นายวีรวัฒน์ ชื่นวารินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวว่า คนอำนาจเจริญมีต้นทุนการทำเกษตรอินทรีย์อยู่แล้ว และได้มีโอกาสประชุมร่วมกับกลุ่มจังหวัด นครราชสีมา ยโสธร ศรีษะเกษ และอำนาจเจริญ ภาพรวม 4 จังหวัด ได้ยกเรื่องศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน ข้าวอินทรีย์ หารือในกลุ่มจังหวัด ซึ่งจะมีงบประมาณมาพัฒนาศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวขึ้น 20 ศูนย์ ซึ่งต้องใช้ฐานชุมชน เป็นจุดปฏิบัติการ โดยจะสนับสนุนจุดที่ทำอยู่แล้วในพื้นที่โดยเฉพาะเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ซึ่งนอกจากเรื่องเมล็ดพันธุ์ สิ่งที่ชาวบ้านต้องคำนึงถึงด้วยคือเรื่องมาตรฐาน ที่ต้องได้รับการยอมรับทางวิชาการ ยกระดับเมล็ดพันธุ์ให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ
นายวิรัตน์ สุขกุล เลขานุการสภากลางจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวว่า การมุ่งสู่เมืองธรรมเกษตร ชุมชนที่พิจารณาร่วมกันแล้วพบว่า ยังขาดในเรื่องพันธุ์ข้าว และจากการเก็บข้อมูลทำให้พบว่า คนอำนาจเจริญมีเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งผลของการประชุมสภากลางวันนี้ทำให้เกิดการตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบจากปราชญ์ผู้รู้ 2 คน เจ้าของศูนย์เรียนรู้ 3 คน องค์กรเกษตรกร 1 คน หน่วยงานด้านเกษตร 2 คน จาก ม.มหิดล 1 คน และประชาสัมพันธ์จังหวัด 1 คนเพื่อเคลื่อนเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าว และเรื่องคุณภาพมาตรฐานของข้าว
ผศ.ดร.บัญชร แก้วส่อง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยท้องถิ่น สกว. กล่าวว่า ที่ผ่านมาคนอำนาจเจริญไม่มีอำนาจอะไร ทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ก็ถูกคนอื่นจัดการ จึงต้องค้นหาอำนาจให้ตนเอง ซึ่งการวิจัย การค้นหาความรู้ จะสามารถทำให้มีอำนาจในการควบคุมพันธุ์พืช และสัตว์ได้ เพราะปัจจุบันกลุ่มทุนจัดการให้โดยมาพร้อมทั้งปุ๋ยและยา ถ้าเรารักษาพันธุ์ข้าว พันธุ์ผัก พันธุ์สัตว์ไว้ได้ เราจะกำหนดอนาคตตนเองได้ดีขึ้น แต่ต้องค้นและพัฒนาขึ้นมาเอง
ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยท้องถิ่น สกว. กล่าวว่า สำหรับการวิจัย อาจเริ่มจากเรื่องผักพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง ค้นหาให้พบว่ามีพันธุ์ผัก พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ว่ามีอะไรที่ดี มีอาหารดีๆ อะไร และจะฟื้นขึ้นมาได้อย่างไร ในแง่ของการวิจัยเป็นการเอาผักพื้นบ้านอาหารพื้นเมืองมาสร้างพลังชาวบ้าน เป็นเงื่อนไขให้ไทอำนาจฯ มาร่วมกันและพัฒนาไปสู่เรื่องต่างๆ ได้
นายวิรัตน์ สุขกุล เลขานุการสภากลางจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวว่า การมุ่งสู่เมืองธรรมเกษตร ชุมชนที่พิจารณาร่วมกันแล้วพบว่า ยังขาดในเรื่องพันธุ์ข้าว และจากการเก็บข้อมูลทำให้พบว่า คนอำนาจเจริญมีเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งผลของการประชุมสภากลางวันนี้ทำให้เกิดการตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบจากปราชญ์ผู้รู้ 2 คน เจ้าของศูนย์เรียนรู้ 3 คน องค์กรเกษตรกร 1 คน หน่วยงานด้านเกษตร 2 คน จาก ม.มหิดล 1 คน และประชาสัมพันธ์จังหวัด 1 คนเพื่อเคลื่อนเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าว และเรื่องคุณภาพมาตรฐานของข้าว
ผศ.ดร.บัญชร แก้วส่อง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยท้องถิ่น สกว. กล่าวว่า ที่ผ่านมาคนอำนาจเจริญไม่มีอำนาจอะไร ทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ก็ถูกคนอื่นจัดการ จึงต้องค้นหาอำนาจให้ตนเอง ซึ่งการวิจัย การค้นหาความรู้ จะสามารถทำให้มีอำนาจในการควบคุมพันธุ์พืช และสัตว์ได้ เพราะปัจจุบันกลุ่มทุนจัดการให้โดยมาพร้อมทั้งปุ๋ยและยา ถ้าเรารักษาพันธุ์ข้าว พันธุ์ผัก พันธุ์สัตว์ไว้ได้ เราจะกำหนดอนาคตตนเองได้ดีขึ้น แต่ต้องค้นและพัฒนาขึ้นมาเอง
ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยท้องถิ่น สกว. กล่าวว่า สำหรับการวิจัย อาจเริ่มจากเรื่องผักพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง ค้นหาให้พบว่ามีพันธุ์ผัก พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ว่ามีอะไรที่ดี มีอาหารดีๆ อะไร และจะฟื้นขึ้นมาได้อย่างไร ในแง่ของการวิจัยเป็นการเอาผักพื้นบ้านอาหารพื้นเมืองมาสร้างพลังชาวบ้าน เป็นเงื่อนไขให้ไทอำนาจฯ มาร่วมกันและพัฒนาไปสู่เรื่องต่างๆ ได้