ASTVผู้จัดการรายวัน-มติ ป.ป.ช. 6 ต่อ 2 ฟัน "หมอเลี๊ยบ" สมัยนั่งไอซีที พ่วงอีดตปลัดกระทรวงและผอ.สำนักอวกาศ ผิด ม.157 ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ เซ็นแก้สัญญาดาวเทียมเอื้อชินคอร์ป ตามที่ คตส.ฟ้องเมื่อปี 51 ชงเล่นโทษวินัยร้ายแรง พร้อมส่งอัยการสูงสุด ฟ้องศาลฎีกาแผนคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (17 ก.ค.) เว็บไซต์ ป.ป.ช. ได้เผยแพร่มติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันอังคารที่ 16 ก.ค.2556 ระบุว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาเรื่องกล่าวหา น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กับพวก อนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (ฉบับที่ 5) เพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ต้องถือ ในบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) จากไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยมิชอบ
โดยที่ประชุมได้มีมติ 6 ต่อ 2 เสียงว่า การกระทำของนายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 และนายไกรสร พรสุธี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงไอซีที ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ได้เสนอความเห็นให้มีการอนุมัติแก้ไขสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (ฉบับที่ 5) ให้ลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยทราบดีอยู่แล้วว่า เหตุที่บริษัทขอลดสัดส่วนการถือหุ้น เพื่อต้องการหาพันธมิตรขยายศักยภาพในการแข่งขันให้มีความเข้มแข็งและมีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินการโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์
การกระทำของน.พ.สุรพงษ์ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ที่ได้อนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทานฯ ดังกล่าว จึงมีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ส่วนนายไกรสร และนายไชยยันต์ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 และ 3 ยังมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 ด้วย
ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาโทษทางวินัยกับผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 และผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 92 และส่งไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการฟ้องผู้ถูกกล่าวหา ที่ 1, ที่ 2 และที่ 3 ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 70 ประกอบพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 10
สำหรับคดีดังกล่าว คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการ เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2551 โดยมีผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 3 คน ประกอบด้วย 1.นพ.สุรพงษ์ 2.นายไกรสร 3.นายไชยยันต์ และกรณีดังกล่าวศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาตามคดีหมายเลขดำที่ อม.1/2551 และคดีหมายเลขแดงที่ อม.1/2553 เมื่อวันที่ 26 ก.พ.2553 ว่าการอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานลดสัดส่วนการถือครองหุ้นโดยไม่ได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เป็นการอนุมัติโดยมิชอบและเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทชินคอร์ปฯ ผู้รับสัมปทาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (17 ก.ค.) เว็บไซต์ ป.ป.ช. ได้เผยแพร่มติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันอังคารที่ 16 ก.ค.2556 ระบุว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาเรื่องกล่าวหา น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กับพวก อนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (ฉบับที่ 5) เพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ต้องถือ ในบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) จากไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยมิชอบ
โดยที่ประชุมได้มีมติ 6 ต่อ 2 เสียงว่า การกระทำของนายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 และนายไกรสร พรสุธี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงไอซีที ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ได้เสนอความเห็นให้มีการอนุมัติแก้ไขสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (ฉบับที่ 5) ให้ลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยทราบดีอยู่แล้วว่า เหตุที่บริษัทขอลดสัดส่วนการถือหุ้น เพื่อต้องการหาพันธมิตรขยายศักยภาพในการแข่งขันให้มีความเข้มแข็งและมีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินการโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์
การกระทำของน.พ.สุรพงษ์ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ที่ได้อนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทานฯ ดังกล่าว จึงมีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ส่วนนายไกรสร และนายไชยยันต์ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 และ 3 ยังมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 ด้วย
ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาโทษทางวินัยกับผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 และผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 92 และส่งไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการฟ้องผู้ถูกกล่าวหา ที่ 1, ที่ 2 และที่ 3 ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 70 ประกอบพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 10
สำหรับคดีดังกล่าว คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการ เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2551 โดยมีผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 3 คน ประกอบด้วย 1.นพ.สุรพงษ์ 2.นายไกรสร 3.นายไชยยันต์ และกรณีดังกล่าวศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาตามคดีหมายเลขดำที่ อม.1/2551 และคดีหมายเลขแดงที่ อม.1/2553 เมื่อวันที่ 26 ก.พ.2553 ว่าการอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานลดสัดส่วนการถือครองหุ้นโดยไม่ได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เป็นการอนุมัติโดยมิชอบและเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทชินคอร์ปฯ ผู้รับสัมปทาน