เนื่องจากวันที่ 13 มิ.ย. ที่จะถึงนี้ รัฐบาลจะมีการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็น เป็นครั้งที่ 3 เพื่อสานต่อการเดินหน้าเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “รัฐบาลกับการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบี อาร์ เอ็น" โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จ.ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา เมื่อวันที่ 6-7 มิ.ย. ที่ผ่าน พบว่า
หลังจากที่รัฐบาลได้มีการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็น มาแล้ว 2 ครั้ง พี่น้องชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 61.0 เห็นว่า เหตุการณ์ความไม่สงบมีความรุนแรงขึ้นกว่าเดิม ร้อยละ 36.3 เห็นว่ามีความรุนแรงเหมือนกับก่อนการเจรจา มีเพียงร้อยละ 2.7 เท่านั้น ที่เห็นว่ามีความรุนแรงลดลง
ทั้งนี้ในการเจรจาพูดคุยสันติภาพทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา พี่น้องชายแดนใต้ร้อยละ 78.9 เห็นว่ากลุ่ม บีอาร์ เอ็น มีความได้เปรียบในการเจรจามากว่า ขณะที่ ร้อยละ 21.1 เห็นว่ารัฐบาลได้เปรียบมากกว่า
เมื่อถามถึงความจริงจังในการแก้ปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล พี่น้องชายแดนใต้ส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.6 ระบุว่า รัฐบาลไม่จริงจังในการแก้ปัญหา ขณะที่ร้อยละ 38.4 ระบุว่า รัฐบาลมีความจริงจัง
สำหรับความรู้สึกต่อการที่รัฐบาลส่งตัวแทนมาพูดคุยสันติภาพกับกลุ่ม บีอาร์เอ็น พบว่า พี่น้องชายแดนใต้ร้อยละ ร้อยละ 72.6 รู้สึกกลัว และกังวลว่าจะมีเหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น มีเพียงร้อยละ 27.4 ที่รู้สึกอุ่นใจ และเห็นสัญญาณความสงบที่ใกล้จะเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม พี่น้องชายแดนใต้ ร้อยละ 54.4 ยังคงสนับสนุนให้มีการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่ม บีอาร์เอ็น ต่อไป ขณะที่ร้อยละ 45.6 เห็นว่า ควรยุติการพูดคุย เจรจาได้แล้ว
**ซัดปชป.ให้ความร่วมมือเลิกติติงรัฐบาล
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าวถึงกรณี พล.ท. ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) จะลงพื้นที่จังหวัดยะลา เพื่อพบปะกับประชาชน รวมถึงแกนนำในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้เพื่อไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนจะมีการเจรจาวันที่13 มิ.ย. กับกลุ่มบีอาร์เอ็นที่ประเทศมาเลเซีย ว่าเป็นสิ่งที่ดี ตนเชื่อว่าการเจรจาพูดคุยของรัฐบาลภายใต้การกำกับของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเห็นเป็นรูปธรรมมากกว่ารัฐบาลที่ผ่านมา เพราะการรับฟังเสียงประชาชนได้สะท้อนปัญหาผ่านสื่อ แม้กระทั่งกลุ่มนักศึกษาเกิดการรับรู้ว่า รัฐบาลกำลังดำเนินการอย่างไรเพื่อนำไปสู่ความสงบสุข ตนขอเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และส.ส.ภาคใต้พรรคประชาธิปัตย์ ควรให้ความร่วมมือและสนับสนุน อย่าออกมากล่าวหาว่า การลงพื้นที่ของพล.ท.ภราดร เป็นการสร้างภาพ หรือติติงว่าไม่สำเร็จ เพราะจะเป็นการทำให้เสียกำลังใจ
** วอนเจรจาบีอาร์เอ็นหยุดก่อเหตุช่วงถือศีลอด
นายอับดุลเร๊าะห์มาน อับดุลสมัด ประธานสมาพันธ์คณะกรรมการอิสลาม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยภายหลัง พ.ต.ท.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)มารับฟังความคิดเห็นจากโต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิด 634 แห่ง ใน 13 อำเภอของจ.นราธิวาส เกี่ยวกับเงื่อนไขของกลุ่มบีอาร์เอ็น 5 ข้อ ว่าสาระสำคัญ คือ การเจรจาวันที่ 13 มิ.ย. ทั้ง 2 ฝ่ายควรถอยกันคนละก้าว เพื่อหาข้อยุติที่เป็นกลางและเป็นรูปธรรมในการสร้างสันติสุขให้จงได้ แต่ระหว่างที่บังหาข้อยุติไม่ได้นี้ ก็ขอให้ค่อยๆ ดำเนินการไปตามลำดับ
แต่ช่วงเดือนถือศีลอดหรือรอมฏอน วันที่ 7 ก.ค. ถึงวันที่ 7 ส.ค.นี้ เป็นเวลา 1 เดือนเต็ม ที่ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีอยู่ถึง 80% ต้องถือศีลอด กระทำแต่ความดี จึงวิงวอนผ่านเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) นำข้อเรียกร้องนี้ไปเสนอกับตัวแทนบีอาร์เอ็น คือ ให้หยุดก่อเหตุร้ายเป็นเวลา 1 เดือน เพราะอิรักและอิหร่านยังยอมสงบศึกช่วงเดือนรอมฏอน ทั้งที่รบกันมายาวนานถึง 8 ปี ซึ่งคิดว่ามุสลิมด้วยกันคงยอมกันได้ในข้อนี้
พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ช่วงเดือนรอมฎอน ศอ.บต.จะเข้าไปสนับสนุนโครงการและกิจกรรมกับประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อให้เป็นเดือนแห่งความสงบสุข และสันติสุข หากร้องขอได้อยากให้ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือฝ่ายอื่นๆที่คิดต่างกัน ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ร่วมสร้างสันติภาพ ยุติความรุนแรงทุกกรณี หากทำได้จะเป็นสัญญาณแห่งความสันติสุขที่จะเกิดได้ในอนาคตอันใกล้
**คลังชงครม.ยกเว้นภาษีเหยื่อไฟใต้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) นอกสถานที่ ที่จ.กำแพงเพชร ในวันนี้ ( 10 มิ.ย.) กระทรวงการคลังได้เสนอครม.พิจารณาอนุมัติหลักการ ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่...) พ.ศ... (มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง) โดยเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดา และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล ซึ่งได้รับผลกระทบ หรือความเสียหายอันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมือง ช่วงเวลาเหตุการณ์ครอบคลุม ตั้งแต่วันที่ 1ม.ค.48-31 พ.ค.53 รวมทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในพื้นทีจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ปีภาษี 2555 เป็นต้นไป หรือสำหรับรอบระยะเวลาบัญี ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค. 55 โดยเป็นเงินช่วยเหลือเยียวยาตามหลักมนุษยธรรม ที่ครม. มีมติเห็นชอบเมื่อ วันที่ 10 ม.ค. 55 ถึงวันที่11ธ.ค. 55 ซึ่งผู้ที่ได้รับกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง และความัดแย้งทางการเมืองที่ได้รับจากและเงินเยียวยาตามมนุษยธรรม ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งได้รับจากรัฐ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริการราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้
หลังจากที่รัฐบาลได้มีการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็น มาแล้ว 2 ครั้ง พี่น้องชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 61.0 เห็นว่า เหตุการณ์ความไม่สงบมีความรุนแรงขึ้นกว่าเดิม ร้อยละ 36.3 เห็นว่ามีความรุนแรงเหมือนกับก่อนการเจรจา มีเพียงร้อยละ 2.7 เท่านั้น ที่เห็นว่ามีความรุนแรงลดลง
ทั้งนี้ในการเจรจาพูดคุยสันติภาพทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา พี่น้องชายแดนใต้ร้อยละ 78.9 เห็นว่ากลุ่ม บีอาร์ เอ็น มีความได้เปรียบในการเจรจามากว่า ขณะที่ ร้อยละ 21.1 เห็นว่ารัฐบาลได้เปรียบมากกว่า
เมื่อถามถึงความจริงจังในการแก้ปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล พี่น้องชายแดนใต้ส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.6 ระบุว่า รัฐบาลไม่จริงจังในการแก้ปัญหา ขณะที่ร้อยละ 38.4 ระบุว่า รัฐบาลมีความจริงจัง
สำหรับความรู้สึกต่อการที่รัฐบาลส่งตัวแทนมาพูดคุยสันติภาพกับกลุ่ม บีอาร์เอ็น พบว่า พี่น้องชายแดนใต้ร้อยละ ร้อยละ 72.6 รู้สึกกลัว และกังวลว่าจะมีเหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น มีเพียงร้อยละ 27.4 ที่รู้สึกอุ่นใจ และเห็นสัญญาณความสงบที่ใกล้จะเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม พี่น้องชายแดนใต้ ร้อยละ 54.4 ยังคงสนับสนุนให้มีการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่ม บีอาร์เอ็น ต่อไป ขณะที่ร้อยละ 45.6 เห็นว่า ควรยุติการพูดคุย เจรจาได้แล้ว
**ซัดปชป.ให้ความร่วมมือเลิกติติงรัฐบาล
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าวถึงกรณี พล.ท. ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) จะลงพื้นที่จังหวัดยะลา เพื่อพบปะกับประชาชน รวมถึงแกนนำในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้เพื่อไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนจะมีการเจรจาวันที่13 มิ.ย. กับกลุ่มบีอาร์เอ็นที่ประเทศมาเลเซีย ว่าเป็นสิ่งที่ดี ตนเชื่อว่าการเจรจาพูดคุยของรัฐบาลภายใต้การกำกับของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเห็นเป็นรูปธรรมมากกว่ารัฐบาลที่ผ่านมา เพราะการรับฟังเสียงประชาชนได้สะท้อนปัญหาผ่านสื่อ แม้กระทั่งกลุ่มนักศึกษาเกิดการรับรู้ว่า รัฐบาลกำลังดำเนินการอย่างไรเพื่อนำไปสู่ความสงบสุข ตนขอเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และส.ส.ภาคใต้พรรคประชาธิปัตย์ ควรให้ความร่วมมือและสนับสนุน อย่าออกมากล่าวหาว่า การลงพื้นที่ของพล.ท.ภราดร เป็นการสร้างภาพ หรือติติงว่าไม่สำเร็จ เพราะจะเป็นการทำให้เสียกำลังใจ
** วอนเจรจาบีอาร์เอ็นหยุดก่อเหตุช่วงถือศีลอด
นายอับดุลเร๊าะห์มาน อับดุลสมัด ประธานสมาพันธ์คณะกรรมการอิสลาม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยภายหลัง พ.ต.ท.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)มารับฟังความคิดเห็นจากโต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิด 634 แห่ง ใน 13 อำเภอของจ.นราธิวาส เกี่ยวกับเงื่อนไขของกลุ่มบีอาร์เอ็น 5 ข้อ ว่าสาระสำคัญ คือ การเจรจาวันที่ 13 มิ.ย. ทั้ง 2 ฝ่ายควรถอยกันคนละก้าว เพื่อหาข้อยุติที่เป็นกลางและเป็นรูปธรรมในการสร้างสันติสุขให้จงได้ แต่ระหว่างที่บังหาข้อยุติไม่ได้นี้ ก็ขอให้ค่อยๆ ดำเนินการไปตามลำดับ
แต่ช่วงเดือนถือศีลอดหรือรอมฏอน วันที่ 7 ก.ค. ถึงวันที่ 7 ส.ค.นี้ เป็นเวลา 1 เดือนเต็ม ที่ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีอยู่ถึง 80% ต้องถือศีลอด กระทำแต่ความดี จึงวิงวอนผ่านเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) นำข้อเรียกร้องนี้ไปเสนอกับตัวแทนบีอาร์เอ็น คือ ให้หยุดก่อเหตุร้ายเป็นเวลา 1 เดือน เพราะอิรักและอิหร่านยังยอมสงบศึกช่วงเดือนรอมฏอน ทั้งที่รบกันมายาวนานถึง 8 ปี ซึ่งคิดว่ามุสลิมด้วยกันคงยอมกันได้ในข้อนี้
พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ช่วงเดือนรอมฎอน ศอ.บต.จะเข้าไปสนับสนุนโครงการและกิจกรรมกับประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อให้เป็นเดือนแห่งความสงบสุข และสันติสุข หากร้องขอได้อยากให้ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือฝ่ายอื่นๆที่คิดต่างกัน ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ร่วมสร้างสันติภาพ ยุติความรุนแรงทุกกรณี หากทำได้จะเป็นสัญญาณแห่งความสันติสุขที่จะเกิดได้ในอนาคตอันใกล้
**คลังชงครม.ยกเว้นภาษีเหยื่อไฟใต้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) นอกสถานที่ ที่จ.กำแพงเพชร ในวันนี้ ( 10 มิ.ย.) กระทรวงการคลังได้เสนอครม.พิจารณาอนุมัติหลักการ ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่...) พ.ศ... (มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง) โดยเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดา และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล ซึ่งได้รับผลกระทบ หรือความเสียหายอันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมือง ช่วงเวลาเหตุการณ์ครอบคลุม ตั้งแต่วันที่ 1ม.ค.48-31 พ.ค.53 รวมทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในพื้นทีจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ปีภาษี 2555 เป็นต้นไป หรือสำหรับรอบระยะเวลาบัญี ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค. 55 โดยเป็นเงินช่วยเหลือเยียวยาตามหลักมนุษยธรรม ที่ครม. มีมติเห็นชอบเมื่อ วันที่ 10 ม.ค. 55 ถึงวันที่11ธ.ค. 55 ซึ่งผู้ที่ได้รับกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง และความัดแย้งทางการเมืองที่ได้รับจากและเงินเยียวยาตามมนุษยธรรม ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งได้รับจากรัฐ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริการราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้