“คมนาคม”สรุปข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ 11 ประเด็น เสนอครม.พิจารณา เดินหน้าท่าเรือปากบาราเฟสแรก ด้านกรมเจ้าท่าตั้งงบ 110 ลบ.ศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพ(EHIA) เพิ่ม คาดใน 2 ปีเสร็จ ก่อสร้างปี 59
นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล วงเงินลงทุนประมาณ 11,786.76 ล้านบาท ว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้ประชุมร่วมกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมเจ้าท่า (จท.) กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อหารือถึงข้อเสนอข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาฯ รวม 11 ประเด็น โดยจะสรุปข้อมูลทั้งหมด เสนอต่อสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีภายในวันที่ 30 ก.ค.นี้ ก่อนจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ ประเด็นที่สำคัญที่สุดของข้อเสนอคือ ต้องการให้โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ระยะที่ 1 ศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับด้านสุขภาพ หรือ EHIA ซึ่งขณะนี้กรมเจ้าท่าอยู่ระหว่างการของบประมาณจากพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อนำมาศึกษาผลกระทบดังกล่าว ในวงเงิน 110 ล้านบาท นอกจากนี้ประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่มีการเสนอเช่น ต้องการให้มีการแต่งตั้งหน่วยงานหลักเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการพัฒนาโครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบาราอย่างเป็นรูปธรรม โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลและบูรณะการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง,จะต้องมีการเปิดโอกาสให้กับภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ,จะต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการก่อสร้างนิคมอุสาหกรรมหนัก
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาโครงการได้ผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)แล้ว แต่ความเห็นของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ต้องการให้ศึกษาEHIA โดยจะต้องใช้ระยะเวลาศึกษาประมาณ 2 ปี ซึ่งหากผลการศึกษาได้ข้อสรุปออกมาไม่มีผลกระทบก็จะนำเสนอต่อครม.เพื่อพิจารณาโครงการก่อสร้างต่อไป คาดว่าจะเป็นไปตามแผนโดยจะเริ่มก่อสร้างในระยะแรก ในปี 2559
โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี ซึ่งแผนพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวนั้นมีแผนกำหนดถึงเฟส 3 โดยเป็นแผนก่อสร้างในอนาคต
นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล วงเงินลงทุนประมาณ 11,786.76 ล้านบาท ว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้ประชุมร่วมกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมเจ้าท่า (จท.) กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อหารือถึงข้อเสนอข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาฯ รวม 11 ประเด็น โดยจะสรุปข้อมูลทั้งหมด เสนอต่อสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีภายในวันที่ 30 ก.ค.นี้ ก่อนจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ ประเด็นที่สำคัญที่สุดของข้อเสนอคือ ต้องการให้โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ระยะที่ 1 ศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับด้านสุขภาพ หรือ EHIA ซึ่งขณะนี้กรมเจ้าท่าอยู่ระหว่างการของบประมาณจากพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อนำมาศึกษาผลกระทบดังกล่าว ในวงเงิน 110 ล้านบาท นอกจากนี้ประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่มีการเสนอเช่น ต้องการให้มีการแต่งตั้งหน่วยงานหลักเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการพัฒนาโครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบาราอย่างเป็นรูปธรรม โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลและบูรณะการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง,จะต้องมีการเปิดโอกาสให้กับภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ,จะต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการก่อสร้างนิคมอุสาหกรรมหนัก
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาโครงการได้ผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)แล้ว แต่ความเห็นของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ต้องการให้ศึกษาEHIA โดยจะต้องใช้ระยะเวลาศึกษาประมาณ 2 ปี ซึ่งหากผลการศึกษาได้ข้อสรุปออกมาไม่มีผลกระทบก็จะนำเสนอต่อครม.เพื่อพิจารณาโครงการก่อสร้างต่อไป คาดว่าจะเป็นไปตามแผนโดยจะเริ่มก่อสร้างในระยะแรก ในปี 2559
โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี ซึ่งแผนพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวนั้นมีแผนกำหนดถึงเฟส 3 โดยเป็นแผนก่อสร้างในอนาคต