วานนี้ (6 มิ.ย.) ที่ห้องพิจารณาคดี 604 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถนนเจริญกรุง ศาลนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรการเสียชีวิต คดีหมายเลขดำ ที่ ช.5/2555 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิตของ นายสุวัน ศรีรักษา อายุ 30 ปี อาชีพเกษตรกร ผู้เสียชีวิตที่ 1 นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี บัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้เสียชีวิตที่ 2 นายมงคล เข็มทอง อายุ 36 ปี เจ้าหน้าที่อาสามูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ผู้เสียชีวิตที่ 3 นายรพ สุขสถิต อายุ 66 ปี พนักงานขับรถรับจ้างในสนามบิน ผู้เสียชีวิตที่ 4 น.ส.กมนเกด อัคฮาด อายุ 25 ปี พยาบาลอาสา ผู้เสียชีวิตที่ 5 และนายอัครเดช ขันแก้ว อาชีพรับจ้าง ผู้เสียชีวิตที่ 6 ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตภายในวัดปทุมวนาราม ใกล้แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 53 ช่วงการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่เรียกร้องให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี ยุบสภา
โดยพนักงานอัยการนำนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ขึ้นเบิกความสรุปว่า ช่วงระหว่างวันที่ 14 มี.ค.53 มีการการชุมนุมของกลุ่มเนปช. ที่บริเวณถนนราชดำเนิน ต่อมาเมื่อวันที่ 3 เม.ย. กลุ่มนปช. บางส่วนได้ขยายพื้นที่ไปร่วมชุมนุมอยู่ที่บริเวณแยกราชประสงค์ อีกแห่งหนึ่ง จากนั้นเมื่อวันที่ 7 เม.ย. กลุ่มนปช. ได้บุกรัฐสภา ทางรัฐบาลโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จึงได้ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ที่มีความร้ายแรงในพื้นที่กทม. และปริมณฑล พร้อมตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.โดยตนได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กำกับดูแลในฐานะ ผอ.ศอฉ. ซึ่งได้มีคำสั่งประกาศต่างๆ เพื่อเข้าควบคุมสถานการณ์
กระทั่งวันที่ 10 เม.ย.53 ศอฉ.ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ขอพื้นที่คืนของกลุ่มนปช. ที่บริเวณถนนราชดำเนิน เพื่อคลี่คลายการจราจรที่ติดขัดอย่างรุนแรง โดยยึดการปฏิบัติตามหลักสากลในการคลี่คลายสถานการณ์ และการควบคุมฝูงชนตามความเหมาะสม จากขั้นเบาไปหาหนัก 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1. การแจ้งเตือน 2. การใช้โล่ผลักดัน 3.การฉีดน้ำใส่ผู้ชุมนุม 4. การใช้เครื่องขยายเสียง 5.การใช้แก๊สน้ำตา 6.การใช้กระบอง และ 7.การใช้กระสุนยาง เพื่อยับยั้งการกระทำผิดกฎหมายของผู้ชุมนุม แต่เหตุการณ์เริ่มมีความรุนแรง ระหว่างการขอคืนพื้นที่ โดยมีกองกำลังผู้ก่อการร้ายแต่งกายด้วยชุดดำ ใช้อาวุธปืนสงครามยิ่งใส่เจ้าหน้าที่และประชาชน ทำให้มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 5 นาย กลุ่มผู้ชุมนุมเสียชีวิต 20 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 800 คน ทาง ศอฉ. จึงพิจารณาและมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ใช้ปืนลูกซองได้ เพื่อป้องกันตัวเองในสถานการณ์ฉุกเฉินและยับยั้งการก่อการร้าย
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 เม.ย. กลุ่มผู้ชุมนุมนปช. ได้สลายการชุมนุมที่บริเวณถนนราชดำเนิน และมารวมตัวชุมนุมกันที่แยกราชประสงค์ทั้งหมด ซึ่งทาง ศอฉ.ได้มีคำสั่งตั้งด่านตรวจเข้มแข็ง บริเวณรอบพื้นที่การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ งดบริการรถโดยสารสาธารณะ เพื่อสกัดยับยั้งไม่ให้มีการนำอาวุธเข้าไปในพื้นที่การชุมนุม และกันคนไม่ให้เข้าไปชุมนุมเพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งทำการตัดน้ำตัดไฟ เพื่อกดดันกลุ่มผู้ชุมนุม และตั้งจุดสกัดอีก 13 จุด รอบพื้นที่การชุมนุม แต่ปรากฏว่ามีกลุ่มผู้ก่อการร้ายปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม โดยใช้พื้นที่ด้านหลังเวทีปราศรัย และบริเวณสวนลุมพินี เป็นฐานปฏิบัติการ มีใช้อาวุธสงคราม ทั้งระเบิดเอ็ม 79 และ ปืนเอ็ม 16 ยิงใส่เจ้าหน้าที่บริเวณถนนพระราม 4 และแยกศาลาแดง ทำให้มีเจ้าหน้าที่และประชาชนเสียชีวิต จากนั้น ทางศอฉ.ได้แต่งตั้งให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีต ผบ.ทบ. เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบแทนตน
และเมื่อวันที่ 19 พ.ค. ศอฉ.ได้ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ยึดคืนพื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์และสวนลุมพินี จากนั้นแกนนำกลุ่ม นปช.ได้ประกาศสลายการชุมนุม เมื่อเวลา 13.00 น. ซึ่งกลุ่มแกนนำได้เข้ามอบตัวต่อตำรวจที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยขณะนั้นมีกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 3,000 คน ยังปักหลักชุมนุมกันอยู่ที่บริเวณด้านหน้าเวทีปราศรัย ทางศอฉ.จึงได้จัดรถบัสรับส่งกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อกลับไปยังภูมิลำเนา ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนก็ได้เดินทางกลับไป แต่บางส่วนได้เข้าไปหลบอยู่ในวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร จากนั้นมีกลุ่มคนร้ายเข้าไปวางเพลิงสถานที่หลายแห่งรอบพื้นที่การชุมนุม ทั้งเซ็นทรัลเวิลด์ โรงหนังสยาม และอาคารพาณิชย์บริเวณดังกล่าวอีกหลายแห่ง ศอฉ. จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเข้าไปดับเพลิงตามจุดพื้นที่ต่างๆ แต่ปรากฏว่า มีคนร้ายใช้อาวุธสงครามยิงสกัดทำให้ไม่สามารถเข้าไปดับเพลิงได้
ทั้งนี้ ช่วงค่ำของวันที่ 19 พ.ค. ขณะกำลังประชุมร่วมกับตำรวจเพื่อเคลื่อนย้ายกลุ่มผู้ชุมนุมที่ยังอยู่บริเวณวัดปทุมฯ ได้รับโทรศัพท์จากผู้ชุมนุมซึ่งเป็นผู้หญิงรายหนึ่งแจ้งว่า ในวัดปทุมฯ มีคนร้ายใช้อาวุธสงครามยิงใส่ประชาชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศ มีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายราย ตนจึงได้สั่งการให้หน่วยกู้ชีพและเจ้าหน้าที่พยาบาลเข้าไปทำการช่วยเหลือ แต่ได้รับรายงานว่าเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้เนื่องจากมีกองกำลังไม่ทราบฝ่ายคอยซุ่มยิงทำร้ายเจ้าหน้าที่ ต่อมาได้รับรายงานว่ามีรถพยาบาลเข้าไปรับคนเจ็บในวันปทุมฯแล้ว แต่ตนยังไม่ได้รับรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตภายในวัดในวันดังกล่าวแต่อย่างใด จนกระทั่งในวันรุ่งขึ้น 20 พ.ค. ตนได้รับรายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 6 ราย ภายในวัดปทุมฯ แต่ไม่ทราบว่าเสียชีวิตเพราะอะไร ต่อมาได้รับรายงานจากกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ ถึงความคืบหน้าเรื่องการสืบสวนกรณี 6ศพวัดปทุมฯ ว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 6 ราย น่าจะเสียชีวิตมาจากที่อื่นแล้วมีการนำศพมาวางเรียงกันที่บริเวณหน้าศาลาภายในวัด ซึ่งจากผลการชันสูตรศพของนายสุวัน ผู้ตายที่ 1 และ นายรพ ผู้ตายที่ 4 มีคราบเขม่าดินปืนติดอยู่ที่มือในปริมาณที่เชื่อว่าผู้ตายมีการใช้อาวุธมาก่อน ส่วนอีก 4 ราย ไม่มีคราบเขม่าดินปืนแต่อย่างใด และยังได้รับรายงานว่าจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม มีจำนวน 12 รายที่เสียชีวิตเพราะกลุ่ม นปช. และอีก 13 ราย เสียชีวิตเพราะเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ทั้งนี้ตนเชื่อว่าเจ้าหน้าที่ทั้งหมดได้ปฎิบัติตามขั้นตอนในคำสั่งของ ศอฉ.
ทั้งนี้หลังนายสุเทพ เบิกความเสร็จสิ้น ยังได้ยื่นเอกสารหลักฐานเป็นแผนที่บริเวณแยกราชประสงค์และบันทึกเอกสารต่างๆเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณาของศาล จากนั้นนายสุเทพ ได้แถลงขอเลื่อนการซักค้านของทนายของญาติผู้เสียชีวิตออกไปก่อน เนื่องจากติดภารกิจในช่วงบ่าย ศาลสอบถามคู่ความแล้วไม่คัดค้าน จึงได้นัดไต่สวนอีกครั้งในวันที่ 13 มิ.ย. นี้ เวลา 09.00 น.
นายสุเทพ กล่าวภายหลังเบิกความว่า การเบิกความในคดีไต่สวนชันสูตรพลิกศพ กรณีการเสียชีวิต 6 ศพวัดปทุมฯ ซึ่งตนได้อธิบายรายละเอียดต่างๆตามคำสั่งของ ศอฉ. และเหตุผลในการออกคำสั่ง รวมทั้งเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และยังได้ยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรเพิ่มเติมในบางประเด็นที่ยังไม่ได้เบิกความ ซึ่งตนได้รับรายงานจาก ดีเอสไอ ว่าผู้เสียชีวิต 89 รายนั้น มี 12 รายที่เสียชีวิตเพราะฝ่ายนปช. และมี 13ราย ที่เสียชีวิตเพราะเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ศาลได้นัดไต่สวนอีกครั้งในวันที่ 13 มิ.ย. นี้ เพื่อตอบคำถามของทนายความของญาติผู้เสียชีวิตอีกครั้ง
โดยพนักงานอัยการนำนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ขึ้นเบิกความสรุปว่า ช่วงระหว่างวันที่ 14 มี.ค.53 มีการการชุมนุมของกลุ่มเนปช. ที่บริเวณถนนราชดำเนิน ต่อมาเมื่อวันที่ 3 เม.ย. กลุ่มนปช. บางส่วนได้ขยายพื้นที่ไปร่วมชุมนุมอยู่ที่บริเวณแยกราชประสงค์ อีกแห่งหนึ่ง จากนั้นเมื่อวันที่ 7 เม.ย. กลุ่มนปช. ได้บุกรัฐสภา ทางรัฐบาลโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จึงได้ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ที่มีความร้ายแรงในพื้นที่กทม. และปริมณฑล พร้อมตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.โดยตนได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กำกับดูแลในฐานะ ผอ.ศอฉ. ซึ่งได้มีคำสั่งประกาศต่างๆ เพื่อเข้าควบคุมสถานการณ์
กระทั่งวันที่ 10 เม.ย.53 ศอฉ.ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ขอพื้นที่คืนของกลุ่มนปช. ที่บริเวณถนนราชดำเนิน เพื่อคลี่คลายการจราจรที่ติดขัดอย่างรุนแรง โดยยึดการปฏิบัติตามหลักสากลในการคลี่คลายสถานการณ์ และการควบคุมฝูงชนตามความเหมาะสม จากขั้นเบาไปหาหนัก 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1. การแจ้งเตือน 2. การใช้โล่ผลักดัน 3.การฉีดน้ำใส่ผู้ชุมนุม 4. การใช้เครื่องขยายเสียง 5.การใช้แก๊สน้ำตา 6.การใช้กระบอง และ 7.การใช้กระสุนยาง เพื่อยับยั้งการกระทำผิดกฎหมายของผู้ชุมนุม แต่เหตุการณ์เริ่มมีความรุนแรง ระหว่างการขอคืนพื้นที่ โดยมีกองกำลังผู้ก่อการร้ายแต่งกายด้วยชุดดำ ใช้อาวุธปืนสงครามยิ่งใส่เจ้าหน้าที่และประชาชน ทำให้มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 5 นาย กลุ่มผู้ชุมนุมเสียชีวิต 20 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 800 คน ทาง ศอฉ. จึงพิจารณาและมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ใช้ปืนลูกซองได้ เพื่อป้องกันตัวเองในสถานการณ์ฉุกเฉินและยับยั้งการก่อการร้าย
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 เม.ย. กลุ่มผู้ชุมนุมนปช. ได้สลายการชุมนุมที่บริเวณถนนราชดำเนิน และมารวมตัวชุมนุมกันที่แยกราชประสงค์ทั้งหมด ซึ่งทาง ศอฉ.ได้มีคำสั่งตั้งด่านตรวจเข้มแข็ง บริเวณรอบพื้นที่การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ งดบริการรถโดยสารสาธารณะ เพื่อสกัดยับยั้งไม่ให้มีการนำอาวุธเข้าไปในพื้นที่การชุมนุม และกันคนไม่ให้เข้าไปชุมนุมเพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งทำการตัดน้ำตัดไฟ เพื่อกดดันกลุ่มผู้ชุมนุม และตั้งจุดสกัดอีก 13 จุด รอบพื้นที่การชุมนุม แต่ปรากฏว่ามีกลุ่มผู้ก่อการร้ายปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม โดยใช้พื้นที่ด้านหลังเวทีปราศรัย และบริเวณสวนลุมพินี เป็นฐานปฏิบัติการ มีใช้อาวุธสงคราม ทั้งระเบิดเอ็ม 79 และ ปืนเอ็ม 16 ยิงใส่เจ้าหน้าที่บริเวณถนนพระราม 4 และแยกศาลาแดง ทำให้มีเจ้าหน้าที่และประชาชนเสียชีวิต จากนั้น ทางศอฉ.ได้แต่งตั้งให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีต ผบ.ทบ. เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบแทนตน
และเมื่อวันที่ 19 พ.ค. ศอฉ.ได้ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ยึดคืนพื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์และสวนลุมพินี จากนั้นแกนนำกลุ่ม นปช.ได้ประกาศสลายการชุมนุม เมื่อเวลา 13.00 น. ซึ่งกลุ่มแกนนำได้เข้ามอบตัวต่อตำรวจที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยขณะนั้นมีกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 3,000 คน ยังปักหลักชุมนุมกันอยู่ที่บริเวณด้านหน้าเวทีปราศรัย ทางศอฉ.จึงได้จัดรถบัสรับส่งกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อกลับไปยังภูมิลำเนา ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนก็ได้เดินทางกลับไป แต่บางส่วนได้เข้าไปหลบอยู่ในวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร จากนั้นมีกลุ่มคนร้ายเข้าไปวางเพลิงสถานที่หลายแห่งรอบพื้นที่การชุมนุม ทั้งเซ็นทรัลเวิลด์ โรงหนังสยาม และอาคารพาณิชย์บริเวณดังกล่าวอีกหลายแห่ง ศอฉ. จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเข้าไปดับเพลิงตามจุดพื้นที่ต่างๆ แต่ปรากฏว่า มีคนร้ายใช้อาวุธสงครามยิงสกัดทำให้ไม่สามารถเข้าไปดับเพลิงได้
ทั้งนี้ ช่วงค่ำของวันที่ 19 พ.ค. ขณะกำลังประชุมร่วมกับตำรวจเพื่อเคลื่อนย้ายกลุ่มผู้ชุมนุมที่ยังอยู่บริเวณวัดปทุมฯ ได้รับโทรศัพท์จากผู้ชุมนุมซึ่งเป็นผู้หญิงรายหนึ่งแจ้งว่า ในวัดปทุมฯ มีคนร้ายใช้อาวุธสงครามยิงใส่ประชาชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศ มีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายราย ตนจึงได้สั่งการให้หน่วยกู้ชีพและเจ้าหน้าที่พยาบาลเข้าไปทำการช่วยเหลือ แต่ได้รับรายงานว่าเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้เนื่องจากมีกองกำลังไม่ทราบฝ่ายคอยซุ่มยิงทำร้ายเจ้าหน้าที่ ต่อมาได้รับรายงานว่ามีรถพยาบาลเข้าไปรับคนเจ็บในวันปทุมฯแล้ว แต่ตนยังไม่ได้รับรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตภายในวัดในวันดังกล่าวแต่อย่างใด จนกระทั่งในวันรุ่งขึ้น 20 พ.ค. ตนได้รับรายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 6 ราย ภายในวัดปทุมฯ แต่ไม่ทราบว่าเสียชีวิตเพราะอะไร ต่อมาได้รับรายงานจากกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ ถึงความคืบหน้าเรื่องการสืบสวนกรณี 6ศพวัดปทุมฯ ว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 6 ราย น่าจะเสียชีวิตมาจากที่อื่นแล้วมีการนำศพมาวางเรียงกันที่บริเวณหน้าศาลาภายในวัด ซึ่งจากผลการชันสูตรศพของนายสุวัน ผู้ตายที่ 1 และ นายรพ ผู้ตายที่ 4 มีคราบเขม่าดินปืนติดอยู่ที่มือในปริมาณที่เชื่อว่าผู้ตายมีการใช้อาวุธมาก่อน ส่วนอีก 4 ราย ไม่มีคราบเขม่าดินปืนแต่อย่างใด และยังได้รับรายงานว่าจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม มีจำนวน 12 รายที่เสียชีวิตเพราะกลุ่ม นปช. และอีก 13 ราย เสียชีวิตเพราะเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ทั้งนี้ตนเชื่อว่าเจ้าหน้าที่ทั้งหมดได้ปฎิบัติตามขั้นตอนในคำสั่งของ ศอฉ.
ทั้งนี้หลังนายสุเทพ เบิกความเสร็จสิ้น ยังได้ยื่นเอกสารหลักฐานเป็นแผนที่บริเวณแยกราชประสงค์และบันทึกเอกสารต่างๆเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณาของศาล จากนั้นนายสุเทพ ได้แถลงขอเลื่อนการซักค้านของทนายของญาติผู้เสียชีวิตออกไปก่อน เนื่องจากติดภารกิจในช่วงบ่าย ศาลสอบถามคู่ความแล้วไม่คัดค้าน จึงได้นัดไต่สวนอีกครั้งในวันที่ 13 มิ.ย. นี้ เวลา 09.00 น.
นายสุเทพ กล่าวภายหลังเบิกความว่า การเบิกความในคดีไต่สวนชันสูตรพลิกศพ กรณีการเสียชีวิต 6 ศพวัดปทุมฯ ซึ่งตนได้อธิบายรายละเอียดต่างๆตามคำสั่งของ ศอฉ. และเหตุผลในการออกคำสั่ง รวมทั้งเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และยังได้ยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรเพิ่มเติมในบางประเด็นที่ยังไม่ได้เบิกความ ซึ่งตนได้รับรายงานจาก ดีเอสไอ ว่าผู้เสียชีวิต 89 รายนั้น มี 12 รายที่เสียชีวิตเพราะฝ่ายนปช. และมี 13ราย ที่เสียชีวิตเพราะเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ศาลได้นัดไต่สวนอีกครั้งในวันที่ 13 มิ.ย. นี้ เพื่อตอบคำถามของทนายความของญาติผู้เสียชีวิตอีกครั้ง