ASTV ผู้จัดการรายวัน - ศาลจำคุก 1 ปี 4 เดือน “จอน อึ๊งภากรณ์” พร้อมพวกบุกรัฐสภาปี 2550 ประท้วงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่จำเลยทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี
วานนี้ ( 28 มี.ค.) ที่ห้องพิจารณา 801 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษา คดีบุกรัฐสภา หมายเลขดำ อ.4383/2553 ที่ อัยการกองคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ฟ้อง นาย จอน อึ๊งภากรณ์ อายุ 63 ปี ประธานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ที่ 1 นาย สาวิทย์ แก้วหวาน อายุ 50 ปี ประธานสหภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่ 2นาย ศิริชัย ไม้งาม อายุ 52 ปี ประธานสหภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ 3 นาย พิชิต ไชยมงคล อายุ 31 ปี ที่ 4 นาย อนิรุทธ์ ขาวสนิท อายุ 46 ปี ที่ 5 นาย นัสเซอร์ ยีหมะ อายุ 37 ปี ที่ 6 นาย อำนาจ พละมี อายุ 45 ปี ที่ 7 นาย ไพโรจน์ พลเพชร อายุ 56 ปี ที่ 8 น.ส. สารี อ๋องสมหวัง อายุ 47 ปี ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กสทช. ที่ 9 และน.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ อายุ 38 ปี กรรมการ กสทช. ที่ 10 ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1 - 10 ในความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และร่วมกันทำให้ปรากฏด้วยวาจา อันมิใช่กระทำในความหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แสดงความคิดเห็นโดยปกติเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย
อัยการโจทก์ยื่นฟ้องสรุปความผิดว่า เมื่อวันที่12 ธ.ค.2550 จำเลยทั้ง10 กับพวกผู้ชุมนุม ได้มั่วสุมบริเวณถนนอู่ทองใน หน้าอาคารรัฐสภา แล้วพวกจำเลยในฐานะเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการกลุ่มแนวร่วมภาคประชาชนหรือแกนนำม็อบ ได้ใช้รถบรรทุก 6 ล้อติดเครื่องขยายเสียงมาจอดปิดทางเข้าออกรัฐสภา ใช้โซ่ล่ามประตูเข้าออกไม่ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่เข้าไปในที่ทำการรัฐสภา ทั้งยังได้ยุยงส่งเสริมให้ผู้ชุมนุมบุกเข้าไปในรัฐสภา เพื่อขัดขวางสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไม่ให้พิจารณาร่างกฎหมาย ต่อมาจำเลยกับพวก 100 กว่าคนได้บุกอาคารรัฐสภา จากนั้นได้ไปชุมนุมที่อาคาร 1 ชั้น 2 ที่ใช้เป็นที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แล้วได้ร่วมกันพูดและส่งเสียงกดดัน ทำให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติสั่งยุติและเลื่อนการประชุม ในการพิจารณากฎหมายต่างๆ เหตุเกิดที่แขวงดุสิต เขตดุสิต กทม. ขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 116, 215, 362, 364, 365, พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2536 มาตรา 4 จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายแล้ว เห็นว่า จำเลยกระทำความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 116 (3) เกี่ยวกับการกระทำด้วยวาจาที่ติชมโดยสุจริตเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินหรือไม่ เห็นว่า แม้โจทก์จะมีพยาน 33 ปาก แต่ไม่มีพยานใดยืนยันว่า จำเลย ยุยงหรือสั่งการให้ผู้ชุมนุมปีนเข้าไปในรัฐสภา แม้จะปรากฏภาพจำเลยที่ 7 พูดปราศรัยทำนองว่า ให้กลุ่มผู้ชุมนุมไปเยี่ยมชมรัฐสภา แต่เกิดหลังจากที่ผู้ชุมนุมปีนเข้าไปแล้ว พยานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักรับฟังได้ว่า พวกจำเลยกระทำผิดฐานยุยงให้ผู้ชุมนุมเข้าไปในอาคารรัฐสภา จึงไม่มีความผิดตาม ประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 116 (3)
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยอีกว่า จำเลยทั้ง 10 กระทำความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปโดยใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญหรือกระทำการให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองหรือไม่ เห็นว่า โจทก์มีเจ้าหน้าที่ รปภ.อาคารรัฐสภาเบิกความสอดคล้องกับภาพและวีดีโอที่บันทึกภาพไว้ขณะชุมนุมและปีนรั้วเข้าไปในรัฐสภา การที่จำเลยอ้างว่าเป็นการชุมนุมโดยใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 63 นั้น เห็นว่าการใช้เสรีภาพต้องเป็นไปตามกรอบของกฎหมายไม่ใช่กระทำการใด ๆ ก็ได้ การที่ผู้ชุมนุมนำโซ่ไปคล้องประตู ใช้บันไดปีนรั้ว ผลักกระจกเข้าไปในห้องโถงรัฐสภา แม้จะไม่มีเหตุการณ์รุนแรงแต่ก็ปรากฏความวุ่นวายในบริเวณดังกล่าว จนกระทบกระทั่งกับเจ้าหน้าที่ ถือว่าเป็นการประทุษร้ายด้วย ทั้งเป็นสถานที่ราชการ การเข้าออกต้องได้รับอนุญาต การกระทำของผู้ชุมนุมจึงเป็นการละเมิด ไม่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ยังปรากฏว่า จำเลยทั้ง 1-4 ,7-8 ขึ้นปราศรัยมากกว่าผู้ชุมนุมคนอื่น แสดงถึงความเป็นหัวหน้าผู้สั่งการ ที่จำเลยทั้งสิบอ้างว่า ต้องการเรียกร้อง คัดค้านการร่างกฎหมายของ สนช. เห็นว่า พวกจำเลยทั้งยังไม่มีความจำเป็นต้องบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภา เพราะการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาก็เพียงพอให้สาธารณะชนรับทราบแล้ว และยังไม่ปรากฏว่า การทำหน้าที่ของ สนช. เป็นการล้มล้างการปกครองตามที่จำเลยอ้าง ทั้งปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ในการ่างกฎหมายก็มีศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอยู่และมีร่างกฎหมายหลายฉบับได้ตกไป การกระทำของจำเลยถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุอันสมควร จึงมีความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 - 4,7-8 มีความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยเป็นผู้สั่งการ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรค 3 ลงโทษจำคุกคนละ 2 ปี ปรับคนละ 9,000 บาท ส่วน จำเลยที่ 5 - 6 และ 9 -10 มีความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 วรรคแรก จำคุกคนละ 1 ปี ปรับคนละ 9,000 บาท จำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษให้1ใน3 คงลงโทษจำคุก จำเลย 1- 4,7 - 8 คนละ 1 ปี 4 เดือน ปรับคนละ 6,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 5 - 6และ 9 -10 จำคุกคนละ 8 เดือน ปรับคนละ 6,000 บาท ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งหมดเคยถูกลงโทษจำคุกมาก่อน และกระทำเพื่อผลประโยชน์ของชาติ โทษจำคุก จึงให้รอลงอาญาไว้เป็นเวลา 2 ปี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังฟังคำพิพากษา จำเลยทั้ง 10 คน มีใบหน้ายิ้มแย้ม บางคนถึงกับร้องไห้ในห้องพิจารณาคดี โดยนายจอน กล่าวว่า วันนี้ศาลมีคำพิพากษาว่าตนมีความผิด แต่ตนก็รู้สึกสบายใจในสิ่งที่ได้กระทำ เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ทำในสิ่งที่ถูกต้อง และไม่เคยใช้กำลังประทุษร้ายทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามไม่เคยคิดที่จะประท้วงใดๆที่ไม่สันติวิธี และก็เชื่อว่าพวกเราทั้ง 10 คนก็คิดเช่นเดียวกัน ที่ทำไปเพื่อแก้สถานการณ์ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของชาติเท่านั้น
วานนี้ ( 28 มี.ค.) ที่ห้องพิจารณา 801 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษา คดีบุกรัฐสภา หมายเลขดำ อ.4383/2553 ที่ อัยการกองคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ฟ้อง นาย จอน อึ๊งภากรณ์ อายุ 63 ปี ประธานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ที่ 1 นาย สาวิทย์ แก้วหวาน อายุ 50 ปี ประธานสหภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่ 2นาย ศิริชัย ไม้งาม อายุ 52 ปี ประธานสหภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ 3 นาย พิชิต ไชยมงคล อายุ 31 ปี ที่ 4 นาย อนิรุทธ์ ขาวสนิท อายุ 46 ปี ที่ 5 นาย นัสเซอร์ ยีหมะ อายุ 37 ปี ที่ 6 นาย อำนาจ พละมี อายุ 45 ปี ที่ 7 นาย ไพโรจน์ พลเพชร อายุ 56 ปี ที่ 8 น.ส. สารี อ๋องสมหวัง อายุ 47 ปี ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กสทช. ที่ 9 และน.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ อายุ 38 ปี กรรมการ กสทช. ที่ 10 ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1 - 10 ในความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และร่วมกันทำให้ปรากฏด้วยวาจา อันมิใช่กระทำในความหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แสดงความคิดเห็นโดยปกติเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย
อัยการโจทก์ยื่นฟ้องสรุปความผิดว่า เมื่อวันที่12 ธ.ค.2550 จำเลยทั้ง10 กับพวกผู้ชุมนุม ได้มั่วสุมบริเวณถนนอู่ทองใน หน้าอาคารรัฐสภา แล้วพวกจำเลยในฐานะเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการกลุ่มแนวร่วมภาคประชาชนหรือแกนนำม็อบ ได้ใช้รถบรรทุก 6 ล้อติดเครื่องขยายเสียงมาจอดปิดทางเข้าออกรัฐสภา ใช้โซ่ล่ามประตูเข้าออกไม่ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่เข้าไปในที่ทำการรัฐสภา ทั้งยังได้ยุยงส่งเสริมให้ผู้ชุมนุมบุกเข้าไปในรัฐสภา เพื่อขัดขวางสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไม่ให้พิจารณาร่างกฎหมาย ต่อมาจำเลยกับพวก 100 กว่าคนได้บุกอาคารรัฐสภา จากนั้นได้ไปชุมนุมที่อาคาร 1 ชั้น 2 ที่ใช้เป็นที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แล้วได้ร่วมกันพูดและส่งเสียงกดดัน ทำให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติสั่งยุติและเลื่อนการประชุม ในการพิจารณากฎหมายต่างๆ เหตุเกิดที่แขวงดุสิต เขตดุสิต กทม. ขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 116, 215, 362, 364, 365, พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2536 มาตรา 4 จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายแล้ว เห็นว่า จำเลยกระทำความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 116 (3) เกี่ยวกับการกระทำด้วยวาจาที่ติชมโดยสุจริตเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินหรือไม่ เห็นว่า แม้โจทก์จะมีพยาน 33 ปาก แต่ไม่มีพยานใดยืนยันว่า จำเลย ยุยงหรือสั่งการให้ผู้ชุมนุมปีนเข้าไปในรัฐสภา แม้จะปรากฏภาพจำเลยที่ 7 พูดปราศรัยทำนองว่า ให้กลุ่มผู้ชุมนุมไปเยี่ยมชมรัฐสภา แต่เกิดหลังจากที่ผู้ชุมนุมปีนเข้าไปแล้ว พยานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักรับฟังได้ว่า พวกจำเลยกระทำผิดฐานยุยงให้ผู้ชุมนุมเข้าไปในอาคารรัฐสภา จึงไม่มีความผิดตาม ประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 116 (3)
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยอีกว่า จำเลยทั้ง 10 กระทำความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปโดยใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญหรือกระทำการให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองหรือไม่ เห็นว่า โจทก์มีเจ้าหน้าที่ รปภ.อาคารรัฐสภาเบิกความสอดคล้องกับภาพและวีดีโอที่บันทึกภาพไว้ขณะชุมนุมและปีนรั้วเข้าไปในรัฐสภา การที่จำเลยอ้างว่าเป็นการชุมนุมโดยใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 63 นั้น เห็นว่าการใช้เสรีภาพต้องเป็นไปตามกรอบของกฎหมายไม่ใช่กระทำการใด ๆ ก็ได้ การที่ผู้ชุมนุมนำโซ่ไปคล้องประตู ใช้บันไดปีนรั้ว ผลักกระจกเข้าไปในห้องโถงรัฐสภา แม้จะไม่มีเหตุการณ์รุนแรงแต่ก็ปรากฏความวุ่นวายในบริเวณดังกล่าว จนกระทบกระทั่งกับเจ้าหน้าที่ ถือว่าเป็นการประทุษร้ายด้วย ทั้งเป็นสถานที่ราชการ การเข้าออกต้องได้รับอนุญาต การกระทำของผู้ชุมนุมจึงเป็นการละเมิด ไม่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ยังปรากฏว่า จำเลยทั้ง 1-4 ,7-8 ขึ้นปราศรัยมากกว่าผู้ชุมนุมคนอื่น แสดงถึงความเป็นหัวหน้าผู้สั่งการ ที่จำเลยทั้งสิบอ้างว่า ต้องการเรียกร้อง คัดค้านการร่างกฎหมายของ สนช. เห็นว่า พวกจำเลยทั้งยังไม่มีความจำเป็นต้องบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภา เพราะการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาก็เพียงพอให้สาธารณะชนรับทราบแล้ว และยังไม่ปรากฏว่า การทำหน้าที่ของ สนช. เป็นการล้มล้างการปกครองตามที่จำเลยอ้าง ทั้งปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ในการ่างกฎหมายก็มีศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอยู่และมีร่างกฎหมายหลายฉบับได้ตกไป การกระทำของจำเลยถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุอันสมควร จึงมีความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 - 4,7-8 มีความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยเป็นผู้สั่งการ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรค 3 ลงโทษจำคุกคนละ 2 ปี ปรับคนละ 9,000 บาท ส่วน จำเลยที่ 5 - 6 และ 9 -10 มีความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 วรรคแรก จำคุกคนละ 1 ปี ปรับคนละ 9,000 บาท จำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษให้1ใน3 คงลงโทษจำคุก จำเลย 1- 4,7 - 8 คนละ 1 ปี 4 เดือน ปรับคนละ 6,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 5 - 6และ 9 -10 จำคุกคนละ 8 เดือน ปรับคนละ 6,000 บาท ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งหมดเคยถูกลงโทษจำคุกมาก่อน และกระทำเพื่อผลประโยชน์ของชาติ โทษจำคุก จึงให้รอลงอาญาไว้เป็นเวลา 2 ปี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังฟังคำพิพากษา จำเลยทั้ง 10 คน มีใบหน้ายิ้มแย้ม บางคนถึงกับร้องไห้ในห้องพิจารณาคดี โดยนายจอน กล่าวว่า วันนี้ศาลมีคำพิพากษาว่าตนมีความผิด แต่ตนก็รู้สึกสบายใจในสิ่งที่ได้กระทำ เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ทำในสิ่งที่ถูกต้อง และไม่เคยใช้กำลังประทุษร้ายทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามไม่เคยคิดที่จะประท้วงใดๆที่ไม่สันติวิธี และก็เชื่อว่าพวกเราทั้ง 10 คนก็คิดเช่นเดียวกัน ที่ทำไปเพื่อแก้สถานการณ์ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของชาติเท่านั้น