ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - “หาดใหญ่โพล” สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “การแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้” พบประชาชนส่วนใหญ่เชื่อรัฐไร้น้ำยา แก้ปัญหาไม่ได้ และคาดว่าแนวโน้มอีก 6 เดือนจากนี้จะยังมีสถานการณ์เหมือนเดิม พร้อมหนุนตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์สำหรับคนไทยมุสลิมที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมประจำจังหวัด
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจครั้งนี้เป็นประชาชนในจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 1,002 คน โดยใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม-4 มิถุนายน 2556 สรุปผลการสำรวจ ดังนี้
สถานภาพกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 65.2) มีอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 51.5) รองลงมาคือ อายุ 21-30 ปี (ร้อยละ 19.6) และอายุ 18-20 ปี (ร้อยละ 13.0) ตามลำดับ
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีอาชีพประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย (ร้อยละ 32.9) รองลงมาคือ อาชีพรับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 24.5) พนักงานบริษัท/รับจ้าง (ร้อยละ 14.3) และนักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 12.4) ตามลำดับ
กลุ่มตัวอย่างนับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 52.4) และศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 45.1)
ส่วนผลการสำรวจ ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยว่า ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าไม่สามารถแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ (ร้อยละ 77.1) และประชาชนที่เห็นว่าสามารถแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ (ร้อยละ 22.9) ทั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าแนวโน้มของปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในอีก 3-6 เดือนข้างหน้าจะเหมือนเดิม (ร้อยละ 74.8) รองลงมาคือ คิดว่าแนวโน้มปัญหาลดน้อยลง (ร้อยละ 10.0) และแนวโน้มปัญหาจะรุนแรงขึ้น (ร้อยละ 15.2)
และประเด็นความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ประชาชนต้องการให้มีแนวทางการเจรจากับกลุ่มผู้ก่อการร้ายมากที่สุด (ร้อยละ 39.3) รองลงมาคือ ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และนำ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักรมาใช้แทน (ร้อยละ 25.3) แนวทางถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ (ร้อยละ 15.0) และแนวทางการเปิดช่องทางให้ผู้หลงผิดกลับเข้าสู่สังคมปกติ หรือมาตรา 21 (ร้อยละ 12.9)
ประชาชนไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอกลุ่ม BRN 5 ข้อ โดยที่ประเด็นเกี่ยวกับต้องยอมรับสถานะของกลุ่มบีอาร์เอ็น ในฐานะองค์กรเพื่อการปลดปล่อยปัตตานี มิใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดน มากที่สุด (ร้อยละ 58.9) รองลงมาคือ รัฐบาลไทยจะต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาอย่างไม่มีเงื่อนไข และต้องระงับการออกหมายจับผู้ต้องสงสัย (ร้อยละ 58.3) และการเจรจาจำกัดเฉพาะตัวแทนชาวมลายู ซึ่งนำโดยกลุ่มบีอาร์เอ็น ร่วมกับรัฐบาลไทย (ร้อยละ 50.6) นอกจากนี้ ประชาชนเห็นด้วยกับการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์สำหรับคนไทยมุสลิมที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมทุกกรณีประจำจังหวัด (ร้อยละ 54.7)
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจครั้งนี้เป็นประชาชนในจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 1,002 คน โดยใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม-4 มิถุนายน 2556 สรุปผลการสำรวจ ดังนี้
สถานภาพกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 65.2) มีอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 51.5) รองลงมาคือ อายุ 21-30 ปี (ร้อยละ 19.6) และอายุ 18-20 ปี (ร้อยละ 13.0) ตามลำดับ
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีอาชีพประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย (ร้อยละ 32.9) รองลงมาคือ อาชีพรับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 24.5) พนักงานบริษัท/รับจ้าง (ร้อยละ 14.3) และนักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 12.4) ตามลำดับ
กลุ่มตัวอย่างนับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 52.4) และศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 45.1)
ส่วนผลการสำรวจ ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยว่า ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าไม่สามารถแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ (ร้อยละ 77.1) และประชาชนที่เห็นว่าสามารถแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ (ร้อยละ 22.9) ทั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าแนวโน้มของปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในอีก 3-6 เดือนข้างหน้าจะเหมือนเดิม (ร้อยละ 74.8) รองลงมาคือ คิดว่าแนวโน้มปัญหาลดน้อยลง (ร้อยละ 10.0) และแนวโน้มปัญหาจะรุนแรงขึ้น (ร้อยละ 15.2)
และประเด็นความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ประชาชนต้องการให้มีแนวทางการเจรจากับกลุ่มผู้ก่อการร้ายมากที่สุด (ร้อยละ 39.3) รองลงมาคือ ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และนำ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักรมาใช้แทน (ร้อยละ 25.3) แนวทางถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ (ร้อยละ 15.0) และแนวทางการเปิดช่องทางให้ผู้หลงผิดกลับเข้าสู่สังคมปกติ หรือมาตรา 21 (ร้อยละ 12.9)
ประชาชนไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอกลุ่ม BRN 5 ข้อ โดยที่ประเด็นเกี่ยวกับต้องยอมรับสถานะของกลุ่มบีอาร์เอ็น ในฐานะองค์กรเพื่อการปลดปล่อยปัตตานี มิใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดน มากที่สุด (ร้อยละ 58.9) รองลงมาคือ รัฐบาลไทยจะต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาอย่างไม่มีเงื่อนไข และต้องระงับการออกหมายจับผู้ต้องสงสัย (ร้อยละ 58.3) และการเจรจาจำกัดเฉพาะตัวแทนชาวมลายู ซึ่งนำโดยกลุ่มบีอาร์เอ็น ร่วมกับรัฐบาลไทย (ร้อยละ 50.6) นอกจากนี้ ประชาชนเห็นด้วยกับการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์สำหรับคนไทยมุสลิมที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมทุกกรณีประจำจังหวัด (ร้อยละ 54.7)