ASTVผู้จัดการรายวัน - พนักงานไอแบงก์แต่งชุดดำประท้วง “ธานินทร์ อังสุวรังษี” ล้มเหลวในการบริหารแบงก์ หนี้เสียพุ่งกระทบความเชื่อมั่น แถมปัญหาภายในอื้อฉาวเอี่ยวสินบนเรียกผลประโยชน์จากลูกค้า ด้านปลัดคลังออกโรงอุ้มเอ็มดี ยันยังดำเนินงานได้ตามแผนฟื้นฟู
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (19 มิ.ย.) พนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ ไอแบงก์ แต่งชุดดำเพื่อประท้วงการบริหารงานของ นายธานินทร์ อังสุวรังษี ผู้จัดการธนาคารฯ อดีตผู้บริหารบริษัท แคปิตอล โอเค โดยมีพนักงานร่วมลงชื่อกว่า 1,400 คน โดยนายครรชิต สิงห์สุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลาม เป็นตัวแทนระดับผู้บริหาร 21 คน เข้ายื่นต่อ นายเปรมกมลย์ ทินกร ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมการธนาคารฯ ซึ่งก่อนเข้ายื่นหนังสือตัวแทนพนักงานประมาณ 200-300 คน ได้รวมตัวกันบริเวณหน้าธนาคารสำนักงานใหญ่ (อโศก) เพื่อแสดงจุดยืนตามข้อเรียกร้อง โดยหนังสือดังกล่าวระบุธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยได้ตกต่ำถึงขีดสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งธนาคารมา
ทั้งในด้านผลประกอบการที่ขนาดสินทรัพย์ลดลงมากกว่า 20% นับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2555 มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มากที่สุดในประวัติการณ์โดยประมาณ 39,000 ล้านบาท และการขาดทุนสะสมที่มากกว่าทุนจนทำให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงติดลบถึง 14% โดยขาดทุนในเฉพาะช่วงเดือนม.ค.-พ.ค. 2556 ประมาณ 7,000 ล้านบาท ในด้านความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อธนาคารส่งผลให้เกิดการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากไป 29,000 ล้านบาท ตั้งแต่เดือนพ.ย. 2555
พร้อมเรียกร้องให้มีการแก้ไขใน 9 ประเด็น อาทิ ลดผลกระทบและการตกชั้นเป็นหนี้เสียของลูกค้าด้วยการสั่งการให้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องยกเลิกกระบวนการอนุมัติและเบิกจ่ายสินเชื่อที่ไม่เป็นไปตามข้อบังคับธนาคาร ยกเลิกการรวบอำนาจการอนุมัติตามลำดับชั้นโดยกรรมการผู้จัดการธนาคารเพราะส่งทำให้การอนุมัติต่างๆเกิดความล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพ และยกเลิกการว่าจ้างคณะที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการทุกราย เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นของธนาคาร
สอบข้อเท็จจริงกรณีที่มีการสั่งกันสำรองเป็นเงินจำนวน 7,000 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้ธนาคารขาดทุนจนทุนติดลบโดยไม่มีความจำเป็นรวมทั้งตั้งคณะทำงานสอบข้อเท็จจริงกรณีที่มีการออกข่าวในทางเสียหายต่อธนาคาร โดยเฉพาะการเปิดเผยรายงานธนาคารแห่งประเทศไทย มีหนี้เสียถึง 39,000 ล้านบาท เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในกระบวนการบริหารจัดการของธนาคาร
***อดีตประธานบอร์ดพร้อมให้สอบ
นายบัณฑิต โสถิตพลาฤทธิ์ อดีตประธานกรรมการ ไอแบงก์ กล่าวว่า ตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่ง 4 ปี และลาออกไปเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 ก็ได้มีกระบวนการตรวจสอบแก้ปัญหา หนี้เสียตามคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาโดยตลอดแต่ก็ไม่ไดพบว่าความผิดที่จะเอาผิดเพราะหลักประกันก็ครอบคลุม และใช้บริษัทที่ก.ล.ต.และรายงานให้ธปท.ทราบแล้ว
ทั้งนี้ หนี้เสียทั้งหมด 2.4 หมื่นล้านบาท เป็นหนี้เสียที่รับโอนมาจากธนาคารกรุงไทย 6 พันล้านบาท และส่วนที่มาจากน้ำท่วม 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาก็พยายามแก้ไขให้ปรับลดลง พอมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้จัดการจัดการใหม่ส่งผลให้กระบวนการปล่อยสินเชื่อและปรับโครงสร้างหนี้ชะงัก ทำให้หนี้เสียเพิ่มขึ้นจึงลาออกเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแต่ก็พร้อมที่จะให้ตรวจสอบการทำงานย้อนหลังเพราะยืนยันว่าตลอดการทำงาน4ปีก็ทำให้ธนาคารมีกำไร
อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาสถาบันการเงินสิ่งสำคัญคือการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นไม่ควรจะออกมาพูดถึงปัญหาหนี้เสียหรือทุจริตรายวันถ้าเจอก็ดำเนินการตามขั้นตอน เพราะตลอด 4 ปีที่ผ่านมาก็มีเรื่องทุจริตและได้ไล่ออกไปทั้งระดับรองผู้กรรมการผู้จัดการและระดับจัดซื้อจัดจ้างแต่ก็ไม่ได้มีการออกข่าวเพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบกับธนาคาร
***ปลัดคลังอุ้มไอแบงก์ไร้ปัญหา
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับไอแบงก์ในขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานจากบอร์ดแต่อย่างใดและยังไม่ทราบว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้นกับการบริหารงานจึงทำให้พนักงานออกมาประท้วง แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของการแก้ไขปัญหาหนี้เอ็นพีแอลของไอแบงก์นั้นก็ยังเป็นไปตามแผนการฟื้นฟูที่คณะผู้บริหารเสนอมาอยู่แล้วและยังไม่พบปัญหาที่เกิดขึ้น
“การจัดชั้นหนี้เสียของไอแบงก์เป็นไปตามหลักสากลคือ 5 ชั้น โดยที่ 3 ชั้นล่างถือเป็นหนี้เอ็นพีแอลและหากหนี้ชั้นบนตกลงมากลายเป็นหนี้เอ็นพีแอลก็ได้มีการตั้งสำรองตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังไม่พบว่ามีปัญหาในการดำเนินงานแต่อย่างใด หากมีปัญหาเกิดขึ้นบอร์ดก็ต้องรายงานให้ทราบอยู่แล้ว ขณะที่การดำเนินงานของแบงก์ก็ยังเป็นไปตามปกติไม่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าแต่อย่างใด” นายอารีพงศ์กล่าว.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (19 มิ.ย.) พนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ ไอแบงก์ แต่งชุดดำเพื่อประท้วงการบริหารงานของ นายธานินทร์ อังสุวรังษี ผู้จัดการธนาคารฯ อดีตผู้บริหารบริษัท แคปิตอล โอเค โดยมีพนักงานร่วมลงชื่อกว่า 1,400 คน โดยนายครรชิต สิงห์สุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลาม เป็นตัวแทนระดับผู้บริหาร 21 คน เข้ายื่นต่อ นายเปรมกมลย์ ทินกร ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมการธนาคารฯ ซึ่งก่อนเข้ายื่นหนังสือตัวแทนพนักงานประมาณ 200-300 คน ได้รวมตัวกันบริเวณหน้าธนาคารสำนักงานใหญ่ (อโศก) เพื่อแสดงจุดยืนตามข้อเรียกร้อง โดยหนังสือดังกล่าวระบุธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยได้ตกต่ำถึงขีดสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งธนาคารมา
ทั้งในด้านผลประกอบการที่ขนาดสินทรัพย์ลดลงมากกว่า 20% นับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2555 มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มากที่สุดในประวัติการณ์โดยประมาณ 39,000 ล้านบาท และการขาดทุนสะสมที่มากกว่าทุนจนทำให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงติดลบถึง 14% โดยขาดทุนในเฉพาะช่วงเดือนม.ค.-พ.ค. 2556 ประมาณ 7,000 ล้านบาท ในด้านความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อธนาคารส่งผลให้เกิดการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากไป 29,000 ล้านบาท ตั้งแต่เดือนพ.ย. 2555
พร้อมเรียกร้องให้มีการแก้ไขใน 9 ประเด็น อาทิ ลดผลกระทบและการตกชั้นเป็นหนี้เสียของลูกค้าด้วยการสั่งการให้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องยกเลิกกระบวนการอนุมัติและเบิกจ่ายสินเชื่อที่ไม่เป็นไปตามข้อบังคับธนาคาร ยกเลิกการรวบอำนาจการอนุมัติตามลำดับชั้นโดยกรรมการผู้จัดการธนาคารเพราะส่งทำให้การอนุมัติต่างๆเกิดความล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพ และยกเลิกการว่าจ้างคณะที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการทุกราย เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นของธนาคาร
สอบข้อเท็จจริงกรณีที่มีการสั่งกันสำรองเป็นเงินจำนวน 7,000 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้ธนาคารขาดทุนจนทุนติดลบโดยไม่มีความจำเป็นรวมทั้งตั้งคณะทำงานสอบข้อเท็จจริงกรณีที่มีการออกข่าวในทางเสียหายต่อธนาคาร โดยเฉพาะการเปิดเผยรายงานธนาคารแห่งประเทศไทย มีหนี้เสียถึง 39,000 ล้านบาท เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในกระบวนการบริหารจัดการของธนาคาร
***อดีตประธานบอร์ดพร้อมให้สอบ
นายบัณฑิต โสถิตพลาฤทธิ์ อดีตประธานกรรมการ ไอแบงก์ กล่าวว่า ตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่ง 4 ปี และลาออกไปเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 ก็ได้มีกระบวนการตรวจสอบแก้ปัญหา หนี้เสียตามคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาโดยตลอดแต่ก็ไม่ไดพบว่าความผิดที่จะเอาผิดเพราะหลักประกันก็ครอบคลุม และใช้บริษัทที่ก.ล.ต.และรายงานให้ธปท.ทราบแล้ว
ทั้งนี้ หนี้เสียทั้งหมด 2.4 หมื่นล้านบาท เป็นหนี้เสียที่รับโอนมาจากธนาคารกรุงไทย 6 พันล้านบาท และส่วนที่มาจากน้ำท่วม 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาก็พยายามแก้ไขให้ปรับลดลง พอมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้จัดการจัดการใหม่ส่งผลให้กระบวนการปล่อยสินเชื่อและปรับโครงสร้างหนี้ชะงัก ทำให้หนี้เสียเพิ่มขึ้นจึงลาออกเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแต่ก็พร้อมที่จะให้ตรวจสอบการทำงานย้อนหลังเพราะยืนยันว่าตลอดการทำงาน4ปีก็ทำให้ธนาคารมีกำไร
อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาสถาบันการเงินสิ่งสำคัญคือการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นไม่ควรจะออกมาพูดถึงปัญหาหนี้เสียหรือทุจริตรายวันถ้าเจอก็ดำเนินการตามขั้นตอน เพราะตลอด 4 ปีที่ผ่านมาก็มีเรื่องทุจริตและได้ไล่ออกไปทั้งระดับรองผู้กรรมการผู้จัดการและระดับจัดซื้อจัดจ้างแต่ก็ไม่ได้มีการออกข่าวเพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบกับธนาคาร
***ปลัดคลังอุ้มไอแบงก์ไร้ปัญหา
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับไอแบงก์ในขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานจากบอร์ดแต่อย่างใดและยังไม่ทราบว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้นกับการบริหารงานจึงทำให้พนักงานออกมาประท้วง แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของการแก้ไขปัญหาหนี้เอ็นพีแอลของไอแบงก์นั้นก็ยังเป็นไปตามแผนการฟื้นฟูที่คณะผู้บริหารเสนอมาอยู่แล้วและยังไม่พบปัญหาที่เกิดขึ้น
“การจัดชั้นหนี้เสียของไอแบงก์เป็นไปตามหลักสากลคือ 5 ชั้น โดยที่ 3 ชั้นล่างถือเป็นหนี้เอ็นพีแอลและหากหนี้ชั้นบนตกลงมากลายเป็นหนี้เอ็นพีแอลก็ได้มีการตั้งสำรองตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังไม่พบว่ามีปัญหาในการดำเนินงานแต่อย่างใด หากมีปัญหาเกิดขึ้นบอร์ดก็ต้องรายงานให้ทราบอยู่แล้ว ขณะที่การดำเนินงานของแบงก์ก็ยังเป็นไปตามปกติไม่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าแต่อย่างใด” นายอารีพงศ์กล่าว.