.ย. 55 ที่รัฐบาลใช้ทั้งพ.ร.บ.มั่นคงฯและขนกำลังตำรวจกว่า 5 หมื่นคนมาสกัดประชาชนไม่ให้เข้าร่วมชุมนุมจนต้องยุติการชุมนุมไปโดยปริยาย
การบ้านข้อใหญ่ของแนวร่วมต้านรัฐบาลทีมนี้ คงไม่พ้นเรื่องต้องชัดเจนในยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน มียุทธวิธีในการเคลื่อนไหว ไม่เช่นนั้นหากยังเคลื่อนไหวแบบสะเปะสะปะ มีลีลาแต่ไร้ทิศทาง ขาดกระบวนยุทธ์เพื่อนำพามวลชน
**สุดท้าย ก็จะกลายเป็นกลุ่ม “ไม่มีราคาทางการเมือง” ในสายตามวลชนคนไม่เอาระบอบทักษิณไปก็ได้