xs
xsm
sm
md
lg

ปัญหาการล้างพิษตับที่ "ผู้หญิง" มีข้อควรระวังมากกว่า "ผู้ชาย" (ตอนที่ 1) : ฮอร์โมนเพศสำคัญไฉน?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

เมื่อศึกษาการล้างพิษตับในประเทศไทย ก็พบข้อมูลชิ้นหนึ่งที่มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย ก็คือ "อาการปะทุพิษที่รุนแรง" เช่น มีผื่นขึ้นรุนแรง มีน้ำเหลืองออกมาตามร่างกายจำนวนมาก ผิวหนังแห้งแตกจนมีบาดแผลเกิดขึ้นตามร่างกาย ฯลฯ แม้อาการนี้จะไม่ได้พบบ่อยนัก แต่ในจำนวนที่พบอาการดังกล่าวนั้นส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเกิดในผู้หญิงมากว่าผู้ชายที่เข้าหลักสูตรล้างพิษตับ

ผู้หญิงเหล่านี้มักจะมีประวัติพื้นฐานที่คล้ายคลึงกันก่อนเข้าหลักสูตร เช่น ดื่มนมวัว หรือผลิตภัณฑ์จากนมวัวมาก มีการใช้ยาแก้อักเสบเป็นประจำ ใช้ยากดภูมิประเภทสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ฯลฯ
แต่ผมเองเดิมก็ยังไม่ได้ตามหาเหตุผลว่าทำไมอาการปะทุพิษรุนแรงถึงได้เกิดขึ้นกับแต่ผู้หญิง

เมื่อศึกษาและตามหาข้อเท็จจริงทั้งจากการอ่านและสอบถามผู้รู้ ก็พอจะปะติดปะต่อกันได้จากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นเพราะความแตกต่างระหว่าง "ฮอร์โมน" และ "อัตราการเผาผลาญอาหารเป็นพลังงาน" ในร่างกายของ "ผู้หญิง" กับ "ผู้ชาย"ที่ไม่เหมือนกัน

จากงานวิจัยค้นคว้าที่มีชื่อว่า "Factors Affecting the Storage and Excretion of Toxic Lipophilic Xenobiotics" แปลเป็นไทยก็คือ "ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสะสมและการขับถ่ายออกของสารพิษจากภายนอกที่ละลายในไขมัน" ซึ่งจัดทำโดย Ronal J. Jandacek และ Practick Tso จากภาควิชาพยาธิวิทยา มหาวิทยาลัยแห่งซินซิเนติ เมืองซินซิเนติ มลรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์เมื่อ ปี พ.ศ. 2544 ทำให้เรารู้ได้ว่าสารพิษจากยาฆ่าแมลง สารพิษจากขยะโรงงานอุตสาหกรรมที่ปนเปื้อนในอาหารนั้นสามารถละลายอยู่ในไขมัน ดังนั้นในระหว่างการอดอาหารร่างกายเราจะนำไขมันมาเผาผลาญ (metabolism)เพื่อผลิตเป็นพลังงาน ผลก็คือทำให้สารพิษที่ละลายในไขมันสามารถลดลงไปด้วย

ดังนั้นเพียงแค่เราอดอาหารได้ ก็เป็นจุดเริ่มที่จะละลายสารพิษไขมันได้แล้ว !!!

แต่ก็ใช่ว่าร่างกายเราจะสามารถทำการเผาผลาญไขมันให้มาเป็นพลังงานในระหว่างการอดอาหารของแต่ละคนได้เหมือนกัน
ภาพที่ 1 กราฟค่าเฉลี่ย การเพิ่มขึ้นของระดับคอสเตอรอลระหว่าง 3 วันในช่วงเวลาอดอาหาร (การสำรวจโดยนายแพทย์ Norman Ende ภาควิชาพยาธิวิทยา มหาวิทยาลัย แวนเดอร์บิลท์  เมืองแนชวิลล์ มลรัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา)
นิตยสาร American Journal of Clinical Nutrition ฉบับที่ 11 ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2505 ของนายแพทย์ Norman Ende ภาควิชาพยาธิวิทยา มหาวิทยาลัย แวนเดอร์บิลท์ เมืองแนชวิลล์ มลรัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการอดอาหารติดต่อกันเกิน 72 ชั่วโมง แต่เป็นการศึกษาที่สรุปเอาไว้ว่าระหว่างการอดอาหารคอเลสเตอรอล (ไขมันชนิดเลว)และไตรกลีเซอไรด์ในเส้นเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น (ยกเว้นคนที่เป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว) หมายความว่าระหว่างการอดอาหารร่างกายเราจะดึงไขมันที่อยู่ในระดับเซลล์ออกมาใช้เพื่อผลิตเป็นพลังงานโดยลำเลียงผ่านหลอดเลือดในร่างกายเรา และเมื่อเราเลิกอดอาหารระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ก็จะทยอยลดลงไปตามลำดับ และตามสภาพร่างกายของแต่ละคน

ผู้หญิงโดยทั่วไปจะมีอัตราการเผาผลาญต่ำกว่าผู้ชาย นั่นหมายความว่าผู้หญิงมีโอกาสที่จะเผาผลาญไขมันรวมถึงสารพิษได้ช้ากว่าผู้ชาย !!!

เหตุผลก็เพราะผู้หญิงมีฮอร์โมนเพศสำคัญที่เรียกว่า "โปรเจสเตอโรน" (Progesterone) กับ "เอสโตรเจน" (Estrogen) ถ้าฮอร์โมนเอสโตรเจนมีความไม่สมดุลกับโปรเจสเตอโรน โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงโดดเด่นกว่าฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เอสโตรเจนที่โดดเด่นนี้เองจะไปทำหน้าที่ในการกดธัยรอยด์ฮอร์โมนให้ต่ำลง ซึ่งจะส่งผลทำให้อัตราการเผาผลาญสารอาหารหรือไขมันสะสมให้ผลิตมาเป็นพลังงานนั้นลดต่ำลงด้วย


การเผาผลาญสารอาหารหรือไขมันสะสมให้เป็นพลังงานที่ต่ำอันเนื่องมาจากธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำในผู้หญิง เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่โดดเกินสมดุลกับโปรเจสเตอโรน จึงทำให้ผู้หญิงอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชาย มีไขมันในเส้นเลือดได้ง่ายกว่าผู้ชาย แม้บางครั้งจะรับประทานอาหารน้อยกว่าผู้ชายก็ตาม

อาการของผู้หญิงทีเกิดภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำแฝงเกิดขึ้นง่ายในยุคนี้ เรียกให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เมื่อระบบการเผาผลาญไม่ดี พลังงานก็เกิดน้อย จึงเกิดอาการได้หลายอย่าง เช่น หนาวง่าย มือเท้าเย็น บวมที่ข้อมือ เปลือกตาบวมโดยเฉพาะช่วงเวลาตื่นนอน ชาตามปลายมือ เกิดพังผืดรัดข้อมือ ปวดข้อ ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมามาก เป็นหวัดบ่อย ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจบ่อยๆ ท้องผูก (เพราะลำไส้เคลื่อนตัวช้า) เกิดอาการซึมเศร้าและมีปัญหาอารมณ์ที่ไม่แจ่มใส นอนไม่ค่อยหลับ อ้วนง่ายหรือคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเพราะเผาผลาญได้ต่ำ ปวดหัวหรือมีอาการปวดหัวไมเกรนช่วงมีประจำเดือน หรือปวดหัวจากที่ท้องผูกและอาหารหมักหมมในลำไส้มาก ผิวหนังแห้ง มีสิว ผื่นขึ้น ลมพิษขึ้น สะเก็ดเงิน ผมร่วง ปกติหัวใจเต้นช้าผิดปกติ บางกรณีหัวใจเต้นเร็วผิดปกติเพราะร่างกายหลั่งฮอร์โมนแอดดรีนาลินมาช่วยการทำงานแทนธัยรอยด์ฮอร์โมน เมื่อเป็นนานเข้าอาจะเกิดอาหารลิ้นหัวใจรั่วได้ ฯลฯ

ถามว่าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และเป็นกับผู้หญิงจำนวนมาก คำตอบนี้ นายแพทย์เปี่ยมโชค ชลิดาพงศ์ ได้กรุณารวบรวมเอาไว้ในหนังสือชื่อ ทำไมคุณถึงป่วย? (เล่ม 2) โดยได้สรุปสาเหตุของภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ดังต่อไปนี้

1.ตามรายงานของ ดร.ลิต้า ลี จากมลรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา พบว่า เกิดจาก "คลื่นรังสี" จากเครื่องไฟฟ้าทั้งหมด เช่น โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์มือถือ ไอแพด คอมพิวเตอร์ สายไฟฟ้าแรงสูง ตู้เย็น เตาอบไมโครเวฟ (ดังนั้น ควรอยู่ห่างจากเครื่องไฟฟ้าเหล่านี้เท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเฉพาะพวกนอนกอดพร้อมกับไอแพดที่ชาร์ตแบตเตอรี่ทั้งหลาย)
2.กินผลิตภัณฑ์ที่มีถั่วเหลืองมากไป (รวมน้ำเต้าหู้) ซึ่งมีสารต้านธัยรอยด์
3. กินหวานทุกชนิดมากเกินไป (เช่น น้ำหวาน, น้ำอัดลม, ผลไม้หวาน, น้ำผลไม้หวาน)
4. มีเอสโตรเจนจากภายนอกมากเกินไป เช่น ยาคุม ยาแก้สิวบางชนิด ยาฮอร์โมนวัยทอง รวมถึงสารพิษที่เข้าสู่ร่างกายแล้วออกฤทธิ์ที่มีเอสโตรเจนมากเกินไป เช่น น้ำยากฟอกสี น้ำยาขัดเบาะ ฯลฯ
5.รับประทานอาหารที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนจากสัตว์ ได้แก่ เนื้อสัตว์ นมวัว นมแพะ ไข่ไก่ ไข่เป็ด
6.กินไขมันมากไป เพราะไขมันโดยตรงจะต้านการทำงานของธัยรอยด์ (ตรงนี้สำคัญ เพราะเชื่อมโยงกับการดื่มน้ำมันมะกอกเพื่อล้างพิษตับด้วย)

7.แร่ธาตุไอโอดีมากเกินไป จะทำให้เป็นทั้งธัยรอยด์เป็นพิษและธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำได้ทั้งคู่
8.มีโลหะหนักบางชนิด เช่น ปรอท (ที่ผสมอยู่ในที่อุดฟันสีเงิน)
9.รับประทานพืชบางชนิดที่ต้านธัยรอยด์เพราะไม่ผ่านความร้อนมาก่อน เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ บล็อคโคลี ผักเหล่านี้ไม่ควรกินสด ควรจะต้องผ่านความร้อนก่อน
แต่จากการศึกษาผมกลับเห็นว่ายังมีความจำเป็นต้องระบุอีก 3 สาเหตุเพิ่มเติมที่ทำให้เกิดภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำ อันจะเป็นการเชื่อมโยงกับการล้างพิษตับด้วยคือ

10.เกิดภาวะเครียดบ่อยๆ และนานเกินไป
11.อดอาหารบ่อยๆและนานเกินไป
12.อดนอนหรือนอนดึก และนอนน้อยเกินไป


ซึ่งใน 3 ประการหลังนี้ กลุ่มฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์จะมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะฮอร์โมนที่สำคัญในกลุ่มนี้ซึ่งก็คือ ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งผลิตมาจากต่อมหมวกไต โดยในระหว่างการอดอาหารนี้กลูโคคอร์ติคอยด์ได้ชื่อว่าเป็นฮอร์โมนแห่งการอดอาหาร (hormone of starvation) จะกระตุ้นเซลล์ตับให้เปลี่ยนกรดไขมันและกรดอะมิโนบางตัวเป็นกลูโคส และเก็บสะสมไว้ในรูปของไกลโคเจน (gluconeogenesis) เรียกว่า กลูโคส สแปริ่ง เอฟเฟ็ก (glucose – sparing effect) ซึ่งเป็นขบวนการที่สำคัญ เพราะจะมีผลในการเผื่อน้ำตาลกลูโคสไว้ให้สมองใช้งานได้ตลอดเวลา

เมื่อปี พ.ศ. 2551 งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเซนต์ หลุยส์ มลรัฐมิซูรี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุอย่างชัดเจนว่าในการจำกัดปริมาณแคลอรี่ในอาหารที่เรากินนั้น จะเป็นผลทำให้การผลิตธัยรอยด์ฮอร์โมน T3 ต่ำลง ซึ่งจะเป็นผลทำให้อัตราการเผาผลาญต่ำลงไปด้วย ดังนั้นถ้าอดอาหารเป็นช่วงๆนานเกินไป แล้วกลับไปกินในปริมาณเท่าเดิมก็อาจจะอ้วนขึ้นกว่าเดิม หรือไขมันในเส้นเลือดมากกว่าเดิมได้

เช่นเดียวกับภาวะเครียดมากๆ หรือนอนน้อย ฮอร์โมนคอร์ติซอล ก็จะพยายามต้านความเครียด ทำหน้าที่ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตาลกลูโคสเช่นกัน หรือทำให้เรามีความต้องการอยากรับประทานหวานหรือแป้งและน้ำตาลเพื่อต้านกับภาวะความเครียด ถ้าร่างกายเกิดภาวะที่ต้องผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลนี้บ่อยๆ นานๆ ต่อมหมวกไตก็อาจจะเกิดอาการล้าได้

และเรื่องนี้มาเกี่ยวกับการล้างพิษตับก็ตรงที่ว่า หากคนที่มีภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำอยู่แล้ว และมาอดอาหารนานๆ หรือเลวร้ายกว่านั้นมีภาวะเครียดในระหว่างการอดอาหารร่วมด้วย เมื่อต่อมหมวกไตเกิดอาการล้าจากการผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลไม่เพียงพอ ในร่างกายผู้หญิงจะนำฮอร์โมนเพศ "โปรเจสเตอโรน" มาช่วยทำงานแทนฮอร์โมนคอร์ติซอล

ผลก็คือผู้หญิงคนนั้นจะมีโปรเจสเตอโรนลดลง และทำให้เอสโตรเจนสูงขึ้น จนถึงขั้นไม่สมดุล จนถึงขั้นเกิดภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำลงไปอีก
การเผาผลาญก็จะน้อยลงไปอีก ส่งผลก็คือในกรณีเช่นนี้ยิ่งล้างพิษตับ ยิ่งอดอาหาร แต่กลับยิ่งอ้วนหรือยิ่งมีไขมันในเส้นเลือดสูงขึ้นแม้เวลาผ่านไปหลังล้างพิษตับไปแล้ว 1-2 เดือนก็ตาม หรือเมื่อล้างไปแล้วปรากฏว่าไม่สามารถเผาผลาญสารพิษที่ออกมาจากการล้างพิษตับได้ เพราะลำไส้เคลื่อนตัวช้าและเกิดการดูดกลับในระหว่างการล้างพิษมากกว่าการขับถ่ายออกเมื่อการเผาผลาญในร่างกายต่ำ จึงทำให้เกิดอาการผื่นแพ้ได้ง่ายกว่าเดิมได้ด้วย

ดังนั้นถ้าคนที่มีพฤติกรรมและอาการดังกล่าวข้างต้น และถ้าวัดอุณหภูมิตอนเช้าใต้ลิ้น หากได้ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 36.4 องศาเซลเซียส ตลอดระยะเวลา 5 วัน ต้องตระหนักว่าอาจมีความเสี่ยงภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำแฝงเกิดขึ้นแล้ว !!!

ในทัศนะของผมส่วนตัวจึงเสนอว่า คนที่เป็นภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำแฝงอยู่แล้ว ไม่ควรอดอาหารยาวๆ และไม่ควรดื่มน้ำมันมะกอกในปริมาณมากๆ หรือดื่มหลายๆแก้วในการล้างพิษตับรอบเดียว ไม่เช่นนั้นก็จะมีความเสี่ยงในการปะทุพิษอย่างรุนแรงและอันตรายอย่างมาก เพราะเห็นมาหลายรายแล้วจริงๆ !!!



กำลังโหลดความคิดเห็น