โพลชี้ประชาชน 73 % ไม่เชื่อ “ปู”แก้คอร์รัปชั่นได้ พร้อมระบุปัญหาจากโครงการรับจำนำข้าว ตัวฉุดคะแนนนิยมรัฐบาลลดวูบ ด้าน กมธ.ส่งเสริมราคาผลิตผลเกษตรฯ จี้กรมอนามัย-กรมวิชาการเกษตร ออกมารับรองคุณภาพข้าวสารในท้องตลาด หลังมีข่าวสารพิษตกค้าง โวยกรมการค้าต่างประเทศบอกขายข้าวแบบ "จีทูจี" แต่ถามข้อมูลรายละเอียด ขายให้ใคร จำนวนเท่าใด ราคาเท่าไร ก็ตอบไม่ได้สักอย่าง
น.ส.ปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง“ความคิดเห็นของประชาชน ต่อแนวทางการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน”พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 73.5 คิดว่าการประกาศต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้ ในขณะที่ร้อยละ 26.5 คิดว่า ช่วยแก้ไขได้
เช่นเดียวกับ ตัวอย่างเกือบ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 65.8 คิดว่า รัฐสภาไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันได้ ในขณะที่ร้อยละ 34.2 คิดว่าช่วยแก้ไขได้ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่ง หรือร้อยละ 51.2 คิดว่าองค์กรอิสระ ก็ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันได้ ในขณะที่ ร้อยละ 48.8 คิดว่าช่วยแก้ไขได้ รวมทั้งกลุ่มตัวอย่างส่วนมากหรือร้อยละ 57.1 คิดว่า ผู้ใหญ่ชนชั้นนำในสังคม ไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันได้ ในขณะที่ ร้อยละ 42.9 คิดว่า ช่วยแก้ไขได้
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 78.5 คิดว่าการทำรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาลก็ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้ ในขณะที่ร้อยละ 21.5 คิดว่าช่วยแก้ไขได้ รวมทั้งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 80.3 คิดว่า การชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาล ก็ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้เช่นกัน มีเพียงร้อยละ 19.7 เท่านั้น ที่คิดว่าช่วยแก้ไขได้
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนมากหรือร้อยละ 59.0 คิดว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้ ในขณะที่ ร้อยละ 41.0 คิดว่าช่วยแก้ไขได้
น.ส.ปุณฑรีก์ กล่าวด้วยว่า ที่น่าพิจารณาคือ มีเพียงประเด็นเดียวที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 58.8 คิดว่า สามารถช่วยแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้ คือ การประกาศการใช้จ่ายงบประมาณให้คนทั้งประเทศรู้ว่า รัฐบาลใช้จ่ายเงินกระจายไปให้ใคร องค์กรใด บริษัทใด เพื่อประชาชนทั้งประเทศจะได้ช่วยกันตรวจสอบในรายละเอียด ในขณะที่ร้อยละ 41.2 คิดว่า วิธีนี้ก็ไม่สามารถช่วยแก้ไขได้
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วยกับการประกาศการใช้จ่ายงบประมาณให้คนทั้งประเทศรู้ ถึงสาเหตุของรัฐบาลที่ไม่ติดประกาศการใช้จ่ายงบประมาณให้คนทั้งประเทศรู้ทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่คิดว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้นั้น พบว่า อันดับแรก ร้อยละ 50.8 ระบุ ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมรัฐบาลไม่เปิดเผย รองลงมาได้แก่ ร้อยละ 33.7 ระบุ รัฐบาลกลัวถูกตรวจสอบ ร้อยละ 13.5 ระบุนักการเมืองกลัวเสียผลประโยชน์ และร้อยละ 2.0 ระบุสาเหตุอื่นๆ อาทิ ประชาชนและสาธารณชนทั่วไปอ่อนแอ ไม่เข้มแข็งเพียงพอ/คนที่ต่อต้านโกงแท้จริงมีน้อยเกินไป เป็นต้น
**จำนำข้าวฉุดความนิยม“รัฐบาลปู”
หลังจากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บริหารประเทศเป็นเวลา 2 ปี และมีการปรับ ครม. มาแล้วถึง 5 ครั้ง จะเห็นได้ว่าผลงานและนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลที่ได้ทำหรือสัญญาไว้มีทั้งเรื่องที่ถูกอกถูกใจ และไม่ถูกอกถูกใจ ประชาชน รวมถึงความวิตกกังวลและความกลัวของคนไทยเกี่ยวกับการเมืองไทย เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นและใช้เป็นฐานข้อมูลในการดำเนินงานของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,449 คน ระหว่างวันที่ 9-13 ก.ค. 56 พบว่า 5 อันดับ “ความกังวล”/“ความกลัว”ของประชาชนต่อ “การเมืองไทย” ณ วันนี้ อันดับ 1 ความไม่สามัคคีและความขัดแย้งของนักการเมือง 35.63 % อันดับ 2 การทุจริตคอรัปชัน 31.49 % อันดับ 3 การแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา 13.81 % อันดับ 4 การปฏิวัติ รัฐประหาร 12.15 % อันดับ 5 สถานการณ์ทางการเมืองมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง 6.92%
ส่วน 5 อันดับ ผลงานของรัฐบาล ที่เข้าตาประชาชนและทำให้คะแนนนิยมดีขึ้น อันดับ 1 การขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ขึ้นค่าแรง 300 บาท 38.14 % อันดับ 2 การปราบปรามยาเสพติด 19.49 % อันดับ 3 การปรับราคาจำนำข้าวมาเป็น 15,000 บาท อีกครั้ง 16.95 % อันดับ 4 โครงการรถคันแรก 15.25% อันดับ 5 โครงการพัฒนาระบบขนส่ง รถไฟความเร็วสูง 10.17 %
สำหรับ 5 อันดับ ผลงานของรัฐบาล ที่ฉุดความนิยมของรัฐบาลให้ ลดลง อันดับ 1 โครงการจำนำข้าว 47.13 % อันดับ 2 การทุจริตคอรัปชันในโครงการต่างๆของรัฐ 14.56 % อันดับ 3 สินค้าแพง /ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบาก 13.79 % อันดับ 4 การแก้ปัญหาไฟใต้ 12.64 % อันดับ 5 โครงการกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาทที่ทำให้ประชาชนเป็นหนี้ 11.88 %
**จี้เอาผิดคนปล่อยข่าวข้าวเน่า
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี นพ.วรงด์เดช กิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ อ้างถึงกรณีข้อสงสัยเกี่ยวกับการทุจริตการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) อาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้คนใกล้ชิดรัฐบาลนั้น ถือเป็นการกล่าหากัน ขออย่าแต่งนิยายขายข่าวรายวัน ถ้า นพ.วรงค์ หรือสมาชิกประชาธิปัตย์ มีข้อมูลก็ไปยื่นร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ตรวจสอบ หรือนำมาอภิปรายไม่ไว้วางใจในเดือนส.ค. อย่าแต่งนิยายรายวัน เรื่องนี้กระทบภาพลักษณ์ประเทศไทยในสายตานานาชาติ อย่าดีแต่กล่าวหา ขอให้นำข้อมูลมาเลย ทั้งเราควรช่วยกันพิทักษ์ข้าวไทย ไม่ให้เกิดความเสียหาย
สำหรับกรณีพรรคประชาธิปัตย์เปิดเวทีผ่าความจริง กล่าวหารัฐบาลบอกว่าคนที่ล้มข้าวตัวจริงคือ พ.ต.ท.ทักษิณ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่คิดและประกาศนโยบายเรื่องจำนำข้าว เรื่องนี้ก็ไม่เป็นความจริง พรรคเพื่อไทยหาเสียง ทำนโยบาย รัฐบาลก็ดำเนินนโยบายจำนำข้าวมา 2 ปี ทำให้ชาวนาลืมตาอ้าปากได้ ขณะที่โครงการประกันราคาข้าวของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ กลับล้มเหลว เกิดการขาดทุน ชาวนาปิดถนนประท้วง สิ่งที่นายอภิสิทธิ์ พูดเป็นการกล่าวหา ปราศจากหลักฐาน การตั้งเวทีผ่าความจริงต้องบอกว่า มุกแป้ก ประชาชนไม่ตอบรับ เป็นฝ่ายค้านที่ยังก้าวไม่พ้น พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ตรวจสอบรัฐบาลอย่างสร้างสรรค์ ไม่เสนอแนวคิดแก้ปัญหา ไม่เคยใช้ผลงาน ใช้แต่วาทะ น้ำลาย ไม่เกิดประโยชน์ แม้กระทั่งผลโพลประชาชนยังสะท้อนออกมาว่า ไม่อยากให้ค้านทุกเรื่องอย่างไม่สร้างสรรค์
นายพร้อมพงศ์ กล่าวด้วยว่า การปล่อยข่าวว่าสหรัฐฯกักข้าวไทย และขบวนการปล่อยข่าวข้าวไทยมีสารพิษ มีสัตว์ต่างๆ ปลอมปน ถือเป็นการปล่อยข่าวแล้วขยายผลให้เป็นประเด็นการเมือง ทำให้กระทบทั้งผู้ประกอบการ ประเทศชาติ ชาวนา ถือเป็นบ่อนทำลายอุตสาหกรรมข้าวไทย สร้างความเสียหาย จึงขอเรียกร้องให้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ควรจะเอาผิดผู้ปล่อยข่าว เพื่อให้เป็นคดีตัวอย่าง ทั้งนี้ไม่อยากให้พี่น้องประชาชนที่ได้รับการฟอร์เวิร์ดเมล จากข่าวลวง ข่าวปล่อย อยากให้ตรวจสอบก่อน เพราะหากทำซ้ำแล้วก็อาจเข้าข่ายผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เป็นการหมิ่นประมาท และยังเป็นเครื่องมือฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ที่หวังจะล้มโครงการจำนำข้าวอีกด้วย ส่วนต้นตอปล่อยข่าวหวังทำให้เกิดการอุปทานหมู่ หวังผลทางการเมือง จึงอยากให้มีการหาต้นตอมาดำเนินคดีเพื่อให้เป็นคดีตัวอย่าง
**วอนกรมอนามัยออกมารับรองคุณภาพข้าว
ด้านนายวิชัย ล้ำสุทธิ ประธานกรรมาธิการการส่งเสริมราคาผลิตผลเกษตรกรรม สภาฯ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา กรรมาธิการฯได้เรียกหน่วยงานงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง กรณีที่มีกระแสข่าวการปนเปื้อนของข้าวสารที่ขายตามท้องตลาด โดยเฉพาะกรณีการรมยา สารเคมี ข้าวสาร ป้องกันมอด แมลง โดยสรุปจากการเข้าชี้แจงว่า ในการรมยาข้าวนั้น ใช้ยา 2 ชนิด คือ สารฟอสฟีน และเมทิลโบรไมด์ โดยใช้ระบบ"ระเหิด" โดยใช้ 3 เม็ดต่อ 1 ตัน ออกฤทธิ์ 7-10 วัน ซึ่งที่ผ่านมาจะพบว่า มีปัญหาคือ ถ้าหากโกดัง หรือโรงสีไหนมีความชื้นมาก สารดังกล่าวจะเข้าไปฝังในเมล็ดข้าว ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้ ดังนั้น กรรมาธิการฯ จึงเสนอให้ กรมวิชาการเกษตร และกรมอนามัย ออกมารับรองคุณภาพข้าวสาร ที่นำออกไปจำหน่ายตามท้องตลาดว่า มีสารพิษตกค้างและมีอันตรายต่อคน หรือไม่ อย่างไร
"ข้าวที่นำออกมาจำหน่ายในขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นข้าวที่ผลิตในฤดูกาล 54/55 ตอนนี้ทราบว่า เหลืออยู่กว่า 5 ล้านตัน ในขณะที่ผลผลิตข้าวปี 55/56 ก็จะออกมาสู่ท้องตลาดอีก 9 ล้านตัน ปริมาณข้าว ปี 54/55 ที่เหลือนั้น จะกลายเป็นข้าวเก่า ซึ่งมีโอกาสที่ มอด แมลง จะมาทำลาย จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ผู้ประกอบการ จะไม่ใช้วิธีการป้องกันด้วยการรมยา ฉะนั้น เพื่อความมั่นใจหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง น่าจะเป็นผู้ออกมารับประกันคุณภาพของข้าวว่าไม่มีสารพิษตกค้าง ซึ่งจะทำให้ประชาชนมั่นใจมากขึ้น" นายวิชัย กล่าว
** กรมการค้าตปท.ไร้ข้อมูลขายข้าวจีทูจี
นายวิชัย ยังกล่าวด้วยว่า คณะกรรมาธิการได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขายข้าวแบบจีทูจี คือ กรมการค้าต่างประเทศ เข้าชี้แจงรายละเอียดกรณีที่รัฐบาลขายข้าวให้กับประเทศต่างๆ โดยได้รับคำชี้แจงว่า การขายข้าวแบบ จีทูจี ตามนโยบายของรัฐบาลนั้น "จะ" มีการขายให้กับประเทศคู่ค้าหลายประเทศ เมื่อคณะกรรมาธิการขอทราบรายละเอียดว่า ขายให้กับประเทศใดบ้าง ราคาเท่าไร และส่งออกข้าวไปแล้วกี่ตัน ปรากฏว่า คำชี้แจงของทางตัวแทนกรมการค้าต่างประเทศถึงกับทำให้คณะกรรมาธิการที่ร่วมประชุมอยู่ "อึ้ง" เพราะไม่มีรายละเอียดเรื่องราคา ประเทศคู่ค้า และปริมาณข้าวที่แน่นอน แต่ใช้คำว่า "จะ" เช่น จะส่งให้ หรือ "น่าจะ" เป็นประเทศนั้นประเทศนี้ ซึ่งเท่ากับไม่ได้รับรายละเอียดของข้อมูลที่ถามไปแต่อย่างใด
"ผมยังมองในแง่ดีนะ ว่าตัวแทนที่ถูกส่งมานั้นอาจจะไม่ใช่ตัวแทนจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เลยไม่มีข้อมูล ดังนั้นการประชุมครั้งต่อไป กมธ.จะต้องระบุให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงมาชี้แจง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อไป" นายวิชัย กล่าว
** ขู่ใช้กม.เล่นงานพวกใส่ร้ายจำนำข้าว
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลการขายข้าวแบบจีทูจี ว่า การขายข้าวแบบจีทูจีเป็นเรื่องที่ทุกรัฐบาลทำเป็นการภายใน โดยเฉพาะตัวเลขราคา เป็นสิ่งที่ประเทศผู้ซื้อบางประเทศขอให้ปิดเป็นความลับ ส่วนข้อมูลอื่นที่เปิดเผยได้ ทางกระทรวงพาณิชย์พร้อมเปิดเผยถ้าเป็นข้อมูลที่ไมกระทบต่อราคา ไม่กระทบต่อข้อตกลงระหว่างประเทศ ยิ่งในครึ่งปีหลังที่กระทรวงพาณิชย์วางแผนการระบาย ทั้งในประเทศด้วยการเปิดประมูล และการขายข้าวแบบจีทูจี ก็จะเป็นการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้ แต่เวลานี้มีการขยายผลจากการระบายข้าว โจมตีมากขึ้นทุกวัน ทำลายความน่าเชื่อถือรัฐบาลผ่านโครงการรับจำนำข้าว ปล่อยข่าวข้าวมีสารพิษ ทั้งที่ความจริงไม่มีผู้ประกอบการรายไหนทำแบบนั้น ข่าวข้าวถุงร้านถูกใจเน่า ก็เหมือนกัน จะมีรัฐบาลไหนในโลกที่เก็บข้าวไว้ พอข้าวเน่า ก็เอาใส่ถุงออกขายประชาชน มันเป็นไปไม่ได้ ยกเว้นมีคนไปซื้อข้าวแล้วมาทิ้งข้างถนน ให้เป็นประเด็นการเมือง อันนี้เข้าข่ายน่าสงสัย
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า นับวันยิ่งขาดสำนึกความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองมากขึ้น ทำเป็นขบวนการจากกลุ่มเดิมที่อยากล้มรัฐบาล เพียงแต่ 2 ปีที่ผ่านมาใช้หลายวิธีแล้วไม่ได้ผล คราวนี้ก็หันมาเล่นเรื่องโครงการรับจำนำข้าว ไม่เลือกวิธีการทำลายความน่าเชื่อถือรัฐบาล สิ่งที่ทำกันมาผลกระทบที่เกิดขึ้นมันประมาณค่าไม่ได้แล้ว ปล่อยข่าวกันเรื่อย การสอบถามของ ป.ป.ช. ถึงการขายข้าวแบบจีทูจี ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่รัฐบาลจะไม่ให้ความร่วมมือ ยกเว้นมีคนบางกลุ่มพยายามทำเรื่องนี้เพื่อตีกินทางการเมือง กี่เรื่องมาแล้ว ที่พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหาเมื่อพิสูจน์แล้วไม่เป็นความจริง พอจับได้ก็ไม่รับผิดชอบแล้วเปิดเรื่องใหม่ เพราะฉะนั้นทีมกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ก็จะต้องดูแล้วว่าข้อกฎหมายไหนเอาความผิดได้ เพื่อดำเนินการไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง.
น.ส.ปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง“ความคิดเห็นของประชาชน ต่อแนวทางการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน”พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 73.5 คิดว่าการประกาศต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้ ในขณะที่ร้อยละ 26.5 คิดว่า ช่วยแก้ไขได้
เช่นเดียวกับ ตัวอย่างเกือบ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 65.8 คิดว่า รัฐสภาไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันได้ ในขณะที่ร้อยละ 34.2 คิดว่าช่วยแก้ไขได้ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่ง หรือร้อยละ 51.2 คิดว่าองค์กรอิสระ ก็ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันได้ ในขณะที่ ร้อยละ 48.8 คิดว่าช่วยแก้ไขได้ รวมทั้งกลุ่มตัวอย่างส่วนมากหรือร้อยละ 57.1 คิดว่า ผู้ใหญ่ชนชั้นนำในสังคม ไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันได้ ในขณะที่ ร้อยละ 42.9 คิดว่า ช่วยแก้ไขได้
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 78.5 คิดว่าการทำรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาลก็ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้ ในขณะที่ร้อยละ 21.5 คิดว่าช่วยแก้ไขได้ รวมทั้งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 80.3 คิดว่า การชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาล ก็ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้เช่นกัน มีเพียงร้อยละ 19.7 เท่านั้น ที่คิดว่าช่วยแก้ไขได้
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนมากหรือร้อยละ 59.0 คิดว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้ ในขณะที่ ร้อยละ 41.0 คิดว่าช่วยแก้ไขได้
น.ส.ปุณฑรีก์ กล่าวด้วยว่า ที่น่าพิจารณาคือ มีเพียงประเด็นเดียวที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 58.8 คิดว่า สามารถช่วยแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้ คือ การประกาศการใช้จ่ายงบประมาณให้คนทั้งประเทศรู้ว่า รัฐบาลใช้จ่ายเงินกระจายไปให้ใคร องค์กรใด บริษัทใด เพื่อประชาชนทั้งประเทศจะได้ช่วยกันตรวจสอบในรายละเอียด ในขณะที่ร้อยละ 41.2 คิดว่า วิธีนี้ก็ไม่สามารถช่วยแก้ไขได้
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วยกับการประกาศการใช้จ่ายงบประมาณให้คนทั้งประเทศรู้ ถึงสาเหตุของรัฐบาลที่ไม่ติดประกาศการใช้จ่ายงบประมาณให้คนทั้งประเทศรู้ทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่คิดว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้นั้น พบว่า อันดับแรก ร้อยละ 50.8 ระบุ ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมรัฐบาลไม่เปิดเผย รองลงมาได้แก่ ร้อยละ 33.7 ระบุ รัฐบาลกลัวถูกตรวจสอบ ร้อยละ 13.5 ระบุนักการเมืองกลัวเสียผลประโยชน์ และร้อยละ 2.0 ระบุสาเหตุอื่นๆ อาทิ ประชาชนและสาธารณชนทั่วไปอ่อนแอ ไม่เข้มแข็งเพียงพอ/คนที่ต่อต้านโกงแท้จริงมีน้อยเกินไป เป็นต้น
**จำนำข้าวฉุดความนิยม“รัฐบาลปู”
หลังจากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บริหารประเทศเป็นเวลา 2 ปี และมีการปรับ ครม. มาแล้วถึง 5 ครั้ง จะเห็นได้ว่าผลงานและนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลที่ได้ทำหรือสัญญาไว้มีทั้งเรื่องที่ถูกอกถูกใจ และไม่ถูกอกถูกใจ ประชาชน รวมถึงความวิตกกังวลและความกลัวของคนไทยเกี่ยวกับการเมืองไทย เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นและใช้เป็นฐานข้อมูลในการดำเนินงานของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,449 คน ระหว่างวันที่ 9-13 ก.ค. 56 พบว่า 5 อันดับ “ความกังวล”/“ความกลัว”ของประชาชนต่อ “การเมืองไทย” ณ วันนี้ อันดับ 1 ความไม่สามัคคีและความขัดแย้งของนักการเมือง 35.63 % อันดับ 2 การทุจริตคอรัปชัน 31.49 % อันดับ 3 การแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา 13.81 % อันดับ 4 การปฏิวัติ รัฐประหาร 12.15 % อันดับ 5 สถานการณ์ทางการเมืองมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง 6.92%
ส่วน 5 อันดับ ผลงานของรัฐบาล ที่เข้าตาประชาชนและทำให้คะแนนนิยมดีขึ้น อันดับ 1 การขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ขึ้นค่าแรง 300 บาท 38.14 % อันดับ 2 การปราบปรามยาเสพติด 19.49 % อันดับ 3 การปรับราคาจำนำข้าวมาเป็น 15,000 บาท อีกครั้ง 16.95 % อันดับ 4 โครงการรถคันแรก 15.25% อันดับ 5 โครงการพัฒนาระบบขนส่ง รถไฟความเร็วสูง 10.17 %
สำหรับ 5 อันดับ ผลงานของรัฐบาล ที่ฉุดความนิยมของรัฐบาลให้ ลดลง อันดับ 1 โครงการจำนำข้าว 47.13 % อันดับ 2 การทุจริตคอรัปชันในโครงการต่างๆของรัฐ 14.56 % อันดับ 3 สินค้าแพง /ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบาก 13.79 % อันดับ 4 การแก้ปัญหาไฟใต้ 12.64 % อันดับ 5 โครงการกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาทที่ทำให้ประชาชนเป็นหนี้ 11.88 %
**จี้เอาผิดคนปล่อยข่าวข้าวเน่า
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี นพ.วรงด์เดช กิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ อ้างถึงกรณีข้อสงสัยเกี่ยวกับการทุจริตการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) อาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้คนใกล้ชิดรัฐบาลนั้น ถือเป็นการกล่าหากัน ขออย่าแต่งนิยายขายข่าวรายวัน ถ้า นพ.วรงค์ หรือสมาชิกประชาธิปัตย์ มีข้อมูลก็ไปยื่นร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ตรวจสอบ หรือนำมาอภิปรายไม่ไว้วางใจในเดือนส.ค. อย่าแต่งนิยายรายวัน เรื่องนี้กระทบภาพลักษณ์ประเทศไทยในสายตานานาชาติ อย่าดีแต่กล่าวหา ขอให้นำข้อมูลมาเลย ทั้งเราควรช่วยกันพิทักษ์ข้าวไทย ไม่ให้เกิดความเสียหาย
สำหรับกรณีพรรคประชาธิปัตย์เปิดเวทีผ่าความจริง กล่าวหารัฐบาลบอกว่าคนที่ล้มข้าวตัวจริงคือ พ.ต.ท.ทักษิณ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่คิดและประกาศนโยบายเรื่องจำนำข้าว เรื่องนี้ก็ไม่เป็นความจริง พรรคเพื่อไทยหาเสียง ทำนโยบาย รัฐบาลก็ดำเนินนโยบายจำนำข้าวมา 2 ปี ทำให้ชาวนาลืมตาอ้าปากได้ ขณะที่โครงการประกันราคาข้าวของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ กลับล้มเหลว เกิดการขาดทุน ชาวนาปิดถนนประท้วง สิ่งที่นายอภิสิทธิ์ พูดเป็นการกล่าวหา ปราศจากหลักฐาน การตั้งเวทีผ่าความจริงต้องบอกว่า มุกแป้ก ประชาชนไม่ตอบรับ เป็นฝ่ายค้านที่ยังก้าวไม่พ้น พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ตรวจสอบรัฐบาลอย่างสร้างสรรค์ ไม่เสนอแนวคิดแก้ปัญหา ไม่เคยใช้ผลงาน ใช้แต่วาทะ น้ำลาย ไม่เกิดประโยชน์ แม้กระทั่งผลโพลประชาชนยังสะท้อนออกมาว่า ไม่อยากให้ค้านทุกเรื่องอย่างไม่สร้างสรรค์
นายพร้อมพงศ์ กล่าวด้วยว่า การปล่อยข่าวว่าสหรัฐฯกักข้าวไทย และขบวนการปล่อยข่าวข้าวไทยมีสารพิษ มีสัตว์ต่างๆ ปลอมปน ถือเป็นการปล่อยข่าวแล้วขยายผลให้เป็นประเด็นการเมือง ทำให้กระทบทั้งผู้ประกอบการ ประเทศชาติ ชาวนา ถือเป็นบ่อนทำลายอุตสาหกรรมข้าวไทย สร้างความเสียหาย จึงขอเรียกร้องให้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ควรจะเอาผิดผู้ปล่อยข่าว เพื่อให้เป็นคดีตัวอย่าง ทั้งนี้ไม่อยากให้พี่น้องประชาชนที่ได้รับการฟอร์เวิร์ดเมล จากข่าวลวง ข่าวปล่อย อยากให้ตรวจสอบก่อน เพราะหากทำซ้ำแล้วก็อาจเข้าข่ายผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เป็นการหมิ่นประมาท และยังเป็นเครื่องมือฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ที่หวังจะล้มโครงการจำนำข้าวอีกด้วย ส่วนต้นตอปล่อยข่าวหวังทำให้เกิดการอุปทานหมู่ หวังผลทางการเมือง จึงอยากให้มีการหาต้นตอมาดำเนินคดีเพื่อให้เป็นคดีตัวอย่าง
**วอนกรมอนามัยออกมารับรองคุณภาพข้าว
ด้านนายวิชัย ล้ำสุทธิ ประธานกรรมาธิการการส่งเสริมราคาผลิตผลเกษตรกรรม สภาฯ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา กรรมาธิการฯได้เรียกหน่วยงานงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง กรณีที่มีกระแสข่าวการปนเปื้อนของข้าวสารที่ขายตามท้องตลาด โดยเฉพาะกรณีการรมยา สารเคมี ข้าวสาร ป้องกันมอด แมลง โดยสรุปจากการเข้าชี้แจงว่า ในการรมยาข้าวนั้น ใช้ยา 2 ชนิด คือ สารฟอสฟีน และเมทิลโบรไมด์ โดยใช้ระบบ"ระเหิด" โดยใช้ 3 เม็ดต่อ 1 ตัน ออกฤทธิ์ 7-10 วัน ซึ่งที่ผ่านมาจะพบว่า มีปัญหาคือ ถ้าหากโกดัง หรือโรงสีไหนมีความชื้นมาก สารดังกล่าวจะเข้าไปฝังในเมล็ดข้าว ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้ ดังนั้น กรรมาธิการฯ จึงเสนอให้ กรมวิชาการเกษตร และกรมอนามัย ออกมารับรองคุณภาพข้าวสาร ที่นำออกไปจำหน่ายตามท้องตลาดว่า มีสารพิษตกค้างและมีอันตรายต่อคน หรือไม่ อย่างไร
"ข้าวที่นำออกมาจำหน่ายในขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นข้าวที่ผลิตในฤดูกาล 54/55 ตอนนี้ทราบว่า เหลืออยู่กว่า 5 ล้านตัน ในขณะที่ผลผลิตข้าวปี 55/56 ก็จะออกมาสู่ท้องตลาดอีก 9 ล้านตัน ปริมาณข้าว ปี 54/55 ที่เหลือนั้น จะกลายเป็นข้าวเก่า ซึ่งมีโอกาสที่ มอด แมลง จะมาทำลาย จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ผู้ประกอบการ จะไม่ใช้วิธีการป้องกันด้วยการรมยา ฉะนั้น เพื่อความมั่นใจหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง น่าจะเป็นผู้ออกมารับประกันคุณภาพของข้าวว่าไม่มีสารพิษตกค้าง ซึ่งจะทำให้ประชาชนมั่นใจมากขึ้น" นายวิชัย กล่าว
** กรมการค้าตปท.ไร้ข้อมูลขายข้าวจีทูจี
นายวิชัย ยังกล่าวด้วยว่า คณะกรรมาธิการได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขายข้าวแบบจีทูจี คือ กรมการค้าต่างประเทศ เข้าชี้แจงรายละเอียดกรณีที่รัฐบาลขายข้าวให้กับประเทศต่างๆ โดยได้รับคำชี้แจงว่า การขายข้าวแบบ จีทูจี ตามนโยบายของรัฐบาลนั้น "จะ" มีการขายให้กับประเทศคู่ค้าหลายประเทศ เมื่อคณะกรรมาธิการขอทราบรายละเอียดว่า ขายให้กับประเทศใดบ้าง ราคาเท่าไร และส่งออกข้าวไปแล้วกี่ตัน ปรากฏว่า คำชี้แจงของทางตัวแทนกรมการค้าต่างประเทศถึงกับทำให้คณะกรรมาธิการที่ร่วมประชุมอยู่ "อึ้ง" เพราะไม่มีรายละเอียดเรื่องราคา ประเทศคู่ค้า และปริมาณข้าวที่แน่นอน แต่ใช้คำว่า "จะ" เช่น จะส่งให้ หรือ "น่าจะ" เป็นประเทศนั้นประเทศนี้ ซึ่งเท่ากับไม่ได้รับรายละเอียดของข้อมูลที่ถามไปแต่อย่างใด
"ผมยังมองในแง่ดีนะ ว่าตัวแทนที่ถูกส่งมานั้นอาจจะไม่ใช่ตัวแทนจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เลยไม่มีข้อมูล ดังนั้นการประชุมครั้งต่อไป กมธ.จะต้องระบุให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงมาชี้แจง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อไป" นายวิชัย กล่าว
** ขู่ใช้กม.เล่นงานพวกใส่ร้ายจำนำข้าว
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลการขายข้าวแบบจีทูจี ว่า การขายข้าวแบบจีทูจีเป็นเรื่องที่ทุกรัฐบาลทำเป็นการภายใน โดยเฉพาะตัวเลขราคา เป็นสิ่งที่ประเทศผู้ซื้อบางประเทศขอให้ปิดเป็นความลับ ส่วนข้อมูลอื่นที่เปิดเผยได้ ทางกระทรวงพาณิชย์พร้อมเปิดเผยถ้าเป็นข้อมูลที่ไมกระทบต่อราคา ไม่กระทบต่อข้อตกลงระหว่างประเทศ ยิ่งในครึ่งปีหลังที่กระทรวงพาณิชย์วางแผนการระบาย ทั้งในประเทศด้วยการเปิดประมูล และการขายข้าวแบบจีทูจี ก็จะเป็นการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้ แต่เวลานี้มีการขยายผลจากการระบายข้าว โจมตีมากขึ้นทุกวัน ทำลายความน่าเชื่อถือรัฐบาลผ่านโครงการรับจำนำข้าว ปล่อยข่าวข้าวมีสารพิษ ทั้งที่ความจริงไม่มีผู้ประกอบการรายไหนทำแบบนั้น ข่าวข้าวถุงร้านถูกใจเน่า ก็เหมือนกัน จะมีรัฐบาลไหนในโลกที่เก็บข้าวไว้ พอข้าวเน่า ก็เอาใส่ถุงออกขายประชาชน มันเป็นไปไม่ได้ ยกเว้นมีคนไปซื้อข้าวแล้วมาทิ้งข้างถนน ให้เป็นประเด็นการเมือง อันนี้เข้าข่ายน่าสงสัย
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า นับวันยิ่งขาดสำนึกความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองมากขึ้น ทำเป็นขบวนการจากกลุ่มเดิมที่อยากล้มรัฐบาล เพียงแต่ 2 ปีที่ผ่านมาใช้หลายวิธีแล้วไม่ได้ผล คราวนี้ก็หันมาเล่นเรื่องโครงการรับจำนำข้าว ไม่เลือกวิธีการทำลายความน่าเชื่อถือรัฐบาล สิ่งที่ทำกันมาผลกระทบที่เกิดขึ้นมันประมาณค่าไม่ได้แล้ว ปล่อยข่าวกันเรื่อย การสอบถามของ ป.ป.ช. ถึงการขายข้าวแบบจีทูจี ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่รัฐบาลจะไม่ให้ความร่วมมือ ยกเว้นมีคนบางกลุ่มพยายามทำเรื่องนี้เพื่อตีกินทางการเมือง กี่เรื่องมาแล้ว ที่พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหาเมื่อพิสูจน์แล้วไม่เป็นความจริง พอจับได้ก็ไม่รับผิดชอบแล้วเปิดเรื่องใหม่ เพราะฉะนั้นทีมกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ก็จะต้องดูแล้วว่าข้อกฎหมายไหนเอาความผิดได้ เพื่อดำเนินการไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง.