1. เมื่อกู้เต็มเพดาน...ก็หาวิธีอื่นสร้างหนี้เพิ่มจนได้
ที่ผ่านมา เรามีกฎหมายและระเบียบกำกับการก่อหนี้สาธารณะ คือ
(ก) พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มีคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ เป็นผู้บริหารหนี้สาธารณะ มาตราหลักๆ มีดังนี้
มาตรา 21 การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ในปีงบประมาณหนึ่ง ให้กระทรวงการคลังกู้เป็นเงินบาทไม่เกินวงเงิน
(1) ร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และ
(2) ร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับการชำระคืนเงินต้น
มาตรา 22 การกู้เงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้กระทำได้เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงิน นอกเหนือจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีและต้องใช้เป็นเงินตราต่างประเทศหรือจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินต่างประเทศ โดยให้กระทรวงการคลังกู้เป็นเงินตราต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
มาตรา 23 อาจกู้เป็นเงินบาทก็ได้
มาตรา 24 การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะให้กระทำได้เฉพาะเพื่อการประหยัด ลดความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน หรือกระจายภาระการชำระหนี้ โดยให้กระทรวงการคลังดำเนินการ
(1) กู้ไม่เกินจำนวนเงินกู้ที่ค้างชำระ
(2) กู้ชำระหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันไม่เกินจำนวนค้ำประกันเงินกู้ตาม เงินกู้ตาม (2) นี้ให้นับรวมในวงเงินตามมาตรา 21 หรือ มาตรา 22
(ข) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2549
ข้อ 4 (3) ประมาณการภาระหนี้ต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ (Debt Service Ratio) ไม่เกินร้อยละ 9
(ค) กรอบความยั่งยืนทางการคลัง
(1) สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 60
(2) ภาระการชำระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15
(3) สัดส่วนรายจ่ายลงทุนต่องบประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25
จะเห็นได้ว่า การบริหารหนี้สาธารณะมีกรอบตัวเลขชัดเจน กระทรวงการคลังมีการคำนวณและจัดทำแผนบริหารหนี้สาธารณะประจำปีตามความเห็นชอบของ ครม. รัฐสภาโดยคณะกรรมาธิการต่างๆ มีสิทธิ์ตรวจสอบรายละเอียด หลายสิบปีที่ผ่านมาเราจึงไม่เคยมีวิกฤตด้านการคลัง
แต่ในปี 2549 สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เมื่อเห็นว่าการก่อหนี้สาธารณะตาม พ.ร.บ. 2548 เริ่มติดเพดานแล้ว ก็ได้ออกระเบียบฯ ว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ กำหนดเกณฑ์การก่อหนี้สาธารณะอื่นๆ เพิ่มขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกณฑ์สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 60 และภาระการชำระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15 เพื่อใช้อ้างต่อสาธารณะว่าการก่อหนี้ยังอยู่ภายในเกณฑ์ของกฎระเบียบฯ
แต่เมื่อการก่อหนี้เริ่มติดเพดานอีกก็หาทางออกอีก นั่นคือเมื่อภาระการชำระหนี้ต่องบประมาณรายจ่ายเริ่มใกล้เพดาน รัฐบาลก็ให้โอนหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.1 ล้านล้านบาทไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรับผิดชอบ ทำให้หนี้ก้อนนี้ไม่รวมอยู่ในหนี้สาธารณะ
นอกจากนี้ มีการออกเป็น พ.ร.ก. หรือ พ.ร.บ.แยกจาก พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ในการกู้เงินอภิมหาโปรเจกต์เพื่อเลี่ยงเพดานเงินกู้ ดังที่มีผู้อุปมาว่าเมื่อวงเงินบัตรเครดิตใบหนึ่งเต็ม ก็ไปขอบัตรเครดิตใหม่อีกใบมาช่วยหมุน โดยไม่คำนึงว่าเงินที่ต้องใช้คืนมาจากกระเป๋าเดียวกัน
ความพยายามซุกหนี้ที่เกิดขึ้นล่าสุด คือ โครงการรับจำนำข้าวนาปีและนาปรังในปี 2554/55 ปี 2555/56 ซึ่งมีผลขาดทุนมหาศาลสืบเนื่องจากการรับจำนำราคาสูงกว่าตลาด รับจำนำข้าวทุกเม็ด และไม่สามารถส่งออก เมื่อถูกหลายฝ่ายบีบให้เปิดเผยตัวเลขขาดทุน รัฐบาลก็ใช้วิธีขยายเวลาการปิดโครงการดังกล่าว อ้างว่ายังไม่สามารถสรุปผลขาดทุนเพราะยังไม่ปิดโครงการ
2. ความเสี่ยงหนี้สาธารณะ...ดูพฤติกรรม ไม่ใช่ดูตัวเลข
นักวิชาการบางคนมักแสดงความเห็นต่อสาธารณะในทำนองว่า “เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศอื่น อย่างเช่น ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ในปี 2012 ซึ่งมีสัดส่วนหนี้สาธารณะอยู่ที่ร้อยละ 236.6 และ 101.1 ของ GDP ตามลำดับ ของไทยมีสัดส่วนหนี้สาธารณะไม่ถึงร้อยละ 50 ของ GDP ดังนั้นจึงไม่น่าวิตก” นับเป็นการแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะในเรื่องที่สำคัญแบบง่ายเกินไป การก่อหนี้สาธารณะโดยรัฐบาลที่มักง่าย สาธารณชนและนักวิชาการพึงพิจารณาอย่างรอบด้านก่อนแสดงความเห็น มิฉะนั้นจะกลายเป็นการสนับสนุนการบริหารประเทศแบบสุ่มเสี่ยง โดยที่ผู้แสดงความเห็นไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ เมื่อเกิดวิกฤตหนี้สาธารณะ
ต่อไปนี้เป็นข้อพึงพิจารณาทั่วไปเกี่ยวกับการก่อหนี้สาธารณะ
1. ในทางหลักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การคลัง ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าเกณฑ์มาตรฐานสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่รับประกันความปลอดภัยสำหรับทุกประเทศ เมื่อเริ่มเข้าสู่วิกฤตหนี้สาธารณะในปี 2008 สเปนและไอร์แลนด์มีหนี้สาธารณะที่ร้อยละ 34.2 และ 48.6 ตามลำดับ ในขณะที่ญี่ปุ่นไม่มีปัญหาวิกฤตหนี้ แม้ที่ร้อยละ 236.6 ในปี 2012 เพราะแต่ละประเทศมีรายละเอียดต่างกัน การเปรียบเทียบสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ระหว่างประเทศจึงไม่มีความหมายใดๆ เปรียบเทียบได้ก็แต่เฉพาะภายในประเทศในช่วงเวลาต่างๆ กัน
2. สิ่งที่ควรสนใจมากกว่าสัดส่วนหนี้ คือ ในกรณีกู้เงินไปลงทุนทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จะต้องผ่านการประเมินรายได้และการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับที่คุ้มทุน มีความสามารถที่จะชำระคืนได้ หากเป็นไปตามนี้การสร้างหนี้สาธารณะในระดับสูงย่อมไม่มีปัญหา แต่...ถ้ามีการนำหนี้สาธารณะไปลงทุนอย่างผิดพลาด ขาดการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม หรือมีการศึกษาความเป็นไปได้ที่ขาดความน่าเชื่อถือทางหลักวิชาการ ก็จะเกิดปัญหา
3. แม้จะมีการศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและสังคมในโครงการลงทุนที่น่าเชื่อถือ แต่หากมีการโกงกินในโครงการลงทุนเหล่านั้น การกู้หนี้สาธารณะนั้นก็ย่อมล้มเหลว มากหรือน้อยตามอัตราการโกงกิน
4. แต่ละประเทศมีรัฐบาลที่มีคุณภาพและคุณธรรมไม่เท่ากัน มีฝ่ายตรวจสอบที่มีคุณภาพ คุณธรรม ความเป็นอิสระไม่เท่ากัน ทำให้ประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณสาธารณะไม่เท่ากัน
เพื่อให้เข้าใจง่ายขอยกตัวอย่างในระดับบุคคล นาย ก.มีหนี้สินร้อยละ 50 ของรายได้รวมทั้งปี นาย ข.มีหนี้สินร้อยละ 200 ของรายได้รวมทั้งปี นาย ก.ใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย นาย ข.ใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระวังรอบคอบเสมอ จะลงความเห็นว่านาย ก.มีความเสี่ยงเรื่องหนี้สินน้อยกว่านาย ข.โดยดูเพียงสัดส่วนหนี้สินหาได้ไม่ แท้จริงแล้วจะต้องดูที่พฤติกรรมการใช้จ่ายของนาย ก.ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าตัวเลขสัดส่วนหนี้สิน ในทำนองเดียวกัน การพิจารณาความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตหนี้สาธารณะ จะต้องดูรายละเอียดการใช้จ่ายเงินกู้ พฤติกรรมการโกงกินของรัฐบาล และบริบททางการเมือง เป็นสำคัญ
5. ในกรณีของสิงคโปร์ มีการนำหนี้สาธารณะเกือบครึ่งหนึ่งไปลงทุนในตลาดเงิน ตลาดทุน และธุรกิจบริการ ผ่านกองทุน Temasek ดังที่คนไทยรู้จักดี คือ กรณีลงทุนซื้อกิจการโทรคมนาคมจาก ทักษิณ ชินวัตร ในปี 2548 ซึ่งเป็นการก่อหนี้สาธารณะเพื่อการลงทุนทางธุรกิจในต่างประเทศแทนภาคเอกชน เป็นการลงทุนที่สร้างรายได้โดยตรง ดังนั้น จึงนำตัวเลขสัดส่วนหนี้สาธารณะฯ ของไทยไปเปรียบเทียบกับสิงคโปร์ไม่ได้
เพื่อให้การพิจารณาสภาวะความเสี่ยงของระดับหนี้สาธารณะมีความถูกต้องแม่นยำ ไม่ใช่ดูเพียงตัวเลขสัดส่วนหนี้ต่อ GDP โดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น แต่ต้องพิจารณาความโปร่งใสและพฤติกรรมของรัฐบาลตามที่กล่าวข้างต้น เพื่อความเป็นธรรมกับประชาชนตาดำๆ ที่หนีไม่พ้นจะต้องแบกรับภาระการชำระคืนหนี้สินที่รัฐบาลเป็นผู้ก่อ...ไม่ว่าจะยาวนานแค่ไหนก็ตาม
ตารางที่ 2 สัดส่วนหนี้เงินกู้รัฐบาลคิดเป็นร้อยละของ GDP
ที่ผ่านมา เรามีกฎหมายและระเบียบกำกับการก่อหนี้สาธารณะ คือ
(ก) พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มีคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ เป็นผู้บริหารหนี้สาธารณะ มาตราหลักๆ มีดังนี้
มาตรา 21 การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ในปีงบประมาณหนึ่ง ให้กระทรวงการคลังกู้เป็นเงินบาทไม่เกินวงเงิน
(1) ร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และ
(2) ร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับการชำระคืนเงินต้น
มาตรา 22 การกู้เงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้กระทำได้เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงิน นอกเหนือจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีและต้องใช้เป็นเงินตราต่างประเทศหรือจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินต่างประเทศ โดยให้กระทรวงการคลังกู้เป็นเงินตราต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
มาตรา 23 อาจกู้เป็นเงินบาทก็ได้
มาตรา 24 การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะให้กระทำได้เฉพาะเพื่อการประหยัด ลดความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน หรือกระจายภาระการชำระหนี้ โดยให้กระทรวงการคลังดำเนินการ
(1) กู้ไม่เกินจำนวนเงินกู้ที่ค้างชำระ
(2) กู้ชำระหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันไม่เกินจำนวนค้ำประกันเงินกู้ตาม เงินกู้ตาม (2) นี้ให้นับรวมในวงเงินตามมาตรา 21 หรือ มาตรา 22
(ข) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2549
ข้อ 4 (3) ประมาณการภาระหนี้ต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ (Debt Service Ratio) ไม่เกินร้อยละ 9
(ค) กรอบความยั่งยืนทางการคลัง
(1) สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 60
(2) ภาระการชำระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15
(3) สัดส่วนรายจ่ายลงทุนต่องบประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25
จะเห็นได้ว่า การบริหารหนี้สาธารณะมีกรอบตัวเลขชัดเจน กระทรวงการคลังมีการคำนวณและจัดทำแผนบริหารหนี้สาธารณะประจำปีตามความเห็นชอบของ ครม. รัฐสภาโดยคณะกรรมาธิการต่างๆ มีสิทธิ์ตรวจสอบรายละเอียด หลายสิบปีที่ผ่านมาเราจึงไม่เคยมีวิกฤตด้านการคลัง
แต่ในปี 2549 สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เมื่อเห็นว่าการก่อหนี้สาธารณะตาม พ.ร.บ. 2548 เริ่มติดเพดานแล้ว ก็ได้ออกระเบียบฯ ว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ กำหนดเกณฑ์การก่อหนี้สาธารณะอื่นๆ เพิ่มขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกณฑ์สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 60 และภาระการชำระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15 เพื่อใช้อ้างต่อสาธารณะว่าการก่อหนี้ยังอยู่ภายในเกณฑ์ของกฎระเบียบฯ
แต่เมื่อการก่อหนี้เริ่มติดเพดานอีกก็หาทางออกอีก นั่นคือเมื่อภาระการชำระหนี้ต่องบประมาณรายจ่ายเริ่มใกล้เพดาน รัฐบาลก็ให้โอนหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.1 ล้านล้านบาทไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรับผิดชอบ ทำให้หนี้ก้อนนี้ไม่รวมอยู่ในหนี้สาธารณะ
นอกจากนี้ มีการออกเป็น พ.ร.ก. หรือ พ.ร.บ.แยกจาก พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ในการกู้เงินอภิมหาโปรเจกต์เพื่อเลี่ยงเพดานเงินกู้ ดังที่มีผู้อุปมาว่าเมื่อวงเงินบัตรเครดิตใบหนึ่งเต็ม ก็ไปขอบัตรเครดิตใหม่อีกใบมาช่วยหมุน โดยไม่คำนึงว่าเงินที่ต้องใช้คืนมาจากกระเป๋าเดียวกัน
ความพยายามซุกหนี้ที่เกิดขึ้นล่าสุด คือ โครงการรับจำนำข้าวนาปีและนาปรังในปี 2554/55 ปี 2555/56 ซึ่งมีผลขาดทุนมหาศาลสืบเนื่องจากการรับจำนำราคาสูงกว่าตลาด รับจำนำข้าวทุกเม็ด และไม่สามารถส่งออก เมื่อถูกหลายฝ่ายบีบให้เปิดเผยตัวเลขขาดทุน รัฐบาลก็ใช้วิธีขยายเวลาการปิดโครงการดังกล่าว อ้างว่ายังไม่สามารถสรุปผลขาดทุนเพราะยังไม่ปิดโครงการ
2. ความเสี่ยงหนี้สาธารณะ...ดูพฤติกรรม ไม่ใช่ดูตัวเลข
นักวิชาการบางคนมักแสดงความเห็นต่อสาธารณะในทำนองว่า “เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศอื่น อย่างเช่น ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ในปี 2012 ซึ่งมีสัดส่วนหนี้สาธารณะอยู่ที่ร้อยละ 236.6 และ 101.1 ของ GDP ตามลำดับ ของไทยมีสัดส่วนหนี้สาธารณะไม่ถึงร้อยละ 50 ของ GDP ดังนั้นจึงไม่น่าวิตก” นับเป็นการแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะในเรื่องที่สำคัญแบบง่ายเกินไป การก่อหนี้สาธารณะโดยรัฐบาลที่มักง่าย สาธารณชนและนักวิชาการพึงพิจารณาอย่างรอบด้านก่อนแสดงความเห็น มิฉะนั้นจะกลายเป็นการสนับสนุนการบริหารประเทศแบบสุ่มเสี่ยง โดยที่ผู้แสดงความเห็นไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ เมื่อเกิดวิกฤตหนี้สาธารณะ
ต่อไปนี้เป็นข้อพึงพิจารณาทั่วไปเกี่ยวกับการก่อหนี้สาธารณะ
1. ในทางหลักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การคลัง ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าเกณฑ์มาตรฐานสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่รับประกันความปลอดภัยสำหรับทุกประเทศ เมื่อเริ่มเข้าสู่วิกฤตหนี้สาธารณะในปี 2008 สเปนและไอร์แลนด์มีหนี้สาธารณะที่ร้อยละ 34.2 และ 48.6 ตามลำดับ ในขณะที่ญี่ปุ่นไม่มีปัญหาวิกฤตหนี้ แม้ที่ร้อยละ 236.6 ในปี 2012 เพราะแต่ละประเทศมีรายละเอียดต่างกัน การเปรียบเทียบสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ระหว่างประเทศจึงไม่มีความหมายใดๆ เปรียบเทียบได้ก็แต่เฉพาะภายในประเทศในช่วงเวลาต่างๆ กัน
2. สิ่งที่ควรสนใจมากกว่าสัดส่วนหนี้ คือ ในกรณีกู้เงินไปลงทุนทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จะต้องผ่านการประเมินรายได้และการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับที่คุ้มทุน มีความสามารถที่จะชำระคืนได้ หากเป็นไปตามนี้การสร้างหนี้สาธารณะในระดับสูงย่อมไม่มีปัญหา แต่...ถ้ามีการนำหนี้สาธารณะไปลงทุนอย่างผิดพลาด ขาดการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม หรือมีการศึกษาความเป็นไปได้ที่ขาดความน่าเชื่อถือทางหลักวิชาการ ก็จะเกิดปัญหา
3. แม้จะมีการศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและสังคมในโครงการลงทุนที่น่าเชื่อถือ แต่หากมีการโกงกินในโครงการลงทุนเหล่านั้น การกู้หนี้สาธารณะนั้นก็ย่อมล้มเหลว มากหรือน้อยตามอัตราการโกงกิน
4. แต่ละประเทศมีรัฐบาลที่มีคุณภาพและคุณธรรมไม่เท่ากัน มีฝ่ายตรวจสอบที่มีคุณภาพ คุณธรรม ความเป็นอิสระไม่เท่ากัน ทำให้ประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณสาธารณะไม่เท่ากัน
เพื่อให้เข้าใจง่ายขอยกตัวอย่างในระดับบุคคล นาย ก.มีหนี้สินร้อยละ 50 ของรายได้รวมทั้งปี นาย ข.มีหนี้สินร้อยละ 200 ของรายได้รวมทั้งปี นาย ก.ใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย นาย ข.ใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระวังรอบคอบเสมอ จะลงความเห็นว่านาย ก.มีความเสี่ยงเรื่องหนี้สินน้อยกว่านาย ข.โดยดูเพียงสัดส่วนหนี้สินหาได้ไม่ แท้จริงแล้วจะต้องดูที่พฤติกรรมการใช้จ่ายของนาย ก.ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าตัวเลขสัดส่วนหนี้สิน ในทำนองเดียวกัน การพิจารณาความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตหนี้สาธารณะ จะต้องดูรายละเอียดการใช้จ่ายเงินกู้ พฤติกรรมการโกงกินของรัฐบาล และบริบททางการเมือง เป็นสำคัญ
5. ในกรณีของสิงคโปร์ มีการนำหนี้สาธารณะเกือบครึ่งหนึ่งไปลงทุนในตลาดเงิน ตลาดทุน และธุรกิจบริการ ผ่านกองทุน Temasek ดังที่คนไทยรู้จักดี คือ กรณีลงทุนซื้อกิจการโทรคมนาคมจาก ทักษิณ ชินวัตร ในปี 2548 ซึ่งเป็นการก่อหนี้สาธารณะเพื่อการลงทุนทางธุรกิจในต่างประเทศแทนภาคเอกชน เป็นการลงทุนที่สร้างรายได้โดยตรง ดังนั้น จึงนำตัวเลขสัดส่วนหนี้สาธารณะฯ ของไทยไปเปรียบเทียบกับสิงคโปร์ไม่ได้
เพื่อให้การพิจารณาสภาวะความเสี่ยงของระดับหนี้สาธารณะมีความถูกต้องแม่นยำ ไม่ใช่ดูเพียงตัวเลขสัดส่วนหนี้ต่อ GDP โดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น แต่ต้องพิจารณาความโปร่งใสและพฤติกรรมของรัฐบาลตามที่กล่าวข้างต้น เพื่อความเป็นธรรมกับประชาชนตาดำๆ ที่หนีไม่พ้นจะต้องแบกรับภาระการชำระคืนหนี้สินที่รัฐบาลเป็นผู้ก่อ...ไม่ว่าจะยาวนานแค่ไหนก็ตาม
ตารางที่ 2 สัดส่วนหนี้เงินกู้รัฐบาลคิดเป็นร้อยละของ GDP
2008 | 2012 | |
ญี่ปุ่น | 153.1 | 236.6 |
สิงคโปร์ | 105.1 | 101.1 |
เยอรมนี | 43.1 | 83.0 |
ภูฏาน | 60.4 | 77.2 |
มาเลเซีย | 39.8 | 53.0 |
ไทย | 24.0 | 44.2 |
กัมพูชา | 54.6 | 28.2 |