ผู้ส่งออกคาดปีนี้เอกชนไทยส่งออกข้าวได้ไม่ถึง 6 ล้านตัน เหตุราคาข้าวไทยสูงโด่ง และยังถูกอินเดีย-เวียดนาม แข่งกันดัมป์ราคา เพื่อให้ขายได้ "พาณิชย์"ดิ้นแก้เกม ปลุกผู้ผลิต ผู้ส่งออกข้าวทั่วโลก ตั้งประเด็นถามทั้ง 2 ประเทศในเวที WTO ทำไมต้องดัมป์ราคา ทำตลาดข้าวโลกปั่นป่วน
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้เห็นได้ชัดเจนว่าเวียดนามกำลังแข่งกับอินเดียลดราคาขายข้าวในตลาดโลก เพราะผลผลิตข้าวเวียดนามปีนี้มีมาก และไม่มีสถานที่เก็บ จึงต้องลดราคาขายลงให้ต่ำกว่าอินเดีย เพื่อให้ขายข้าวออกได้โดยเร็ว ส่งผลให้ราคาข้าวสารขาว 5% ของเวียดนามอยู่ที่ตันละ 370 เหรียญสหรัฐ ต่ำสุดในรอบหลายปี และยิ่งทำให้ไทยขายข้าวได้ลำบากมากขึ้น เพราะการรับจำนำข้าวในราคาสูง ยิ่งทำให้ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่ง และเสียตลาดบางส่วนให้อินเดียและเวียดนามไปแล้ว
ขณะเดียวกัน ลูกค้าของไทยบางประเทศ เช่น ฮ่องกง ก็เริ่มนำเข้าข้าวหอมมะลิจากกัมพูชาบ้างแล้ว เพราะราคาถูกกว่าข้าวไทยมาก จึงเป็นไปได้ว่าปีนี้เอกชนไทยอาจส่งออกข้าวได้ไม่ถึง 6 ล้านตัน จากเป้าหมายส่งออกปีนี้ที่ตั้งไว้ประมาณ 6.5 ล้านตัน
ทั้งนี้ จากรายงานถึงสถานการณ์การส่งออกข้าวไทยจากเว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศพบว่า ในช่วง 5 เดือนของปี 2556 (ม.ค.-พ.ค.) ไทยส่งออกข้าวได้ 2.5ล้านตัน มูลค่า 1,794 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 52,988 ล้านบาท ราคาส่งออกเฉลี่ยตันละ 715 เหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง 14.7% และ 8.9% ตามลำดับ แต่ราคาส่งออกเฉลี่ยในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.8% สำหรับเป้าหมายการส่งออกข้าวปี 2556 กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ที่ 8.5 ล้านตัน มูลค่า 5,700 ล้านเหรียญสหรัฐ
รายงานข่าวจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ แจ้งว่า เมื่อเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงการค้าข้าวกับรัฐบาลกัมพูชา โดยฟิลิปปินส์จะนำเข้าข้าวจากกัมพูชาในช่วงเวลา 2 ปีข้างหน้า โดยที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์มีข้อตกลงการค้าข้าวกับไทยและเวียดนามเท่านั้น ส่วนการนำเข้าของฟิลิปปินส์ เพื่อสำรองไว้ใช้ในช่วงขาดแคลนระหว่างเดือนก.ค.-ก.ย. ซึ่งในปีนี้นำเข้า 187,000 ตัน และเมื่อวันที่ 3 เม.ย.2556 ที่ผ่านมา เวียดนามชนะไทยในการประมูลขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ทั้งล็อตด้วยราคาตันละ 459.75 เหรียญสหรัฐเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ปัจจุบันประเทศคู่แข่งข้าวรายสำคัญของไทย ทั้งอินเดียและเวียดนาม ได้แข่งกันลดราคาขายข้าวในตลาดโลกอย่างหนัก โดยราคาข้าวสารขาว 5% ของอินเดียขายที่ตันละ 445 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 25% ตันละ 400 เหรียญสหรัฐ ส่วนเวียดนาม ข้าวขาว 5% ตันละ 370 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 10% ตันละ 365 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 15% ตันละ 360 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 25% ตันละ 350 เหรียญสหรัฐ ขณะที่ข้าวขาว 5% ของไทยตันละ 532 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 10% ตันละ 525 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 15% ตันละ 530 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 25% ตันละ 527 เหรียญสหรัฐ
สาเหตุที่ทั้ง 2 ประเทศแข่งกันลดราคาขายข้าว เพราะอินเดียมีปริมาณสต๊อกข้าวอยู่กว่า 30 ล้านตัน และยังมีผลผลิตฤดูกาลใหม่ที่กำลังจะออกสู่ตลาดอีกมาก เช่นเดียวกับเวียดนามที่ผลผลิตข้าวมีมาก และไม่มีสถานที่เก็บ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องลดราคาขายลง เพื่อระบายสต๊อกข้าวออกให้ได้มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ตั้งข้อสังเกตว่า การที่ทั้ง 2 ประเทศแข่งกันลดราคาข้าวเช่นนี้ เป็นการสร้างความปั่นป่วนให้เกิดขึ้นในตลาดข้าวโลก และทำให้ราคาตลาดโลกตกต่ำ มีผลฉุดให้ราคาข้าวประเทศอื่นๆ ตกต่ำลงไปด้วย และยังทำให้ผู้ซื้อเห็นว่า ราคาข้าวไทยสูงกว่าทั้ง 2 ประเทศมาก ทั้งที่ขณะนี้ราคาข้าวไทยต่ำแล้ว เพราะในเดือนพ.ค. ข้าวขาว 5% ของไทยตันละ 556 เหรียญสหรัฐ ดังนั้น ประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวอื่นๆ น่าจะหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นซักถามทั้ง 2 ประเทศในเวทีองค์การการค้าโลก (WTO) เหมือนอย่างที่หลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ หยิบยกประเด็นการรับจำนำข้าว และการที่ไทยมีสต๊อกข้าวอยู่มากจนเกรงว่าอาจฉุดให้ราคาข้าวตลาดโลกลดลง และกระทบต่อประเทศผู้ผลิต มาซักถามไทยใน WTO หลายครั้ง
ทั้งนี้ คาดว่า ไม่น่าจะมีประเทศใดหยิบยกกรณีนี้ขึ้นมาซักถามทั้ง 2 ประเทศ โดยเฉพาะอินเดีย เพราะอินเดีย เป็นประเทศที่มีอำนาจต่อรองมากใน WTO เพราะเป็นประเทศผลิตสินค้าเกษตรรายใหญ่ อีกทั้งอินเดีย มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราสูง ทำให้หลายประเทศต้องการเป็นมิตรกับอินเดีย และต้องการเข้าไปร่วมทำการค้า การลงทุนด้วย
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้เห็นได้ชัดเจนว่าเวียดนามกำลังแข่งกับอินเดียลดราคาขายข้าวในตลาดโลก เพราะผลผลิตข้าวเวียดนามปีนี้มีมาก และไม่มีสถานที่เก็บ จึงต้องลดราคาขายลงให้ต่ำกว่าอินเดีย เพื่อให้ขายข้าวออกได้โดยเร็ว ส่งผลให้ราคาข้าวสารขาว 5% ของเวียดนามอยู่ที่ตันละ 370 เหรียญสหรัฐ ต่ำสุดในรอบหลายปี และยิ่งทำให้ไทยขายข้าวได้ลำบากมากขึ้น เพราะการรับจำนำข้าวในราคาสูง ยิ่งทำให้ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่ง และเสียตลาดบางส่วนให้อินเดียและเวียดนามไปแล้ว
ขณะเดียวกัน ลูกค้าของไทยบางประเทศ เช่น ฮ่องกง ก็เริ่มนำเข้าข้าวหอมมะลิจากกัมพูชาบ้างแล้ว เพราะราคาถูกกว่าข้าวไทยมาก จึงเป็นไปได้ว่าปีนี้เอกชนไทยอาจส่งออกข้าวได้ไม่ถึง 6 ล้านตัน จากเป้าหมายส่งออกปีนี้ที่ตั้งไว้ประมาณ 6.5 ล้านตัน
ทั้งนี้ จากรายงานถึงสถานการณ์การส่งออกข้าวไทยจากเว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศพบว่า ในช่วง 5 เดือนของปี 2556 (ม.ค.-พ.ค.) ไทยส่งออกข้าวได้ 2.5ล้านตัน มูลค่า 1,794 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 52,988 ล้านบาท ราคาส่งออกเฉลี่ยตันละ 715 เหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง 14.7% และ 8.9% ตามลำดับ แต่ราคาส่งออกเฉลี่ยในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.8% สำหรับเป้าหมายการส่งออกข้าวปี 2556 กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ที่ 8.5 ล้านตัน มูลค่า 5,700 ล้านเหรียญสหรัฐ
รายงานข่าวจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ แจ้งว่า เมื่อเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงการค้าข้าวกับรัฐบาลกัมพูชา โดยฟิลิปปินส์จะนำเข้าข้าวจากกัมพูชาในช่วงเวลา 2 ปีข้างหน้า โดยที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์มีข้อตกลงการค้าข้าวกับไทยและเวียดนามเท่านั้น ส่วนการนำเข้าของฟิลิปปินส์ เพื่อสำรองไว้ใช้ในช่วงขาดแคลนระหว่างเดือนก.ค.-ก.ย. ซึ่งในปีนี้นำเข้า 187,000 ตัน และเมื่อวันที่ 3 เม.ย.2556 ที่ผ่านมา เวียดนามชนะไทยในการประมูลขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ทั้งล็อตด้วยราคาตันละ 459.75 เหรียญสหรัฐเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ปัจจุบันประเทศคู่แข่งข้าวรายสำคัญของไทย ทั้งอินเดียและเวียดนาม ได้แข่งกันลดราคาขายข้าวในตลาดโลกอย่างหนัก โดยราคาข้าวสารขาว 5% ของอินเดียขายที่ตันละ 445 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 25% ตันละ 400 เหรียญสหรัฐ ส่วนเวียดนาม ข้าวขาว 5% ตันละ 370 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 10% ตันละ 365 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 15% ตันละ 360 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 25% ตันละ 350 เหรียญสหรัฐ ขณะที่ข้าวขาว 5% ของไทยตันละ 532 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 10% ตันละ 525 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 15% ตันละ 530 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 25% ตันละ 527 เหรียญสหรัฐ
สาเหตุที่ทั้ง 2 ประเทศแข่งกันลดราคาขายข้าว เพราะอินเดียมีปริมาณสต๊อกข้าวอยู่กว่า 30 ล้านตัน และยังมีผลผลิตฤดูกาลใหม่ที่กำลังจะออกสู่ตลาดอีกมาก เช่นเดียวกับเวียดนามที่ผลผลิตข้าวมีมาก และไม่มีสถานที่เก็บ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องลดราคาขายลง เพื่อระบายสต๊อกข้าวออกให้ได้มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ตั้งข้อสังเกตว่า การที่ทั้ง 2 ประเทศแข่งกันลดราคาข้าวเช่นนี้ เป็นการสร้างความปั่นป่วนให้เกิดขึ้นในตลาดข้าวโลก และทำให้ราคาตลาดโลกตกต่ำ มีผลฉุดให้ราคาข้าวประเทศอื่นๆ ตกต่ำลงไปด้วย และยังทำให้ผู้ซื้อเห็นว่า ราคาข้าวไทยสูงกว่าทั้ง 2 ประเทศมาก ทั้งที่ขณะนี้ราคาข้าวไทยต่ำแล้ว เพราะในเดือนพ.ค. ข้าวขาว 5% ของไทยตันละ 556 เหรียญสหรัฐ ดังนั้น ประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวอื่นๆ น่าจะหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นซักถามทั้ง 2 ประเทศในเวทีองค์การการค้าโลก (WTO) เหมือนอย่างที่หลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ หยิบยกประเด็นการรับจำนำข้าว และการที่ไทยมีสต๊อกข้าวอยู่มากจนเกรงว่าอาจฉุดให้ราคาข้าวตลาดโลกลดลง และกระทบต่อประเทศผู้ผลิต มาซักถามไทยใน WTO หลายครั้ง
ทั้งนี้ คาดว่า ไม่น่าจะมีประเทศใดหยิบยกกรณีนี้ขึ้นมาซักถามทั้ง 2 ประเทศ โดยเฉพาะอินเดีย เพราะอินเดีย เป็นประเทศที่มีอำนาจต่อรองมากใน WTO เพราะเป็นประเทศผลิตสินค้าเกษตรรายใหญ่ อีกทั้งอินเดีย มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราสูง ทำให้หลายประเทศต้องการเป็นมิตรกับอินเดีย และต้องการเข้าไปร่วมทำการค้า การลงทุนด้วย