วานนี้ (2 ก.ค.)ที่ทำเนียบรัฐบาลเวลา 13.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ไม่เข้าร่วมครม. ท่ามกลางกระแสข่าวความไม่พอใจที่ถูกปรับออกจากรองนายกรัฐมนตรี ไปเป็น รมว.แรงงานว่า สาเหตุที่ ร.ต.อ.เฉลิม ไม่เข้าร่วมประชุม ครม.เพราะไปตรวจสุขภาพ ไม่มีอะไร ขอความกรุณาสื่อมวลชนอย่าเข้าใจผิด เรายังคุยกันดีอยู่ และความจริงการให้ไปดูงานกระทรวงก็ถือว่ามีความสำคัญ เพราะการทำงานต้องลงรายละเอียด ไม่เหมือนกับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีที่เป็นเพียงการบูรณาการมากกว่า อีกทั้งกระทรวงแรงงานก็เป็นกระทรวงหลักที่ต้องดูแลผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาล เราจึงต้องการผู้ที่มีความชำนาญลงไปช่วยดูแลให้ เมื่อถามว่าได้ยินกระแสข่าวที่ ร.ต.อ.เฉลิม น้อยใจถึงขั้นเตรียมลาออกจากตำแหน่ง รมว.แรงงานหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวปฏิเสธว่า “ไม่มีหรอกคะ เราทำงานด้วยกันมาอยู่แล้ว วันนี้ท่านบอกแล้วว่าไปตรวจสุขภาพ ยืนยันว่าไม่มีเรื่องของความขัดแย้ง”
ส่วนกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม ออมาพูดเรื่องความขัดแย้งกับ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. จึงได้ถูกปรับให้ไปเป็น รมว.แรงงาน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การพูดถือเป็นการแสดงความเห็นที่อาจแตกต่างกันได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเกิดความขัดแย้ง ทุกอย่างเราต้องมีการเสนอในมุมมองต่าง ๆ แต่ทั้ง 2 ท่านก็ยังพูดคุยกันเหมือนเดิม ดังนั้นไม่ต้องห่วง เมื่อถามย้ำแสดงว่ามั่นใจว่า ร.ต.อ.เฉลิมจะยอมรับและนั่งทำหน้าที่ในตำแหน่ง รมว.แรงงานต่อไปใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า น่าเชื่อว่าอย่างนั้น เพราะจริง ๆ ตนก็รู้จักกับ ร.ต.อ.เฉลิมมานาน ท่านเป็นคนที่มีความตั้งใจ และอยู่ร่วมรัฐบาลมานาน อย่างไรก็ตามตนยังไม่ได้พูดคุยกับ ร.ต.อ.เฉลิม เพียงแต่ท่านแจ้งผ่านมาทางเลขาธิการ ครม.ว่าไม่ต้องห่วง ที่ไม่เข้าประชุม ครม.เพราะไปตรวจสุขภาพ
นายกรัฐมนตรี ยังได้ชี้แจงอีกครั้งถึงการนั่งควบตำแหน่ง รมว.กลาโหมว่า ต้องการเข้าใจการทำงานและบทบาทของกองทัพมากขึ้นเพื่อที่รัฐบาลจะได้เข้าไปให้การสนับสนุนได้ เพราะรัฐบาลเห็นและให้ความสำคัญกับงานด้านความมั่นคง และเรื่องการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยากให้การทำงานเป็นเอกภาพ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการฟ้าวันใหม่ ทางบลูสกาย แชแนลว่า คงไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานดีขึ้น ส่วนจะแย่ลงหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดเพราะการแก้ปัญหาของภาคใต้นั้นมันรวมจุดอยู่ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธานอยู่ด้วย นอกจากนี้ในแง่ของความมั่นคงภายใน คือ กอ.รมน. นายกรัฐมนตรีก็ดำรงตำแหน่งเป็นผอ.กอ.รมน.อยู่แล้ว แต่ปัญหาที่ผ่านมาคือนายกฯ ไม่ทำหน้าที่ พอมีปัญหาเรื่องภาคใต้ แทนที่จะใช้ความเป็น ผอ.กอ.รมน. หรือการใช้ความเป็นประธานศอ.บต. แต่กลับไปตั้งกลไกใหม่ มอบให้คนอื่นรับผิดชอบ
“เพราะฉะนั้นปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าใครเป็นรมว.กลาโหม แต่ปัญหาอยู่ที่ นายกฯ ไม่ทำหน้าที่นายกฯ ในการแก้ปัญหา จากการที่เป็นตำแหน่งต่างๆ ถ้าเราไปเข้าใจว่าการที่นายกฯควบตำแหน่งรมว.กลาโหม แล้วจะทำให้นายกฯเข้ามาแก้ปัญหาได้มากขึ้น ถือว่าเข้าใจผิด เพราะการแก้ปัญหาภาคใต้ไม่ได้อยู่ที่กระทรวงกลาโหมกระทรวงเดียว และการทำอย่างนี้ไม่ได้ใช้การเมืองนำการทหาร ผมหวังว่านายกฯ จะเข้าใจว่า สถานะของท่านในฐานะนายกฯ และโดยตำแหน่งนั้น เป็นผู้รับผิดชอบทั้ง ศอ.บต. และ กอ.รมน. อยู่แล้ว มันเพียงพออยู่แล้ว แต่ผมเข้าใจว่าคำตอบนายกฯ นั้นเบี่ยงเบนไปเพราะความเปลี่ยนแปลงจริงๆ ก็คือครั้งนี้มีรัฐมนตรีช่วย ทำให้ฝ่ายการเมืองมีเสียงเพิ่มขึ้น ในคณะกรรมการโยกย้ายแต่งตั้งทหาร อันนี้คือข้อเท็จจริง และเพื่อเป็นการพิสูจน์ ต่อไปนี้ขอให้ติดตาม ว่าเวลาเกิดเหตุ เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับภาคใต้นั้น นายกฯ ยังจะไปให้คนอื่นตอบอีกหรือเปล่า”นายอภิสิทธิ์ กล่าว.
อีกด้านนายอนันต์ ศรีพันธุ์ ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย หนึ่งในกลุ่มส.ส.ที่ใกล้ชิดร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน กล่าวว่า สาเหตุที่ร.ต.อ.เฉลิม ไม่ร่วมประชุมครม.วันนี้ เนื่องจากติดนัดแพทย์ไว้ ไม่ได้เกี่ยวกับการที่มีข่าวจะลาออกจากตำแหน่งเลย ยืนยันว่าร.ต.อ.เฉลิม จะยังทำหน้าที่รมว.แรงงาน ซึ่งตนทราบว่าท่านจะเข้าไปที่กระทรวงแรงงานในวันพฤหัสบดีที่ 4ก.ค. นี้ เท่าที่ได้คุยกับท่านในเรื่องการปรับครม.ครั้งนี้ ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ท่านจะไม่แฮ๊ปปี้ เพราะถูกลดชั้นลงมา ก็มีน้อยใจเป็นธรรมดา แต่จะทำอย่างไรได้ ต้องจำยอม เขาให้อยู่ตรงไหนก็ต้องอยู่ และทำหน้าที่ให้ดีที่สุด แม้จะเป็นงานใหม่แต่ด้วยประสบการณ์ของร.ต.อ.เฉลิม ก็คงจะเรียนรู้งานได้ไม่ยาก ยืนยันว่าการลาออกของร.ต.อ.เฉลิม ยังไม่เกิดขึ้นในขณะนี้แน่นอน เพิ่งได้รับการโปรดเกล้ามา จะลาออกได้อย่างไร มันเร็วเกินไป เข้ามาแล้วก็ต้องทำงานก่อน ทำให้ดีที่สุด หากทำงานไปแล้วเจอปัญหาก็ต้องมาพิจารณากันอีกที อย่างน้อยก็ต้องทำงานไปก่อน2-5 เดือน แม้จะเป็นงานที่ไม่ถนัด แต่ก็ต้องศึกษางาน เชื่อว่าร.ต.อ.เฉลิม จะทำได้ดี
นายอนันต์ กล่าวว่า แน่นอนว่าการที่ไม่มีร.ต.อ.เฉลิม เป็นรองนายกรัฐมนตรี ย่อมมีผลกระทบต่อรัฐบาลแน่นอน อย่างน้อยเห็นได้ชัดก็คือเกมในสภา ที่ก่อนหน้านี้ท่านเป็นรองนายกฯ สามารถตอบแทนได้หมดทุกเรื่อง ตอบแทนนายกฯได้ แต่เมื่อมาเป็นรมว.แรงงานแล้ว ก็ต้องตอบเฉพาะเรื่องของกระทรวงแรงงานเท่านั้น ต้องยอมรับว่าเกมการเมืองในสภาในพรรคเพื่อไทย หาคนที่จะทันเกมเหมือนร.ต.อ.เฉลิม มีน้อยจริงๆ ไม่ใช่ว่าพรรคเพื่อไทยไม่มีคนเก่ง แต่คนที่ครบเครื่องอย่างร.ต.อ.เฉลิมนั้นมีน้อย ดูแล้วไม่มีใครแทนร.ต.อ.เฉลิมได้
นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย สายเสื้อแดง กล่าวว่า เป็นธรรมดาที่นักการเมืองได้รับในสิ่งที่ไม่ต้องการ คนได้ชอบ คนเสียไม่ชอบ ก็ต้องน้อยใจเป็นธรรมดา แต่คิดว่าร.ต.อ.เฉลิม เข้าใจว่าการปรับเปลี่ยนเป็นสิทธิของนายกฯ เชื่อท่านก็คงต้องทำงานต่อไป แต่หากจะมีการเปลี่ยนแปลงจริง ตนก็ยังมองว่านายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช. ก็คงไม่ได้รับเลือกตั้งนั่งตำแหน่งนี้ เพราะกระทรวงแรงงานไม่เหมาะกับนายจตุพร เหมือนตั้งร.ต.อ.เฉลิมมาทำงานที่ไม่ถนัด อย่างนายจตุพร จะต้องอยู่กระทรวงมหาดไทยถึงจะเหมาะสมที่สุด
ที่ รพ.พระมงกุฎเกล้า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน เปิดเผยภายหลังเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายประจำปี ว่า การมาพบแพทย์ครั้งนี้เป็นไปตามปกติที่แพทย์มีการนัดหมายล่วงหน้ามานานแล้ว เนื่องจากเครื่องมือที่จะใช้ตรวจเพิ่งว่าง ซึ่งผลการตรวจทุกอย่างก็เรียบร้อยดี ก็ได้ลาการประชุมไว้แล้ว ทั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวกับข่าวที่ระบุว่าตัวเองไม่พอใจที่ถูกให้ไปเป็น รมว.แรงงาน และในวันที่ 4 ก.ค.นี้จะเดินทางเข้าไปทำงานที่กระทรวงแรงงาน ในเวลา 9.30 น.
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ร.ต.อ.เฉลิม ได้เปรยกับคนใกล้ชิดว่า อาจจะขอทำงานในกระทรงแรงงานก่อน 3 เดือนก่อนพิจารณาลาออกหรือไม่
แหล่งข่าวจากพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การปรับครม.ครั้งนี้ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เพราะมีคนนอกมากเกินไป ที่จริงแล้วคนเป็นรัฐมนตรีควรเป็นคนที่เคยเป็นผู้แทนเป็นส.ส.มาก่อน การปรับครม.อย่างนี้เกรงว่าจะเกิดอัฟเตอร์ช็อคตามมา เป็นแรงกระเพื่อมในพรรคเพื่อไทย เนื่องจากพื้นที่ที่มีส.ส.จำนวนมาก ทั้งภาคอีสาน เหนือ หรือกลาง แต่กลับไม่มีส.ส.เข้าไปเป็นรัฐมนตรี เหมือนไม่เห็นส.ส.อยู่ในสายตา จึงทำให้มีส.ส.บางกลุ่มที่เป็นส.ส.อาวุโส และส.ส.ที่เคยอยู่พรรคอื่นมาก่อน พูดคุยกันว่าหากเป็นอย่างนี้หนักๆเข้า ก็คงจะต้องเตรียมหาที่อยู่กันใหม่ และก็มีแนวคิดที่จะตั้งพรรคใหม่กัน เพราะส.ส.ก็มีศักดิ์ศรีเหมือนกัน ไม่ใช่จะทำอะไรข้ามหัวส.ส.ได้หมด
ที่ผ่านมามีคนบางกลุ่มที่ทำตัวใกล้ชิดนายกฯยิ่งลักษณ์ คอยถือหาง พยายามบอกและแนะนำต่างๆ ต่อนายกฯยิ่งลักษณ์ และให้เป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องฟังคำแนะนำจากพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งคนเหล่านั้นก็ยังคงได้ดี ได้อยู่ในครม.ต่อไป ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนคือ รมต.เศรษฐกิจ เช่น นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ที่จริงต้องถือว่าเป็นพ่อบ้านในครม. เป็นคนที่รู้เรื่องความเป็นไปในนโยบายต่างๆดีที่สุด แต่กลับไม่มีการมาคุยให้ส.ส.ในพรรคฟังเลย ไม่มาบอกให้พรรคได้รับรู้บ้าง แต่พอเกิดปัญหาขึ้นมาก็มาบอกให้พรรคให้ส.ส.ช่วยกันแก้ไข เช่น การลดราคาจำนำข้าวเป็น12,000 บาทต่อตัน มองข้ามกันไปหมด เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะส.ส.จะต้องไปบอกทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน ถึงอยากจะบอกว่า แม้นายกฯยิ่งลักษณ์อยากจะเป็นตัวของตัวเอง แต่ก็ต้องฟังพ.ต.ท.ทักษิณบ้าง ถึงจะเป็นตัวของตัวเองได้ดี เพราะส.ส.ส่วนใหญ่ก็ยังรักและศรัทธาในตัวนายกฯทักษิณอยู่เช่นกัน
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยสามัญทั่วไป พ.ศ.2556 ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทยมาตรา 127 ได้บัญญัติให้ในปีหนึ่งมีสมัยประชุมสามัญทั่วไป และสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ โดยถือให้วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก เป็นวันเริ่มประชุมสมัยสามัญทั่วไป สมัยประชุมของรัฐสภาของสมัยหนึ่งๆ ให้มีกำหนดเวลา 120 วัน ดังนั้น ใน พ.ศ.2556 สมควรเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญทั่วไปตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.2556 เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 127 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สลค.จึงได้ยกร่างกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยสามัญทั่วไปขึ้น ในวันที่ 1 ส.ค.2556 เป็นต้นไป
ส่วนกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม ออมาพูดเรื่องความขัดแย้งกับ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. จึงได้ถูกปรับให้ไปเป็น รมว.แรงงาน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การพูดถือเป็นการแสดงความเห็นที่อาจแตกต่างกันได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเกิดความขัดแย้ง ทุกอย่างเราต้องมีการเสนอในมุมมองต่าง ๆ แต่ทั้ง 2 ท่านก็ยังพูดคุยกันเหมือนเดิม ดังนั้นไม่ต้องห่วง เมื่อถามย้ำแสดงว่ามั่นใจว่า ร.ต.อ.เฉลิมจะยอมรับและนั่งทำหน้าที่ในตำแหน่ง รมว.แรงงานต่อไปใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า น่าเชื่อว่าอย่างนั้น เพราะจริง ๆ ตนก็รู้จักกับ ร.ต.อ.เฉลิมมานาน ท่านเป็นคนที่มีความตั้งใจ และอยู่ร่วมรัฐบาลมานาน อย่างไรก็ตามตนยังไม่ได้พูดคุยกับ ร.ต.อ.เฉลิม เพียงแต่ท่านแจ้งผ่านมาทางเลขาธิการ ครม.ว่าไม่ต้องห่วง ที่ไม่เข้าประชุม ครม.เพราะไปตรวจสุขภาพ
นายกรัฐมนตรี ยังได้ชี้แจงอีกครั้งถึงการนั่งควบตำแหน่ง รมว.กลาโหมว่า ต้องการเข้าใจการทำงานและบทบาทของกองทัพมากขึ้นเพื่อที่รัฐบาลจะได้เข้าไปให้การสนับสนุนได้ เพราะรัฐบาลเห็นและให้ความสำคัญกับงานด้านความมั่นคง และเรื่องการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยากให้การทำงานเป็นเอกภาพ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการฟ้าวันใหม่ ทางบลูสกาย แชแนลว่า คงไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานดีขึ้น ส่วนจะแย่ลงหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดเพราะการแก้ปัญหาของภาคใต้นั้นมันรวมจุดอยู่ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธานอยู่ด้วย นอกจากนี้ในแง่ของความมั่นคงภายใน คือ กอ.รมน. นายกรัฐมนตรีก็ดำรงตำแหน่งเป็นผอ.กอ.รมน.อยู่แล้ว แต่ปัญหาที่ผ่านมาคือนายกฯ ไม่ทำหน้าที่ พอมีปัญหาเรื่องภาคใต้ แทนที่จะใช้ความเป็น ผอ.กอ.รมน. หรือการใช้ความเป็นประธานศอ.บต. แต่กลับไปตั้งกลไกใหม่ มอบให้คนอื่นรับผิดชอบ
“เพราะฉะนั้นปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าใครเป็นรมว.กลาโหม แต่ปัญหาอยู่ที่ นายกฯ ไม่ทำหน้าที่นายกฯ ในการแก้ปัญหา จากการที่เป็นตำแหน่งต่างๆ ถ้าเราไปเข้าใจว่าการที่นายกฯควบตำแหน่งรมว.กลาโหม แล้วจะทำให้นายกฯเข้ามาแก้ปัญหาได้มากขึ้น ถือว่าเข้าใจผิด เพราะการแก้ปัญหาภาคใต้ไม่ได้อยู่ที่กระทรวงกลาโหมกระทรวงเดียว และการทำอย่างนี้ไม่ได้ใช้การเมืองนำการทหาร ผมหวังว่านายกฯ จะเข้าใจว่า สถานะของท่านในฐานะนายกฯ และโดยตำแหน่งนั้น เป็นผู้รับผิดชอบทั้ง ศอ.บต. และ กอ.รมน. อยู่แล้ว มันเพียงพออยู่แล้ว แต่ผมเข้าใจว่าคำตอบนายกฯ นั้นเบี่ยงเบนไปเพราะความเปลี่ยนแปลงจริงๆ ก็คือครั้งนี้มีรัฐมนตรีช่วย ทำให้ฝ่ายการเมืองมีเสียงเพิ่มขึ้น ในคณะกรรมการโยกย้ายแต่งตั้งทหาร อันนี้คือข้อเท็จจริง และเพื่อเป็นการพิสูจน์ ต่อไปนี้ขอให้ติดตาม ว่าเวลาเกิดเหตุ เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับภาคใต้นั้น นายกฯ ยังจะไปให้คนอื่นตอบอีกหรือเปล่า”นายอภิสิทธิ์ กล่าว.
อีกด้านนายอนันต์ ศรีพันธุ์ ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย หนึ่งในกลุ่มส.ส.ที่ใกล้ชิดร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน กล่าวว่า สาเหตุที่ร.ต.อ.เฉลิม ไม่ร่วมประชุมครม.วันนี้ เนื่องจากติดนัดแพทย์ไว้ ไม่ได้เกี่ยวกับการที่มีข่าวจะลาออกจากตำแหน่งเลย ยืนยันว่าร.ต.อ.เฉลิม จะยังทำหน้าที่รมว.แรงงาน ซึ่งตนทราบว่าท่านจะเข้าไปที่กระทรวงแรงงานในวันพฤหัสบดีที่ 4ก.ค. นี้ เท่าที่ได้คุยกับท่านในเรื่องการปรับครม.ครั้งนี้ ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ท่านจะไม่แฮ๊ปปี้ เพราะถูกลดชั้นลงมา ก็มีน้อยใจเป็นธรรมดา แต่จะทำอย่างไรได้ ต้องจำยอม เขาให้อยู่ตรงไหนก็ต้องอยู่ และทำหน้าที่ให้ดีที่สุด แม้จะเป็นงานใหม่แต่ด้วยประสบการณ์ของร.ต.อ.เฉลิม ก็คงจะเรียนรู้งานได้ไม่ยาก ยืนยันว่าการลาออกของร.ต.อ.เฉลิม ยังไม่เกิดขึ้นในขณะนี้แน่นอน เพิ่งได้รับการโปรดเกล้ามา จะลาออกได้อย่างไร มันเร็วเกินไป เข้ามาแล้วก็ต้องทำงานก่อน ทำให้ดีที่สุด หากทำงานไปแล้วเจอปัญหาก็ต้องมาพิจารณากันอีกที อย่างน้อยก็ต้องทำงานไปก่อน2-5 เดือน แม้จะเป็นงานที่ไม่ถนัด แต่ก็ต้องศึกษางาน เชื่อว่าร.ต.อ.เฉลิม จะทำได้ดี
นายอนันต์ กล่าวว่า แน่นอนว่าการที่ไม่มีร.ต.อ.เฉลิม เป็นรองนายกรัฐมนตรี ย่อมมีผลกระทบต่อรัฐบาลแน่นอน อย่างน้อยเห็นได้ชัดก็คือเกมในสภา ที่ก่อนหน้านี้ท่านเป็นรองนายกฯ สามารถตอบแทนได้หมดทุกเรื่อง ตอบแทนนายกฯได้ แต่เมื่อมาเป็นรมว.แรงงานแล้ว ก็ต้องตอบเฉพาะเรื่องของกระทรวงแรงงานเท่านั้น ต้องยอมรับว่าเกมการเมืองในสภาในพรรคเพื่อไทย หาคนที่จะทันเกมเหมือนร.ต.อ.เฉลิม มีน้อยจริงๆ ไม่ใช่ว่าพรรคเพื่อไทยไม่มีคนเก่ง แต่คนที่ครบเครื่องอย่างร.ต.อ.เฉลิมนั้นมีน้อย ดูแล้วไม่มีใครแทนร.ต.อ.เฉลิมได้
นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย สายเสื้อแดง กล่าวว่า เป็นธรรมดาที่นักการเมืองได้รับในสิ่งที่ไม่ต้องการ คนได้ชอบ คนเสียไม่ชอบ ก็ต้องน้อยใจเป็นธรรมดา แต่คิดว่าร.ต.อ.เฉลิม เข้าใจว่าการปรับเปลี่ยนเป็นสิทธิของนายกฯ เชื่อท่านก็คงต้องทำงานต่อไป แต่หากจะมีการเปลี่ยนแปลงจริง ตนก็ยังมองว่านายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช. ก็คงไม่ได้รับเลือกตั้งนั่งตำแหน่งนี้ เพราะกระทรวงแรงงานไม่เหมาะกับนายจตุพร เหมือนตั้งร.ต.อ.เฉลิมมาทำงานที่ไม่ถนัด อย่างนายจตุพร จะต้องอยู่กระทรวงมหาดไทยถึงจะเหมาะสมที่สุด
ที่ รพ.พระมงกุฎเกล้า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน เปิดเผยภายหลังเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายประจำปี ว่า การมาพบแพทย์ครั้งนี้เป็นไปตามปกติที่แพทย์มีการนัดหมายล่วงหน้ามานานแล้ว เนื่องจากเครื่องมือที่จะใช้ตรวจเพิ่งว่าง ซึ่งผลการตรวจทุกอย่างก็เรียบร้อยดี ก็ได้ลาการประชุมไว้แล้ว ทั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวกับข่าวที่ระบุว่าตัวเองไม่พอใจที่ถูกให้ไปเป็น รมว.แรงงาน และในวันที่ 4 ก.ค.นี้จะเดินทางเข้าไปทำงานที่กระทรวงแรงงาน ในเวลา 9.30 น.
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ร.ต.อ.เฉลิม ได้เปรยกับคนใกล้ชิดว่า อาจจะขอทำงานในกระทรงแรงงานก่อน 3 เดือนก่อนพิจารณาลาออกหรือไม่
แหล่งข่าวจากพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การปรับครม.ครั้งนี้ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เพราะมีคนนอกมากเกินไป ที่จริงแล้วคนเป็นรัฐมนตรีควรเป็นคนที่เคยเป็นผู้แทนเป็นส.ส.มาก่อน การปรับครม.อย่างนี้เกรงว่าจะเกิดอัฟเตอร์ช็อคตามมา เป็นแรงกระเพื่อมในพรรคเพื่อไทย เนื่องจากพื้นที่ที่มีส.ส.จำนวนมาก ทั้งภาคอีสาน เหนือ หรือกลาง แต่กลับไม่มีส.ส.เข้าไปเป็นรัฐมนตรี เหมือนไม่เห็นส.ส.อยู่ในสายตา จึงทำให้มีส.ส.บางกลุ่มที่เป็นส.ส.อาวุโส และส.ส.ที่เคยอยู่พรรคอื่นมาก่อน พูดคุยกันว่าหากเป็นอย่างนี้หนักๆเข้า ก็คงจะต้องเตรียมหาที่อยู่กันใหม่ และก็มีแนวคิดที่จะตั้งพรรคใหม่กัน เพราะส.ส.ก็มีศักดิ์ศรีเหมือนกัน ไม่ใช่จะทำอะไรข้ามหัวส.ส.ได้หมด
ที่ผ่านมามีคนบางกลุ่มที่ทำตัวใกล้ชิดนายกฯยิ่งลักษณ์ คอยถือหาง พยายามบอกและแนะนำต่างๆ ต่อนายกฯยิ่งลักษณ์ และให้เป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องฟังคำแนะนำจากพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งคนเหล่านั้นก็ยังคงได้ดี ได้อยู่ในครม.ต่อไป ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนคือ รมต.เศรษฐกิจ เช่น นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ที่จริงต้องถือว่าเป็นพ่อบ้านในครม. เป็นคนที่รู้เรื่องความเป็นไปในนโยบายต่างๆดีที่สุด แต่กลับไม่มีการมาคุยให้ส.ส.ในพรรคฟังเลย ไม่มาบอกให้พรรคได้รับรู้บ้าง แต่พอเกิดปัญหาขึ้นมาก็มาบอกให้พรรคให้ส.ส.ช่วยกันแก้ไข เช่น การลดราคาจำนำข้าวเป็น12,000 บาทต่อตัน มองข้ามกันไปหมด เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะส.ส.จะต้องไปบอกทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน ถึงอยากจะบอกว่า แม้นายกฯยิ่งลักษณ์อยากจะเป็นตัวของตัวเอง แต่ก็ต้องฟังพ.ต.ท.ทักษิณบ้าง ถึงจะเป็นตัวของตัวเองได้ดี เพราะส.ส.ส่วนใหญ่ก็ยังรักและศรัทธาในตัวนายกฯทักษิณอยู่เช่นกัน
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยสามัญทั่วไป พ.ศ.2556 ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทยมาตรา 127 ได้บัญญัติให้ในปีหนึ่งมีสมัยประชุมสามัญทั่วไป และสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ โดยถือให้วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก เป็นวันเริ่มประชุมสมัยสามัญทั่วไป สมัยประชุมของรัฐสภาของสมัยหนึ่งๆ ให้มีกำหนดเวลา 120 วัน ดังนั้น ใน พ.ศ.2556 สมควรเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญทั่วไปตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.2556 เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 127 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สลค.จึงได้ยกร่างกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยสามัญทั่วไปขึ้น ในวันที่ 1 ส.ค.2556 เป็นต้นไป