เนื้อหาของเรื่องนี้เป็นคำแปลของบทบรรณาธิการในนิตยสารเดออีโคโนมิสต์ประจำวันที่ 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา คำแปลได้ใส่ “ไทย” หรือ “เมืองไทย” ไว้ใน […] หลัง “ตุรกี” และ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ไว้ใน […] หลัง “รีเซฟ ทายยิป เออร์โดกัน” ฯลฯ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นว่าถ้าใช้คำใน […] แทนคำข้างหน้า จะมองได้ทันทีว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเมืองไทยแบบไม่มีอะไรผิดเพี้ยนแม้แต่น้อย
บทบรรณาธิการนี้น่าจะชี้บ่งว่า จุดยืนของนิตยสารต่างกับของพนักงาน หรือผู้สื่อข่าวบางคนที่เขียนในแนวสนับสนุนรัฐบาลไทยที่นำโดยนักโทษหลบหนีคดีและญาติมิตรที่เป็นหุ่นเชิดของเขาโดยอ้างว่าเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยชอบธรรม หรืออาจตีความหมายได้ว่านิตรสารนี้กลับกลอก
Majoritarianism
เผด็จการผ่านเสียงข้างมากนิยม
Zombie democracy
ประชาธิปไตยผีดิบ
A note to Turkey’s prime minister, among others: winning elections is not enough
สารถึงนายกรัฐมนตรีตุรกี (ไทย) และประเทศอื่นๆ : การชนะการเลือกตั้งเท่านั้นไม่พอ
“แต่ ผม (ฉัน) ชนะการเลือกตั้งนี่นา! “รีเซฟ ทายยิป เออร์โดกัน (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) นายกรัฐมนตรีที่กำลังถูกถล่มของตุรกี (ไทย) แว้เข้าใส่ผู้วิพากษ์ มองอย่างผิวเผินแล้ว เรื่องราวของเขา (เธอ) ดูสมเหตุสมผล ทั้งนี้เพราะคนจำนวนมากทั้งในและนอกตุรกี (เมืองไทย) เห็นพ้องต้องกันว่า ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนควรบริหารประเทศได้ตามความพอใจของพวกเขา นั่นคือความหมายของประชาธิปไตยมิใช่หรือ
เปล่า มิใช่เผด็จการผ่านเสียงข้างมากนิยมซึ่งเป็นหลักยึดของผู้ปกครองเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้งกลุ่มที่กำลังมีสมาชิกเพิ่มขึ้น มิใช่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงแม้ว่าถ้ามองอย่างผิวเผินแล้ว ทั้งสองอย่างดูจะไม่ต่างกัน เพราะอะไรมีคำอธิบายดังนี้
ในเบื้องแรก ความชอบธรรมของประชาธิปไตยมิได้ขึ้นอยู่กับส่วนแบ่งที่ผู้ปกครองได้มาจากเสียงเลือกตั้งเท่านั้น ในปัจจุบันนี้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งในสังคมตะวันตกไม่กี่คนที่ได้คะแนนเสียงมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ไปลงคะแนนซึ่งยิ่งน้อยลงไปอีกเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ที่มีสิทธิ์ออกเสียทั้งหมด (เพราะผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเพียงส่วนเดียวไปลงคะแนน – คำอธิบายเพิ่มเติมของผู้แปล) ส่วนใหญ่จึงต้องปกครองด้วยอาณัติอันเปราะบางจากการเลือกตั้ง แต่ก็ใช่ว่ามันจะทำให้พวกเขาไม่มีความชอบธรรม แท้ที่จริงแล้ว “การชนะ” แบบถล่มทลายในแนวของอเลกซานเดอร์ ลูคาเชนโค ในเบลารูส มักไม่ค่อยเป็นประชาธิปไตยนัก มันมักเกิดขึ้นจากความฉ้อฉล แม้มันจะไม่เกิดจากความฉ้อฉล มันก็อาจชี้นำให้ผู้ชนะผยองพองขนจนข่มเหงผู้คัดค้าน หรือทำอะไรเกินขอบเขต ดังเช่นในกรณีของวิคเตอร์ ออร์บัน นายกรัฐมนตรีเผด็จการของฮังการี พรรคการเมืองของนายเออร์โดกัน (นางสาวยิ่งลักษณ์) ได้คะแนนเกือบ 50% ของคะแนนเสียงในการเลือกตั้งปี 2554 จริงอยู่มันน่าทึ่ง แต่ก็มิใช่เป็นการพิสูจน์แบบสัมบูรณ์ของความถูกต้องตามหลักประชาธิปไตย
หากการสนับสนุนอันกว้างขวางมิได้ทำให้ผู้นำเป็นนักประชาธิปไตยโดยอัตโนมัติ การคัดค้านอันแข็งกร้าวก็มิได้ทำให้เขาไม่เป็นนักประชาธิปไตย การปฏิรูปของมาร์กาเรต แทตเชอร์ ถูกคัดค้านอย่างหนัก ความเร่าร้อนและความกระแทกแดกดันทางการเมืองได้ถูกทำให้เข้มข้นขึ้นในยุคของสำนักข่าวฟอกซ์ นักเรียกร้องความสนใจและนักใส่ความตามอินเทอร์เน็ต จะเห็นว่า บารัค โอบามา มักถูกด่าว่าใช้อำนาจบาตรใหญ่ หรือเป็นกบฏ ญัตติที่ยากลำบากเช่นการตัดทอนรายจ่าย หรือการขึ้นภาษี มักก่อให้เกิดความโกรธแค้นอย่างแพร่หลายดังที่ได้เห็นเป็นที่ประจักษ์ในช่วงสองสามปีมานี้ การปฏิรูปอย่างกล้าหาญซึ่งนิตยสารเดออีโคโนมิสต์สนับสนุนมักตกที่นั่งเดียวกัน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าผู้นำที่ทำสิ่งเหล่านั้นไม่เป็นประชาธิปไตย
ประเด็นอยู่ที่จะบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านอย่างไร ในแง่หนึ่ง ประเด็นนี้เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์และสถาบันที่จะจำกัดอำนาจของผู้นำและเปิดโอกาสให้ผู้เสียประโยชน์ได้รับการชดเชย สิ่งเหล่านี้ควรประกอบด้วยระบบสิทธิพลเมืองเบื้องต้นที่แข็งแกร่ง ศาลยุติธรรมอิสระที่จะบังคับใช้สิทธิเหล่านั้น และสื่ออิสระที่จะเฝ้าระวังจากมุมมองของหลักประชาธิปไตย เหล่านี้คือสิ่งที่นายเออร์โดกัน (นางสาวยิ่งลักษณ์) ผิดพลาดอย่างหนัก มันมิใช่เรื่องการเริ่มใช้นโยบายที่มีข้อถกเถียงกัน หรือที่ขาดเหตุผลอันดี (ซึ่งเป็นสิทธิของเขา (เธอ)) แต่เป็นเรื่องการเข้าไปยึดศาล การปิดปากสื่อ และการทำร้ายผู้ประท้วงแบบสันติ การพูดของเขา (เธอ) เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้ตัวเองปกครองต่อไปตามแบบที่ทำโดยฮูโก ชาเวช ของเวเนซุเอลา และวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย เป็นสัญญาณเตือนภัยอีกอย่างหนึ่ง
นอกเหนือจากเอกสารและสถาบันแล้ว ความแตกต่างระหว่างเผด็จการผ่านเสียงข้างมากนิยมแบบหยาบๆ กับระบอบประชาธิปไตยฝังอยู่ในหัวของผู้มีอำนาจ นักประชาธิปไตยมีความเข้าใจแบบพื้นฐานอันหนักแน่นว่า เสียงข้างน้อย (หรือมักเป็นเสียงข้างมาก) ที่ไม่ได้ลงคะแนนให้เขาเป็นพลเมืองของประเทศของเขาเช่นเดียวกับคนที่ลงคะแนนให้เขา และมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับฟังด้วยความเคารพ และงานของผู้นำคือการพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบและทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของชาติ มิใช่เพื่อพวกที่สนับสนุนเขาเท่านั้น ผู้ประท้วงในตุรกี (เมืองไทย) ออกไปนอกถนนเพราะพวกเขาเชื่อว่านายเออร์โดกัน (นางสาวยิ่งลักษณ์) มิใช่เพียงเป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของพวกเขาเท่านั้น หากยังเอาหูทวนลมต่อการเรียกร้องของพวกเขาอีกด้วย การประณามว่าพวกเขาเป็นผู้ก่อการร้ายและตัวแทนของต่างชาติ และการทำร้ายพวกเขาเสียยับเยินด้วยก๊าซน้ำตาและปืนใหญ่ฉีดน้ำ เขา (เธอ) ได้พิสูจน์ความเชื่อนั้นแล้ว ความแตกต่างจากบราซิลซึ่งดิลมา รูสเซฟฟ์ ยืนกรานว่าผู้ประท้วงมีสิทธิที่จะทำได้นั้นแจ้งชัดมาก
ปราศจากหัวใจ
แนวคิดเบื้องต้นของระบอบประชาธิปไตยคือผู้ออกเสียงเลือกตั้งควรเป็นผู้คัดสรรรัฐบาลซึ่งเลือกที่จะปกครองตามแนวที่ตนต้องการจนกระทั่งผู้ออกเสียงเลือกตั้งนั้นมองว่าถึงเวลาที่จะไล่ออกไป จริงอยู่ การออกเสียงเลือกตั้งเป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยที่สำคัญ แต่มันมิใช่สิ่งเดียว และการชนะการเลือกตั้งก็มิใช่จะทำให้ผู้ปกครองเลิกมองเรื่องการตรวจสอบอำนาจของเขาเสียทั้งหมดได้ การมองโลกของเผด็จการผ่านเสียงข้างมากดังที่แสดงออกมาโดยนายเออร์โดกัน (นางสาวยิ่งลักษณ์) และผู้นำจำพวกเดียวกับเขา (เธอ) เป็นประชาธิปไตยผีดิบชนิดหนึ่ง มันมีรูปร่างคล้ายของจริง แต่มันไม่มีหัวใจ
ผมรู้จักตุรกีดีเพราะในระหว่างที่ทำงานอยู่กับธนาคารโลกได้เดินทางไปยังส่วนต่าง ๆ ของประเทศนั้นหลายครั้งเพื่อศึกษาปัญหาของเขา หลังจากนั้นก็ยังติดตามความเป็นไปในตุรกีมาตลอด
แม้เนื้อหาจากบทบรรณาธิการที่แปลมาจะบ่งว่าตุรกีกับไทยคล้ายกันดังกับเป็นคู่แฝด แต่ความต่างที่ผมเห็นทันทีก็มีอยู่โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องที่ตุรกีไม่มีกลุ่มอันธพาลที่ถูกส่งไปรังควานผู้คัดค้าน หรือไม่เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐบาล
อันธพาลไทยยกเอาประชาธิปไตยบังหน้าเพื่อซุกซ่อนความชั่วช้าสามานย์ของตน การไปแสดงความกักขฬะต่อกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีหน้ากากขาวเป็นสัญลักษณ์และการไปขัดขวาง หรือขับไล่การปราศรัยของพรรคฝ่ายค้านเป็นการแสดงออกที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตยแม้เท่าขี้ผง คงไม่ต้องบ่งบอกว่าคนกลุ่มนี้เป็นใครเพราะคงรู้อยู่แก่ใจกันแล้ว
ทั้งฮิตเลอร์และมุสโสลินีอ้างหลักประชาธิปไตยและใช้อันธพาลเช่นเดียวกับรัฐบาลไทย ฮิตเลอร์ใช้พวกใส่เสื้อสีน้ำตาล มุสโสลินีใช้พวกใส่เสื้อสีดำ รัฐบาลไทยใช้พวกใส่เสื้อสีอะไรย่อมเป็นที่รู้กัน มันล้วนเป็นเผด็จการผ่านเสียงข้างมากนิยมทั้งสิ้น หรือจะเรียกว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของประชาธิปไตยผีดิบตามเดออีโคโนมิสต์ก็ได้
บทบรรณาธิการนี้น่าจะชี้บ่งว่า จุดยืนของนิตยสารต่างกับของพนักงาน หรือผู้สื่อข่าวบางคนที่เขียนในแนวสนับสนุนรัฐบาลไทยที่นำโดยนักโทษหลบหนีคดีและญาติมิตรที่เป็นหุ่นเชิดของเขาโดยอ้างว่าเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยชอบธรรม หรืออาจตีความหมายได้ว่านิตรสารนี้กลับกลอก
Majoritarianism
เผด็จการผ่านเสียงข้างมากนิยม
Zombie democracy
ประชาธิปไตยผีดิบ
A note to Turkey’s prime minister, among others: winning elections is not enough
สารถึงนายกรัฐมนตรีตุรกี (ไทย) และประเทศอื่นๆ : การชนะการเลือกตั้งเท่านั้นไม่พอ
“แต่ ผม (ฉัน) ชนะการเลือกตั้งนี่นา! “รีเซฟ ทายยิป เออร์โดกัน (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) นายกรัฐมนตรีที่กำลังถูกถล่มของตุรกี (ไทย) แว้เข้าใส่ผู้วิพากษ์ มองอย่างผิวเผินแล้ว เรื่องราวของเขา (เธอ) ดูสมเหตุสมผล ทั้งนี้เพราะคนจำนวนมากทั้งในและนอกตุรกี (เมืองไทย) เห็นพ้องต้องกันว่า ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนควรบริหารประเทศได้ตามความพอใจของพวกเขา นั่นคือความหมายของประชาธิปไตยมิใช่หรือ
เปล่า มิใช่เผด็จการผ่านเสียงข้างมากนิยมซึ่งเป็นหลักยึดของผู้ปกครองเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้งกลุ่มที่กำลังมีสมาชิกเพิ่มขึ้น มิใช่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงแม้ว่าถ้ามองอย่างผิวเผินแล้ว ทั้งสองอย่างดูจะไม่ต่างกัน เพราะอะไรมีคำอธิบายดังนี้
ในเบื้องแรก ความชอบธรรมของประชาธิปไตยมิได้ขึ้นอยู่กับส่วนแบ่งที่ผู้ปกครองได้มาจากเสียงเลือกตั้งเท่านั้น ในปัจจุบันนี้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งในสังคมตะวันตกไม่กี่คนที่ได้คะแนนเสียงมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ไปลงคะแนนซึ่งยิ่งน้อยลงไปอีกเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ที่มีสิทธิ์ออกเสียทั้งหมด (เพราะผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเพียงส่วนเดียวไปลงคะแนน – คำอธิบายเพิ่มเติมของผู้แปล) ส่วนใหญ่จึงต้องปกครองด้วยอาณัติอันเปราะบางจากการเลือกตั้ง แต่ก็ใช่ว่ามันจะทำให้พวกเขาไม่มีความชอบธรรม แท้ที่จริงแล้ว “การชนะ” แบบถล่มทลายในแนวของอเลกซานเดอร์ ลูคาเชนโค ในเบลารูส มักไม่ค่อยเป็นประชาธิปไตยนัก มันมักเกิดขึ้นจากความฉ้อฉล แม้มันจะไม่เกิดจากความฉ้อฉล มันก็อาจชี้นำให้ผู้ชนะผยองพองขนจนข่มเหงผู้คัดค้าน หรือทำอะไรเกินขอบเขต ดังเช่นในกรณีของวิคเตอร์ ออร์บัน นายกรัฐมนตรีเผด็จการของฮังการี พรรคการเมืองของนายเออร์โดกัน (นางสาวยิ่งลักษณ์) ได้คะแนนเกือบ 50% ของคะแนนเสียงในการเลือกตั้งปี 2554 จริงอยู่มันน่าทึ่ง แต่ก็มิใช่เป็นการพิสูจน์แบบสัมบูรณ์ของความถูกต้องตามหลักประชาธิปไตย
หากการสนับสนุนอันกว้างขวางมิได้ทำให้ผู้นำเป็นนักประชาธิปไตยโดยอัตโนมัติ การคัดค้านอันแข็งกร้าวก็มิได้ทำให้เขาไม่เป็นนักประชาธิปไตย การปฏิรูปของมาร์กาเรต แทตเชอร์ ถูกคัดค้านอย่างหนัก ความเร่าร้อนและความกระแทกแดกดันทางการเมืองได้ถูกทำให้เข้มข้นขึ้นในยุคของสำนักข่าวฟอกซ์ นักเรียกร้องความสนใจและนักใส่ความตามอินเทอร์เน็ต จะเห็นว่า บารัค โอบามา มักถูกด่าว่าใช้อำนาจบาตรใหญ่ หรือเป็นกบฏ ญัตติที่ยากลำบากเช่นการตัดทอนรายจ่าย หรือการขึ้นภาษี มักก่อให้เกิดความโกรธแค้นอย่างแพร่หลายดังที่ได้เห็นเป็นที่ประจักษ์ในช่วงสองสามปีมานี้ การปฏิรูปอย่างกล้าหาญซึ่งนิตยสารเดออีโคโนมิสต์สนับสนุนมักตกที่นั่งเดียวกัน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าผู้นำที่ทำสิ่งเหล่านั้นไม่เป็นประชาธิปไตย
ประเด็นอยู่ที่จะบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านอย่างไร ในแง่หนึ่ง ประเด็นนี้เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์และสถาบันที่จะจำกัดอำนาจของผู้นำและเปิดโอกาสให้ผู้เสียประโยชน์ได้รับการชดเชย สิ่งเหล่านี้ควรประกอบด้วยระบบสิทธิพลเมืองเบื้องต้นที่แข็งแกร่ง ศาลยุติธรรมอิสระที่จะบังคับใช้สิทธิเหล่านั้น และสื่ออิสระที่จะเฝ้าระวังจากมุมมองของหลักประชาธิปไตย เหล่านี้คือสิ่งที่นายเออร์โดกัน (นางสาวยิ่งลักษณ์) ผิดพลาดอย่างหนัก มันมิใช่เรื่องการเริ่มใช้นโยบายที่มีข้อถกเถียงกัน หรือที่ขาดเหตุผลอันดี (ซึ่งเป็นสิทธิของเขา (เธอ)) แต่เป็นเรื่องการเข้าไปยึดศาล การปิดปากสื่อ และการทำร้ายผู้ประท้วงแบบสันติ การพูดของเขา (เธอ) เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้ตัวเองปกครองต่อไปตามแบบที่ทำโดยฮูโก ชาเวช ของเวเนซุเอลา และวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย เป็นสัญญาณเตือนภัยอีกอย่างหนึ่ง
นอกเหนือจากเอกสารและสถาบันแล้ว ความแตกต่างระหว่างเผด็จการผ่านเสียงข้างมากนิยมแบบหยาบๆ กับระบอบประชาธิปไตยฝังอยู่ในหัวของผู้มีอำนาจ นักประชาธิปไตยมีความเข้าใจแบบพื้นฐานอันหนักแน่นว่า เสียงข้างน้อย (หรือมักเป็นเสียงข้างมาก) ที่ไม่ได้ลงคะแนนให้เขาเป็นพลเมืองของประเทศของเขาเช่นเดียวกับคนที่ลงคะแนนให้เขา และมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับฟังด้วยความเคารพ และงานของผู้นำคือการพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบและทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของชาติ มิใช่เพื่อพวกที่สนับสนุนเขาเท่านั้น ผู้ประท้วงในตุรกี (เมืองไทย) ออกไปนอกถนนเพราะพวกเขาเชื่อว่านายเออร์โดกัน (นางสาวยิ่งลักษณ์) มิใช่เพียงเป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของพวกเขาเท่านั้น หากยังเอาหูทวนลมต่อการเรียกร้องของพวกเขาอีกด้วย การประณามว่าพวกเขาเป็นผู้ก่อการร้ายและตัวแทนของต่างชาติ และการทำร้ายพวกเขาเสียยับเยินด้วยก๊าซน้ำตาและปืนใหญ่ฉีดน้ำ เขา (เธอ) ได้พิสูจน์ความเชื่อนั้นแล้ว ความแตกต่างจากบราซิลซึ่งดิลมา รูสเซฟฟ์ ยืนกรานว่าผู้ประท้วงมีสิทธิที่จะทำได้นั้นแจ้งชัดมาก
ปราศจากหัวใจ
แนวคิดเบื้องต้นของระบอบประชาธิปไตยคือผู้ออกเสียงเลือกตั้งควรเป็นผู้คัดสรรรัฐบาลซึ่งเลือกที่จะปกครองตามแนวที่ตนต้องการจนกระทั่งผู้ออกเสียงเลือกตั้งนั้นมองว่าถึงเวลาที่จะไล่ออกไป จริงอยู่ การออกเสียงเลือกตั้งเป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยที่สำคัญ แต่มันมิใช่สิ่งเดียว และการชนะการเลือกตั้งก็มิใช่จะทำให้ผู้ปกครองเลิกมองเรื่องการตรวจสอบอำนาจของเขาเสียทั้งหมดได้ การมองโลกของเผด็จการผ่านเสียงข้างมากดังที่แสดงออกมาโดยนายเออร์โดกัน (นางสาวยิ่งลักษณ์) และผู้นำจำพวกเดียวกับเขา (เธอ) เป็นประชาธิปไตยผีดิบชนิดหนึ่ง มันมีรูปร่างคล้ายของจริง แต่มันไม่มีหัวใจ
ผมรู้จักตุรกีดีเพราะในระหว่างที่ทำงานอยู่กับธนาคารโลกได้เดินทางไปยังส่วนต่าง ๆ ของประเทศนั้นหลายครั้งเพื่อศึกษาปัญหาของเขา หลังจากนั้นก็ยังติดตามความเป็นไปในตุรกีมาตลอด
แม้เนื้อหาจากบทบรรณาธิการที่แปลมาจะบ่งว่าตุรกีกับไทยคล้ายกันดังกับเป็นคู่แฝด แต่ความต่างที่ผมเห็นทันทีก็มีอยู่โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องที่ตุรกีไม่มีกลุ่มอันธพาลที่ถูกส่งไปรังควานผู้คัดค้าน หรือไม่เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐบาล
อันธพาลไทยยกเอาประชาธิปไตยบังหน้าเพื่อซุกซ่อนความชั่วช้าสามานย์ของตน การไปแสดงความกักขฬะต่อกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีหน้ากากขาวเป็นสัญลักษณ์และการไปขัดขวาง หรือขับไล่การปราศรัยของพรรคฝ่ายค้านเป็นการแสดงออกที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตยแม้เท่าขี้ผง คงไม่ต้องบ่งบอกว่าคนกลุ่มนี้เป็นใครเพราะคงรู้อยู่แก่ใจกันแล้ว
ทั้งฮิตเลอร์และมุสโสลินีอ้างหลักประชาธิปไตยและใช้อันธพาลเช่นเดียวกับรัฐบาลไทย ฮิตเลอร์ใช้พวกใส่เสื้อสีน้ำตาล มุสโสลินีใช้พวกใส่เสื้อสีดำ รัฐบาลไทยใช้พวกใส่เสื้อสีอะไรย่อมเป็นที่รู้กัน มันล้วนเป็นเผด็จการผ่านเสียงข้างมากนิยมทั้งสิ้น หรือจะเรียกว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของประชาธิปไตยผีดิบตามเดออีโคโนมิสต์ก็ได้