ASTVผู้จัดการรายวัน - สหฟาร์มดิ้นหาทางรอด คาดต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 5พันล้านบาทในการฟื้นธุรกิจให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง เผยบริษัทผู้ผลิตไก่แปรรูปรับอานิสงส์จากสหฟาร์มสะดุด คำสั่งซื้อสินค้าทะลักผลิตไม่ทัน "ปัญญา โชติเทวัญ" เจ้าของสหฟาร์ม เผยเจรจาดึงผู้นำเข้าไก่จากตะวันออกกลางเข้ามาร่วมทุน และขายสินทรัพย์บางส่วนเพื่อนำเงินใช้หนี้ คาดว่า 2เดือนสหฟาร์มกลับมาผลิตได้อีกครั้ง
แหล่งข่าวจากวงการผู้ส่งออกไก่ กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทผู้ส่งออกไก่แปรรูปได้รับคำสั่งซื้อล่วงหน้าไปจนถึงสิ้นปีนี้แล้ว จนแทบผลิตไม่ทัน สืบเนื่องจากสหฟาร์มมีปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างหนัก ทำให้โรงงานชำแหละไก่และโรงงานในเครือฯต้องลดกำลังการผลิตลง จากปริมาณไก่ที่เข้าโรงเชือดมีน้อยลง เพราะลูกเล้า (คอนแทรก ฟาร์มมิ่ง) ลดการส่งไก่เข้าโรงชำแหละสหฟาร์ม แต่หันไปเลี้ยงไก่ให้ค่ายอื่นแทน
นอกเหนือจากคำสั่งซื้อไก่แปรรูปที่ทะลักเข้ามาแล้ว ราคาเนื้อไก่และชิ้นส่วนไก่ในประเทศเองก็ดีดตัวสูงขึ้นด้วย เนื่องจากสหฟาร์มมีส่วนแบ่งการตลาดในการผลิตไก่ถึง 20%ของปริมาณการผลิตทั้งหมด เมื่อสหฟาร์มปิดโรงงานชั่วคราว ทำให้ปริมาณการผลิตไก่หายไปจากระบบ
ก่อนหน้าที่ โรงงานชำแหละไก่สหฟาร์มทั้ง 2แห่งจะปิดตัวลง โรงงานดังกล่าวก็มีการสลับกันหยุด เนื่องจากไม่มีไก่เข้ามาในโรงเชือด ทำให้กำลังการชำแหละไก่ที่เคยสูงถึง 6-7 แสนตัว/วัน ลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง หลังจากบริษัทฯเพิ่งขยายกำลังการผลิตโรงงานได้ไม่นาน และไก่ที่เข้ามาในโรงชำแหละนี้ก็มีน้ำหนักน้อยไม่ถึง 2 กิโลกรัม/ตัว ทำให้ไม่ได้ขนาดพอที่จะส่งออกได้ ส่งผลต่อตลาดส่งออกสะดุดตามไปด้วย ดังนั้น ลูกค้าสหฟาร์มจึงต้องหันมาขอซื้อสินค้ากับผู้ผลิตรายอื่นๆในไทยแทน
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า แนวทางรอดของสหฟาร์มนั้นคงต้องดิ้นรนเจรจาหาแหล่งเงินกู้เพิ่มเติมเพื่อมาฟื้นฟูกิจการ คาดว่าจะใช้เงินไม่ต่ำกว่า 5 พันล้านบาทเพื่อมาพยุงธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ หรือเจรจาหาพันธมิตรเข้ามาร่วมถือหุ้น ที่ผ่านมา สหฟาร์มเป็นบริษัทผลิตและส่งออกไก่สดและแปรรูปรายใหญ่ของประเทศ ซึ่งการซวนเซของธุรกิจในครั้งนี้ เนื่องจากบริษัท ได้มีการลงทุนเกินตัวในช่วงจังหวะที่ไม่เหมาะสม โดยในปีที่แล้ว ผู้เลี้ยงไก่ประสบปัญหาราคาอาหารสัตว์พุ่งถึง 30%จากราคากากถั่วเหลืองและข้าวโพดแพงมาก แถมเจอค่าแรง 300 บาท/วัน ค่าไฟฟ้าเอฟทีที่ปรับเพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ขณะที่ราคาส่งออกไก่แปรรูปกลับไม่สามารถเรียกราคาได้ตามต้นทุนที่สูงขึ้นได้ ทำให้บริษัทฯประสบปัญหาการขาดทุนอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
ในปีนี้ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตลูกไก่อยู่ที่ 24-25 ล้านตัว น้อยกว่าปีก่อนที่มีปริมาณลูกไก่ 26.5 ล้านตัว เนื่องจากผู้ประกอบการลดการผลิตลูกไก่ลง และราคาอาหารสัตว์ในปีนี้ก็มีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลงจากปีก่อน จากผลผลิตข้าวโพดและถั่วเหลืองปลูกได้มากขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้ราคาไก่เป็นอยู่ที่ 46-47 บาท/กิโลกรัม ดีขึ้นกว่าปีก่อนที่อยู่กิโลกรัมละ 30 กว่าบาท ซึ่งเป็นระดับราคาที่ผู้ประกอบการเริ่มมีกำไร
ด้านนายปัญญา โชติเทวัญ ประธานกรรมการบริษัท สหฟาร์ม ให้สัมภาษณ์ "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า บริษัทฯอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาขาดสภาพคล่องอยู่ โดยจะขายสินทรัพย์ของบริษัทบางส่วนเพื่อนำเงินมาจ่ายเงินเดือน ขณะเดียวกัน ประเทศผู้นำเข้าไก่แถบตะวันออกกลาง ได้เสนอเข้ามาช่วยเหลือด้านเงินทุน เพื่อให้สหฟาร์มผลิตไก่ป้อนตลาดให้ต่อไป โดยขณะนี้ตกลงกันเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการนำเงินมาร่วมลงทุนจำนวนหลายพันล้าน คาดว่าจะใช้เวลาราว 2 เดือน บริษัทฯจะกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ จากปัจจุบันสหฟาร์มต้องลดกำลังการผลิตไปมาก แต่ยังมีบางส่วนผลิตไก่ป้อนให้ลูกค้าอยู่
ทั้งนี้ บริษัทยืนยันว่าจะจ่ายเงินให้พนักงานแน่นอนเมื่อมีทุนใหม่เข้ามา เพื่อให้กิจการเดินหน้าต่อไปได้หลังจากก่อตั้งสหฟาร์มากว่า 45 ปีไม่ล้มหรือเลิกกิจการอย่างแน่นอน ซึ่งแต่ละเดือนบริษัทฯมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนกว่า 200-300 ล้านบาทจากจำนวนพนักงาน 2 หมื่นคน และมียอดส่งออกไก่กว่า 5 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ สหฟาร์มมีปัญหาสภาพคล่องมาตั้งแต่ปี 55 จากหลายสาเหตุ ทั้งวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาแพง การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและเงินบาทแข็งค่า โดยบริษัทมีทุนน้อยทำให้ไม่สามารถประมูลซื้อวัตถุดิบจากสต็อกรัฐได้ ทำให้ไม่มีอาหารสัตว์มาเลี้ยงไก่ ทำให้ต้องลดการผลิตไก่ลง รายได้จึงลดลง กระทบไปทั้งองค์กร ขณะที่ปัญหาค่าแรงและเงินบาทแข็งค่า ทำให้ต้นทุนผลิตสูงขึ้น แต่ไม่สามารถเรียกร้องจากลูกค้าได้ บริษัทปรับตัวไม่ได้จึงขาดทุนอย่างหนัก และแบงก์ก็ไม่ได้สนับสนุนสินเชื่อ
**แนะ"ดีเอสไอ"สอบข้อเท็จจริงรง.เพชรบูรณ์
ที่บริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จํากัด เลขที่ 99/2 หมู่ 4 ต.กันจุ อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ ในเครือบริษัท สหฟาร์ม จำกัด ที่ประกาศหยุดกิจการ และถูกแรงงานด่างด้าวประท้วง เนื่องจากค้างจ่ายค่าแรง 2 งวด นางอภิญญา ขาวลิขิต สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมประชุมกับผู้บริหารบริษัท โดยนางอภิญญา กล่าวภายหลังว่า มาติดตามเรื่องการจ่ายค่าจ้างเดือนพฤษภาคม ซึ่งทางบริษัทกำหนดจ่ายในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้ และค่าจ้างเดือนมิถุนายน จ่ายช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคม โดยโอนเข้าบัญชีธนาคารให้ลูกจ้างเบิกถอนได้ทางตู้เอทีเอ็ม ซึ่งเป็นเส้นทางปกติ ส่วนจำนวนลูกจ้างกำลังตรวจสอบ แต่ตามบัญชีมีแรงงานพม่า 3,017 คน
นายกษิต โฆษิตานนท์ ประธานหอการค้าจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่าสหฟาร์มเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ จึงมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจระดับมหภาคแน่นอน เนื่องจากมีคนหลากหลายอาชีพที่ได้รับความเดือดร้อนตามไปด้วย โดยเฉพาะผู้ค้ารายย่อย หรือลูกเล้าที่ทำสัญญากับบริษัท และลงทุนไปแล้ว แต่เกิดปัญหาหนี้สิน กลุ่มคนเหล่านี้น่าเป็นห่วงกว่าแรงงงานในระบบ ซึ่งได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายอยู่แล้ว ทางราชการจึงควรเร่งยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้มีสัญญาณบ่งชี้ เนื่องจากกลุ่มพ่อค้าพืชไร่ในเพชรบูรณ์ 30-40 ราย หยุดป้อนข้าวโพดให้แก่บริษัท ทราบว่าเนื่องจากปัญหาหนี้สินเช่นเดียวกัน โดยมูลหนี้ราว 1,000 ล้านบาท จึงอยากเสนอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)เข้ามาสอบสวนข้อเท็จจริง
แหล่งข่าวจากวงการผู้ส่งออกไก่ กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทผู้ส่งออกไก่แปรรูปได้รับคำสั่งซื้อล่วงหน้าไปจนถึงสิ้นปีนี้แล้ว จนแทบผลิตไม่ทัน สืบเนื่องจากสหฟาร์มมีปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างหนัก ทำให้โรงงานชำแหละไก่และโรงงานในเครือฯต้องลดกำลังการผลิตลง จากปริมาณไก่ที่เข้าโรงเชือดมีน้อยลง เพราะลูกเล้า (คอนแทรก ฟาร์มมิ่ง) ลดการส่งไก่เข้าโรงชำแหละสหฟาร์ม แต่หันไปเลี้ยงไก่ให้ค่ายอื่นแทน
นอกเหนือจากคำสั่งซื้อไก่แปรรูปที่ทะลักเข้ามาแล้ว ราคาเนื้อไก่และชิ้นส่วนไก่ในประเทศเองก็ดีดตัวสูงขึ้นด้วย เนื่องจากสหฟาร์มมีส่วนแบ่งการตลาดในการผลิตไก่ถึง 20%ของปริมาณการผลิตทั้งหมด เมื่อสหฟาร์มปิดโรงงานชั่วคราว ทำให้ปริมาณการผลิตไก่หายไปจากระบบ
ก่อนหน้าที่ โรงงานชำแหละไก่สหฟาร์มทั้ง 2แห่งจะปิดตัวลง โรงงานดังกล่าวก็มีการสลับกันหยุด เนื่องจากไม่มีไก่เข้ามาในโรงเชือด ทำให้กำลังการชำแหละไก่ที่เคยสูงถึง 6-7 แสนตัว/วัน ลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง หลังจากบริษัทฯเพิ่งขยายกำลังการผลิตโรงงานได้ไม่นาน และไก่ที่เข้ามาในโรงชำแหละนี้ก็มีน้ำหนักน้อยไม่ถึง 2 กิโลกรัม/ตัว ทำให้ไม่ได้ขนาดพอที่จะส่งออกได้ ส่งผลต่อตลาดส่งออกสะดุดตามไปด้วย ดังนั้น ลูกค้าสหฟาร์มจึงต้องหันมาขอซื้อสินค้ากับผู้ผลิตรายอื่นๆในไทยแทน
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า แนวทางรอดของสหฟาร์มนั้นคงต้องดิ้นรนเจรจาหาแหล่งเงินกู้เพิ่มเติมเพื่อมาฟื้นฟูกิจการ คาดว่าจะใช้เงินไม่ต่ำกว่า 5 พันล้านบาทเพื่อมาพยุงธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ หรือเจรจาหาพันธมิตรเข้ามาร่วมถือหุ้น ที่ผ่านมา สหฟาร์มเป็นบริษัทผลิตและส่งออกไก่สดและแปรรูปรายใหญ่ของประเทศ ซึ่งการซวนเซของธุรกิจในครั้งนี้ เนื่องจากบริษัท ได้มีการลงทุนเกินตัวในช่วงจังหวะที่ไม่เหมาะสม โดยในปีที่แล้ว ผู้เลี้ยงไก่ประสบปัญหาราคาอาหารสัตว์พุ่งถึง 30%จากราคากากถั่วเหลืองและข้าวโพดแพงมาก แถมเจอค่าแรง 300 บาท/วัน ค่าไฟฟ้าเอฟทีที่ปรับเพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ขณะที่ราคาส่งออกไก่แปรรูปกลับไม่สามารถเรียกราคาได้ตามต้นทุนที่สูงขึ้นได้ ทำให้บริษัทฯประสบปัญหาการขาดทุนอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
ในปีนี้ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตลูกไก่อยู่ที่ 24-25 ล้านตัว น้อยกว่าปีก่อนที่มีปริมาณลูกไก่ 26.5 ล้านตัว เนื่องจากผู้ประกอบการลดการผลิตลูกไก่ลง และราคาอาหารสัตว์ในปีนี้ก็มีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลงจากปีก่อน จากผลผลิตข้าวโพดและถั่วเหลืองปลูกได้มากขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้ราคาไก่เป็นอยู่ที่ 46-47 บาท/กิโลกรัม ดีขึ้นกว่าปีก่อนที่อยู่กิโลกรัมละ 30 กว่าบาท ซึ่งเป็นระดับราคาที่ผู้ประกอบการเริ่มมีกำไร
ด้านนายปัญญา โชติเทวัญ ประธานกรรมการบริษัท สหฟาร์ม ให้สัมภาษณ์ "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า บริษัทฯอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาขาดสภาพคล่องอยู่ โดยจะขายสินทรัพย์ของบริษัทบางส่วนเพื่อนำเงินมาจ่ายเงินเดือน ขณะเดียวกัน ประเทศผู้นำเข้าไก่แถบตะวันออกกลาง ได้เสนอเข้ามาช่วยเหลือด้านเงินทุน เพื่อให้สหฟาร์มผลิตไก่ป้อนตลาดให้ต่อไป โดยขณะนี้ตกลงกันเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการนำเงินมาร่วมลงทุนจำนวนหลายพันล้าน คาดว่าจะใช้เวลาราว 2 เดือน บริษัทฯจะกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ จากปัจจุบันสหฟาร์มต้องลดกำลังการผลิตไปมาก แต่ยังมีบางส่วนผลิตไก่ป้อนให้ลูกค้าอยู่
ทั้งนี้ บริษัทยืนยันว่าจะจ่ายเงินให้พนักงานแน่นอนเมื่อมีทุนใหม่เข้ามา เพื่อให้กิจการเดินหน้าต่อไปได้หลังจากก่อตั้งสหฟาร์มากว่า 45 ปีไม่ล้มหรือเลิกกิจการอย่างแน่นอน ซึ่งแต่ละเดือนบริษัทฯมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนกว่า 200-300 ล้านบาทจากจำนวนพนักงาน 2 หมื่นคน และมียอดส่งออกไก่กว่า 5 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ สหฟาร์มมีปัญหาสภาพคล่องมาตั้งแต่ปี 55 จากหลายสาเหตุ ทั้งวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาแพง การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและเงินบาทแข็งค่า โดยบริษัทมีทุนน้อยทำให้ไม่สามารถประมูลซื้อวัตถุดิบจากสต็อกรัฐได้ ทำให้ไม่มีอาหารสัตว์มาเลี้ยงไก่ ทำให้ต้องลดการผลิตไก่ลง รายได้จึงลดลง กระทบไปทั้งองค์กร ขณะที่ปัญหาค่าแรงและเงินบาทแข็งค่า ทำให้ต้นทุนผลิตสูงขึ้น แต่ไม่สามารถเรียกร้องจากลูกค้าได้ บริษัทปรับตัวไม่ได้จึงขาดทุนอย่างหนัก และแบงก์ก็ไม่ได้สนับสนุนสินเชื่อ
**แนะ"ดีเอสไอ"สอบข้อเท็จจริงรง.เพชรบูรณ์
ที่บริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จํากัด เลขที่ 99/2 หมู่ 4 ต.กันจุ อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ ในเครือบริษัท สหฟาร์ม จำกัด ที่ประกาศหยุดกิจการ และถูกแรงงานด่างด้าวประท้วง เนื่องจากค้างจ่ายค่าแรง 2 งวด นางอภิญญา ขาวลิขิต สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมประชุมกับผู้บริหารบริษัท โดยนางอภิญญา กล่าวภายหลังว่า มาติดตามเรื่องการจ่ายค่าจ้างเดือนพฤษภาคม ซึ่งทางบริษัทกำหนดจ่ายในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้ และค่าจ้างเดือนมิถุนายน จ่ายช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคม โดยโอนเข้าบัญชีธนาคารให้ลูกจ้างเบิกถอนได้ทางตู้เอทีเอ็ม ซึ่งเป็นเส้นทางปกติ ส่วนจำนวนลูกจ้างกำลังตรวจสอบ แต่ตามบัญชีมีแรงงานพม่า 3,017 คน
นายกษิต โฆษิตานนท์ ประธานหอการค้าจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่าสหฟาร์มเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ จึงมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจระดับมหภาคแน่นอน เนื่องจากมีคนหลากหลายอาชีพที่ได้รับความเดือดร้อนตามไปด้วย โดยเฉพาะผู้ค้ารายย่อย หรือลูกเล้าที่ทำสัญญากับบริษัท และลงทุนไปแล้ว แต่เกิดปัญหาหนี้สิน กลุ่มคนเหล่านี้น่าเป็นห่วงกว่าแรงงงานในระบบ ซึ่งได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายอยู่แล้ว ทางราชการจึงควรเร่งยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้มีสัญญาณบ่งชี้ เนื่องจากกลุ่มพ่อค้าพืชไร่ในเพชรบูรณ์ 30-40 ราย หยุดป้อนข้าวโพดให้แก่บริษัท ทราบว่าเนื่องจากปัญหาหนี้สินเช่นเดียวกัน โดยมูลหนี้ราว 1,000 ล้านบาท จึงอยากเสนอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)เข้ามาสอบสวนข้อเท็จจริง