ASTVผู้จัดการรายวัน- "ประชาธิปัตย์" จี้ "ยิ่งลักษณ์" ตอบให้ชัด จะเสนอ พ.ร.ก.นิรโทษกรรม ผ่านสภากลาโหม ตามที่ปลัดฯกลาโหมชี้ช่อง หรือไม่ ด้านแกนนำเสื้อแดง เสนอให้เร่งพิจารณา พ.ร.บ.นิรโทษ ก่อน พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 57 ขณะที่ "วราเทพ" ขึ้นอยู่กับวิปรัฐบาลจะเป็นคนตัดสิน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวงกลาโหม ระบุว่า การเสนอร่าง พ.ร.ก.นิรโทษกรรม โดยผ่านสภากลาโหม สามารถทำได้ โดยให้รมว.กลาโหม เป็นผู้เสนอเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุม ว่า ขอเรียกร้องให้ฝ่ายความมั่นคง ยืนยันให้ชัดเจนถึงความเห็นของฝ่ายความมั่นคงว่า พ.ร.ก.นิรโทษกรรม เกี่ยวข้องกับความมั่นคง จริงหรือไม่ เพราะหากยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้อง ก็จะทำให้คลายความกังวลเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองที่อาจจะเกิดขึ้นกับเรื่องนี้ รวมทั้งจะได้ไม่ตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง และทำให้เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองด้วย และเรียกร้องไปยัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ที่เป็นผู้ขอความร่วมมือไม่ให้มีความขัดแย้งด้วยว่า ขอให้ยืนยันให้ชัดเจนว่ารัฐบาลจะไม่ยุ่งเกี่ยว หรือสนับสนุนให้มีการ ออกพ.ร.ก.นิรโทษกรรม ตามเนื้อหาการสนทนาในคลิปเสียงของพ.ต.ท.ทักษิณ กับพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เพื่อที่ทุกฝ่ายจะได้สบายใจในเรื่องนี้
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน แถลงว่า ที่ประชุมวิปฝ่ายค้าน ได้หารือถึงเรื่องนี้ โดยเห็นว่าฝ่ายค้านจะละเลยเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะจะเป็นการล้างผิด ทำลายระบบนิติรัฐ คุณธรรม จริยธรรม สำหรับผู้บริหารราชการแผ่นดิน เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความเป็นไปของประเทศ ดังนั้นน.ส. ยิ่งลักษณ์ จะลอยตัวเหนือปัญหาไม่ได้ จึงขอเรียกร้องให้นายกฯ ออกมาตอบคำถามว่า
1. จะสอบสวนจริยธรรมของข้าราชการการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคลิปเสียงหรือไม่ เพราะการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายผิดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี 2551 ว่าด้วยประมวลจริยธรรมนักการเมือง ในข้อ 12,14,16 และ 28 ซึ่งนายกฯ ต้องดำเนินการตามข้อ 30 ในหมวดว่าด้วยการกำกับดูแลข้าราชการการเมือง ที่ระบุว่า นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ดูแลให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าว และสามารถลงโทษ หากมีการกระทำผิดเกิดขึ้นได้
2. นายกฯ จะเสนอ หรือยอมให้ใช้สภากลาโหม พิจารณาพ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือไม่ เนื่องจากพล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวงกลาโหม ระบุว่า หากรมว.กลาโหม จะเสนอให้สภากลาโหมพิจารณากฎหมายที่สำคัญ ก็สามารถทำได้ ซึ่งนายกฯ ต้องให้ความชัดเจนในประเด็นนี้ เพื่อให้สังคมคลายความสงสัย
น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า มีความเคลื่อนไหวที่ไม่ชอบมาพากล หลังจาก"คลิปถั่งเช่า" ถูกเปิดเผยออกมา โดยมีนายทหารระดับนายพัน วิจารณ์ด้วยความไม่สบายใจ โดยเฉพาะเรื่องการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม ผ่านสภากลาโหม ด้วยการอ้างถึงความมั่นคงในประเทศ จึงอยากฝากเตือนไปถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า อย่าทะเร่อทะร่า เสนอกฎหมายดังกล่าวเข้าสภากลาโหม ตามที่มีการระบุในคลิป เพราะการจะผลักดันเข้าสภากลาโหมนั้น ไม่สามารถทำได้ เพราะเรื่องที่จะนำเข้าสภากลาโหม ตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ปี 2551 มาตรา 43 ระบุ ว่า การดำเนินการของรมว.กลาโหม ต้องมีธรรมเนียมปฏิบัติดังนี้
1. นโยบายด้านการทหาร 2. นโยบายการระดมสรรพกำลังเพื่อการทหาร 3 . นโยบายการปกครอง และการบังคับบัญชาภายในกระทรวงกลาโหม 4. การพิจารณางบประมาณการทหาร และการแบ่งสรรงบประมาณของกระทรวงกลาโหม 5 . การพิจารณาร่างกฎหมายเกี่ยวกับการทหาร และ 6 . เรื่องที่กฎหมาย หรือ รมว. กลาโหม กำหนดให้เสนอเข้าสู่สภากลาโหม
"หากน.ส.ยิ่งลักษณ์ ใช้เหตุผลข้อที่ 6 เสนอกฎหมายนิรโทษกรรม เข้าสภากลาโหม ก็เสี่ยงติดคุกแน่นอน เพราะไม่สามารถทำได้ ทั้งนี้ เกรงว่านายกรัฐมนตรี จะไม่เข้าใจในเรื่องนี้ และอาจทำให่้ติดคุกได้ อีกทั้งทหารระดับกลางไม่สบายใจอย่างมาก จนคนในตระกูลที่เกี่ยวข้องกับคลิปถั่งเช่า มองหน้าคนอื่นไม่ติดแแล้ว " รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
** "วรชัย"ลั่นลุยพ.ร.บ.นิรโทษก่อน งบฯ 57
นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย แกนนำ 42 ส.ส. ที่เสนอ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม กล่าวว่า พรรคเพื่อไทย จะเรียกประชุมส.ส.ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนก.ค. ก่อนเปิดสมัยประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไปในวันที่ 1 ส.ค. โดยตนจะเสนอให้พรรคพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก่อน ร่าง พ.ร.บ.บ ประมาณ 2557 หรือ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพราะไม่ว่าจะพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ฉบับใดก่อน ก็จะเจอกับฝ่ายต่อต้านที่เตรียมหลับหูหลับตาลุยทุกเรื่องอยู่แล้ว พรรคประชาธิปัตย์เองก็บอกว่า จะระดมคนมาล้มรัฐบาล 2 แสนคน จึงคิดว่าควรเอากฎหมายนิรโทษกรรมวัดใจกันไปเลย ถึงจะล้มก็ล้มบนตักประชาชน ตนมองว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ ต่อเนื่องไปอีก 2 เดือน จะมีการเปลี่ยนเกม โดยฝ่ายต่อต้านจะถอยกำลังด้านหนึ่งไป แล้วมาเดินเกมรุกด้านกฎหมายแทน จะใช้องค์กรอิสระเล่นงานรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องข้าว ที่พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นเรื่องให้ป.ป.ช. ดำเนินการตรวจสอบ
ขณะที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช.ก็เห็นพ้องด้วยกับแนวทางการผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษ โดยระบุว่า จะขอร้องสมาชิกพรรคเพื่อไทยว่า ทันทีที่เปิดสมัยประชุม 1 ส.ค. ก็ไม่ควรที่จะพูดเรื่องอื่น การอภิปรายร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม วันเดียวก็จบ ในวาระที่ 1 โอกาสที่จะเป็น 3 วาระ คงยาก จากนั้นสภา ก็สามารถประชุม ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 ต่อได้ ซึ่งเต็มที่ 3 วันก็จบ
**โยนวิปตัดสินพิจารณาเรื่องใดก่อน
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า วันที่ 24 ก.ค.นี้ จะมีการประชุมวิปรัฐบาล เพื่อพิจารณาว่า จะนำเรื่องใดขึ้นมาพิจารณาในสภาก่อน หลังมีการเปิดประชุมสมัยสามัญทั่วไป ขณะนี้รอการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการฯ ของแต่ละฉบับก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 57 หรือ เรื่องของงบทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม 2 ล้านล้าน และเรื่องของกรรมาธิการว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้วันที่ 1 ส.ค. ซึ่งเป็นวันเปิดประชุมสภา ตรงกับวันพฤหัสบดี น่าจะเป็นการพิจารณากระทู้ไปก่อน เพราะกฎหมายจะมีการพิจารณาวันพุธ นอกจากจะนัดเป็นวาระพิเศษ
ผู้สื่อข่าวถามกรณีที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ เสนอให้นำ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ นายวรชัย เหมะ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ นายวราเทพ กล่าวว่า คงต้องคุยกันในวิปรัฐบาลก่อน และต้องดูความพร้อมของกฎหมายแต่ละฉบับด้วย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวงกลาโหม ระบุว่า การเสนอร่าง พ.ร.ก.นิรโทษกรรม โดยผ่านสภากลาโหม สามารถทำได้ โดยให้รมว.กลาโหม เป็นผู้เสนอเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุม ว่า ขอเรียกร้องให้ฝ่ายความมั่นคง ยืนยันให้ชัดเจนถึงความเห็นของฝ่ายความมั่นคงว่า พ.ร.ก.นิรโทษกรรม เกี่ยวข้องกับความมั่นคง จริงหรือไม่ เพราะหากยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้อง ก็จะทำให้คลายความกังวลเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองที่อาจจะเกิดขึ้นกับเรื่องนี้ รวมทั้งจะได้ไม่ตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง และทำให้เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองด้วย และเรียกร้องไปยัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ที่เป็นผู้ขอความร่วมมือไม่ให้มีความขัดแย้งด้วยว่า ขอให้ยืนยันให้ชัดเจนว่ารัฐบาลจะไม่ยุ่งเกี่ยว หรือสนับสนุนให้มีการ ออกพ.ร.ก.นิรโทษกรรม ตามเนื้อหาการสนทนาในคลิปเสียงของพ.ต.ท.ทักษิณ กับพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เพื่อที่ทุกฝ่ายจะได้สบายใจในเรื่องนี้
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน แถลงว่า ที่ประชุมวิปฝ่ายค้าน ได้หารือถึงเรื่องนี้ โดยเห็นว่าฝ่ายค้านจะละเลยเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะจะเป็นการล้างผิด ทำลายระบบนิติรัฐ คุณธรรม จริยธรรม สำหรับผู้บริหารราชการแผ่นดิน เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความเป็นไปของประเทศ ดังนั้นน.ส. ยิ่งลักษณ์ จะลอยตัวเหนือปัญหาไม่ได้ จึงขอเรียกร้องให้นายกฯ ออกมาตอบคำถามว่า
1. จะสอบสวนจริยธรรมของข้าราชการการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคลิปเสียงหรือไม่ เพราะการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายผิดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี 2551 ว่าด้วยประมวลจริยธรรมนักการเมือง ในข้อ 12,14,16 และ 28 ซึ่งนายกฯ ต้องดำเนินการตามข้อ 30 ในหมวดว่าด้วยการกำกับดูแลข้าราชการการเมือง ที่ระบุว่า นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ดูแลให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าว และสามารถลงโทษ หากมีการกระทำผิดเกิดขึ้นได้
2. นายกฯ จะเสนอ หรือยอมให้ใช้สภากลาโหม พิจารณาพ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือไม่ เนื่องจากพล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวงกลาโหม ระบุว่า หากรมว.กลาโหม จะเสนอให้สภากลาโหมพิจารณากฎหมายที่สำคัญ ก็สามารถทำได้ ซึ่งนายกฯ ต้องให้ความชัดเจนในประเด็นนี้ เพื่อให้สังคมคลายความสงสัย
น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า มีความเคลื่อนไหวที่ไม่ชอบมาพากล หลังจาก"คลิปถั่งเช่า" ถูกเปิดเผยออกมา โดยมีนายทหารระดับนายพัน วิจารณ์ด้วยความไม่สบายใจ โดยเฉพาะเรื่องการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม ผ่านสภากลาโหม ด้วยการอ้างถึงความมั่นคงในประเทศ จึงอยากฝากเตือนไปถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า อย่าทะเร่อทะร่า เสนอกฎหมายดังกล่าวเข้าสภากลาโหม ตามที่มีการระบุในคลิป เพราะการจะผลักดันเข้าสภากลาโหมนั้น ไม่สามารถทำได้ เพราะเรื่องที่จะนำเข้าสภากลาโหม ตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ปี 2551 มาตรา 43 ระบุ ว่า การดำเนินการของรมว.กลาโหม ต้องมีธรรมเนียมปฏิบัติดังนี้
1. นโยบายด้านการทหาร 2. นโยบายการระดมสรรพกำลังเพื่อการทหาร 3 . นโยบายการปกครอง และการบังคับบัญชาภายในกระทรวงกลาโหม 4. การพิจารณางบประมาณการทหาร และการแบ่งสรรงบประมาณของกระทรวงกลาโหม 5 . การพิจารณาร่างกฎหมายเกี่ยวกับการทหาร และ 6 . เรื่องที่กฎหมาย หรือ รมว. กลาโหม กำหนดให้เสนอเข้าสู่สภากลาโหม
"หากน.ส.ยิ่งลักษณ์ ใช้เหตุผลข้อที่ 6 เสนอกฎหมายนิรโทษกรรม เข้าสภากลาโหม ก็เสี่ยงติดคุกแน่นอน เพราะไม่สามารถทำได้ ทั้งนี้ เกรงว่านายกรัฐมนตรี จะไม่เข้าใจในเรื่องนี้ และอาจทำให่้ติดคุกได้ อีกทั้งทหารระดับกลางไม่สบายใจอย่างมาก จนคนในตระกูลที่เกี่ยวข้องกับคลิปถั่งเช่า มองหน้าคนอื่นไม่ติดแแล้ว " รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
** "วรชัย"ลั่นลุยพ.ร.บ.นิรโทษก่อน งบฯ 57
นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย แกนนำ 42 ส.ส. ที่เสนอ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม กล่าวว่า พรรคเพื่อไทย จะเรียกประชุมส.ส.ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนก.ค. ก่อนเปิดสมัยประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไปในวันที่ 1 ส.ค. โดยตนจะเสนอให้พรรคพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก่อน ร่าง พ.ร.บ.บ ประมาณ 2557 หรือ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพราะไม่ว่าจะพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ฉบับใดก่อน ก็จะเจอกับฝ่ายต่อต้านที่เตรียมหลับหูหลับตาลุยทุกเรื่องอยู่แล้ว พรรคประชาธิปัตย์เองก็บอกว่า จะระดมคนมาล้มรัฐบาล 2 แสนคน จึงคิดว่าควรเอากฎหมายนิรโทษกรรมวัดใจกันไปเลย ถึงจะล้มก็ล้มบนตักประชาชน ตนมองว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ ต่อเนื่องไปอีก 2 เดือน จะมีการเปลี่ยนเกม โดยฝ่ายต่อต้านจะถอยกำลังด้านหนึ่งไป แล้วมาเดินเกมรุกด้านกฎหมายแทน จะใช้องค์กรอิสระเล่นงานรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องข้าว ที่พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นเรื่องให้ป.ป.ช. ดำเนินการตรวจสอบ
ขณะที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช.ก็เห็นพ้องด้วยกับแนวทางการผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษ โดยระบุว่า จะขอร้องสมาชิกพรรคเพื่อไทยว่า ทันทีที่เปิดสมัยประชุม 1 ส.ค. ก็ไม่ควรที่จะพูดเรื่องอื่น การอภิปรายร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม วันเดียวก็จบ ในวาระที่ 1 โอกาสที่จะเป็น 3 วาระ คงยาก จากนั้นสภา ก็สามารถประชุม ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 ต่อได้ ซึ่งเต็มที่ 3 วันก็จบ
**โยนวิปตัดสินพิจารณาเรื่องใดก่อน
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า วันที่ 24 ก.ค.นี้ จะมีการประชุมวิปรัฐบาล เพื่อพิจารณาว่า จะนำเรื่องใดขึ้นมาพิจารณาในสภาก่อน หลังมีการเปิดประชุมสมัยสามัญทั่วไป ขณะนี้รอการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการฯ ของแต่ละฉบับก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 57 หรือ เรื่องของงบทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม 2 ล้านล้าน และเรื่องของกรรมาธิการว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้วันที่ 1 ส.ค. ซึ่งเป็นวันเปิดประชุมสภา ตรงกับวันพฤหัสบดี น่าจะเป็นการพิจารณากระทู้ไปก่อน เพราะกฎหมายจะมีการพิจารณาวันพุธ นอกจากจะนัดเป็นวาระพิเศษ
ผู้สื่อข่าวถามกรณีที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ เสนอให้นำ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ นายวรชัย เหมะ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ นายวราเทพ กล่าวว่า คงต้องคุยกันในวิปรัฐบาลก่อน และต้องดูความพร้อมของกฎหมายแต่ละฉบับด้วย