นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวกรณีที่คณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ได้แขวนเรื่องการพิจารณางบประมาณเพื่อจัดซื้อรถตู้ขนาด 12 ที่นั่ง จำนวน 1,000 คัน ในราคา 2,343,724,000 บาท เฉลี่ยคันละ 2 ล้านบาท ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ออกไป และมองว่าราคาสูงเกินไป พร้อมมีเสียงข้างมากจาก กมธ.วิสามัญ ต้องการให้ปรับเปลี่ยนจากรถตู้ 12 ที่นั่ง มาเป็นรถบัสแทน เนื่องจากสามารถจุนักเรียนได้มากกว่า 30 คนขึ้นไป โดยมอบให้อนุ กมธ.ด้านการศึกษาพิจารณาก่อนเข้าสู่ กมธ.ชุดใหญ่ต่อไปว่า เนื่องจากงบประมาณของ ศธ.เป็นวงเงินจำนวนมากทาง กมธ.จึงได้ตั้งอนุ กมธ.ขึ้นมาเพื่อพิจารณาในเรื่องของงบประมาณส่วนต่างๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งกรณีตัวเลขงบประมาณในการจัดซื้อรถตู้ 12 ที่นั่ง ที่เสนอใน กมธ.วิสามัญฯ ยังเป็นจำนวน 2,343,724,000 บาทนั้น เรื่องนี้ทางสำนักงบประมาณได้ชี้แจง และมีการแก้ไขตัวเลขที่ถูกต้อง คือรถตู้จำนวน 12 ที่นั่ง จำนวน 1,000 คัน ๆ ละ 1.2 ล้านบาท รวมเป็นงบประมาณ 1,200 ล้านบาทเศษ ซึ่งได้แก้ไขตั้งแต่ครั้งเสนอในที่ประชุมรัฐสภา รวมทั้งส่งให้ กมธ. ด้วย
อย่างไรก็ตาม งบประมาณที่ตั้งในการจัดซื้อรถตู้ 12 ที่นั่ง เครื่องยนต์ดีเซลนั้น มีการกำหนดราคากลางไว้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ทุกกระทรวงที่จะซื้อรถตู้แบบเดียวกันนี้ ก็จะต้องตั้งงบประมาณเหมือนกัน ส่วนที่เสนอว่าให้ซื้อรถบัสแทนรถตู้นั้นโดยปกติ กมธ.ไม่สิทธิเปลี่ยน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงการจัดซื้อแบบอื่น จะต้องเสนอผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ด้านนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า เรื่องการแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก โดยจัดซื้อรถตู้เพื่อการรับส่งนักเรียนซึ่งยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ ดังนั้น ทางกมธ.วิสามัญฯ ได้มีมติให้ส่งเรื่องนี้ให้ อนุกมธ.ด้านการศึกษาพิจารณาต่อไป ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของสพฐ.จะต้องจัดเตรียมรายละเอียด และแผนการใช้รถตู้ จำนวน 1,000 คัน นำเสนออีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม สพฐ.ได้เสนอต่อที่ประชุม กมธ.วิสามัญฯว่า ผลการสำรวจข้อมูลจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) พบมีโรงเรียนทำแผนในการเคลื่อนย้ายนักเรียนมาเรียนรวมกัน 2,600 แห่ง แสดงว่าเป็นแผนใช้รถตู้ ซึ่งก็มีความเห็นจากที่ประชุมว่า จำเป็นต้องใช้รถตู้เหมือนกันทุกพื้นที่หรือไม่ เพราะในบางพื้นที่อาจจะสามารถใช้รถกระบะ ซึ่งเหมาะสมกับสภาพของถนนมากกว่า เป็นต้น แต่ในมุมมองของ สพฐ. และเขตพื้นที่ฯ เห็นว่าการมีรถตู้นั้นเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก โดยยึดตามระเบียบของกรมขนส่งทางบก เช่น ประตูทางขึ้น ที่นั่งเครื่องมืออุปกรณ์ครบ เน้นไม่ได้แต่เรื่องการรับส่งอย่างเดียว ซึ่งเมื่ออนุกมธ.วิสามัญฯ เรียกชี้แจงจะได้นำเสนอแผนการใช้รถต่อไป
“ขณะนี้เรื่องรถตู้ยังไม่ได้มีการบอกว่าแขวนไว้ก่อนแต่อย่างใด มีเพียงแต่มติของ กมธ.วิสามัญฯ ที่ได้มอบให้ สพฐ. ทำแผนการใช้มาเสนอกับทางอนุกมธ.วิสามัญฯ เป็นผู้พิจารณาก่อนนำเสนอให้ทาง กมธ.วิสามัญฯ อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งงบประมาณในเรื่องอื่นๆ ของ สพฐ.ก็ผ่านเรียบร้อยหมดแล้ว เหลือเพียงเรื่องรถตู้ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมซึ่ง สพฐ. จะทำข้อมูลเพื่อนำไปเสนอทันทีที่ทางอนุกมธ.วิสามัญฯ เรียกไปชี้แจง”นายชินภัทร กล่าว
อย่างไรก็ตาม งบประมาณที่ตั้งในการจัดซื้อรถตู้ 12 ที่นั่ง เครื่องยนต์ดีเซลนั้น มีการกำหนดราคากลางไว้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ทุกกระทรวงที่จะซื้อรถตู้แบบเดียวกันนี้ ก็จะต้องตั้งงบประมาณเหมือนกัน ส่วนที่เสนอว่าให้ซื้อรถบัสแทนรถตู้นั้นโดยปกติ กมธ.ไม่สิทธิเปลี่ยน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงการจัดซื้อแบบอื่น จะต้องเสนอผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ด้านนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า เรื่องการแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก โดยจัดซื้อรถตู้เพื่อการรับส่งนักเรียนซึ่งยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ ดังนั้น ทางกมธ.วิสามัญฯ ได้มีมติให้ส่งเรื่องนี้ให้ อนุกมธ.ด้านการศึกษาพิจารณาต่อไป ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของสพฐ.จะต้องจัดเตรียมรายละเอียด และแผนการใช้รถตู้ จำนวน 1,000 คัน นำเสนออีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม สพฐ.ได้เสนอต่อที่ประชุม กมธ.วิสามัญฯว่า ผลการสำรวจข้อมูลจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) พบมีโรงเรียนทำแผนในการเคลื่อนย้ายนักเรียนมาเรียนรวมกัน 2,600 แห่ง แสดงว่าเป็นแผนใช้รถตู้ ซึ่งก็มีความเห็นจากที่ประชุมว่า จำเป็นต้องใช้รถตู้เหมือนกันทุกพื้นที่หรือไม่ เพราะในบางพื้นที่อาจจะสามารถใช้รถกระบะ ซึ่งเหมาะสมกับสภาพของถนนมากกว่า เป็นต้น แต่ในมุมมองของ สพฐ. และเขตพื้นที่ฯ เห็นว่าการมีรถตู้นั้นเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก โดยยึดตามระเบียบของกรมขนส่งทางบก เช่น ประตูทางขึ้น ที่นั่งเครื่องมืออุปกรณ์ครบ เน้นไม่ได้แต่เรื่องการรับส่งอย่างเดียว ซึ่งเมื่ออนุกมธ.วิสามัญฯ เรียกชี้แจงจะได้นำเสนอแผนการใช้รถต่อไป
“ขณะนี้เรื่องรถตู้ยังไม่ได้มีการบอกว่าแขวนไว้ก่อนแต่อย่างใด มีเพียงแต่มติของ กมธ.วิสามัญฯ ที่ได้มอบให้ สพฐ. ทำแผนการใช้มาเสนอกับทางอนุกมธ.วิสามัญฯ เป็นผู้พิจารณาก่อนนำเสนอให้ทาง กมธ.วิสามัญฯ อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งงบประมาณในเรื่องอื่นๆ ของ สพฐ.ก็ผ่านเรียบร้อยหมดแล้ว เหลือเพียงเรื่องรถตู้ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมซึ่ง สพฐ. จะทำข้อมูลเพื่อนำไปเสนอทันทีที่ทางอนุกมธ.วิสามัญฯ เรียกไปชี้แจง”นายชินภัทร กล่าว