วานนี้ (10ก.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยตัวแทนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมกันแถลงความคืบหน้าผลการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ตามแนวทางคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล โดย นายพงศ์เทพ กล่าวว่า รัฐบาลได้สอบถามความเห็นไปยังสถาบันการศึกษาใน 3 ข้อ ว่า 1. รัฐสภาสามารถแก้ไขรธน.เพื่อให้มีการยกร่างรธน.ฉบับใหม่ได้หรือไม่ 2. ข้อความส่วนหนึ่งในคำวินิจฉัยของศาลรธน. ที่เกี่ยวกับการลงประชามติก่อนการยกร่างรธน.ใหม่ทั้งฉบับ มีผลทางกฎหมายหรือไม่ อย่างไร การให้ออกเสียงประชามติจากหลังจากยกร่างรธน.ฉบับใหม่เสร็จแล้วตามกระบวนการที่ร่างรธน.แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดไว้สอดคล้องกับความเห็นของศาลรธน.หรือไม่ และ 3. การจัดการออกเสียงประชามติ ควรให้มีการยกร่างรธน.ใหม่หรือไม่ ตามรธน. มาตรา 165 ก่อนที่รัฐสภาลงมติวาระที่ 3 ของร่างรธน. แก้ไขเพิ่มเติม ที่ค้างอยู่ จะทำได้หรือไม่ และถ้าหากจะจัดให้มีการทำประชามติ ควรจัดแบบให้มีข้อยุติ หรือแบบให้คำปรึกษา และแต่ละแบบมีข้อเสีย อย่างไร และจะมีผลต่อการลงมติในวาระ 3 หรือไม่ อย่างไร
“ผลการศึกษาดังกล่าว จะถูกนำไปประกอบการพิจารณา แต่รัฐบาลไม่ได้นำสถาบันการศึกษาเหล่านี้ มาการันตีความชอบธรรมให้กับสภาผู้แทนราษฎรในการเดินหน้าแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291” นายพงศ์เทพ กล่าว
นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ขณะนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ส่งผลการศึกษามาเป็นที่แรก โดยจะส่งให้ผู้ที่มีอำนาจและสมาชิกรัฐสภาพิจารณาก่อน แต่ยังเหลือผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่นๆอีก แต่ในส่วนการดำเนินการแก้ไขรธน. ที่ยังค้างการลงมติวาระ 3 นั้น ก็เป็นอำนาจของสมาชิกรัฐสภา ว่าจะดำเนินการหรือไม่
ด้านนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และ อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวสรุปความเห็นในส่วนของ ม.ธรรมศาสตร์ว่า ในส่วนของคำวินิจฉัยของศาลรธน. ที่ว่ารัฐสภาจะสามารถแก้ไขเพิ่มเติมรธน. เพื่อให้มีการยกร่างฉบับใหม่ได้หรือไม่นั้น มีความเห็นต่างกันสองทาง โดยการแก้ไขอาจนำไปสู่การยกเลิกทั้งฉบับ ซึ่งจะขัดต่อรธน. แต่ในอีกทางหนึ่งก็ให้ความเห็นว่า สามารถดำเนินการแก้ไขได้ เนื่องจากมีตัวอย่างการแก้ไขรธน.ในอดีต ที่นำมาสู่การยกร่างฉบับใหม่ เช่น การแก้ไขเพิ่มเติมรธน. ในปี 2539 ที่เป็นที่มาของรธน. ฉบับปี 2540
ส่วนประเด็นการแก้ไขรธน. จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐหรือไม่นั้น สรุปได้ว่า ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐได้ เนื่องจากมีการกำหนดข้อห้ามไว้ชัดเจน และมองว่าการแก้ไขเพื่อยกร่างรธน.ใหม่ ไม่ได้เป็นการล้มล้าง แต่เป็นการมาแทนที่เท่านั้น ซึ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการล้มล้างการปกครอง ศาลรธน. ก็ได้ยกคำร้องไป เนื่องจากมองว่า การกระทำของรัฐสภาไม่ได้ล้มล้างการปกครองตามรธน. มาตรา 68 ศาลรธน. จึงไม่มีอำนาจ สั่งการให้รัฐสภา เลิกการกระทำการดังกล่าว ส่วนความเหมาะสมในการแก้ไขรธน.หรือไม่ ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง
สำหรับเรื่องคำวินิจฉัยของศาลรธน. ที่เกี่ยวกับการทำประชามติก่อนการยกร่างรธน.ใหม่ มีผลทางกฎหมายหรือไม่นั้น ทางคณะทำงานเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลรธน.ชัดเจนว่า เป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้น เพราะใช้คำว่า "ควร" ไม่ได้มีการระบุว่า "ต้อง" จึงไม่มีผลทางกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม คำแนะนำดังกล่าว อาจมีผลทางการเมือง จากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย จนเกินการต่อต้าน นำมาสู่ความขัดแย้งรอบใหม่ในสังคมไทยได้
อย่างไรก็ตาม แนวทางการทำประชามติหลังจากมีการยกร่างรธน.ฉบับใหม่นั้น อาจไม่สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรธน. เนื่องจากคำแนะนำของศาลฯระบุ ว่า ควรจะมีการลงประชามติก่อนว่า สมควรจะมีรธน. ฉบับใหม่ หรือไม่
นายปริญญา อธิบายว่า เรื่องการทำประชามติในระหว่างการแก้ไขรธน. ก่อนลงมติวาระ 3 ได้หรือไม่นั้น มีความเห็น 2 ทางว่า ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากการร่างรธน.ฉบับใหม่ ขัดแย้งกับรธน.ฉบับเดิม จึงขัดต่อวิธีการทำประชามติ ตามมาตรา 165 ที่ไม่สามารถจัดให้มีการออกเสียงในเรื่องที่ขัดรธน.
แต่ในอีกทางหนึ่งมองว่า สามารถกระทำได้ เนื่องจากการแก้ไขรธน.สามารถทำได้ เพราะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และศาลรธน.ยังให้แนวทางการทำประชามติ ก่อนทำการยกร่าง และควรให้การทำประชามติ เป็นข้อยุติ โดยให้สมาชิกรัฐสภายินยอมผูกพันตามมติของประชาชน
ดังนั้นการดำเนินการใดๆ ต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเกิดผลทางการเมืองหรือไม่ก็ตาม ต้องอยู่บนกติกาที่มีอยู่ และไม่ควรมีการอ้างเสียงข้างมากเพียงอย่างเดียว ควรจะมีฉันทามติร่วมกัน เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกจากการร่างรธน.ฉบับใหม่ ซึ่งสิ่งที่คณะทำงานด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ได้ศึกษา ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อเสนอต่อรัฐบาลเท่านั้น แต่มุ่งเสนอแก่สังคมเพื่อให้เกิดสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง พร้อมเสนอคำถามที่สำคัญต่อสังคม เพิ่มเติมจากประเด็นคำถามของรัฐบาล ให้ช่วยกันตอบในการทำประชามติว่า ประเทศไทยควรจะมีการยกร่างรธน.ฉบับใหม่หรือไม่ ทั้งนี้ต้องมีผู้มาออกเสียงเป็นจำนวนเสียงข้างมาก ของผู้มีสิทธิออกเสียง และมีจำนวนเสียงกึ่งหนึ่ง ของผู้มาออกเสียงในเรื่องที่จะจัดทำประชามตินั้น
“ประเทศจำเป็นต้องมีกติกาสูงสุด ที่จะยึดเป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกัน ไม่ควรใช้เสียงข้างมาก แต่ควรจะมีฉันทามติร่วมกัน ก่อนที่จะดำเนินการในเรื่องใดๆก็ตาม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง”นายปริญญา กล่าว
ขณะที่ นายศุภสวัสดิ์ ชัชวาล คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ได้ให้ความเห็นในแง่มุมของรัฐศาสตร์ ว่า การดำเนินการใดๆ ต้องคำนึงถึงมิติทางการเมือง หากจะมีการดำเนินการแก้ไขรธน. ที่ถือเป็นกฎหมายสูงสุด ควรมีการสร้างฉันทามติร่วมกัน มากกว่าการยึดเสียงข้างมากอย่างเดียว ควรคำนึงถึงความเห็นของประชาชนที่เห็นต่างด้วย เพราะการทำประชามติทุกครั้ง มักมีนัยยะทางการเมืองควบคู่ด้วยเสมอ จากการอ้างเสียงข้างมาก ซึ่งในท้ายที่สุด จะนำมาสู่ความแตกแยกทางการเมืองที่รุน แรงอย่างแน่นอน
ด้าน นายบัณฑิต จันทร์โรจนกิจ รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง ได้กล่าวเสริมในส่วนความคืบหน้าการการศึกษาของม.รามคำแหง ว่า ได้เชิญตัวแทนจากหลายมหาวิทยาลัย อาทิ ม.ศิลปากร จุฬาฯ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา มาหารือในรูปแบบของคณะทำงาน เพื่อดำเนินการร่วมกัน เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ จึงต้องดูมุมมองด้านรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ ไม่ใช่แค่กฎหมายอย่างเดียว โดยการทำงานได้จัดเป็นเวทีรับฟังความคิดเห็น 6 ครั้ง จากวิทยากร 30 คน จึงขอเวลารวบรวมผลการวิจัยให้แล้วเสร็จ ไม่เกิน 30 วัน ก่อนจะรายงานให้ทราบต่อไป
“ผลการศึกษาดังกล่าว จะถูกนำไปประกอบการพิจารณา แต่รัฐบาลไม่ได้นำสถาบันการศึกษาเหล่านี้ มาการันตีความชอบธรรมให้กับสภาผู้แทนราษฎรในการเดินหน้าแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291” นายพงศ์เทพ กล่าว
นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ขณะนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ส่งผลการศึกษามาเป็นที่แรก โดยจะส่งให้ผู้ที่มีอำนาจและสมาชิกรัฐสภาพิจารณาก่อน แต่ยังเหลือผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่นๆอีก แต่ในส่วนการดำเนินการแก้ไขรธน. ที่ยังค้างการลงมติวาระ 3 นั้น ก็เป็นอำนาจของสมาชิกรัฐสภา ว่าจะดำเนินการหรือไม่
ด้านนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และ อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวสรุปความเห็นในส่วนของ ม.ธรรมศาสตร์ว่า ในส่วนของคำวินิจฉัยของศาลรธน. ที่ว่ารัฐสภาจะสามารถแก้ไขเพิ่มเติมรธน. เพื่อให้มีการยกร่างฉบับใหม่ได้หรือไม่นั้น มีความเห็นต่างกันสองทาง โดยการแก้ไขอาจนำไปสู่การยกเลิกทั้งฉบับ ซึ่งจะขัดต่อรธน. แต่ในอีกทางหนึ่งก็ให้ความเห็นว่า สามารถดำเนินการแก้ไขได้ เนื่องจากมีตัวอย่างการแก้ไขรธน.ในอดีต ที่นำมาสู่การยกร่างฉบับใหม่ เช่น การแก้ไขเพิ่มเติมรธน. ในปี 2539 ที่เป็นที่มาของรธน. ฉบับปี 2540
ส่วนประเด็นการแก้ไขรธน. จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐหรือไม่นั้น สรุปได้ว่า ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐได้ เนื่องจากมีการกำหนดข้อห้ามไว้ชัดเจน และมองว่าการแก้ไขเพื่อยกร่างรธน.ใหม่ ไม่ได้เป็นการล้มล้าง แต่เป็นการมาแทนที่เท่านั้น ซึ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการล้มล้างการปกครอง ศาลรธน. ก็ได้ยกคำร้องไป เนื่องจากมองว่า การกระทำของรัฐสภาไม่ได้ล้มล้างการปกครองตามรธน. มาตรา 68 ศาลรธน. จึงไม่มีอำนาจ สั่งการให้รัฐสภา เลิกการกระทำการดังกล่าว ส่วนความเหมาะสมในการแก้ไขรธน.หรือไม่ ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง
สำหรับเรื่องคำวินิจฉัยของศาลรธน. ที่เกี่ยวกับการทำประชามติก่อนการยกร่างรธน.ใหม่ มีผลทางกฎหมายหรือไม่นั้น ทางคณะทำงานเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลรธน.ชัดเจนว่า เป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้น เพราะใช้คำว่า "ควร" ไม่ได้มีการระบุว่า "ต้อง" จึงไม่มีผลทางกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม คำแนะนำดังกล่าว อาจมีผลทางการเมือง จากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย จนเกินการต่อต้าน นำมาสู่ความขัดแย้งรอบใหม่ในสังคมไทยได้
อย่างไรก็ตาม แนวทางการทำประชามติหลังจากมีการยกร่างรธน.ฉบับใหม่นั้น อาจไม่สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรธน. เนื่องจากคำแนะนำของศาลฯระบุ ว่า ควรจะมีการลงประชามติก่อนว่า สมควรจะมีรธน. ฉบับใหม่ หรือไม่
นายปริญญา อธิบายว่า เรื่องการทำประชามติในระหว่างการแก้ไขรธน. ก่อนลงมติวาระ 3 ได้หรือไม่นั้น มีความเห็น 2 ทางว่า ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากการร่างรธน.ฉบับใหม่ ขัดแย้งกับรธน.ฉบับเดิม จึงขัดต่อวิธีการทำประชามติ ตามมาตรา 165 ที่ไม่สามารถจัดให้มีการออกเสียงในเรื่องที่ขัดรธน.
แต่ในอีกทางหนึ่งมองว่า สามารถกระทำได้ เนื่องจากการแก้ไขรธน.สามารถทำได้ เพราะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และศาลรธน.ยังให้แนวทางการทำประชามติ ก่อนทำการยกร่าง และควรให้การทำประชามติ เป็นข้อยุติ โดยให้สมาชิกรัฐสภายินยอมผูกพันตามมติของประชาชน
ดังนั้นการดำเนินการใดๆ ต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเกิดผลทางการเมืองหรือไม่ก็ตาม ต้องอยู่บนกติกาที่มีอยู่ และไม่ควรมีการอ้างเสียงข้างมากเพียงอย่างเดียว ควรจะมีฉันทามติร่วมกัน เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกจากการร่างรธน.ฉบับใหม่ ซึ่งสิ่งที่คณะทำงานด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ได้ศึกษา ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อเสนอต่อรัฐบาลเท่านั้น แต่มุ่งเสนอแก่สังคมเพื่อให้เกิดสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง พร้อมเสนอคำถามที่สำคัญต่อสังคม เพิ่มเติมจากประเด็นคำถามของรัฐบาล ให้ช่วยกันตอบในการทำประชามติว่า ประเทศไทยควรจะมีการยกร่างรธน.ฉบับใหม่หรือไม่ ทั้งนี้ต้องมีผู้มาออกเสียงเป็นจำนวนเสียงข้างมาก ของผู้มีสิทธิออกเสียง และมีจำนวนเสียงกึ่งหนึ่ง ของผู้มาออกเสียงในเรื่องที่จะจัดทำประชามตินั้น
“ประเทศจำเป็นต้องมีกติกาสูงสุด ที่จะยึดเป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกัน ไม่ควรใช้เสียงข้างมาก แต่ควรจะมีฉันทามติร่วมกัน ก่อนที่จะดำเนินการในเรื่องใดๆก็ตาม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง”นายปริญญา กล่าว
ขณะที่ นายศุภสวัสดิ์ ชัชวาล คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ได้ให้ความเห็นในแง่มุมของรัฐศาสตร์ ว่า การดำเนินการใดๆ ต้องคำนึงถึงมิติทางการเมือง หากจะมีการดำเนินการแก้ไขรธน. ที่ถือเป็นกฎหมายสูงสุด ควรมีการสร้างฉันทามติร่วมกัน มากกว่าการยึดเสียงข้างมากอย่างเดียว ควรคำนึงถึงความเห็นของประชาชนที่เห็นต่างด้วย เพราะการทำประชามติทุกครั้ง มักมีนัยยะทางการเมืองควบคู่ด้วยเสมอ จากการอ้างเสียงข้างมาก ซึ่งในท้ายที่สุด จะนำมาสู่ความแตกแยกทางการเมืองที่รุน แรงอย่างแน่นอน
ด้าน นายบัณฑิต จันทร์โรจนกิจ รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง ได้กล่าวเสริมในส่วนความคืบหน้าการการศึกษาของม.รามคำแหง ว่า ได้เชิญตัวแทนจากหลายมหาวิทยาลัย อาทิ ม.ศิลปากร จุฬาฯ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา มาหารือในรูปแบบของคณะทำงาน เพื่อดำเนินการร่วมกัน เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ จึงต้องดูมุมมองด้านรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ ไม่ใช่แค่กฎหมายอย่างเดียว โดยการทำงานได้จัดเป็นเวทีรับฟังความคิดเห็น 6 ครั้ง จากวิทยากร 30 คน จึงขอเวลารวบรวมผลการวิจัยให้แล้วเสร็จ ไม่เกิน 30 วัน ก่อนจะรายงานให้ทราบต่อไป