วานนี้ (19 มิ.ย.) พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. กล่าวถึงกรณีควบคุมตัว นายอิดริส สะตาปอ อายุ 24 ปี ชาว จ.นราธิวาส ผู้ต้องสงสัยในคดีวางระเบิด บริเวณปากซอยรามคำแหง 43/1 ถ.รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 26 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า ขณะนี้ยังควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้เพียง 1 ราย โดยยังอยู่ระหว่างกระบวนการซักถาม และขอยืนยันว่า ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อเหตุในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยตนจะยังไม่ลงไปในพื้นที่ ปล่อยให้ทางเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการ เพราะแต่ละคนก็มีฝีมือการทำงานอยู่แล้ว
พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสตช. แถลงข่าว ถึงคดีดังกล่าวว่า เบื้องต้น นายอิดริส ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัว เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมานั้น อยู่ในฐานะผู้ต้องสงสัยตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยอยู่ระหว่างการซักถาม ที่ศูนย์ปฎิบัติการชายแดนภาคใต้ (ศชต.) โดยมี 3 หน่วยที่เกี่ยวข้องร่วมซักถาม คือ ศชต. , กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) , กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (บช.ส.) ซึ่งตามกฎหมายที่กำหนดไว้ สามารถควบคุมตัวได้ไม่เกิน 30 วัน นอกจากนี้กรณีผู้ต้องสงสัยคนดังกล่าว อ้างต่างๆ อย่างข่าวที่ระบุว่า เป็นผู้ร่วมก่อเหตุระเบิดสนามบินนานาชาติ จ.นราธิวาส ตรงนี้เป็นเพียงแค่คำให้การของผู้ต้องสงสัยเท่านั้น ซึ่งสามารถสันนิษฐานได้ 2 ประเด็น ว่า เป็นไปได้ว่าผู้ต้องสงสัยรายนี้ มีความรู้เรื่องของการประกอบระเบิด และอุปกรณ์ง่ายๆ ที่หาได้ และถูกชักจูงมา หรือผู้ต้องสงสัยรายนี้ ต้องการเพิ่มความสำคัญให้กับตนเอง ฉะนั้นขอยืนยันว่าตำรวจจะดำเนินการตามพยาน หลักฐานต่างๆ โดยเฉพาะพยานทางนิติวิทยาศาสตร์ กล้องวงจรปิด หรือ ดีเอ็นเอที่เก็บมาได้ เพราะถ้าหากมุ่งประเด็นตามคำให้การเพียงอย่างเดียว อาจจะหลงประเด็นได้
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวยืนยันว่า ผู้ต้องสงสัยรายนี้ ไม่มีประวัติอยู่ในโครงข่ายของกลุ่มก่อเหตุในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ หรืออยู่ในกลุ่มอาร์เคเค โดยหลังจากนี้ ตำรวจจะต้องหาพยานหลักฐานให้มั่นคงแน่ชัด ซึ่งหากมีหลักฐานชัดเจนว่ากระทำความผิด ก็จะเข้าสู่ขบวนการ ป.วิอาญา ต่อไป แต่หากไม่ได้กระทำผิด ก็จะปล่อยตัวไป ทั้งนี้จากพยานหลักฐานของทาง พล.ต.ต.สุชาติ ธีระสวัสดิ์ รอง ผบช.ศชต. ที่ได้มาจากหลายทาง ก็มีความน่าเชื่อได้ว่า ผู้ต้องสงสัยรายนี้ ได้มีการเดินทางมาในพื้นที่ กทม. ที่ประกอบกับคำให้การของผู้ต้องสงสัยเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทราบถึงมูลเหตุจูงใจในการก่อเหตุแล้วหรือยัง พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่าในเชิงลึกยังไม่ทราบ แต่เบื้องต้นผู้ต้องสงสัยให้การรับสารภาพว่า ถูกชวนมาทำอะไรสนุกๆ ที่ กทม. ส่วนจะมีค่าจ้างอย่างไรนั้น เรายังไม่ทราบ สำหรับที่พักใน กทม. ที่ผู้ต้องสงสัยเดินทางมาพักช่วงเกิดเหตุนั้น ขณะนี้ทาง พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น.ได้จัดทีมให้ลงไปตรวจสอบว่า ผู้ต้องสงสัยรายนี้มีการพักอาศัยที่ไหน กับใครบ้าง ทั้งนี้ทาง ผบ.ตร. มอบหมายให้ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ดูเนื้อหาสาระในการสอบสวนด้วย โดยมีพล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต รอง ผบ.ตร.เป็นผู้ดูแล ที่จะมีการมอบหมายจัดทีมลงไปตรวจสอบตามจุดที่ผู้ต้องสงสัยให้การมา
เมื่อถามว่า ได้มีการออกหมายจับ หรือออกภาพสเก็ตผู้ร่วมก่อเหตุอีก 3 ราย แล้วหรือยัง พล.ต.ปิยะ กล่าวว่า ยังไม่มีการออกหมายจับ โดยเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ยังควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้เพียง 1 ราย ซึ่งขณะนี้ผู้ต้องสงสัยยังให้การซักทอดผู้ร่วมก่อเหตุอีก 3 คนเท่านั้น
** ผบ.ทบ.โบ้ยใส่ปชช.ไม่ช่วยกันระวัง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวก่อนเดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจับผู้ต้องสงสัยลอบวางระเบิด หน้าซอยรามคำแหง 43/1 ได้ในพื้นที่ จ.นราธิวาส ว่า ยังอยู่ในขั้นตอนการสอบสวนของตำรวจ โดยเบื้องต้น พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. แจ้งว่า ไม่มีความเกี่ยวพันกับสถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ อยากให้แยกกันให้ออกว่า เรื่องของคนทำว่า เป็นคนภาคไหน กับการเกี่ยวพันกับสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นคนละเรื่องกัน ซึ่งคนที่จะก่อเหตุเช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องมาจากชายแดนภาคใต้ มาจากจังหวัดอื่น ก็สามารถก่อเหตุได้ อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบของทหาร ก็ไม่ปรากฏชื่อ ว่าคนเหล่านี้มีชื่ออยู่ในทำเนียบผู้ก่อเหตุ
"ผมบอกหลายครั้งแล้วว่า ตรงไหนที่ยังไม่มีเหตุรุนแรง ก็อย่าเพิ่งไปพูดถึง อย่าไปดึงโน่น ดึงนี่ เข้ามาวุ่นวาย ทุกวันนี้ยังวุ่นวายไม่พออีกหรืออย่างไร และไม่ใช่เรื่องที่เราจะไปคิด หรือตอบแทนเขา ว่ามีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ในภาคใต้หรือไม่ รอให้เขาตอบมาก่อน ให้ทางตำรวจเป็นผู้วิเคราะห์และสอบสวน ทั้งนี้ในการป้องกันการก่อเหตุในพื้นที่เขตเมืองนั้น เรายังไม่มีความพร้อม เพราะประชาชนไม่ช่วยกันเฝ้าระวัง และยังไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่เชื่อฟังการแนะนำของเจ้าหน้าที่ ส่วนทหาร และตำรวจ ทำหน้าที่ของเขาอยู่แล้ว แต่ประชาชนอยู่ในทุกพื้นที่ และมีจำนวนมากกว่า จึงควรแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลในการเฝ้าระวัง ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ทุกที่ในโลก ต่างประเทศก็เกิดเหตุกลางเมือง ในประเทศไทยเองต้องระมัดระวัง อย่าไปถามให้เป็นการชี้ช่องให้โจร" ผบ.ทบ.กล่าว
**แถใต้เดือดเพราะยังไม่ถึงเดือนรอมฎอน
เมื่อถามถึงกรณีที่คณะพูดคุยเพื่อสันติภาพ ขอให้กลุ่มบีอาร์เอ็น หยุดก่อเหตุในช่วงเดือนรอมฎอน แต่เหตุการณ์ความรุนแรงก็ยังมีอยู่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถือเป็นข้อเสนอที่ต่างฝ่ายต่างรับกันไปปฎิบัติ แต่การพูดคุยยังไม่มีผลใดๆ ทั้งสิ้น และช่วงเดือนรอมฎอน ก็ยังไม่มาถึง เมื่อถึงเวลาเราต้องดูว่า เขาสามารถทำได้หรือไม่ ถ้าทำไม่ได้ ก็จบ แล้วค่อยไปหารือกันครั้งต่อไป ถือเป็นการทดลอง สิ่งสำคัญคือ เราและประชาชน ต้องเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวังตัวเอง วันนี้ยังมีการระเบิด ลอบยิงอยู่ทุกวัน เหตุการณ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นตอนกลางคืน ตนเคยเตือนแล้วว่า ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรสัญจรไปมาช่วงกลางคืน เพราะสถานการณ์ไม่ปกติ
“การพูดคุยเหมือนกับการพูดคุยกับบุคคลทั่วๆไป ต่างฝ่ายต่างยื่นข้อเสนอมา ว่าจะสามารถทำอะไรให้กันได้บ้าง ถ้าจะเป็นเพื่อนกัน ก็ต้องยื่นข้อเสนอกันเข้ามา แต่ในระหว่างนั้นการบังคับใช้กฎหมายต้องดำเนินการต่อไป การพูดคุยเป็นอีกเรื่องหนึ่งว่าจะเอาอะไรมาทำกัน จะมีผลก็ต่อเมื่อต่างฝ่ายนำตรงนี้ไปให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ เมื่อตัดสินใจได้ ก็จะกำหนดว่าจะเริ่มปฏิบัติตั้งแต่เมื่อไหร่ รวมถึงต้องมีมาตรการควบคุมว่า ถ้าทำได้ก็ต้องทำกันต่อ ถ้าทำไม่ได้ ก็ต้องหยุด และถอยมาเริ่มต้นกันใหม่ เราต้องค่อยๆเดินไปด้วยความมั่นใจ อย่าผลีผลาม ไม่มีใครที่จะตกลงกันในเวลาอันสั้น คนเรามีปัญหากัน จะพูดคุยกันแค่ 1-2 ครั้งแล้วยุตินั้น คงเป็นไปไม่ได้ ผมเห็นว่าถามเรื่องนี้กันทุกวัน”ผบ.ทบ. กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขา สมช. ขอให้ลดการปิดล้อม ตรวจค้น เพื่อรองรับข้อเสนอของกลุ่ม บีอาร์เอ็น ว่า ต้องดูเป็นกรณี ซึ่งทางพล.ท.ภราดร ท่านไม่อยากให้เสียบรรยากาศในการพูดคุย ความจริงการปิดล้อม ตรวจค้น ในทุกวันนี้ เราทำตามหมาย ป.วิอาญา ซึ่งทางเลขาสมช. ต้องไปชี้แจงกับฝ่ายบีอาร์เอ็น เช่น เราจะไม่ไปปิดล้อมตรวจค้นผู้ที่ไม่มีหมายจับ เพื่อลดปัญหา ทั้งนี้ การปิดล้อมตรวจค้น มีหลายวิธี เช่น การปิดล้อมตรวจค้นผู้ต้องสงสัย การตรวจค้นสถานที่ ซึ่งสองอย่างนี้อาจจะลดลงได้
ด้าน พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เดือนรอมฎอน จะเริ่มช่วงต้นเดือนก.ค.นี้ ทางหน่วยงานด้านความมั่นคง จะต้องวิเคราะห์ดูสถานการณ์ในช่วงนั้น โดยสถานการณ์รุนแรงควรจะต้องลดลง ตอนนี้แนวคิดของ นายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น เห็นด้วยที่จะให้ลดเหตุความรุนแรง ขณะที่กลุ่มของ นายสะแปอิง มีความคิดเห็นออกเป็นกลางๆ และจับตาดูว่า จะเอาอย่างไร หากช่วงรอมฎอน สถานการณ์ผ่านไปเรียบร้อย ก็มีแนวโน้มในทางที่ดีที่จะพูดจากันในอนาคต ส่วนความต้องการ 5 ข้อ ของกลุ่มบีอาร์เอ็น นั้น ทาง สมช.ได้ให้ทางกลุ่มบีอาร์เอ็นไปเขียนรายละเอียดในแต่ละหัวข้อมาให้กับไทย เพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ก่อนที่จะมีการพูดคุยในรอบที่ 4
ทั้งนี้ ในวันนี้ (20 มิ.ย.) เวลา 10.00 น. นายกรัฐมนตรี จะเรียกประชุมหน่วยงานด้านความมั่นคง เพื่อกำชับการทำงานในพื้นที่ภาคใต้
**สมช.มุ่งปมขัดแย้งธุรกิจ-รับจ้างป่วน
พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวว่า การจับกุมผู้ต้องหาวางระเบิดปากซอยรามคำแหง 43/1 ไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนกรณีที่มีการนำเสนอข่าวว่า เป็นผู้ต้องหาฆ่าพระ 3 รูป ในพื้นที่ จ.ปัตตานี นั้นเป็นเพียงข่าวลือ เพราะผู้ต้องหาคนดังกล่าว ไม่มีรายชื่อที่อยู่ในบัญชีการสร้างสถานการณ์ ทั้งนี้ แนวทางการสืบสวนยังมุ่งไป 2 ประเด็น คือ การขัดแย้งของธุรกิจ และการรับจ้างป่วนเมือง และกำลังติดตามจับกุมอีก 2-3 คน
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีรายงานข่าวหรือไม่ว่าจะมีผู้ก่อเหตุจากชายแดนใต้ เข้ามาในพื้นที่ กทม. พล.ท.ภราดร กล่าวว่า คนที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ก็มีการขึ้นลงในกทม. พอสมควร แต่มีไม่มาก ซึ่งไม่ชัดเจนว่าเขามีวัตถุประสงค์อะไร มีทั้งที่มาพบปะกัน หรือมาทำงานบ้าง แต่เราต้องไม่ประมาท มีมาตรการเฝ้าระวังอยู่ทุกพื้นที่ และเรากำลังขายผลว่า มีใครเกี่ยวข้องบ้าง ซึ่งในพื้นที่ยังไม่ได้รายงานตัวเลขที่ชัดเจนมา
เมื่อถามว่า หลังการเจรจากับกลุ่มบีอาร์เอ็น ก็ยังมีเหตุความรุนแรงเกิดขึ้น จะวางใจในช่วงเดือนรอมฎอน ได้อย่างไร พล.ท.ภราดร กล่าวว่า ในหลักการทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน แต่รูปแบบและวิธีการเรายังไม่ได้ข้อมูลจากทางบีอาร์เอ็น อย่างไรก็ตาม เราต้องรับฟัง และมาดูเรื่องรูปธรรมต่อไป
เมื่อถามว่า ได้ขอให้กลุ่มอาร์เคเค มาร่วมในการพูดคุยครั้งต่อไปหรือไม่ พล.ท.ภราดร กล่าวว่า ก็พยายามดูอยู่ว่า ถ้าคนที่มาพูดคุยมีแกนฝ่ายทหารมา ก็จะดีขึ้น เพื่อการสื่อสารที่เร็วขึ้น ส่วนทางกองทัพของไทย ก็เข้าใจ
พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสตช. แถลงข่าว ถึงคดีดังกล่าวว่า เบื้องต้น นายอิดริส ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัว เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมานั้น อยู่ในฐานะผู้ต้องสงสัยตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยอยู่ระหว่างการซักถาม ที่ศูนย์ปฎิบัติการชายแดนภาคใต้ (ศชต.) โดยมี 3 หน่วยที่เกี่ยวข้องร่วมซักถาม คือ ศชต. , กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) , กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (บช.ส.) ซึ่งตามกฎหมายที่กำหนดไว้ สามารถควบคุมตัวได้ไม่เกิน 30 วัน นอกจากนี้กรณีผู้ต้องสงสัยคนดังกล่าว อ้างต่างๆ อย่างข่าวที่ระบุว่า เป็นผู้ร่วมก่อเหตุระเบิดสนามบินนานาชาติ จ.นราธิวาส ตรงนี้เป็นเพียงแค่คำให้การของผู้ต้องสงสัยเท่านั้น ซึ่งสามารถสันนิษฐานได้ 2 ประเด็น ว่า เป็นไปได้ว่าผู้ต้องสงสัยรายนี้ มีความรู้เรื่องของการประกอบระเบิด และอุปกรณ์ง่ายๆ ที่หาได้ และถูกชักจูงมา หรือผู้ต้องสงสัยรายนี้ ต้องการเพิ่มความสำคัญให้กับตนเอง ฉะนั้นขอยืนยันว่าตำรวจจะดำเนินการตามพยาน หลักฐานต่างๆ โดยเฉพาะพยานทางนิติวิทยาศาสตร์ กล้องวงจรปิด หรือ ดีเอ็นเอที่เก็บมาได้ เพราะถ้าหากมุ่งประเด็นตามคำให้การเพียงอย่างเดียว อาจจะหลงประเด็นได้
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวยืนยันว่า ผู้ต้องสงสัยรายนี้ ไม่มีประวัติอยู่ในโครงข่ายของกลุ่มก่อเหตุในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ หรืออยู่ในกลุ่มอาร์เคเค โดยหลังจากนี้ ตำรวจจะต้องหาพยานหลักฐานให้มั่นคงแน่ชัด ซึ่งหากมีหลักฐานชัดเจนว่ากระทำความผิด ก็จะเข้าสู่ขบวนการ ป.วิอาญา ต่อไป แต่หากไม่ได้กระทำผิด ก็จะปล่อยตัวไป ทั้งนี้จากพยานหลักฐานของทาง พล.ต.ต.สุชาติ ธีระสวัสดิ์ รอง ผบช.ศชต. ที่ได้มาจากหลายทาง ก็มีความน่าเชื่อได้ว่า ผู้ต้องสงสัยรายนี้ ได้มีการเดินทางมาในพื้นที่ กทม. ที่ประกอบกับคำให้การของผู้ต้องสงสัยเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทราบถึงมูลเหตุจูงใจในการก่อเหตุแล้วหรือยัง พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่าในเชิงลึกยังไม่ทราบ แต่เบื้องต้นผู้ต้องสงสัยให้การรับสารภาพว่า ถูกชวนมาทำอะไรสนุกๆ ที่ กทม. ส่วนจะมีค่าจ้างอย่างไรนั้น เรายังไม่ทราบ สำหรับที่พักใน กทม. ที่ผู้ต้องสงสัยเดินทางมาพักช่วงเกิดเหตุนั้น ขณะนี้ทาง พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น.ได้จัดทีมให้ลงไปตรวจสอบว่า ผู้ต้องสงสัยรายนี้มีการพักอาศัยที่ไหน กับใครบ้าง ทั้งนี้ทาง ผบ.ตร. มอบหมายให้ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ดูเนื้อหาสาระในการสอบสวนด้วย โดยมีพล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต รอง ผบ.ตร.เป็นผู้ดูแล ที่จะมีการมอบหมายจัดทีมลงไปตรวจสอบตามจุดที่ผู้ต้องสงสัยให้การมา
เมื่อถามว่า ได้มีการออกหมายจับ หรือออกภาพสเก็ตผู้ร่วมก่อเหตุอีก 3 ราย แล้วหรือยัง พล.ต.ปิยะ กล่าวว่า ยังไม่มีการออกหมายจับ โดยเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ยังควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้เพียง 1 ราย ซึ่งขณะนี้ผู้ต้องสงสัยยังให้การซักทอดผู้ร่วมก่อเหตุอีก 3 คนเท่านั้น
** ผบ.ทบ.โบ้ยใส่ปชช.ไม่ช่วยกันระวัง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวก่อนเดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจับผู้ต้องสงสัยลอบวางระเบิด หน้าซอยรามคำแหง 43/1 ได้ในพื้นที่ จ.นราธิวาส ว่า ยังอยู่ในขั้นตอนการสอบสวนของตำรวจ โดยเบื้องต้น พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. แจ้งว่า ไม่มีความเกี่ยวพันกับสถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ อยากให้แยกกันให้ออกว่า เรื่องของคนทำว่า เป็นคนภาคไหน กับการเกี่ยวพันกับสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นคนละเรื่องกัน ซึ่งคนที่จะก่อเหตุเช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องมาจากชายแดนภาคใต้ มาจากจังหวัดอื่น ก็สามารถก่อเหตุได้ อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบของทหาร ก็ไม่ปรากฏชื่อ ว่าคนเหล่านี้มีชื่ออยู่ในทำเนียบผู้ก่อเหตุ
"ผมบอกหลายครั้งแล้วว่า ตรงไหนที่ยังไม่มีเหตุรุนแรง ก็อย่าเพิ่งไปพูดถึง อย่าไปดึงโน่น ดึงนี่ เข้ามาวุ่นวาย ทุกวันนี้ยังวุ่นวายไม่พออีกหรืออย่างไร และไม่ใช่เรื่องที่เราจะไปคิด หรือตอบแทนเขา ว่ามีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ในภาคใต้หรือไม่ รอให้เขาตอบมาก่อน ให้ทางตำรวจเป็นผู้วิเคราะห์และสอบสวน ทั้งนี้ในการป้องกันการก่อเหตุในพื้นที่เขตเมืองนั้น เรายังไม่มีความพร้อม เพราะประชาชนไม่ช่วยกันเฝ้าระวัง และยังไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่เชื่อฟังการแนะนำของเจ้าหน้าที่ ส่วนทหาร และตำรวจ ทำหน้าที่ของเขาอยู่แล้ว แต่ประชาชนอยู่ในทุกพื้นที่ และมีจำนวนมากกว่า จึงควรแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลในการเฝ้าระวัง ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ทุกที่ในโลก ต่างประเทศก็เกิดเหตุกลางเมือง ในประเทศไทยเองต้องระมัดระวัง อย่าไปถามให้เป็นการชี้ช่องให้โจร" ผบ.ทบ.กล่าว
**แถใต้เดือดเพราะยังไม่ถึงเดือนรอมฎอน
เมื่อถามถึงกรณีที่คณะพูดคุยเพื่อสันติภาพ ขอให้กลุ่มบีอาร์เอ็น หยุดก่อเหตุในช่วงเดือนรอมฎอน แต่เหตุการณ์ความรุนแรงก็ยังมีอยู่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถือเป็นข้อเสนอที่ต่างฝ่ายต่างรับกันไปปฎิบัติ แต่การพูดคุยยังไม่มีผลใดๆ ทั้งสิ้น และช่วงเดือนรอมฎอน ก็ยังไม่มาถึง เมื่อถึงเวลาเราต้องดูว่า เขาสามารถทำได้หรือไม่ ถ้าทำไม่ได้ ก็จบ แล้วค่อยไปหารือกันครั้งต่อไป ถือเป็นการทดลอง สิ่งสำคัญคือ เราและประชาชน ต้องเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวังตัวเอง วันนี้ยังมีการระเบิด ลอบยิงอยู่ทุกวัน เหตุการณ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นตอนกลางคืน ตนเคยเตือนแล้วว่า ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรสัญจรไปมาช่วงกลางคืน เพราะสถานการณ์ไม่ปกติ
“การพูดคุยเหมือนกับการพูดคุยกับบุคคลทั่วๆไป ต่างฝ่ายต่างยื่นข้อเสนอมา ว่าจะสามารถทำอะไรให้กันได้บ้าง ถ้าจะเป็นเพื่อนกัน ก็ต้องยื่นข้อเสนอกันเข้ามา แต่ในระหว่างนั้นการบังคับใช้กฎหมายต้องดำเนินการต่อไป การพูดคุยเป็นอีกเรื่องหนึ่งว่าจะเอาอะไรมาทำกัน จะมีผลก็ต่อเมื่อต่างฝ่ายนำตรงนี้ไปให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ เมื่อตัดสินใจได้ ก็จะกำหนดว่าจะเริ่มปฏิบัติตั้งแต่เมื่อไหร่ รวมถึงต้องมีมาตรการควบคุมว่า ถ้าทำได้ก็ต้องทำกันต่อ ถ้าทำไม่ได้ ก็ต้องหยุด และถอยมาเริ่มต้นกันใหม่ เราต้องค่อยๆเดินไปด้วยความมั่นใจ อย่าผลีผลาม ไม่มีใครที่จะตกลงกันในเวลาอันสั้น คนเรามีปัญหากัน จะพูดคุยกันแค่ 1-2 ครั้งแล้วยุตินั้น คงเป็นไปไม่ได้ ผมเห็นว่าถามเรื่องนี้กันทุกวัน”ผบ.ทบ. กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขา สมช. ขอให้ลดการปิดล้อม ตรวจค้น เพื่อรองรับข้อเสนอของกลุ่ม บีอาร์เอ็น ว่า ต้องดูเป็นกรณี ซึ่งทางพล.ท.ภราดร ท่านไม่อยากให้เสียบรรยากาศในการพูดคุย ความจริงการปิดล้อม ตรวจค้น ในทุกวันนี้ เราทำตามหมาย ป.วิอาญา ซึ่งทางเลขาสมช. ต้องไปชี้แจงกับฝ่ายบีอาร์เอ็น เช่น เราจะไม่ไปปิดล้อมตรวจค้นผู้ที่ไม่มีหมายจับ เพื่อลดปัญหา ทั้งนี้ การปิดล้อมตรวจค้น มีหลายวิธี เช่น การปิดล้อมตรวจค้นผู้ต้องสงสัย การตรวจค้นสถานที่ ซึ่งสองอย่างนี้อาจจะลดลงได้
ด้าน พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เดือนรอมฎอน จะเริ่มช่วงต้นเดือนก.ค.นี้ ทางหน่วยงานด้านความมั่นคง จะต้องวิเคราะห์ดูสถานการณ์ในช่วงนั้น โดยสถานการณ์รุนแรงควรจะต้องลดลง ตอนนี้แนวคิดของ นายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น เห็นด้วยที่จะให้ลดเหตุความรุนแรง ขณะที่กลุ่มของ นายสะแปอิง มีความคิดเห็นออกเป็นกลางๆ และจับตาดูว่า จะเอาอย่างไร หากช่วงรอมฎอน สถานการณ์ผ่านไปเรียบร้อย ก็มีแนวโน้มในทางที่ดีที่จะพูดจากันในอนาคต ส่วนความต้องการ 5 ข้อ ของกลุ่มบีอาร์เอ็น นั้น ทาง สมช.ได้ให้ทางกลุ่มบีอาร์เอ็นไปเขียนรายละเอียดในแต่ละหัวข้อมาให้กับไทย เพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ก่อนที่จะมีการพูดคุยในรอบที่ 4
ทั้งนี้ ในวันนี้ (20 มิ.ย.) เวลา 10.00 น. นายกรัฐมนตรี จะเรียกประชุมหน่วยงานด้านความมั่นคง เพื่อกำชับการทำงานในพื้นที่ภาคใต้
**สมช.มุ่งปมขัดแย้งธุรกิจ-รับจ้างป่วน
พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวว่า การจับกุมผู้ต้องหาวางระเบิดปากซอยรามคำแหง 43/1 ไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนกรณีที่มีการนำเสนอข่าวว่า เป็นผู้ต้องหาฆ่าพระ 3 รูป ในพื้นที่ จ.ปัตตานี นั้นเป็นเพียงข่าวลือ เพราะผู้ต้องหาคนดังกล่าว ไม่มีรายชื่อที่อยู่ในบัญชีการสร้างสถานการณ์ ทั้งนี้ แนวทางการสืบสวนยังมุ่งไป 2 ประเด็น คือ การขัดแย้งของธุรกิจ และการรับจ้างป่วนเมือง และกำลังติดตามจับกุมอีก 2-3 คน
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีรายงานข่าวหรือไม่ว่าจะมีผู้ก่อเหตุจากชายแดนใต้ เข้ามาในพื้นที่ กทม. พล.ท.ภราดร กล่าวว่า คนที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ก็มีการขึ้นลงในกทม. พอสมควร แต่มีไม่มาก ซึ่งไม่ชัดเจนว่าเขามีวัตถุประสงค์อะไร มีทั้งที่มาพบปะกัน หรือมาทำงานบ้าง แต่เราต้องไม่ประมาท มีมาตรการเฝ้าระวังอยู่ทุกพื้นที่ และเรากำลังขายผลว่า มีใครเกี่ยวข้องบ้าง ซึ่งในพื้นที่ยังไม่ได้รายงานตัวเลขที่ชัดเจนมา
เมื่อถามว่า หลังการเจรจากับกลุ่มบีอาร์เอ็น ก็ยังมีเหตุความรุนแรงเกิดขึ้น จะวางใจในช่วงเดือนรอมฎอน ได้อย่างไร พล.ท.ภราดร กล่าวว่า ในหลักการทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน แต่รูปแบบและวิธีการเรายังไม่ได้ข้อมูลจากทางบีอาร์เอ็น อย่างไรก็ตาม เราต้องรับฟัง และมาดูเรื่องรูปธรรมต่อไป
เมื่อถามว่า ได้ขอให้กลุ่มอาร์เคเค มาร่วมในการพูดคุยครั้งต่อไปหรือไม่ พล.ท.ภราดร กล่าวว่า ก็พยายามดูอยู่ว่า ถ้าคนที่มาพูดคุยมีแกนฝ่ายทหารมา ก็จะดีขึ้น เพื่อการสื่อสารที่เร็วขึ้น ส่วนทางกองทัพของไทย ก็เข้าใจ