ปัตตานี - ผู้ประกอบการอาหารฮาลาลในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมฮาลาล ต.น้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ร้องให้ย้ายนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล ออกไปอยู่ในพื้นที่อื่น หวั่นความไม่สงบในพื้นที่ และประสบปัญหาไม่สามารถเดินหน้าโครงการได้
วานนี้ (20 พ.ค.) ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. นายประมุข ลมุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ประธานคณะกรรมการอิสลาม และตัวแทนผู้นำศาสนาอิสลามในพื้นที่ จ.ปัตตานี จ.ยะลา จ.นราธิวาส และ จ.สงขลา ได้ร่วมกันหารือแนวทาง และมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่จะมาร่วมลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล ต.น้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี หลังต้องประสบปัญหาไม่สามารถเดินหน้าโครงการได้ จากสถานการณ์ความไม่สงบที่ยังคงเกิดขึ้นในพื้นที่ อีกทั้งสถาบันแหล่งเงินทุนอย่างธนาคารต่างๆ ก็ไม่กล้าให้กู้ยืมเงินลงทุน จนผู้ประกอบการหลายรายยื่นข้อเสนอและเลือกที่จะถอนตัว พร้อมทั้งขอให้ย้ายฐานการผลิตออกนอกพื้นที่
ทั้งนี้ หลังจากที่ ศอ.บต.ในฐานะผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการได้เดินหน้าขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล ทั้งการหารือกับกลุ่มผู้ประกอบการ โดยเฉพาะที่ ต.น้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ที่มีการลงทุนกว่า 900 ล้านบาท สำหรับแผนการดำเนินการและก่อสร้าง โดยที่ผ่านมา การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการสำรวจสถานที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลขึ้นที่ จ.ปัตตานี เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการว่างงาน และการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน
โดยการพัฒนาให้พื้นที่ จ.ปัตตานี ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านมุ่งเข้าสู่ จ.ยะลา จ.นราธิวาส เป็นพื้นที่ง่ายต่อการสัญจรไปมา โดยเฉพาะสะดวกต่อการขนส่งวัตถุดิบ ทั้งด้านการเกษตร สัตว์ทะเล และสัตว์บกต่างๆ ที่จะป้อนเข้ามายังที่ศูนย์ฯ แห่งนี้ แต่ในปัจจุบันจากปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบที่ยังคงทวีความรุนแรงแบบรายวัน ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการหลายรายได้ทำบันทึกถึงกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อขอถอนตัวย้ายฐานจากนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล ต.น้ำบ่อ อ.ปะนาเระ ไปยังพื้นที่อื่น จึงได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนหารือแนวทางการช่วยเหลือขึ้นอย่างเร่งด่วนในครั้งนี้
นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำ จ.ปัตตานี กล่าวว่า การส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือเป็นกระบวนการสำคัญ สิ่งแรกที่จะทำได้ คือ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคประชาชน และให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมได้แสดงความคิดเห็น แสดงออกถึงความต้องการของคนในพื้นที่มากที่สุด หากรัฐบาลแก้ไขปัญหาตรงจุดนี้ได้ และส่งเสริมให้อุตสาหกรรมฮาลาลประสบความสำเร็จ จะส่งผลดีต่อพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มากมหาศาล และจะทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นคลี่คลายไปในทางที่ดีอีกด้วย
วานนี้ (20 พ.ค.) ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. นายประมุข ลมุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ประธานคณะกรรมการอิสลาม และตัวแทนผู้นำศาสนาอิสลามในพื้นที่ จ.ปัตตานี จ.ยะลา จ.นราธิวาส และ จ.สงขลา ได้ร่วมกันหารือแนวทาง และมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่จะมาร่วมลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล ต.น้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี หลังต้องประสบปัญหาไม่สามารถเดินหน้าโครงการได้ จากสถานการณ์ความไม่สงบที่ยังคงเกิดขึ้นในพื้นที่ อีกทั้งสถาบันแหล่งเงินทุนอย่างธนาคารต่างๆ ก็ไม่กล้าให้กู้ยืมเงินลงทุน จนผู้ประกอบการหลายรายยื่นข้อเสนอและเลือกที่จะถอนตัว พร้อมทั้งขอให้ย้ายฐานการผลิตออกนอกพื้นที่
ทั้งนี้ หลังจากที่ ศอ.บต.ในฐานะผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการได้เดินหน้าขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล ทั้งการหารือกับกลุ่มผู้ประกอบการ โดยเฉพาะที่ ต.น้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ที่มีการลงทุนกว่า 900 ล้านบาท สำหรับแผนการดำเนินการและก่อสร้าง โดยที่ผ่านมา การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการสำรวจสถานที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลขึ้นที่ จ.ปัตตานี เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการว่างงาน และการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน
โดยการพัฒนาให้พื้นที่ จ.ปัตตานี ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านมุ่งเข้าสู่ จ.ยะลา จ.นราธิวาส เป็นพื้นที่ง่ายต่อการสัญจรไปมา โดยเฉพาะสะดวกต่อการขนส่งวัตถุดิบ ทั้งด้านการเกษตร สัตว์ทะเล และสัตว์บกต่างๆ ที่จะป้อนเข้ามายังที่ศูนย์ฯ แห่งนี้ แต่ในปัจจุบันจากปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบที่ยังคงทวีความรุนแรงแบบรายวัน ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการหลายรายได้ทำบันทึกถึงกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อขอถอนตัวย้ายฐานจากนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล ต.น้ำบ่อ อ.ปะนาเระ ไปยังพื้นที่อื่น จึงได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนหารือแนวทางการช่วยเหลือขึ้นอย่างเร่งด่วนในครั้งนี้
นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำ จ.ปัตตานี กล่าวว่า การส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือเป็นกระบวนการสำคัญ สิ่งแรกที่จะทำได้ คือ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคประชาชน และให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมได้แสดงความคิดเห็น แสดงออกถึงความต้องการของคนในพื้นที่มากที่สุด หากรัฐบาลแก้ไขปัญหาตรงจุดนี้ได้ และส่งเสริมให้อุตสาหกรรมฮาลาลประสบความสำเร็จ จะส่งผลดีต่อพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มากมหาศาล และจะทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นคลี่คลายไปในทางที่ดีอีกด้วย