ดร.พิทยากร ลิ่มทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์ดินและน้ำ กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้คิดค้นสูตรปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงขึ้น เพื่อที่จะให้เกษตรกรนำเอาสูตรไปใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเป็นปุ๋ยที่ได้จากการหมักวัสดุธรรมชาติที่มีปริมาณธาตุอาหารหลักของพืชสูง ซึ่งเกิดจากจุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์และแปรสภาพธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
สำหรับขั้นตอนการผลิตจะเหมือนกับการทำปุ๋ยหมักแต่จะพิถีพิถันมากขึ้น เกษตรกรต้องสำรวจก่อนว่า ในพื้นที่มีวัสดุอะไรบ้าง จากนั้นหาอัตราส่วนที่เหมาะสม สำหรับสูตรที่ทางกรมพัฒนาที่ดินได้กำหนดไว้ สำหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 100 กก. จะมีกากถั่วเหลือง 40 กก. รำละเอียด 10 กก. มูลสัตว์ 10 กก. หินฟอสเฟต 24 กก. กระดูกป่น 8 กก. มูลค้างคาว 8 กก. นำส่วนผสมหมักไว้ประมาณ9-12วัน จากนั้นใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 พด.3 และสารเร่ง พด.9อย่างละ 1 ซอง สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่ขยายเชื้อในกากน้ำตาล จำนวน 26 ลิตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักต่ออีก 3 วัน จะได้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรตัสเซียม อยู่ในระดับ 1: 2.5: 1 ถ้าเกษตรกรมีพื้นที่ 1ไร่ จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงประมาณ 200-400 กก. ซึ่งใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าปุ๋ยอินทรีย์ทั่วไป
“ เราคาดหวังว่าในอนาคตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจะสามารถทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้ เพราะจากผลการทดลองได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เช่น กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านแหลมดิน หมู่ 5 ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร ได้นำสูตรปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงไปพัฒนาต่อยอด โดยใช้กับพืชประเภทต่างๆ เช่น ยางพารา ปาล์ม ทุเรียน ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ส่วนเรื่องความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจะมีต้นทุนการผลิตถูกกว่าการซื้อปุ๋ยเคมีมาใช้ เมื่อเทียบในอัตราข้างต้น ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าพอใจ นอกจากนี้ดินก็ได้รับการปรับปรุงเพราะมีการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินด้วย” ดร.พิทยากรกล่าว
ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงมีคุณสมบัติเด่นคือ เป็นแหล่งธาตุอาหารหลักที่มีความเพียงพอต่อความต้องการของพืชในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต เป็นแหล่งธาตุอาหารรองและจุลธาตุแก่พืช มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดินและพืช การปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชแบบช้าๆ ทำให้ลดการสูญเสียธาตุอาหาร จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเกษตรกรนำไปใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี อีกทั้งยังสามารถผลิตใช้เองได้ง่ายด้วย
สำหรับเกษตรกรที่สนใจการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่สำนักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กทม 10900 โทร.0-2579-2875 หรือ call center 1760 และwww.ldd.go.th
สำหรับขั้นตอนการผลิตจะเหมือนกับการทำปุ๋ยหมักแต่จะพิถีพิถันมากขึ้น เกษตรกรต้องสำรวจก่อนว่า ในพื้นที่มีวัสดุอะไรบ้าง จากนั้นหาอัตราส่วนที่เหมาะสม สำหรับสูตรที่ทางกรมพัฒนาที่ดินได้กำหนดไว้ สำหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 100 กก. จะมีกากถั่วเหลือง 40 กก. รำละเอียด 10 กก. มูลสัตว์ 10 กก. หินฟอสเฟต 24 กก. กระดูกป่น 8 กก. มูลค้างคาว 8 กก. นำส่วนผสมหมักไว้ประมาณ9-12วัน จากนั้นใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 พด.3 และสารเร่ง พด.9อย่างละ 1 ซอง สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่ขยายเชื้อในกากน้ำตาล จำนวน 26 ลิตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักต่ออีก 3 วัน จะได้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรตัสเซียม อยู่ในระดับ 1: 2.5: 1 ถ้าเกษตรกรมีพื้นที่ 1ไร่ จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงประมาณ 200-400 กก. ซึ่งใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าปุ๋ยอินทรีย์ทั่วไป
“ เราคาดหวังว่าในอนาคตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจะสามารถทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้ เพราะจากผลการทดลองได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เช่น กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านแหลมดิน หมู่ 5 ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร ได้นำสูตรปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงไปพัฒนาต่อยอด โดยใช้กับพืชประเภทต่างๆ เช่น ยางพารา ปาล์ม ทุเรียน ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ส่วนเรื่องความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจะมีต้นทุนการผลิตถูกกว่าการซื้อปุ๋ยเคมีมาใช้ เมื่อเทียบในอัตราข้างต้น ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าพอใจ นอกจากนี้ดินก็ได้รับการปรับปรุงเพราะมีการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินด้วย” ดร.พิทยากรกล่าว
ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงมีคุณสมบัติเด่นคือ เป็นแหล่งธาตุอาหารหลักที่มีความเพียงพอต่อความต้องการของพืชในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต เป็นแหล่งธาตุอาหารรองและจุลธาตุแก่พืช มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดินและพืช การปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชแบบช้าๆ ทำให้ลดการสูญเสียธาตุอาหาร จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเกษตรกรนำไปใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี อีกทั้งยังสามารถผลิตใช้เองได้ง่ายด้วย
สำหรับเกษตรกรที่สนใจการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่สำนักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กทม 10900 โทร.0-2579-2875 หรือ call center 1760 และwww.ldd.go.th