ASTVผู้จัดการรายวัน-เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เหนือ-อีสาน-ผู้ค้าพืชไร่นัดรวมพล เล็งรวมตัวหน้าทำเนียบรัฐบาลวันที่ 15-16 ก.ค.นี้ ร้องรัฐยื่นมือช่วยแก้ปัญหา "สหฟาร์ม" ก่อนส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ด้าน "กรุงไทย" พร้อมยื่นมือช่วย คาดปล่อยกู้เพิ่มเพียงหลัก 1,000 ล้านบาท เชื่อฟื้นตัวได้ภายใน 1 ปี "ธนชาต" แจ้งตลาดตั้งสำรองครบ 100% แล้ว
จากกรณีบริษัท สหฟาร์ม จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกไก่สด และไข่ไก่รายใหญ่ กำลังเผชิญปัญหาการขาดสภาพคล่องอย่างหนัก โดยมีข่าวการค้างจ่ายค่าแรง การค้างจ่ายค่าวัตถุดิบเลี้ยงสัตว์ และกระแสข่าวการปิดตัวโรงเลี้ยงไก่หลายแห่ง ทั้งในจังหวัดเพชรบูรณ์ และลพบุรี โดยมีผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจโลก การส่งออกที่หดตัว และต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งด้านวัตถุดิบการผลิต และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทของรัฐบาล
หลังกลุ่มบริษัท สหฟาร์ม จำกัด หยุดดำเนินกิจการ บริษัทในเครือ อาทิ บริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จำกัด ต.กันจุ อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ สหฟาร์มเพชรบูรณ์ ต.ระวิง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ทำให้คนงานประท้วงเรียกร้องให้จ่ายเงินค่าจ้าง เงินชดเชยตามที่กฎหมายแรงงานกำหนดแล้วถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นกลุ่มแรงงานต่างด้าวในสังกัดกว่า 3,000 คน ที่ประท้วง ทำลายข้าวของภายในบริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จำกัด และครั้งที่ 2 กลุ่มคนงานทั้งไทยและพม่า รวมตัวประท้วงที่ สหฟาร์ม ต.ระวิง
ขณะเดียวกันกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ที่เป็นลูกเล้าสหฟาร์มโดยตรง และลูกเล้าบริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จำกัด กลุ่มผู้ค้าพืชไร่ก็เริ่มเคลื่อนไหว เตรียมเรียกร้องให้สหฟาร์มชำระหนี้คงค้างด้วยเช่นกัน
วานนี้ (10 ก.ค.) นางสุดารัตน์ วางใจ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็น 1 ใน 102 ฟาร์ม เครือข่ายบริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จำกัด กล่าวว่า ฟาร์มขนาดใหญ่ 14 ฟาร์ม มียอดหนี้รวมไม่น้อยกว่า 12 ล้านบาท สำหรับตน แค่หลักแสนก็ถือว่าเดือดร้อนแล้ว เคยไปเจรจากับตัวแทนสหฟาร์ม เรื่องก็เงียบมานานหลายเดือน จนต้องรวมตัวไปประท้วงกับผู้เลี้ยงไก่ที่จ.นครสวรรค์ ซึ่งมี 42 ราย เรื่องก็ยังเงียบอีก ล่าสุดกำลังระดมคนไปรวมตัวกับผู้เลี้ยงไก่ภาคอีสาน ซึ่งมีกว่า 100 ฟาร์ม เพื่อประท้วงที่หน้าทำเนียบรัฐบาล
นายวาสนา นากดิลก หนึ่งในเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ ของบริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จำกัด จ.ชัยภูมิ กล่าวว่า สหฟาร์มมีปัญหาสภาพคล่องตั้งแต่กลางปี 2555 จนต้นปี 2556 ไม่เคยจ่ายเงินค่าไก่ ล่าสุดได้รับการประสานงานจากผู้เลี้ยงไก่ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งมีข่าวจะรวมตัวกันไปที่ทำเนียบรัฐบาลวันที่ 15-16 ก.ค.นี้ แต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจน ต้องรอดูท่าทีของสหฟาร์มที่สัญญาว่าจะชำระเงินบางส่วนให้ลูกเล้าใช้หมุนเวียนในวันที่ 15 ก.ค.ก่อน
ขณะที่นายฉัตรชัย ลาภพรศิริกุล เลขานุการสมาคมพ่อค้าพืชไร่ จ.เพชรบูรณ์ กล่าวว่า มีพ่อค้าพืชไร่ในจังหวัดกว่า 50 ราย และเกษตรกรรายย่อย ที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทวงเงินไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ นายปัญญา โชติเทวัญ ประธานกลุ่มสหฟาร์ม เคยเชิญไปพบและขอผัดผ่อน 3 เดือน โดยให้เหตุผลว่าอยู่ระหว่างติดต่อสถาบันการเงิน แต่เมื่อครบกำหนด และเกิดปัญหาขึ้นภายในโรงงาน ทำให้ขาดการติดต่อไป ล่าสุดกลุ่มพ่อค้าพืชไร่กำลังรวมตัวกัน เพื่อขอเข้าพบผู้บริหารบริษัท เพราะต้องการความชัดเจนเรื่องการชำระหนี้ที่ค้างอยู่
"เดือนหน้าข้าวโพดจะออกสู่ตลาด หากพ่อค้าไม่ได้รับการเคลียร์หนี้สินก้อนนี้ คงขาดแคลนเงินทุนไปรวบรวมข้าวโพดจากเกษตรกร ซึ่งจะกลายเป็นผลกระทบแบบลูกโซ่ และกินวงกว้างหลายจังหวัด จึงอยากให้รัฐบาลยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ หรือช่วยหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้บริษัทกู้ยืม เพราะดูจากหลักทรัพย์ค้ำประกันของบริษัท ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร"
นายปริญญา พัฒนภักดี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานปรับโครงสร้างหนี้และบริหารทรัพย์สิน ธนาคารกรุงไทย จำกด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารได้ติดตามบริษัท สหฟาร์ม อย่างใกล้ชิด โดยมีการหารือร่วมกันระหว่างธนาคารกรุงไทย สหฟาร์ม และธนาคารพาณิชย์เจ้าหนี้รายอื่นๆ เพื่อดูแลช่วยเหลือ โดยมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปัญหาไข้หวัดนกที่ธุรกิจไก่และไข่ไก่ในประเทศไทยประสบปัญหาหนักมาก แต่กรณีดังกล่าวเป็นเพียงการขาดสภาพคล่องระยะสั้นเท่านั้น เมื่อมีเม็ดเงินใหม่เข้าไปช่วยหมุนเวียน กิจการน่าจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
ที่ผ่านมา ลูกค้าได้เข้ามาหารือจะดำเนินการปรับโครงสร้างต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของธนาคารเจ้าหนี้และลูกค้า คาดว่าการเจรจาปรับโครงสร้างจบได้ภายใน 1-2 เดือนนี้ และจะมีการปล่อยเงินกู้ใหม่ให้กับลูกค้าไปใช้เป็นสภาพคล่องหมุนเวียน โดยใส่เงินใหม่เล็กน้อยเป็นแค่หลัก 1,000 ล้านบาท คาดว่าเมื่อใส่เงินเข้าไปแล้ว ลูกค้าสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ฟื้นตัวภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี
"แบงก์มองถึงธุรกิจลูกค้ายังสามารถดำเนินการต่อไปได้ มีโอกาสฟื้นตัวสูงภายในระยะ 1 ปี หากมีเม็ดเงินเพิ่มสภาพคล่อง เพราะความต้องการไก่และไข่ยังคงมีอยู่สูง สหฟาร์มเป็นผู้ประกอบการส่งออกอันดับหนึ่งของไทย ทั้งตลาดใหญ่ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งตลอดใหม่อย่างตะวันออกกลางที่มีความต้องการสูง"
นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร ธนชาต จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า ตามที่มีข่าวกรณีบริษัท สหฟาร์ม ขาดสภาพคล่อง โดยมีธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง รวมถึงธนาคารธนชาตเป็นผู้ให้สินเชื่อนั้น ในส่วนของธนาคารได้รับโอนกิจการของสหฟาร์มมาทั้งหมดเมื่อเดือนต.ค.2554 โดยปีที่ผ่านมา ได้ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด และมีการตั้งสำรองลูกหนี้กลุ่มนี้ในจำนวนที่รวมกับมูลค่าหลักประกันครอบคลุมภาระหนี้ทั้งหมดไว้ตั้งแต่ปีก่อนแล้ว ทั้งนี้ธนาคารจะติดตามดูแลลูกค้ากลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารพาณิชย์พาณิชย์หลายแห่งปล่อยกู้ให้แก่บริษัท สหฟาร์ม ว่า สำหรับหนี้สินที่อาจจะมีปัญหาด้านคุณภาพ ธนาคารที่ปล่อยกู้บริษัท สหฟาร์มได้มีการกันสำรองเงินไว้ค่อนข้างสูง จึงไม่น่าจะมีปัญหา
จากกรณีบริษัท สหฟาร์ม จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกไก่สด และไข่ไก่รายใหญ่ กำลังเผชิญปัญหาการขาดสภาพคล่องอย่างหนัก โดยมีข่าวการค้างจ่ายค่าแรง การค้างจ่ายค่าวัตถุดิบเลี้ยงสัตว์ และกระแสข่าวการปิดตัวโรงเลี้ยงไก่หลายแห่ง ทั้งในจังหวัดเพชรบูรณ์ และลพบุรี โดยมีผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจโลก การส่งออกที่หดตัว และต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งด้านวัตถุดิบการผลิต และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทของรัฐบาล
หลังกลุ่มบริษัท สหฟาร์ม จำกัด หยุดดำเนินกิจการ บริษัทในเครือ อาทิ บริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จำกัด ต.กันจุ อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ สหฟาร์มเพชรบูรณ์ ต.ระวิง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ทำให้คนงานประท้วงเรียกร้องให้จ่ายเงินค่าจ้าง เงินชดเชยตามที่กฎหมายแรงงานกำหนดแล้วถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นกลุ่มแรงงานต่างด้าวในสังกัดกว่า 3,000 คน ที่ประท้วง ทำลายข้าวของภายในบริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จำกัด และครั้งที่ 2 กลุ่มคนงานทั้งไทยและพม่า รวมตัวประท้วงที่ สหฟาร์ม ต.ระวิง
ขณะเดียวกันกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ที่เป็นลูกเล้าสหฟาร์มโดยตรง และลูกเล้าบริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จำกัด กลุ่มผู้ค้าพืชไร่ก็เริ่มเคลื่อนไหว เตรียมเรียกร้องให้สหฟาร์มชำระหนี้คงค้างด้วยเช่นกัน
วานนี้ (10 ก.ค.) นางสุดารัตน์ วางใจ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็น 1 ใน 102 ฟาร์ม เครือข่ายบริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จำกัด กล่าวว่า ฟาร์มขนาดใหญ่ 14 ฟาร์ม มียอดหนี้รวมไม่น้อยกว่า 12 ล้านบาท สำหรับตน แค่หลักแสนก็ถือว่าเดือดร้อนแล้ว เคยไปเจรจากับตัวแทนสหฟาร์ม เรื่องก็เงียบมานานหลายเดือน จนต้องรวมตัวไปประท้วงกับผู้เลี้ยงไก่ที่จ.นครสวรรค์ ซึ่งมี 42 ราย เรื่องก็ยังเงียบอีก ล่าสุดกำลังระดมคนไปรวมตัวกับผู้เลี้ยงไก่ภาคอีสาน ซึ่งมีกว่า 100 ฟาร์ม เพื่อประท้วงที่หน้าทำเนียบรัฐบาล
นายวาสนา นากดิลก หนึ่งในเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ ของบริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จำกัด จ.ชัยภูมิ กล่าวว่า สหฟาร์มมีปัญหาสภาพคล่องตั้งแต่กลางปี 2555 จนต้นปี 2556 ไม่เคยจ่ายเงินค่าไก่ ล่าสุดได้รับการประสานงานจากผู้เลี้ยงไก่ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งมีข่าวจะรวมตัวกันไปที่ทำเนียบรัฐบาลวันที่ 15-16 ก.ค.นี้ แต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจน ต้องรอดูท่าทีของสหฟาร์มที่สัญญาว่าจะชำระเงินบางส่วนให้ลูกเล้าใช้หมุนเวียนในวันที่ 15 ก.ค.ก่อน
ขณะที่นายฉัตรชัย ลาภพรศิริกุล เลขานุการสมาคมพ่อค้าพืชไร่ จ.เพชรบูรณ์ กล่าวว่า มีพ่อค้าพืชไร่ในจังหวัดกว่า 50 ราย และเกษตรกรรายย่อย ที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทวงเงินไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ นายปัญญา โชติเทวัญ ประธานกลุ่มสหฟาร์ม เคยเชิญไปพบและขอผัดผ่อน 3 เดือน โดยให้เหตุผลว่าอยู่ระหว่างติดต่อสถาบันการเงิน แต่เมื่อครบกำหนด และเกิดปัญหาขึ้นภายในโรงงาน ทำให้ขาดการติดต่อไป ล่าสุดกลุ่มพ่อค้าพืชไร่กำลังรวมตัวกัน เพื่อขอเข้าพบผู้บริหารบริษัท เพราะต้องการความชัดเจนเรื่องการชำระหนี้ที่ค้างอยู่
"เดือนหน้าข้าวโพดจะออกสู่ตลาด หากพ่อค้าไม่ได้รับการเคลียร์หนี้สินก้อนนี้ คงขาดแคลนเงินทุนไปรวบรวมข้าวโพดจากเกษตรกร ซึ่งจะกลายเป็นผลกระทบแบบลูกโซ่ และกินวงกว้างหลายจังหวัด จึงอยากให้รัฐบาลยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ หรือช่วยหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้บริษัทกู้ยืม เพราะดูจากหลักทรัพย์ค้ำประกันของบริษัท ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร"
นายปริญญา พัฒนภักดี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานปรับโครงสร้างหนี้และบริหารทรัพย์สิน ธนาคารกรุงไทย จำกด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารได้ติดตามบริษัท สหฟาร์ม อย่างใกล้ชิด โดยมีการหารือร่วมกันระหว่างธนาคารกรุงไทย สหฟาร์ม และธนาคารพาณิชย์เจ้าหนี้รายอื่นๆ เพื่อดูแลช่วยเหลือ โดยมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปัญหาไข้หวัดนกที่ธุรกิจไก่และไข่ไก่ในประเทศไทยประสบปัญหาหนักมาก แต่กรณีดังกล่าวเป็นเพียงการขาดสภาพคล่องระยะสั้นเท่านั้น เมื่อมีเม็ดเงินใหม่เข้าไปช่วยหมุนเวียน กิจการน่าจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
ที่ผ่านมา ลูกค้าได้เข้ามาหารือจะดำเนินการปรับโครงสร้างต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของธนาคารเจ้าหนี้และลูกค้า คาดว่าการเจรจาปรับโครงสร้างจบได้ภายใน 1-2 เดือนนี้ และจะมีการปล่อยเงินกู้ใหม่ให้กับลูกค้าไปใช้เป็นสภาพคล่องหมุนเวียน โดยใส่เงินใหม่เล็กน้อยเป็นแค่หลัก 1,000 ล้านบาท คาดว่าเมื่อใส่เงินเข้าไปแล้ว ลูกค้าสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ฟื้นตัวภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี
"แบงก์มองถึงธุรกิจลูกค้ายังสามารถดำเนินการต่อไปได้ มีโอกาสฟื้นตัวสูงภายในระยะ 1 ปี หากมีเม็ดเงินเพิ่มสภาพคล่อง เพราะความต้องการไก่และไข่ยังคงมีอยู่สูง สหฟาร์มเป็นผู้ประกอบการส่งออกอันดับหนึ่งของไทย ทั้งตลาดใหญ่ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งตลอดใหม่อย่างตะวันออกกลางที่มีความต้องการสูง"
นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร ธนชาต จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า ตามที่มีข่าวกรณีบริษัท สหฟาร์ม ขาดสภาพคล่อง โดยมีธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง รวมถึงธนาคารธนชาตเป็นผู้ให้สินเชื่อนั้น ในส่วนของธนาคารได้รับโอนกิจการของสหฟาร์มมาทั้งหมดเมื่อเดือนต.ค.2554 โดยปีที่ผ่านมา ได้ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด และมีการตั้งสำรองลูกหนี้กลุ่มนี้ในจำนวนที่รวมกับมูลค่าหลักประกันครอบคลุมภาระหนี้ทั้งหมดไว้ตั้งแต่ปีก่อนแล้ว ทั้งนี้ธนาคารจะติดตามดูแลลูกค้ากลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารพาณิชย์พาณิชย์หลายแห่งปล่อยกู้ให้แก่บริษัท สหฟาร์ม ว่า สำหรับหนี้สินที่อาจจะมีปัญหาด้านคุณภาพ ธนาคารที่ปล่อยกู้บริษัท สหฟาร์มได้มีการกันสำรองเงินไว้ค่อนข้างสูง จึงไม่น่าจะมีปัญหา