หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินภาคใต้ ค่ายจุฬาภรณ์ จ.นราธิวาส ร่วมประชุมกับกองกำลังในสังกัด และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง เพื่อรักษาความปลอดภัยครูในวันเปิดภาคเรียนอย่างเป็นทางการครบทุกพื้นที่ในวันนี้ (16 พ.ค.) ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีการจัดกำลังลงพื้นที่พบปะครู เพื่อสร้างความมั่นใจในการดูแลความปลอดภัย
ขณะที่การรักษาความปลอดภัยในวันนี้ เจ้าหน้าที่ยังคงใช้แผนเดิม โดยจะสนธิกำลังร่วมกับกับตำรวจและฝ่ายปกครอง ส่วนทหารเรือจะทำหน้าที่ลาดตระเวนเส้นทางก่อน จากนั้นจึงจะทำหน้าที่รับ ส่งครูไปยังโรงเรียน นอกจากนี้ จะมีการจัดกำลังออกลาดตระเวน เพื่อเฝ้าระวังตลอดทั้งวันอีกด้วย
การรักษาความปลอดภัยให้กับครูและโรงเรียนในพื้นที่ จำนวน 332 โรงเรียนของปัตตานี ได้มีการจัดกำลังร่วมกันระหว่างทหาร ตำรวจ และกำลังอาสาสมัครรักษาดินแดน ชุดรักษาความสงบหมู่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประจำการตามจุดต่างๆ และกระจายตามความรับผิดชอบแต่ละพื้นที่ชุมชน ตำบล อำเภอและจังหวัด ตามแผนบูรณาการรักษาความปลอดภัยครู และโรงเรียนของกองทัพภาคที่ 4
สำหรับแผนการดำเนินการดังกล่าว ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ก่อนเปิดภาคเรียน และจะปฏิบัติต่อเนื่องต่อไป แนวทางการรักษาความปลอดภัยครั้งนี้ นายบุญสม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เชื่อมั่นว่า จะสร้างความปลอดภัยได้ ซึ่งสถิติหลังจากมีการปิดภาคเรียนเป็นต้นมา ไม่มีการก่อเหตุกับครู แต่หลังจากนี้อาจต้องมีการพิจารณาในระยะยาวว่า การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่จะสอดรับกับแผน และความต้องการของครูมากน้อยเพียงใด พร้อมเร่งรัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องคาดว่า อีก 2-3 วัน อาจมีการพูดคุยระหว่างหน่วยงาน
ส่วนกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี จะตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรายชื่อ ร.ต.อ.ดวง อยู่บำรุง บุตรชายอยู่ด้วย ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิม ปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ใดๆ แต่ยอมรับว่า เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย
ด้าน นายนิมุ มะกาเจ อดีตรองประธานคณะกรรมการอิสลาม ประจำจังหวัดยะลา แสดงความเห็นว่า ที่ผ่านมารัฐได้ตั้งหน่วยงาน องค์กรและคณะบุคคลขึ้นมาแก้ปัญหาความไม่สงบเป็นจำนวนมาก แต่การแก้ปัญหาไม่มีความคืบหน้า ซึ่งเห็นว่าจะส่งใครลงมาทำงานในพื้นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจสถานการณ์ในพื้นที่อย่างลึกซึ้ง
ด้าน ผช.ศ.สมบัติ โยธาทิพย์ คณบดีคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระบุว่า ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความซับซ้อน เกินกว่าผู้ที่ไม่มีองค์ความรู้ และลึกซึ้งในปัญหาที่เกิดขึ้นจะเข้ามาแก้ปัญหาได้ เพราะหากส่งผู้ที่ไม่มีความรู้ความสามารถเข้ามายิ่งเพิ่มปัญหา ซึ่งเห็นว่าหากมีความตั้งใจจริงภายใต้การทำงานของราชการผ่าน 16 กระทรวงหลัก ก็สามารถแก้ปัญหาได้โดยไม่จำเป็นต้องตั้งคณะทำงาน หรือ องค์กรใดเพิ่มขึ้นอีก
ขณะที่การรักษาความปลอดภัยในวันนี้ เจ้าหน้าที่ยังคงใช้แผนเดิม โดยจะสนธิกำลังร่วมกับกับตำรวจและฝ่ายปกครอง ส่วนทหารเรือจะทำหน้าที่ลาดตระเวนเส้นทางก่อน จากนั้นจึงจะทำหน้าที่รับ ส่งครูไปยังโรงเรียน นอกจากนี้ จะมีการจัดกำลังออกลาดตระเวน เพื่อเฝ้าระวังตลอดทั้งวันอีกด้วย
การรักษาความปลอดภัยให้กับครูและโรงเรียนในพื้นที่ จำนวน 332 โรงเรียนของปัตตานี ได้มีการจัดกำลังร่วมกันระหว่างทหาร ตำรวจ และกำลังอาสาสมัครรักษาดินแดน ชุดรักษาความสงบหมู่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประจำการตามจุดต่างๆ และกระจายตามความรับผิดชอบแต่ละพื้นที่ชุมชน ตำบล อำเภอและจังหวัด ตามแผนบูรณาการรักษาความปลอดภัยครู และโรงเรียนของกองทัพภาคที่ 4
สำหรับแผนการดำเนินการดังกล่าว ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ก่อนเปิดภาคเรียน และจะปฏิบัติต่อเนื่องต่อไป แนวทางการรักษาความปลอดภัยครั้งนี้ นายบุญสม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เชื่อมั่นว่า จะสร้างความปลอดภัยได้ ซึ่งสถิติหลังจากมีการปิดภาคเรียนเป็นต้นมา ไม่มีการก่อเหตุกับครู แต่หลังจากนี้อาจต้องมีการพิจารณาในระยะยาวว่า การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่จะสอดรับกับแผน และความต้องการของครูมากน้อยเพียงใด พร้อมเร่งรัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องคาดว่า อีก 2-3 วัน อาจมีการพูดคุยระหว่างหน่วยงาน
ส่วนกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี จะตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรายชื่อ ร.ต.อ.ดวง อยู่บำรุง บุตรชายอยู่ด้วย ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิม ปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ใดๆ แต่ยอมรับว่า เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย
ด้าน นายนิมุ มะกาเจ อดีตรองประธานคณะกรรมการอิสลาม ประจำจังหวัดยะลา แสดงความเห็นว่า ที่ผ่านมารัฐได้ตั้งหน่วยงาน องค์กรและคณะบุคคลขึ้นมาแก้ปัญหาความไม่สงบเป็นจำนวนมาก แต่การแก้ปัญหาไม่มีความคืบหน้า ซึ่งเห็นว่าจะส่งใครลงมาทำงานในพื้นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจสถานการณ์ในพื้นที่อย่างลึกซึ้ง
ด้าน ผช.ศ.สมบัติ โยธาทิพย์ คณบดีคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระบุว่า ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความซับซ้อน เกินกว่าผู้ที่ไม่มีองค์ความรู้ และลึกซึ้งในปัญหาที่เกิดขึ้นจะเข้ามาแก้ปัญหาได้ เพราะหากส่งผู้ที่ไม่มีความรู้ความสามารถเข้ามายิ่งเพิ่มปัญหา ซึ่งเห็นว่าหากมีความตั้งใจจริงภายใต้การทำงานของราชการผ่าน 16 กระทรวงหลัก ก็สามารถแก้ปัญหาได้โดยไม่จำเป็นต้องตั้งคณะทำงาน หรือ องค์กรใดเพิ่มขึ้นอีก