วานนี้(21 ก.ค.56) นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบจังหวัดในภาคเหนือตอนบน เข้าตรวจราชการที่จังหวัดแพร่ โดยได้ร่วมฟังบรรยายสรุปจาก นายศักดิ์ชัย จ.ผลิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ และส่วนราชการ ที่ห้องประชุมจดหมายเหตุศาลากลางจังหวัดแพร่ หลังบรรยายสรุปการพัฒนาจังหวัดแพร่จบลงนายปลอดประสพได้ให้ความสนใจและเสนอแนวทางพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ที่ควรฟื้นฟูประวัติการทำไม้เดิมและร่องรอยทางประวัติศาสตร์คือบ้านเรือนเก่า รวมทั้งการพัฒนาระบบทางคมนาคมโดยรถไฟที่จังหวัดแพร่จะมีทางรถไฟรางคู่จากเด่นชัย ไปเชียงราย และแพร่มีพื้นที่ป่าถึงร้อยละ 80 ควรใช้ให้เป็นประโยชน์ในการทำป่าเชิงเศรษฐกิจเช่นในอดีต
ส่วนประเด็นสำคัญในจังหวัดแพร่โดยเฉพาะคือการบริหารจัดการน้ำต้องเร่งเตรียมการสร้างเขื่อนยมบน และ เขื่อนยมล่าง กั้นแม่น้ำยมในจังหวัดแพร่โดยเร็ว ส่วนเขื่อนแก่งเสือเต้นยกเลิกโครงการไปแล้ว การดำเนินการดังกล่าวเป็นการแก้ปัญหาที่ชาวแพร่ประสบอยู่ เขื่อนดังกล่าวจะดำเนินการตามกติกาทุกประการ ประการแรกจะเปิดให้มีการทำประชาพิจารณ์ รัฐบาลทำประชาพิจารณ์โครงการใช้งบประมาณ 3.5 แสนล้าน มาตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2555 โดยการทำแบบกว้างขวางตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตร 66 โดยขณะนั้นยังไม่รู้ว่าดำเนินการที่ใดบ้าง ผ่านมาปีครึ่งทราบแล้วว่ามีที่ใดบ้าง มีอยู่ 9 รายการ ยกตัวอย่างในแม่น้ำยม สร้างยมบนและยมล่าง คือรับน้ำที่มาจากพะเยา ลำปาง และเก็บกักน้ำให้แพร่พ้นจากสภาวะแล้ง หรือน้ำท่วม ยมล่างลดการพังทลายของหน้าดิน และลดผลกระทบน้ำท่วม รวมทั้งรองรับการเลื่อนของเขตฝนลงมา ซึ่งทั้งสองเขื่อนดำเนินการแน่นอนจะสามารถควบคุมน้ำได้ และไม่มีใครเดือดร้อนเพราะเป็นพื้นที่ป่าไม้ ส่วนถ้าจะมีผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วมคือผู้ที่เข้าไปอยู่อาศัยและบุกรุก
นายปลอดประสพ กล่าวด้วยว่า การทำประชาพิจารณ์จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป ในระดับประเทศ 1 ครั้ง ระดับภูมิภาค 4 ครั้ง และระดับจังหวัดอีก 39 จังหวัด ที่จังหวัดแพร่เป็นการทำรายจังหวัด ดำเนินการตาม พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม พ.ร.บ.อุทยาน ฯ หรือ พ.ร.บ.ป่าไม้ ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่จะต้องไปทำความเข้าใจและให้คนเหล่านั้นมาร่วมให้ได้ ส่วนกลุ่มต่อต้านมีจำนวนน้อย เชื่อว่าเป็นคนไทยด้วยกันพูดกันรู้เรื่อง ส่วนกลุ่มค้านเขื่อนมีน้อยลงส่วนใหญ่เป็นคนรู้ใหม่กลุ่มเล็กๆ น่าจะทำความเข้าใจได้
ทั้งนี้ ตามที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้ดำเนินการจัดทำประชาพิจารณ์โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทนั้น ขณะนี้รัฐบาลเตรียมดำเนินการตามคำสั่งศาล ซึ่งก็เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้มีการศึกษาประเมินผลกระทบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนและกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 67 วรรค 2
ทั้งนี้ จะดำเนินการจัดทำประชาพิจารณ์ในราวสัปดาห์ที่ 2ของเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ รวม 39 จังหวัด ซึ่งรวมจังหวัดพะเยาด้วย ทั้งนี้ดำเนินการโดยสถาบันทางการศึกษา 3 แห่ง ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 3 เดือน จากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลปรับแผนงานในโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทต่อไป
ส่วนประเด็นสำคัญในจังหวัดแพร่โดยเฉพาะคือการบริหารจัดการน้ำต้องเร่งเตรียมการสร้างเขื่อนยมบน และ เขื่อนยมล่าง กั้นแม่น้ำยมในจังหวัดแพร่โดยเร็ว ส่วนเขื่อนแก่งเสือเต้นยกเลิกโครงการไปแล้ว การดำเนินการดังกล่าวเป็นการแก้ปัญหาที่ชาวแพร่ประสบอยู่ เขื่อนดังกล่าวจะดำเนินการตามกติกาทุกประการ ประการแรกจะเปิดให้มีการทำประชาพิจารณ์ รัฐบาลทำประชาพิจารณ์โครงการใช้งบประมาณ 3.5 แสนล้าน มาตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2555 โดยการทำแบบกว้างขวางตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตร 66 โดยขณะนั้นยังไม่รู้ว่าดำเนินการที่ใดบ้าง ผ่านมาปีครึ่งทราบแล้วว่ามีที่ใดบ้าง มีอยู่ 9 รายการ ยกตัวอย่างในแม่น้ำยม สร้างยมบนและยมล่าง คือรับน้ำที่มาจากพะเยา ลำปาง และเก็บกักน้ำให้แพร่พ้นจากสภาวะแล้ง หรือน้ำท่วม ยมล่างลดการพังทลายของหน้าดิน และลดผลกระทบน้ำท่วม รวมทั้งรองรับการเลื่อนของเขตฝนลงมา ซึ่งทั้งสองเขื่อนดำเนินการแน่นอนจะสามารถควบคุมน้ำได้ และไม่มีใครเดือดร้อนเพราะเป็นพื้นที่ป่าไม้ ส่วนถ้าจะมีผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วมคือผู้ที่เข้าไปอยู่อาศัยและบุกรุก
นายปลอดประสพ กล่าวด้วยว่า การทำประชาพิจารณ์จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป ในระดับประเทศ 1 ครั้ง ระดับภูมิภาค 4 ครั้ง และระดับจังหวัดอีก 39 จังหวัด ที่จังหวัดแพร่เป็นการทำรายจังหวัด ดำเนินการตาม พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม พ.ร.บ.อุทยาน ฯ หรือ พ.ร.บ.ป่าไม้ ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่จะต้องไปทำความเข้าใจและให้คนเหล่านั้นมาร่วมให้ได้ ส่วนกลุ่มต่อต้านมีจำนวนน้อย เชื่อว่าเป็นคนไทยด้วยกันพูดกันรู้เรื่อง ส่วนกลุ่มค้านเขื่อนมีน้อยลงส่วนใหญ่เป็นคนรู้ใหม่กลุ่มเล็กๆ น่าจะทำความเข้าใจได้
ทั้งนี้ ตามที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้ดำเนินการจัดทำประชาพิจารณ์โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทนั้น ขณะนี้รัฐบาลเตรียมดำเนินการตามคำสั่งศาล ซึ่งก็เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้มีการศึกษาประเมินผลกระทบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนและกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 67 วรรค 2
ทั้งนี้ จะดำเนินการจัดทำประชาพิจารณ์ในราวสัปดาห์ที่ 2ของเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ รวม 39 จังหวัด ซึ่งรวมจังหวัดพะเยาด้วย ทั้งนี้ดำเนินการโดยสถาบันทางการศึกษา 3 แห่ง ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 3 เดือน จากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลปรับแผนงานในโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทต่อไป