บอร์ดแข่งขันทางการค้า ไฟเขียวเกณฑ์ควบรวมกิจการใหม่ ป้องกันธุรกิจรวมกันแล้วมีอำนาจเหนือตลาดเอาเปรียบธุรกิจอื่น จับตาดีลซีพีออลล์ซื้อแม็คโคร หลังพบมีอำนาจเหนือตลาด หากมีพฤติกรรมตุกติกเจอเล่นงานแน่ พร้อมตั้งอนุกรรมการสอบสวนกรณี M150 กีดกันคู่แข่งรายอื่น
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า วานนี้ (6 มิ.ย.) ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบผลการกำหนดหลักเกณฑ์การรวมธุรกิจตามที่อนุกรรมการกำหนดเกณฑ์การรวมธุรกิจเสนอ ซึ่งธุรกิจที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวไม่ว่าหลังรวมหรือก่อนรวมธุรกิจจะถือเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด หากกระทำพฤติกรรมที่เป็นการใช้อำนาจเหนือตลาด และถูกร้องเรียน จะมีความผิดตามพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า 2542 ทันที
ทั้งนี้ เกณฑ์การรวมธุรกิจ ได้แก่ 1.ก่อนหรือหลังรวมธุรกิจมีส่วนแบ่งตลาดตั้งแต่ 30% ขึ้นไป และมียอดขายหรือรายได้ในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 2,000 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป ในสินค้าใดสินค้าหนึ่งหรือบริการใดบริการหนึ่ง 2.การเข้าวซื้อหรือได้มาซึ่งหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในคราวเดียวกันหรือหลายคราว กรณีบริษัทมหาชน ตั้งแต่ 25% ขึ้นไป กรณีบริษัทจำกัดตั้งแต่ 50% ขึ้นไป และรายใดรายหนึ่งหรือทั้งสองรายรวมกัน มีส่วนแบ่งตลาดตั้งแต่ 30% ขึ้นไป และมียอดขาย หรือรายได้ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 2,000 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป ในสินค้าและบริการหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้สั่งให้คณะอนุกรรมการฯ ไปศึกษาเพิ่มเติม โดยให้ไปดูว่าการออกเกณฑ์ควบรวมกิจการไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่มีกฎหมายเฉพาะดูแลอย่างไร เพื่อออกแนวปฎิบัติการรวมธุรกิจ (ไกด์ไลน์) และแบบคำขออนุญาตรวมธุรกิจ กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน และเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาต่อไป
นายบุญทรงกล่าวว่า กรณีการควบรวมธุรกิจระหว่างบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่ประชุมได้รับทราบการเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดของทั้งสองบริษัท โดยวิเคราะห์แล้วพบว่าจะทำให้มีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น แต่ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์โดยขอให้มีการจับตาในประเด็นการมีพฤติกรรมใช้อำนาจเหนือตลาดอย่างไม่เป็นธรรมทั้งทางตรงหรือทางอ้อม เช่น การเรียกค่าธรรมเนียมอย่างไม่เป็นธรรม ก็จะเข้าไปจัดการ
ส่วนกรณีบริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด ที่ประชุมมีมติเห็นแย้งกับอัยการสูงสุด หลังมีความเห็นไม่ฟ้อง โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่าบริษัทดังกล่าวมีพฤติกรรมอันมิใช่การแข่งขันโดยเสรี และมีผลเป็นการทำลาย ขัดขวางการประกอบกธุรกิจของผู้อื่น ตามความผิดมาตรา 51 แต่ทั้งนี้ คดีดังกล่าวได้หมดอายุความไปแล้ว
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับพิจารณาเรื่องร้องเรียนกรณีการห้ามขายสินค้าของคู่แข่งในตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลัง โดยได้มีมติส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการสอบสวนดำเนินการสืบสวนและสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน ก่อนเสนอความเห็นให้คณะกรรมการฯ ส่วนกรณีร้องเรียนเก่า คือ การจำหน่ายสุราพ่วงเบียร์ ได้ตั้งอนุกรรมการสอบสวนไปแล้ว และอนุกรรมการชุดเดิมหมดวาระเมื่อ 4 ก.พ. จึงแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมาใหม่ เพื่อทำงานแทน
สำหรับเรื่องที่ให้ยุติการสอบสวน ได้แก่ การขายพ่วงสินค้าเครื่องดื่ม ซึ่งบริษัทจำหน่ายน้ำอัดลมเป็นผู้ถูกร้อง เพราะการตรวจสอบไม่พบพฤติกรรมบังคับขายพ่วง การสอบสวนกรณีการฮั้วราคาค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งผู้ลงทุนรายย่อย ร้องเรียนสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เพราะจากการตรวจสอบพบว่าการที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์แจ้งอัตราแนะนำของค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ให้สมาชิกทราบ เป็นเพียงการขอความร่วมมือให้สมาชิกรักษาอัตราค่านายหน้าไม่แข่งขันตัดราคา มิใช่การ่วมกันกำหนดอัตราค่า และการตรวจสอบกรณีการกีดกันทางการค้าในธุรกิจอาหาร ซึ่งเป็นการร้องเรียนระหว่างบริษัทผู้ประกอบธุรกิจอาหาร
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า การตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนเครื่องดื่มชูกำลัง เป็นประเด็นสืบเนื่องหลังจากมีร้านค้าร้องเรียนผู้ผลิตเครื่องดื่มชูกำลังเอ็ม 150 ห้ามไม่ให้ร้านค้าขายสินค้าคู่แข่ง เช่น คาราบาวแดง ซึ่งถือเป็นการใช้อำนาจเหนือตลาดกีดกันสินค้าคู่แข่ง
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า วานนี้ (6 มิ.ย.) ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบผลการกำหนดหลักเกณฑ์การรวมธุรกิจตามที่อนุกรรมการกำหนดเกณฑ์การรวมธุรกิจเสนอ ซึ่งธุรกิจที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวไม่ว่าหลังรวมหรือก่อนรวมธุรกิจจะถือเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด หากกระทำพฤติกรรมที่เป็นการใช้อำนาจเหนือตลาด และถูกร้องเรียน จะมีความผิดตามพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า 2542 ทันที
ทั้งนี้ เกณฑ์การรวมธุรกิจ ได้แก่ 1.ก่อนหรือหลังรวมธุรกิจมีส่วนแบ่งตลาดตั้งแต่ 30% ขึ้นไป และมียอดขายหรือรายได้ในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 2,000 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป ในสินค้าใดสินค้าหนึ่งหรือบริการใดบริการหนึ่ง 2.การเข้าวซื้อหรือได้มาซึ่งหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในคราวเดียวกันหรือหลายคราว กรณีบริษัทมหาชน ตั้งแต่ 25% ขึ้นไป กรณีบริษัทจำกัดตั้งแต่ 50% ขึ้นไป และรายใดรายหนึ่งหรือทั้งสองรายรวมกัน มีส่วนแบ่งตลาดตั้งแต่ 30% ขึ้นไป และมียอดขาย หรือรายได้ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 2,000 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป ในสินค้าและบริการหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้สั่งให้คณะอนุกรรมการฯ ไปศึกษาเพิ่มเติม โดยให้ไปดูว่าการออกเกณฑ์ควบรวมกิจการไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่มีกฎหมายเฉพาะดูแลอย่างไร เพื่อออกแนวปฎิบัติการรวมธุรกิจ (ไกด์ไลน์) และแบบคำขออนุญาตรวมธุรกิจ กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน และเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาต่อไป
นายบุญทรงกล่าวว่า กรณีการควบรวมธุรกิจระหว่างบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่ประชุมได้รับทราบการเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดของทั้งสองบริษัท โดยวิเคราะห์แล้วพบว่าจะทำให้มีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น แต่ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์โดยขอให้มีการจับตาในประเด็นการมีพฤติกรรมใช้อำนาจเหนือตลาดอย่างไม่เป็นธรรมทั้งทางตรงหรือทางอ้อม เช่น การเรียกค่าธรรมเนียมอย่างไม่เป็นธรรม ก็จะเข้าไปจัดการ
ส่วนกรณีบริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด ที่ประชุมมีมติเห็นแย้งกับอัยการสูงสุด หลังมีความเห็นไม่ฟ้อง โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่าบริษัทดังกล่าวมีพฤติกรรมอันมิใช่การแข่งขันโดยเสรี และมีผลเป็นการทำลาย ขัดขวางการประกอบกธุรกิจของผู้อื่น ตามความผิดมาตรา 51 แต่ทั้งนี้ คดีดังกล่าวได้หมดอายุความไปแล้ว
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับพิจารณาเรื่องร้องเรียนกรณีการห้ามขายสินค้าของคู่แข่งในตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลัง โดยได้มีมติส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการสอบสวนดำเนินการสืบสวนและสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน ก่อนเสนอความเห็นให้คณะกรรมการฯ ส่วนกรณีร้องเรียนเก่า คือ การจำหน่ายสุราพ่วงเบียร์ ได้ตั้งอนุกรรมการสอบสวนไปแล้ว และอนุกรรมการชุดเดิมหมดวาระเมื่อ 4 ก.พ. จึงแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมาใหม่ เพื่อทำงานแทน
สำหรับเรื่องที่ให้ยุติการสอบสวน ได้แก่ การขายพ่วงสินค้าเครื่องดื่ม ซึ่งบริษัทจำหน่ายน้ำอัดลมเป็นผู้ถูกร้อง เพราะการตรวจสอบไม่พบพฤติกรรมบังคับขายพ่วง การสอบสวนกรณีการฮั้วราคาค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งผู้ลงทุนรายย่อย ร้องเรียนสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เพราะจากการตรวจสอบพบว่าการที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์แจ้งอัตราแนะนำของค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ให้สมาชิกทราบ เป็นเพียงการขอความร่วมมือให้สมาชิกรักษาอัตราค่านายหน้าไม่แข่งขันตัดราคา มิใช่การ่วมกันกำหนดอัตราค่า และการตรวจสอบกรณีการกีดกันทางการค้าในธุรกิจอาหาร ซึ่งเป็นการร้องเรียนระหว่างบริษัทผู้ประกอบธุรกิจอาหาร
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า การตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนเครื่องดื่มชูกำลัง เป็นประเด็นสืบเนื่องหลังจากมีร้านค้าร้องเรียนผู้ผลิตเครื่องดื่มชูกำลังเอ็ม 150 ห้ามไม่ให้ร้านค้าขายสินค้าคู่แข่ง เช่น คาราบาวแดง ซึ่งถือเป็นการใช้อำนาจเหนือตลาดกีดกันสินค้าคู่แข่ง