ชุมชนวัดแคนางเลิ้ง-ผู้คัดค้านรถไฟฟ้าสายสีส้ม บุกรัฐสภา ร้องคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน ช่วยเหลือด่วน หวั่นการก่อสร้างล้างวัฒนธรรมเก่า เผยพื้นที่ถูกเวนคืนเสี่ยงทำลายร้านยาโบราณ สมัย ร.6
วันนี้ (28 ก.พ.) เมื่อเวลา 13.30 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวแทนประชาชนชุมชนวัดสุนทรธรรมทาน หรือ วัดแคนางเลิ้ง, ชุมชนวัดสิตาราม, ชุมชนอาคารบุญดิส และชุมชนเอกชน ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีหลานหลวง ตามโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีส้ม ประมาณ 20 คน เดินทางเข้าพบ นายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ณ อาคารรัฐสภา 2 กทม.เพื่อยื่นหนังสือขอให้ดำเนินการพิจารณายกเลิกการก่อสร้างรถไฟฟ้าในสถานีหลานหลวง
นางสุวัน แววพลอยงาม ประธานชุมชนวัดแคนางเลิ้ง กล่าวว่า การเดินทางมายื่นหนังสือในครั้งนี้ได้มีการแนบเอกสารรายชื่อประชาชนที่ลงชื่อร่วมคัดค้านประมาณ 500 คน ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเร่งพัฒนาการคมนาคมของการไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เพื่อเสนอให้คณะกรรมาธิการทราบว่า คนในชุมชนไม่ต้องการให้โครงการดังกล่าวดำเนินการก่อสร้างในพื้นที่เขตวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามในวันนี้มีประชาชนบางส่วนจากชุมชนประตูน้ำที่ต่อต้านการก่อสร้างสถานีราชปรารภ มาร่วมยื่นหนังสือร้องทุกข์เช่นกัน ทั้งนี้ในอนาคตหากไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ อาจจะรวมตัวกันล่ารายชื่อเพิ่มเติมในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบทั้งหมดเพื่อยื่นคัดค้านอย่างจริงจัง
“ที่ผ่านมา การประชุมของ รฟม.มีตัวแทนเข้าประชุม 2-3 คน เข้าประชุม แต่ รฟม.ไม่เคยชี้แจงข้อมูลที่ชัดเจน แต่จากการศึกษาแผนที่ในการก่อสร้างด้วยตนเองเห็นชัดเจนว่า สถานีหลานหลวง ห่างจากสถานียมราชตั้งแต่จุดขึ้น-ลง ช่วงถนนพะเนียง แค่ประมาณ 500 เมตรเท่านั้น ขณะที่ความห่างระหว่าง สถานีหลานหลวง ช่วงขึ้น-ลง บริเวณสี่แยกหลานหลวง-ช่วงขึ้น ลงสถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บริเวณหน้าลานพลับพลา มหาเจษฎาบดินทร์ แค่ประมาณ 800 เมตร” นางสุวัน กล่าว
นางสุวัน กล่าวด้วยว่า การดำเนินการก่อสร้างในสถานีหลานหลวงนั้น หากพิจารณาตามสภาพความจำเป็นของพื้นที่แล้ว ไม่มีส่วนใดที่เป็นสถานที่สำคัญ เช่น สถานศึกษา สถานที่ราชการ หรือโรงพยาบาลใดๆ ที่พอจะดึงดูดให้คนใช้บริการจำนวนมาก ขณะที่ชุมชนวัดแคนางเลิ้ง ก็เป็นสถานที่เขตวัฒนธรรมเก่าแก่หลายอย่าง และยังมีความเข้มแข็งของชุมชนที่เอื้อเฟื้อระหว่างคนตึกแถว และคนสลัมอย่างดี นอกจากนี้ ชุมชนวัดสิตาราม ที่ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน ยังมีร้านขายยาแผนโบราณ “ถนอม บุรยะกลม” หรือ “หมอถนอม” ที่เป็นตำรับยาไทยแผนโบราณที่ได้รับการถ่ายทอดโดยตรงจากตำรับของพระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุทรเวช) แพทย์ประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) สิ่งเหล่านี้เป็นความกังวลของชาวบ้านที่ไม่ต้องการให้สูญสลาย จึงได้ต่อต้านการก่อสร้างสถานีดังกล่าว และอยากให้ รฟม.เข้าใจว่า ชุมชนเดือดร้อนต่อโครงการอย่างมาก ต้องการให้มีการเรียกประชุมประชาพิจารณ์อย่างจริงจัง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ชุมชนได้ยื่นหนังสือถึงสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แล้ว เพื่อขอให้สนับสนุนการคัดค้านแล้ว โดยทางเจ้าหน้าที่ระบุว่า จะดำเนินการพิจารณาตามความเหมาะสม แล้วจะแจ้งเรื่องให้ทราบภายหลัง
นายตวง กล่าวภายหลังการรับหนังสือว่า ทางคณะกรรมาธิการจะดำเนินการเจรากับ ผู้อำนวยการ รฟม.ให้โดยเร็วที่สุด ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ แต่ขอเวลาฟัง รฟม.ชี้แจงตามข้อเท็จจริงด้วย ซึ่งสัญญาว่าจะดำเนินการอย่างยุติธรรม
วันนี้ (28 ก.พ.) เมื่อเวลา 13.30 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวแทนประชาชนชุมชนวัดสุนทรธรรมทาน หรือ วัดแคนางเลิ้ง, ชุมชนวัดสิตาราม, ชุมชนอาคารบุญดิส และชุมชนเอกชน ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีหลานหลวง ตามโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีส้ม ประมาณ 20 คน เดินทางเข้าพบ นายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ณ อาคารรัฐสภา 2 กทม.เพื่อยื่นหนังสือขอให้ดำเนินการพิจารณายกเลิกการก่อสร้างรถไฟฟ้าในสถานีหลานหลวง
นางสุวัน แววพลอยงาม ประธานชุมชนวัดแคนางเลิ้ง กล่าวว่า การเดินทางมายื่นหนังสือในครั้งนี้ได้มีการแนบเอกสารรายชื่อประชาชนที่ลงชื่อร่วมคัดค้านประมาณ 500 คน ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเร่งพัฒนาการคมนาคมของการไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เพื่อเสนอให้คณะกรรมาธิการทราบว่า คนในชุมชนไม่ต้องการให้โครงการดังกล่าวดำเนินการก่อสร้างในพื้นที่เขตวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามในวันนี้มีประชาชนบางส่วนจากชุมชนประตูน้ำที่ต่อต้านการก่อสร้างสถานีราชปรารภ มาร่วมยื่นหนังสือร้องทุกข์เช่นกัน ทั้งนี้ในอนาคตหากไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ อาจจะรวมตัวกันล่ารายชื่อเพิ่มเติมในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบทั้งหมดเพื่อยื่นคัดค้านอย่างจริงจัง
“ที่ผ่านมา การประชุมของ รฟม.มีตัวแทนเข้าประชุม 2-3 คน เข้าประชุม แต่ รฟม.ไม่เคยชี้แจงข้อมูลที่ชัดเจน แต่จากการศึกษาแผนที่ในการก่อสร้างด้วยตนเองเห็นชัดเจนว่า สถานีหลานหลวง ห่างจากสถานียมราชตั้งแต่จุดขึ้น-ลง ช่วงถนนพะเนียง แค่ประมาณ 500 เมตรเท่านั้น ขณะที่ความห่างระหว่าง สถานีหลานหลวง ช่วงขึ้น-ลง บริเวณสี่แยกหลานหลวง-ช่วงขึ้น ลงสถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บริเวณหน้าลานพลับพลา มหาเจษฎาบดินทร์ แค่ประมาณ 800 เมตร” นางสุวัน กล่าว
นางสุวัน กล่าวด้วยว่า การดำเนินการก่อสร้างในสถานีหลานหลวงนั้น หากพิจารณาตามสภาพความจำเป็นของพื้นที่แล้ว ไม่มีส่วนใดที่เป็นสถานที่สำคัญ เช่น สถานศึกษา สถานที่ราชการ หรือโรงพยาบาลใดๆ ที่พอจะดึงดูดให้คนใช้บริการจำนวนมาก ขณะที่ชุมชนวัดแคนางเลิ้ง ก็เป็นสถานที่เขตวัฒนธรรมเก่าแก่หลายอย่าง และยังมีความเข้มแข็งของชุมชนที่เอื้อเฟื้อระหว่างคนตึกแถว และคนสลัมอย่างดี นอกจากนี้ ชุมชนวัดสิตาราม ที่ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน ยังมีร้านขายยาแผนโบราณ “ถนอม บุรยะกลม” หรือ “หมอถนอม” ที่เป็นตำรับยาไทยแผนโบราณที่ได้รับการถ่ายทอดโดยตรงจากตำรับของพระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุทรเวช) แพทย์ประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) สิ่งเหล่านี้เป็นความกังวลของชาวบ้านที่ไม่ต้องการให้สูญสลาย จึงได้ต่อต้านการก่อสร้างสถานีดังกล่าว และอยากให้ รฟม.เข้าใจว่า ชุมชนเดือดร้อนต่อโครงการอย่างมาก ต้องการให้มีการเรียกประชุมประชาพิจารณ์อย่างจริงจัง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ชุมชนได้ยื่นหนังสือถึงสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แล้ว เพื่อขอให้สนับสนุนการคัดค้านแล้ว โดยทางเจ้าหน้าที่ระบุว่า จะดำเนินการพิจารณาตามความเหมาะสม แล้วจะแจ้งเรื่องให้ทราบภายหลัง
นายตวง กล่าวภายหลังการรับหนังสือว่า ทางคณะกรรมาธิการจะดำเนินการเจรากับ ผู้อำนวยการ รฟม.ให้โดยเร็วที่สุด ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ แต่ขอเวลาฟัง รฟม.ชี้แจงตามข้อเท็จจริงด้วย ซึ่งสัญญาว่าจะดำเนินการอย่างยุติธรรม