มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาขั้นอุดมศึกษา ที่มีต้นทุนสูง และมีหน้าที่ที่จะต้องผลิตบัณฑิตในสาขาต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานระดับปัญญาชนภายในประเทศ หรือกลุ่มประชาคมอาเซียนในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ ทั้งยังสามารถสนองตอบการเจริญเติบโตของชาติบ้านเมืองในทุกมิติซึ่งมีพลวัตสูงในโลกปัจจุบันที่การแข่งขันสูง บัณฑิตที่สำเร็จออกจากมหาวิทยาลัยนั้น เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการสร้างรายได้มวลรวมภายในประเทศหรือ GDP และเป็นตัวชี้วัดศักยภาพและพลังอำนาจของชาติตามที่ เอ็ดเวิร์ด มีค เอิร์ล (Edward Meed Earl) นักยุทธศาสตร์รัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้แถลงแนวคิดที่รัฐสภาสหรัฐฯ ใน ค.ศ.1948 และเขียนตำรายุทธศาสตร์เรื่อง Maker of Modern Strategy เกี่ยวกับการที่ชาติหนึ่งชาติใดจะมีพลังอำนาจแห่งรัฐชาติแล้ว จะต้องมีความแข็งแกร่ง 5 ด้าน คือ ความแข็งแกร่งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา ทหาร และเทคโนโลยี หรือความสามารถทางปัญญาของคนในชาติ
พลังอำนาจแห่งชาติว่าด้วยความสามารถทางปัญญาของคนในชาติ จึงขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของสถาบันอุดมศึกษา แต่มหาวิทยาลัยเป็นกิจการที่มีต้นทุนสูงมากในการบริหารจัดการการศึกษา ให้มีความทันสมัยในเรื่องเทคโนโลยีการสอน ด้านบุคลากรซึ่งต้องมีคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิสูง มาตรฐานสูง และมีผลงานการวิจัยในระดับสากล รวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาคณาจารย์ให้มีความทันสมัยด้านเทคโนโลยี และสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างพลวัตของโลก
ปัจจัยเหล่านี้เป็นต้นทุนที่ต้องมีงบประมาณสูง การลงทุนสูง ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องพึ่งรายได้พิเศษจำนวนมหาศาล นอกเหนือจากเงินบำรุงการศึกษาหรือค่าเล่าเรียนที่นิสิตนักศึกษาต้องจ่าย และต้องได้รับงบประมาณจากรัฐเพราะเป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ที่กำหนดให้รัฐต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาและยกระดับการศึกษาของคนในชาติ ให้สามารถแข่งขันกับภาวการณ์ทุกมิติของโลกได้
นับตั้งแต่รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ได้ออกพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งตามมาตรา 36 ที่กำหนดไว้ว่า “ให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล และอาจจัดเป็นส่วนราชการ หรือเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ยกเว้นสถานศึกษาเฉพาะทางตามมาตรา 21 ให้สถานศึกษาดังกล่าวดำเนินการได้โดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาการศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้นๆ”
ด้วยพระราชบัญญัติฉบับนี้ ทำให้มหาวิทยาลัยที่เกิดหลังพระราชบัญญัติฉบับนี้ สามารถดำเนินการโดยอิสระ และสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับดูแลของรัฐ ตั้งแต่เสนอกฎหมายกำเนิดสถานศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมีชื่อมหาวิทยาลัยถวายเป็นราชรำลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชชนนี สมเด็จย่าที่ทรงเป็นห่วงเยาวชนเชียงรายที่จะต้องมีสถานศึกษาขั้นอุดมศึกษามาตรฐานโลก แต่มหาวิทยาลัยที่ตั้งมาก่อนหน้านี้ ต้องมีการนำเสนอเป็นกฎหมายฉบับใหม่ แยกตัวเองออกจากกฎหมายฉบับเดิม ไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นอย่างไร แต่พิจารณาเนื้อหาในมาตรา 36 นี้แล้วพบว่า “อาจจะเป็นหรือไม่เป็นหน่วยงานของรัฐก็ได้ และไม่ได้บังคับว่าจะต้องออกนอกระบบ”
ปัจจุบันหลายมหาวิทยาลัยของรัฐ ต้องการออกนอกระบบราชการกระทรวงศึกษาธิการ ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ. 2542 เพราะต้องการเป็นอิสระในการบริหารจัดการ ซึ่งนำสู่ประเด็นปัญหาที่สาธารณชนเกรงกลัว กรณีมหาวิทยาลัยสามารถเรียกร้องค่าเล่าเรียนได้อย่างอิสระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิชาที่มีนักศึกษาต้องการสมัครเรียนจำนวนมาก ตามหลักอุปสงค์ อุปทาน เพราะหากอุปสงค์มาก แต่จำนวนเก้าอี้เรียนน้อย มหาวิทยาลัยอาจจะกำหนดค่าเล่าเรียนหน่วยกิตที่แพงมากก็ได้ จนครอบครัวที่มีรายได้น้อยหมดโอกาสได้เข้าเรียนทั้งๆ ที่ศักยภาพปัญญาเพียงพอ
มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 40 แห่งตั้งขึ้นด้วย พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏปี พ.ศ.2547 โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งอยู่ติดกัน และมีประวัติความเป็นมาคล้ายกัน แต่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งเคยเป็นกองทัพหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏ รวม 40 สถาบันขอออกนอกระบบก่อนใคร แต่ได้รับการต่อต้านอย่างมโหฬารจากนักศึกษาและคณาจารย์บางส่วนหลายครั้ง จึงต้องถอยทัพไป และปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งถือได้ว่ามีศักยภาพตามภาพลักษณ์ที่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นจริง และถูกสร้างให้สาธารณชนเห็นว่าอยู่ในอันดับ 1 ของบรรดามหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งหลาย
ก่อนที่จะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตนั้น เดิมทีเป็นโรงเรียนมัธยมวิสามัญการเรือน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2477 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะอบรมกุลสตรีไทย ให้รู้จักงานการบ้านการเรือนและการเลี้ยงดูเด็กเล็ก ให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานตามลักษณะของสังคมที่เจริญแล้ว และสถานที่ก่อตั้งเริ่มแรกนั้นอยู่ที่วังกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งปัจจุบันคือที่ตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตพาณิชยการพระนคร และต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่วังจันทรเกษม ในปัจจุบันเป็นที่ตั้งกระทรวงศึกษาธิการ และได้ย้ายอีกครั้งมาที่สวนสุนันทา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต และได้แบ่งแยกกับสวนสุนันทา ซึ่งรวมอยู่ในเขตพระราชวังดุสิต และมีเขตถนนราชสีมากับถนนสามเสนเป็นเขตโรงเรียนการเรือนทั้งสอง และส่วนหนึ่งกลายเป็นวิทยาลัยครูสวนดุสิต สถาบันราชภัฏสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2480 โรงเรียนมาแตร์เดอี ก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลขึ้น อันเป็นโรงเรียนอนุบาลเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2483 คุณยายลออ หลิมเซ่งถ่าย บริจาคเงิน 80,000 บาท สร้างโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จึงทำให้โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของรัฐ
ด้วยประวัติการก่อกำเนิดของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตมีความชำนาญในด้านคหกรรมศาสตร์ทั้งมวล และการศึกษาปฐมวัย มีการส่งครูไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น และในปี พ.ศ. 2504 เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนการเรือน เป็นวิทยาลัยครูสวนดุสิต
เดิมทีนั้นการเป็นครูดูเหมือนเป็นอาชีพที่ต่ำต้อย โดยได้พัฒนาจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ แต่ต่อมาพัฒนาเป็นวิทยาลัยครู เปิดสอนเมื่อ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 และมีการยกฐานะขึ้น โดยมีพระราชกฤษฎีกาวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เพื่อกำหนดฐานะและคุณวุฒิให้มีเกียรติภูมิมากขึ้น และในปี พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครูทั้งหลายได้รับพระราชทานชื่อเป็นสถาบันราชภัฏ และเกิด พ.ร.บ.สถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ขึ้น ให้เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ให้มีวัตถุประสงค์ด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง การทำวิจัย และบริการทางการศึกษาแก่สังคม พัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ผลิตครู และส่งเสริมวิชาการครูในท้องถิ่น ให้มีมาตรฐานสูงขึ้นและมีระดับเดียวกัน
จนในปี พ.ศ. 2547 มี พ.ร.บ.ราชภัฏ อันเป็นการยกระดับขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย ที่พระมหากษัตริย์ทรงให้กำเนิดและพระราชทานให้มีสัญลักษณ์เดียวกันทั้งหมด 40 สถาบันราชภัฏ เพื่อให้มีสำนึกเดียวกันในการพัฒนาชาติจากศูนย์รวมท้องถิ่น โดยมีตราสัญลักษณ์เป็นพระราชสัญจกรหรือตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีสีน้ำเงิน เขียว ทอง ส้ม และขาว โดยสีน้ำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงให้กำเนิด และสีขาวหมายถึงความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ็แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
แต่ต่อมาในยุค IMF ครั้งรัฐบาลนายชวน หลีกภัย กระแสการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยของรัฐแรงขึ้น เพราะอธิการบดีต้องการปลดแอกตัวเองออกจากระบบราชการ ที่คิดกันว่าเป็นอุปสรรคในการพัฒนา และมักจะอ้างว่าขาดอิสระในความคิด อ้างว่ารัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการควบคุมเข้มงวด หรืออ้างว่านักการเมืองและข้าราชการขาดวิสัยทัศน์ จึงเกิดแนวคิดเป็นรูปธรรมและในที่สุดรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ก็ออกพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2542
เมื่อวิเคราะห์แล้วจะรู้ว่าในยุค IMF ฟองสบู่แตก รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ไม่มีงบประมาณแผ่นดินมากพอ แนวคิดที่ว่าให้สถาบันการศึกษาสามารถดูแลตัวเองด้านการเงินได้ภายใต้การกำกับการของรัฐบาลเป็นหนทางแก้ปัญหางบประมาณการศึกษา ซึ่งในทีนี้เมื่อมหาวิทยาลัยเป็นนิติบุคคลแล้วก็สามารถกู้หนี้ยืมสินมาลงทุนการบริการการศึกษาหรือดำเนินการหากำไรทางอื่นๆ ได้อย่างอิสระหรือหาเงินนอกระบบได้เลย ไม่ต้องขออนุญาตจากรัฐ หรือส่งคืนรัฐ หรือแบ่งให้รัฐ ซึ่งปรากฏอยู่ในเหตุผลของการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย 8 ประการ คือ
1. เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ
2. เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล
3. สามารถเปิดหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานได้ โดยไม่ต้องรอให้กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติ แต่หลักสูตรผ่านการตรวจสอบจากกรรมการอุดมศึกษาเท่านั้น
4. สามารถให้สวัสดิการได้เทียบเท่าสถาบันการศึกษาเอกชน
5. เพิ่มค่าเล่าเรียนให้สูงขึ้นได้ ซึ่งอาจจะเป็นการตัดโอกาสทางการศึกษาของผู้ที่มีรายได้น้อยทางอ้อม
6. การบริหารไม่โปร่งใส ตรวจสอบยาก ในกรณีที่ยังได้เงินงบประมาณบำรุงการศึกษาจากรัฐ
7. คณะหรือหลักสูตรที่ไม่คุ้มค่าในการจัดสอน อาจจะต้องปิดหลักสูตร ทำให้นักศึกษาบางคนหมดโอกาสเรียนในวิชาที่ต้องการ แต่หาที่เรียนยาก เช่น ภาษาอาหรับ หรือนิวเคลียร์ฟิสิกส์ เป็นต้น
8. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ.2542 นั้น เป็นกฎหมายมีลักษณะในการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ดินมากกว่าการบริหารจัดการการศึกษา หรือมีลักษณะทางการเมืองมากกว่า
9. การออกนอกระบบนั้นอำนาจตกอยู่กับสภามหาวิทยาลัย และถ้าฝ่ายบริหารสามารถครอบงำสภามหาวิทยาลัยได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้วอำนาจจะเป็นของฝ่ายบริหาร กรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตนั้นมีเกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นตามที่เป็นข่าวเมื่อนายมานิจ สุขสมจิตรลาออกจากนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตทั้งที่ดำรงตำแหน่งนี้เป็นสมัยที่สองแต่เพราะขัดแย้งเรื่องแนวคิดทางการเมืองที่ไม่เป็นกลางของฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัย นายมานิจ กล่าวว่า “สำหรับฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้ตนต้องประกาศลาออกจากตำแหน่งนั้น เป็นเพราะมีการทำโพล และการตั้งคำถาม ที่สามารถอ่านถึงจุดประสงค์ของการทำได้อย่างเด่นชัด เช่น ในวันที่ 20 ธันวาคม 2555 มีการสำรวจในคำถามที่ว่า โลกแตกแล้วอยากให้นักการเมืองคนใดมีชีวิตอยู่ ซึ่งคำตอบที่ออกมาได้แก่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 32.35, รองลงมาคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 19.48 เป็นต้น ซึ่งในตอนที่ตนลาออก อธิการบดี ได้ยับยั้งการลาออกเอาไว้ แต่ตนก็บอกไปว่า หากผมอยากอยู่ต่อ คงไม่ลาออก”
มหาวิทยาลัยราชภัฏส่วนหนึ่งต้องการออกนอกระบบ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แต่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทานั้น ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งมีความเข้มข้นถึงขนาดนักศึกษาเดินขบวนไปประท้วงที่รัฐสภา จนมหาวิทยาลัยต้องถอยออกมา
จนเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยหลายแห่ง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่มีการใช้อำนาจการเมืองผ่านนักการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และรัฐมนตรีเสนอให้รัฐบาลเป็นผู้เสนอขอออกนอกระบบ โดยมีนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 เป็นประธานการประชุมการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ แต่สภาผู้แทนราษฎรขาดองค์ประชุม การประชุมจึงล่ม ต่อมาในวันที่ 13 มีนาคม ที่ผ่านมา เวลา 11.30 น. ที่หน้าอาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน นักศึกษาประมาณ 20 คน จากแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านมหาวิทยาลัยนอกระบบ ซึ่งเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สวมชุดดำ เผาหรีดประท้วงสภาผู้แทนราษฎรที่จะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ พร้อมทั้งมีการยื่นหนังสือเรียกร้องถึงประธานรัฐสภา เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรถอน
1. ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ. ...
2. ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ...
3. ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ...
ออกจากวาระการประชุมสภา ซึ่งจะมีการพิจารณาในขั้นรับหลักการในวันนั้น พร้อมทั้งให้กลับมาพิจารณากันใหม่ในแต่ละมหาวิทยาลัยอย่างมีส่วนร่วม โดยเวลา 13.00 ในวันนั้นนายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานรัฐสภา ออกมารับหนังสือเรียกร้องดังกล่าว
แต่ช่วงเย็นของวันนั้น สำนักข่าวไทยรายงานว่า ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการวาระ 1 ในร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตแล้ว ด้วยคะแนนเสียง 388 ต่อ 1 คะแนน งดออกเสียง 1 คะแนน และได้ตั้งคณะกรรมาธิการ 30 คน ขึ้นมาพิจารณาแปรญัตติภายใน 7 วัน นอกจากนี้ที่ประชุมสภาฯ ได้ให้ความเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในวาระ 3 ด้วยคะแนนเอกฉันท์ 360 คะแนน โดยก่อนลงมติมีรายงานด้วยว่าเกิดเหตุวุ่นวายขึ้นระหว่างการตรวจนับองค์ประชุม โดย ส.ส.ฝ่ายค้านและรัฐบาลโต้เถียงกันไปมา เมื่อมีการทักท้วงความคืบหน้าการตรวจสอบการกดบัตรแทนกัน สุดท้ายต้องนับคะแนนโดยการขานชื่อก่อนจะรับหลักการร่างกฎหมายดังกล่าว
นายนิพิฐพนธ์ คำยศ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และแกนนำแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ กล่าวหลังทราบผลมติดังกล่าวว่า เราเสนอให้สภาฯ ถอนร่าง พ.ร.บ.ออกมาโดยตลอด โดยมีการยื่นข้อเรียกร้องต่อทั้งประธานรัฐสภา ประธานวิปฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านไว้ก่อนแล้ว เพื่อให้นำเอาร่าง พ.ร.บ.เหล่านั้น กลับมาทำประชาพิจารณ์ในมหาวิทยาลัยอย่างมีส่วนร่วมก่อน เพราะที่ผ่านมาไม่เกิดกระบวนการเหล่านี้ขึ้นในมหาวิทยาลัยอย่างโปร่งใส
แกนนำแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ได้ยกตัวอย่างกรณีปัญหาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกี่ยวกับกระบวนการเสนอร่าง พ.ร.บ.นี้ว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่รู้เรื่องนี้ การที่นำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ในขณะที่นักศึกษาไม่รู้และกำลังปิดภาคการศึกษา ถือว่าไม่แฟร์สำหรับนักศึกษาด้วย รวมทั้ง พ.ร.บ.นี้เอื้ออำนวยต่อผู้บริหารมากเกินไป และไม่มีการตรวจสอบได้ สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจในการจัดซื้อจัดจ้าง หรือซื้อขายทรัพย์สินต่างๆ ในมหาวิทยาลัย รวมทั้งนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเราคิดว่าควรมีอะไรใน พ.ร.บ.เพื่อที่จะไปคานอำนาจกับเขา เช่น กลไกจากนิสิตนักศึกษาหรือประชาชน เข้าไปคานอำนาจและตรวจสอบ
นายนิพิฐพนธ์ กล่าวย้ำด้วยว่า เราเห็นด้วยกับการที่มหาวิทยาลัยจะมีความอิสระและความคล่องตัวในการบริหาร แต่ก็ต้องมีการตรวจสอบและคานอำนาจได้จากนักศึกษาและประชาชน รวมทั้งที่มาของผู้บริหาร และสภามหาวิทยาลัยต้องมาจากการเลือกตั้งครึ่งหนึ่ง
แกนนำแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านมหาวิทยาลัยนอกระบบ เปิดเผยถึงการเคลื่อนไหวต่อไปของกลุ่มว่า เตรียมจะมีการล่ารายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายเกี่ยวกับพิมพ์เขียวมหาวิทยาลัย เพื่อให้มีอำนาจตรวจสอบผู้บริหาร ให้สิทธิกับนักศึกษาและบุคลากรมากขึ้น เป็นต้น
นายปรัชญา นงนุช ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และตัวแทนแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ กล่าวถึงข้อเสนอและจุดยืนต่อสถานการณ์การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบใน 5 ประเด็น คือ
1. ให้ รมว.ศธ.เสนอเรื่องในการถอนร่าง พ.ร.บ. 2 แห่งออกจากวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรออกไปก่อน
2. ให้รัฐบาลทำหนังสือถึงผู้บริหารมหาวิทยาลัย 2 แห่ง เปิดเผยข้อมูลการออกนอกระบบต่อประชาคมอย่างทั่วถึง
3. ขอแสดงจุดยืนการคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยอื่นๆ ออกนอกระบบ เพราะจะเป็นการเปิดโอกาสให้คณะบุคคลบางกลุ่มเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ในมหาวิทยาลัย
4. ให้ ศธ.สรุปบทเรียน ข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบต่อนิสิตนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร พนักงานมหาวิทยาลัย ภายหลังจากการที่ได้มีการนำมหาวิทยาลัยบางแห่งออกนอกระบบในยุค คมช.ปี พ.ศ. 2551 การนำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2541 และการก่อตั้งมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตั้งแต่แรกเริ่ม เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
5. ขอสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งมีเสรีภาพทางวิชาการ ภายใต้การอุดหนุนงบประมาณจากรัฐบาล โดยขอให้กำหนดว่าการศึกษาเป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้ประชาชนเข้าถึงอย่างเท่าเทียม ฟรีตั้งแต่อนุบาลถึงปริญญาตรี ไว้ในรัฐธรรมนูญ
แต่สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มีประเด็นสำคัญให้คิดเชิงสังคมจิตวิทยา ว่าด้วยชื่อมหาวิทยาลัย ซึ่งมีนัยแอบแฝงตามกระแสการเมืองในปัจจุบัน และเรื่องความจงรักภักดีสถาบัน เพราะมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตนั้น เมื่อได้ออกนอกระบบและอยู่ในกำกับของรัฐแล้ว จะเหลือชื่อแค่ “มหาวิทยาลัยสวนดุสิต” โดยได้ตัดเอาคำว่าราชภัฏออกไป
คำว่าราชภัฏ อันหมายถึง “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” หายไป ซึ่งมีความหมายมากในสถานการณ์ทางสังคมและการเมืองปัจจุบัน เพราะนัยสำคัญตามพระราชประสงค์นั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระราชหฤทัยให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วทุกแห่งในประเทศ รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้เป็นผู้ทำงานถวายเพื่อสนองพระราชกรณียกิจของพระองค์ในเรื่องที่สำคัญ ในการพัฒนาประชาชนทุกหมู่เหล่า เพราะมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตก็มีวิทยาเขตในหลายจังหวัด ให้ประชาชนในต่างจังหวัดได้มีโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาตนเองในทุกๆ ด้าน ช่วยให้นักศึกษามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุกสถานที่ รวมถึงชุมชน สังคม ที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นยังเข้าไม่ถึง หรือละเลยในการพัฒนา
ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งจะต้องเข้าไปพัฒนา และให้โอกาสแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่าอย่างเสมอภาค เติมเต็มความรู้แก่ประชาชนให้มีโลกทรรศน์ที่ก้าวไกล
การให้สถาบันราชภัฏ หรือมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่ง ได้เข้าใจในความหมายของคำว่า “ราชภัฏ” ชัดเจน และคมชัดมากยิ่งขึ้น ในการปฏิบัติตนให้สมกับคำว่า “คนราชภัฏ” อย่างลึกซึ้ง และเมื่อออกนอกระบบแล้ว “มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต” จะรับใช้ใคร รับใช้รัฐบาลเป็นการส่วนตัวหรืออย่างไรนั้นไม่ทราบได้ แต่ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “ตราประจำพระองค์” หรือ “พระราชลัญจกร” แก่สถาบันราชภัฏทั่วประเทศอีกคำรบ เพื่อให้เป็น “ตราประจำสถาบัน” ซึ่งเป็นตราที่มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งหลาย รวมทั้ง “มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต” ได้ใช้มาตราบทุกวันนี้
ด้วยความสำนึกของ “คนราชภัฏ” จึงชัดเจนแล้วว่าทุกคนจักต้องมีจิตสำนึกที่จะต้องอุทิศตน ทำงานทุกอย่างเพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีและเทิดทูนอย่างหาที่สุดมิได้ จะกระทำสิ่งใดต้องคิดคำนึงเพื่อประชาชนเป็นที่ตั้ง รวมทั้งปฏิบัติภารกิจต่างๆ ของมหาวิทยาลัยให้เปรียบเสมือนได้กระทำเพื่อถวายพระองค์ทุกกรณี เมื่ออยากยกฐานะให้เป็นแหล่งอุดมศึกษาสูงขึ้น และประสิทธิประสาทปริญญาบัตร จึงได้ขอพระราชทานนามและตราพระราชลัญจกร แต่พอจะออกนอกระบบจะตัดคำว่าราชภัฏออกไป แต่ได้อ้าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548 ซึ่งได้ออกเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบ เปลี่ยนเป็น “มหาวิทยาลัยนครพนม” และหากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตออกนอกระบบแล้ว อาจจะสับสนในการบริหาร เพราะเกรงว่าจะสับสนกับ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นส่วนราชการ และยังอ้างว่าสวนดุสิตคือพระราชวังสวนดุสิต และยังได้เตรียมขอตราพระราชวังสวนดุสิตเป็นตราประจำมหาวิทยาลัย แทนตราที่ได้รับพระราชทานไว้แล้วและมีความหมายเชิงลึกมากกว่า
ฟังแล้วยังงงอยู่ว่าการที่ยังคง “ราชภัฏ” อยู่นั้นจะทำให้กฎหมายกำกับใช้บังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต หรือชื่ออื่นๆ สับสนได้อย่างไร เพราะทุกคำพูดในกฎหมาย พ.ร.บ.สามารถเขียนได้ใหม่ทั้งสิ้น และสามารถขจัดความสับสนได้อย่างสิ้นเชิง แต่ไม่ทราบว่า คำว่า “ราชภัฏ” เป็นอุปสรรคอะไรในสภาผู้แทนราษฎรที่จะผ่าน พ.ร.บ.ออกนอกระบบให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ส่วนมหาวิทยาลัยนครพนมที่อ้างว่าออกนอกระบบได้ตัด “ราชภัฏ” ออกไม่เห็นมีปัญหาอะไร มหาวิทยาลัยนครพนมนั้นกำเนิดขึ้นจาก พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548 โดยในมาตรา 4 กำหนดให้มีสถานศึกษาอื่นในระดับอาชีวะ 5 แห่ง มาเข้ารวมกันเป็นมหาวิทยาลัย แต่สถาบันทั้ง 5 แห่งไม่เคยมีส่วนร่วมเป็นสถาบันราชภัฏมาก่อน โดยมหาวิทยาลัยนครพนมกำเนิดจาก
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม
3. วิทยาลัยเทคนิคนครพนม
4. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม
5. วิทยาลัยการอาชีพธาตุพนม
6. วิทยาลัยการอาชีพนาหว้า และ
7. วิทยาลัยบรมราชชนนีนครพนม
ใน 7 สถาบันมีเพียง 2 แห่งเป็น “ราชภัฏ” เดิม นอกนั้นเป็นอาชีวศึกษาที่ไม่เคยร่วมเป็นสถาบันราชภัฏมาก่อน ดังนั้น การที่จะไม่มีวลีคำว่าราชภัฏติดอยู่ จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย เพราะไม่เคยเป็นราชภัฏตามนัยแห่งชื่อและประวัติที่ความเป็นมาเกี่ยวข้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์กำเนิดต่างกัน
มีข้อเปรียบเทียบที่ว่า โรงเรียนนายเรืออากาศขอพระราชทานนามเพื่อเป็นสิริมงคลโดยในปัจจุบันเรียกว่า โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช จึงดูเหมือนกับว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตไม่ต้องการความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์อีกต่อไป
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยนครพนมเกิดภายใต้อิทธิพลของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในช่วงนั้น และกลุ่มนักการเมืองนครพนม ซึ่งมองว่าการรวมตัวกันนั้นเป็นการรวมตัวของกลุ่มอาชีวะศึกษาท้องถิ่น ในสาขาที่ไม่ใช่ครู เรื่องนี้สามารถวิเคราะห์ให้กว้างขวางต่อไปได้อีกหลายนัย
การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตนั้น ดูเป็นการกำกับการของกลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการชี้นำเฉพาะในส่วนที่ดี และการบริหารภายในก็มีการบงการจากผู้บริหารอย่างเห็นได้ชัด เช่น อธิการบดีหมดวาระก็มีการเสนอชื่อบุคคลใกล้ชิดและไว้ใจได้เป็นอธิการบดีแทน โดยชี้นำให้รองอธิการบดีที่รับผิดชอบกิจการพิเศษขึ้นเป็นอธิการบดี แต่ตัวอธิการบดีคนเก่ายอมกลับเป็นรองอธิการบดี ซึ่งเป็นเรื่องตลกในหลักการบริหารจัดการองค์กร และยังมีเรื่องราวต่างๆ ที่การบริหารมีลักษณะเล่นพวก เช่น การตั้งคณบดีโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ ซึ่งเคยเป็นอดีตเลขานุการอธิการบดี และเรียนปริญญาเอกในประเทศเยอรมนีไม่จบ ต้องกลับมาเรียนในประเทศ และหากใช้งบประมาณของมหาวิทยาลัยจะต้องใช้ทุนคืน เป็นต้น
สำหรับเรื่องความไม่โปร่งใสนั้นมีหลักฐานการหลีกเลี่ยงพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐบาล พ.ศ. 2542 นั้น มีตัวอย่างแสดงกรณีที่ สตง.ได้ขอตรวจสอบโครงการจัดซื้อจัดจ้างสร้างห้องปฏิบัติการจำลองการบริการบนเครื่องบิน แต่มหาวิทยาลัยไม่ร่วมมือในการแสดงความโปร่งใส โดยมี NGO ผู้ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ได้ทำการตรวจสอบเป็นกรณีศึกษาและสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ สตง.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้จัดทำห้องปฏิบัติการจำลองการบริการบนเครื่องบินโดยสาร เรียกกันว่า Mock Up โดยเป็นที่รู้กันว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้ขอใช้งบประมาณแผ่นดินเพื่อการก่อสร้างและจัดหาสิ่งอุปกรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเก้าอี้โดยสารเครื่องบิน ในการนี้มีกลุ่มต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ได้เข้าไปตรวจสอบ โดยได้ทำหนังสือขอให้สำนักงานตรวจงบประมาณแผ่นดิน ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ได้เข้าไปตรวจสอบเพราะเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย สตง.จึงส่งเจ้าพนักงานสอบสวน แต่เจ้าพนักงาน สตง.ไม่ได้รับความร่วมมือ และมีข้อสรุปดังนี้
1. โครงการ Mock Up นี้ ไม่มีใครรู้เรื่องเลย นอกจากนายนิพนธ์ ระวิยัน อาจารย์จ้างพิเศษเพียงคนเดียว ซึ่งมหาวิทยาลัยเคยมีกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง แต่ไม่สามารถทำงานและรับรู้เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างได้เลย จึงสลายตัวโดยปริยาย นายนิพนธ์ ระวียัน เป็นเพื่อนกับอธิการบดี และภริยา ทั้งยังมีน้องชายเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย แต่นายนิพนธ์ไม่ให้ความร่วมมือ และพยายามหลบหน้าเจ้าพนักงานสอบสวนของ สตง.เพราะไม่ได้เป็นพนักงานประจำมหาวิทยาลัย อันเป็นช่องโหว่และไม่ได้ให้รายละเอียดที่สามารถพิสูจน์ความโปร่งใส พนักงานสอบสวนต้องดักเจอที่ห้องบรรยาย
2. อธิการบดีอ้างว่า การร้องเรียนเพื่อให้สอบสวนในเรื่องนี้ เป็นเรื่องส่วนตัวของคนที่ขัดแย้งกับนายนิพนธ์ ระวิยัน แต่เรื่องการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 นั้นเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แม้ว่าจะเป็นความขัดแย้งส่วนตัวของใครก็ตาม ก็ต้องมีการตรวจสอบเพราะเป็นงบประมาณแผ่นดิน
3. นายวิทยา สุภารัตน์ หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญผล เฟอร์นิเจอร์ ซึ่งมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอธิการบดี และทำธุรกรรมในการจัดซื้อจัดจ้างกับมหาวิทยาลัยแห่งนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จึงให้ความช่วยเหลือในการแก้ต่างในนายนิพนธ์ ระวียัน พ้นจากการสอบสวนอย่างจริงจัง
4. สตง.ได้ทำหนังสือถึงมหาวิทยาลัย เพื่อขอข้อมูลและคำชี้แจงในกรณีดังกล่าว แต่มหาวิทยาลัยแจ้งว่าไม่มีข้อบกพร่องในการจัดซื้อจัดจ้าง แต่ต่อมา สตง.ได้ทำหนังสือไปใหม่ เพื่อขอคำชี้แจงที่มีรายละเอียดในเรื่องจัดซื้อจัดจ้าง และ สตง.ได้รับการชี้แจงว่า เก้าอี้โดยสารนั้นได้รับการบริจาคจากห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญผล เฟอร์นิเจอร์ จำนวน 96 ตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือได้ยาก เพราะวันเปิดห้อง Mock Up นั้น ไม่มีตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดนี้ มาร่วมพิธีเปิดเลยสักคนเดียว และคนทำพิธีเปิดคือภริยาอธิการบดี กับคณาจารย์ จึงเป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่าผู้บริจาคไม่ปรากฏตัวเพื่อเป็นเกียรติและการประชาสัมพันธ์ให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดของตัวเอง แต่ไม่มีข่าวในลักษณะเช่นนี้ นอกจากนี้การผลิตเก้าอี้โดยสารเครื่องบินมีเทคนิคสูงและเครื่องมือเฉพาะ จึงไม่น่าเชื่อว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญผล เฟอร์นิเจอร์ มีศักยภาพเพียงพอ และการผลิตเก้าอี้เพียง 96 ตัวไม่น่าจะคุ้มค่าผลิตเพื่อบริจาค แต่มีข่าวว่านายนิพนธ์ ระวียัน ได้ติดต่อซื้อจากสายการบินโอเรียน ด้วยความสัมพันธ์ส่วนตัว ซึ่ง สตง.หรือป.ป.ช.น่าที่จะสอบสวนต่อไป
ข้อน่าสังเกตหลายประการ ได้แก่ ไม่มีเอกสารตามกฎหมายเรียกให้มีการประกวดราคา หรือขอให้มีการบริจาค หรือการประชาสัมพันธ์เพื่อยกย่องห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญผล เฟอร์นิเจอร์ ที่ได้บริจาค หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดนี้ก็น่าที่จะประชาสัมพันธ์ซึ่งเป็นหลัก Corporate Social Responsibility รวมทั้งการขอยกเว้นภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัดนี้ นอกจากนี้แล้วหากมีการทำเก้าอี้เลียนแบบแล้ว จะต้องละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์อย่างแน่นอน
ด้วยตัวอย่างสั้นๆ นี้คงจะทำให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยนี้ รับรู้ว่านายนิพนธ์ ระวิยัน หลีกเลี่ยงกฎหมาย พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยราชการ พ.ศ.2542 และมหาวิทยาลัย หรือบุคลากรที่รับผิดชอบการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่ได้ให้ความร่วมมือกับ สตง.ในการตรวจสอบเอกสารของโครงการ Mock Up นี้
การออกนอกระบบ และเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มีจุดอ่อนอยู่ 2 ประการ คือ
1. การเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัย โดยไม่คำนึงถึงความผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นเรื่องที่สำคัญของภาวะสังคมจิตวิทยาในปัจจุบัน
2. การเปิดโอกาสให้มีการทุจริตคอร์รัปชัน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งยังไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบความโปร่งใสของนายนิพนธ์ ระวียัน ซึ่งมีความใกล้ชิดกับผู้บริหาร
ดังนั้น การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ โดยเฉพาะการเปลี่ยนชื่อ เป็นการเบี่ยงเบนวัตถุประสงค์ และไม่ได้แสดงตัวอย่างความจงรักภักดีให้นักศึกษาได้มีส่วนรับรู้อย่างชัดเจนและยังมีวาระซ่อนเร้นหลายประการ เช่น การเอาใจนักการเมืองในภาครัฐบาล ทั้งๆ ที่สถาบันการศึกษาต้องวางตัวเป็นกลาง และพยายามตัดตอนการตรวจสอบของหน่วยงานรัฐในกรณีการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งสมาชิกวุฒิสภาและสังคมในฐานะเจ้าของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ควรจะตรวจสอบให้ถ่องแท้เสียก่อน ก่อนที่จะตรา พ.ร.บ.ออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ หรือเห็นว่าไม่ควรออกนอกระบบ เพราะยังไม่พร้อมก็เป็นเรื่องที่ควรพิจารณากันต่อไป
พลังอำนาจแห่งชาติว่าด้วยความสามารถทางปัญญาของคนในชาติ จึงขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของสถาบันอุดมศึกษา แต่มหาวิทยาลัยเป็นกิจการที่มีต้นทุนสูงมากในการบริหารจัดการการศึกษา ให้มีความทันสมัยในเรื่องเทคโนโลยีการสอน ด้านบุคลากรซึ่งต้องมีคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิสูง มาตรฐานสูง และมีผลงานการวิจัยในระดับสากล รวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาคณาจารย์ให้มีความทันสมัยด้านเทคโนโลยี และสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างพลวัตของโลก
ปัจจัยเหล่านี้เป็นต้นทุนที่ต้องมีงบประมาณสูง การลงทุนสูง ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องพึ่งรายได้พิเศษจำนวนมหาศาล นอกเหนือจากเงินบำรุงการศึกษาหรือค่าเล่าเรียนที่นิสิตนักศึกษาต้องจ่าย และต้องได้รับงบประมาณจากรัฐเพราะเป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ที่กำหนดให้รัฐต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาและยกระดับการศึกษาของคนในชาติ ให้สามารถแข่งขันกับภาวการณ์ทุกมิติของโลกได้
นับตั้งแต่รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ได้ออกพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งตามมาตรา 36 ที่กำหนดไว้ว่า “ให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล และอาจจัดเป็นส่วนราชการ หรือเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ยกเว้นสถานศึกษาเฉพาะทางตามมาตรา 21 ให้สถานศึกษาดังกล่าวดำเนินการได้โดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาการศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้นๆ”
ด้วยพระราชบัญญัติฉบับนี้ ทำให้มหาวิทยาลัยที่เกิดหลังพระราชบัญญัติฉบับนี้ สามารถดำเนินการโดยอิสระ และสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับดูแลของรัฐ ตั้งแต่เสนอกฎหมายกำเนิดสถานศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมีชื่อมหาวิทยาลัยถวายเป็นราชรำลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชชนนี สมเด็จย่าที่ทรงเป็นห่วงเยาวชนเชียงรายที่จะต้องมีสถานศึกษาขั้นอุดมศึกษามาตรฐานโลก แต่มหาวิทยาลัยที่ตั้งมาก่อนหน้านี้ ต้องมีการนำเสนอเป็นกฎหมายฉบับใหม่ แยกตัวเองออกจากกฎหมายฉบับเดิม ไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นอย่างไร แต่พิจารณาเนื้อหาในมาตรา 36 นี้แล้วพบว่า “อาจจะเป็นหรือไม่เป็นหน่วยงานของรัฐก็ได้ และไม่ได้บังคับว่าจะต้องออกนอกระบบ”
ปัจจุบันหลายมหาวิทยาลัยของรัฐ ต้องการออกนอกระบบราชการกระทรวงศึกษาธิการ ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ. 2542 เพราะต้องการเป็นอิสระในการบริหารจัดการ ซึ่งนำสู่ประเด็นปัญหาที่สาธารณชนเกรงกลัว กรณีมหาวิทยาลัยสามารถเรียกร้องค่าเล่าเรียนได้อย่างอิสระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิชาที่มีนักศึกษาต้องการสมัครเรียนจำนวนมาก ตามหลักอุปสงค์ อุปทาน เพราะหากอุปสงค์มาก แต่จำนวนเก้าอี้เรียนน้อย มหาวิทยาลัยอาจจะกำหนดค่าเล่าเรียนหน่วยกิตที่แพงมากก็ได้ จนครอบครัวที่มีรายได้น้อยหมดโอกาสได้เข้าเรียนทั้งๆ ที่ศักยภาพปัญญาเพียงพอ
มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 40 แห่งตั้งขึ้นด้วย พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏปี พ.ศ.2547 โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งอยู่ติดกัน และมีประวัติความเป็นมาคล้ายกัน แต่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งเคยเป็นกองทัพหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏ รวม 40 สถาบันขอออกนอกระบบก่อนใคร แต่ได้รับการต่อต้านอย่างมโหฬารจากนักศึกษาและคณาจารย์บางส่วนหลายครั้ง จึงต้องถอยทัพไป และปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งถือได้ว่ามีศักยภาพตามภาพลักษณ์ที่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นจริง และถูกสร้างให้สาธารณชนเห็นว่าอยู่ในอันดับ 1 ของบรรดามหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งหลาย
ก่อนที่จะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตนั้น เดิมทีเป็นโรงเรียนมัธยมวิสามัญการเรือน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2477 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะอบรมกุลสตรีไทย ให้รู้จักงานการบ้านการเรือนและการเลี้ยงดูเด็กเล็ก ให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานตามลักษณะของสังคมที่เจริญแล้ว และสถานที่ก่อตั้งเริ่มแรกนั้นอยู่ที่วังกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งปัจจุบันคือที่ตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตพาณิชยการพระนคร และต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่วังจันทรเกษม ในปัจจุบันเป็นที่ตั้งกระทรวงศึกษาธิการ และได้ย้ายอีกครั้งมาที่สวนสุนันทา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต และได้แบ่งแยกกับสวนสุนันทา ซึ่งรวมอยู่ในเขตพระราชวังดุสิต และมีเขตถนนราชสีมากับถนนสามเสนเป็นเขตโรงเรียนการเรือนทั้งสอง และส่วนหนึ่งกลายเป็นวิทยาลัยครูสวนดุสิต สถาบันราชภัฏสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2480 โรงเรียนมาแตร์เดอี ก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลขึ้น อันเป็นโรงเรียนอนุบาลเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2483 คุณยายลออ หลิมเซ่งถ่าย บริจาคเงิน 80,000 บาท สร้างโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จึงทำให้โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของรัฐ
ด้วยประวัติการก่อกำเนิดของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตมีความชำนาญในด้านคหกรรมศาสตร์ทั้งมวล และการศึกษาปฐมวัย มีการส่งครูไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น และในปี พ.ศ. 2504 เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนการเรือน เป็นวิทยาลัยครูสวนดุสิต
เดิมทีนั้นการเป็นครูดูเหมือนเป็นอาชีพที่ต่ำต้อย โดยได้พัฒนาจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ แต่ต่อมาพัฒนาเป็นวิทยาลัยครู เปิดสอนเมื่อ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 และมีการยกฐานะขึ้น โดยมีพระราชกฤษฎีกาวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เพื่อกำหนดฐานะและคุณวุฒิให้มีเกียรติภูมิมากขึ้น และในปี พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครูทั้งหลายได้รับพระราชทานชื่อเป็นสถาบันราชภัฏ และเกิด พ.ร.บ.สถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ขึ้น ให้เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ให้มีวัตถุประสงค์ด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง การทำวิจัย และบริการทางการศึกษาแก่สังคม พัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ผลิตครู และส่งเสริมวิชาการครูในท้องถิ่น ให้มีมาตรฐานสูงขึ้นและมีระดับเดียวกัน
จนในปี พ.ศ. 2547 มี พ.ร.บ.ราชภัฏ อันเป็นการยกระดับขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย ที่พระมหากษัตริย์ทรงให้กำเนิดและพระราชทานให้มีสัญลักษณ์เดียวกันทั้งหมด 40 สถาบันราชภัฏ เพื่อให้มีสำนึกเดียวกันในการพัฒนาชาติจากศูนย์รวมท้องถิ่น โดยมีตราสัญลักษณ์เป็นพระราชสัญจกรหรือตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีสีน้ำเงิน เขียว ทอง ส้ม และขาว โดยสีน้ำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงให้กำเนิด และสีขาวหมายถึงความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ็แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
แต่ต่อมาในยุค IMF ครั้งรัฐบาลนายชวน หลีกภัย กระแสการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยของรัฐแรงขึ้น เพราะอธิการบดีต้องการปลดแอกตัวเองออกจากระบบราชการ ที่คิดกันว่าเป็นอุปสรรคในการพัฒนา และมักจะอ้างว่าขาดอิสระในความคิด อ้างว่ารัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการควบคุมเข้มงวด หรืออ้างว่านักการเมืองและข้าราชการขาดวิสัยทัศน์ จึงเกิดแนวคิดเป็นรูปธรรมและในที่สุดรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ก็ออกพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2542
เมื่อวิเคราะห์แล้วจะรู้ว่าในยุค IMF ฟองสบู่แตก รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ไม่มีงบประมาณแผ่นดินมากพอ แนวคิดที่ว่าให้สถาบันการศึกษาสามารถดูแลตัวเองด้านการเงินได้ภายใต้การกำกับการของรัฐบาลเป็นหนทางแก้ปัญหางบประมาณการศึกษา ซึ่งในทีนี้เมื่อมหาวิทยาลัยเป็นนิติบุคคลแล้วก็สามารถกู้หนี้ยืมสินมาลงทุนการบริการการศึกษาหรือดำเนินการหากำไรทางอื่นๆ ได้อย่างอิสระหรือหาเงินนอกระบบได้เลย ไม่ต้องขออนุญาตจากรัฐ หรือส่งคืนรัฐ หรือแบ่งให้รัฐ ซึ่งปรากฏอยู่ในเหตุผลของการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย 8 ประการ คือ
1. เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ
2. เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล
3. สามารถเปิดหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานได้ โดยไม่ต้องรอให้กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติ แต่หลักสูตรผ่านการตรวจสอบจากกรรมการอุดมศึกษาเท่านั้น
4. สามารถให้สวัสดิการได้เทียบเท่าสถาบันการศึกษาเอกชน
5. เพิ่มค่าเล่าเรียนให้สูงขึ้นได้ ซึ่งอาจจะเป็นการตัดโอกาสทางการศึกษาของผู้ที่มีรายได้น้อยทางอ้อม
6. การบริหารไม่โปร่งใส ตรวจสอบยาก ในกรณีที่ยังได้เงินงบประมาณบำรุงการศึกษาจากรัฐ
7. คณะหรือหลักสูตรที่ไม่คุ้มค่าในการจัดสอน อาจจะต้องปิดหลักสูตร ทำให้นักศึกษาบางคนหมดโอกาสเรียนในวิชาที่ต้องการ แต่หาที่เรียนยาก เช่น ภาษาอาหรับ หรือนิวเคลียร์ฟิสิกส์ เป็นต้น
8. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ.2542 นั้น เป็นกฎหมายมีลักษณะในการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ดินมากกว่าการบริหารจัดการการศึกษา หรือมีลักษณะทางการเมืองมากกว่า
9. การออกนอกระบบนั้นอำนาจตกอยู่กับสภามหาวิทยาลัย และถ้าฝ่ายบริหารสามารถครอบงำสภามหาวิทยาลัยได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้วอำนาจจะเป็นของฝ่ายบริหาร กรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตนั้นมีเกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นตามที่เป็นข่าวเมื่อนายมานิจ สุขสมจิตรลาออกจากนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตทั้งที่ดำรงตำแหน่งนี้เป็นสมัยที่สองแต่เพราะขัดแย้งเรื่องแนวคิดทางการเมืองที่ไม่เป็นกลางของฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัย นายมานิจ กล่าวว่า “สำหรับฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้ตนต้องประกาศลาออกจากตำแหน่งนั้น เป็นเพราะมีการทำโพล และการตั้งคำถาม ที่สามารถอ่านถึงจุดประสงค์ของการทำได้อย่างเด่นชัด เช่น ในวันที่ 20 ธันวาคม 2555 มีการสำรวจในคำถามที่ว่า โลกแตกแล้วอยากให้นักการเมืองคนใดมีชีวิตอยู่ ซึ่งคำตอบที่ออกมาได้แก่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 32.35, รองลงมาคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 19.48 เป็นต้น ซึ่งในตอนที่ตนลาออก อธิการบดี ได้ยับยั้งการลาออกเอาไว้ แต่ตนก็บอกไปว่า หากผมอยากอยู่ต่อ คงไม่ลาออก”
มหาวิทยาลัยราชภัฏส่วนหนึ่งต้องการออกนอกระบบ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แต่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทานั้น ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งมีความเข้มข้นถึงขนาดนักศึกษาเดินขบวนไปประท้วงที่รัฐสภา จนมหาวิทยาลัยต้องถอยออกมา
จนเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยหลายแห่ง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่มีการใช้อำนาจการเมืองผ่านนักการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และรัฐมนตรีเสนอให้รัฐบาลเป็นผู้เสนอขอออกนอกระบบ โดยมีนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 เป็นประธานการประชุมการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ แต่สภาผู้แทนราษฎรขาดองค์ประชุม การประชุมจึงล่ม ต่อมาในวันที่ 13 มีนาคม ที่ผ่านมา เวลา 11.30 น. ที่หน้าอาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน นักศึกษาประมาณ 20 คน จากแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านมหาวิทยาลัยนอกระบบ ซึ่งเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สวมชุดดำ เผาหรีดประท้วงสภาผู้แทนราษฎรที่จะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ พร้อมทั้งมีการยื่นหนังสือเรียกร้องถึงประธานรัฐสภา เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรถอน
1. ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ. ...
2. ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ...
3. ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ...
ออกจากวาระการประชุมสภา ซึ่งจะมีการพิจารณาในขั้นรับหลักการในวันนั้น พร้อมทั้งให้กลับมาพิจารณากันใหม่ในแต่ละมหาวิทยาลัยอย่างมีส่วนร่วม โดยเวลา 13.00 ในวันนั้นนายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานรัฐสภา ออกมารับหนังสือเรียกร้องดังกล่าว
แต่ช่วงเย็นของวันนั้น สำนักข่าวไทยรายงานว่า ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการวาระ 1 ในร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตแล้ว ด้วยคะแนนเสียง 388 ต่อ 1 คะแนน งดออกเสียง 1 คะแนน และได้ตั้งคณะกรรมาธิการ 30 คน ขึ้นมาพิจารณาแปรญัตติภายใน 7 วัน นอกจากนี้ที่ประชุมสภาฯ ได้ให้ความเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในวาระ 3 ด้วยคะแนนเอกฉันท์ 360 คะแนน โดยก่อนลงมติมีรายงานด้วยว่าเกิดเหตุวุ่นวายขึ้นระหว่างการตรวจนับองค์ประชุม โดย ส.ส.ฝ่ายค้านและรัฐบาลโต้เถียงกันไปมา เมื่อมีการทักท้วงความคืบหน้าการตรวจสอบการกดบัตรแทนกัน สุดท้ายต้องนับคะแนนโดยการขานชื่อก่อนจะรับหลักการร่างกฎหมายดังกล่าว
นายนิพิฐพนธ์ คำยศ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และแกนนำแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ กล่าวหลังทราบผลมติดังกล่าวว่า เราเสนอให้สภาฯ ถอนร่าง พ.ร.บ.ออกมาโดยตลอด โดยมีการยื่นข้อเรียกร้องต่อทั้งประธานรัฐสภา ประธานวิปฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านไว้ก่อนแล้ว เพื่อให้นำเอาร่าง พ.ร.บ.เหล่านั้น กลับมาทำประชาพิจารณ์ในมหาวิทยาลัยอย่างมีส่วนร่วมก่อน เพราะที่ผ่านมาไม่เกิดกระบวนการเหล่านี้ขึ้นในมหาวิทยาลัยอย่างโปร่งใส
แกนนำแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ได้ยกตัวอย่างกรณีปัญหาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกี่ยวกับกระบวนการเสนอร่าง พ.ร.บ.นี้ว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่รู้เรื่องนี้ การที่นำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ในขณะที่นักศึกษาไม่รู้และกำลังปิดภาคการศึกษา ถือว่าไม่แฟร์สำหรับนักศึกษาด้วย รวมทั้ง พ.ร.บ.นี้เอื้ออำนวยต่อผู้บริหารมากเกินไป และไม่มีการตรวจสอบได้ สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจในการจัดซื้อจัดจ้าง หรือซื้อขายทรัพย์สินต่างๆ ในมหาวิทยาลัย รวมทั้งนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเราคิดว่าควรมีอะไรใน พ.ร.บ.เพื่อที่จะไปคานอำนาจกับเขา เช่น กลไกจากนิสิตนักศึกษาหรือประชาชน เข้าไปคานอำนาจและตรวจสอบ
นายนิพิฐพนธ์ กล่าวย้ำด้วยว่า เราเห็นด้วยกับการที่มหาวิทยาลัยจะมีความอิสระและความคล่องตัวในการบริหาร แต่ก็ต้องมีการตรวจสอบและคานอำนาจได้จากนักศึกษาและประชาชน รวมทั้งที่มาของผู้บริหาร และสภามหาวิทยาลัยต้องมาจากการเลือกตั้งครึ่งหนึ่ง
แกนนำแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านมหาวิทยาลัยนอกระบบ เปิดเผยถึงการเคลื่อนไหวต่อไปของกลุ่มว่า เตรียมจะมีการล่ารายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายเกี่ยวกับพิมพ์เขียวมหาวิทยาลัย เพื่อให้มีอำนาจตรวจสอบผู้บริหาร ให้สิทธิกับนักศึกษาและบุคลากรมากขึ้น เป็นต้น
นายปรัชญา นงนุช ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และตัวแทนแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ กล่าวถึงข้อเสนอและจุดยืนต่อสถานการณ์การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบใน 5 ประเด็น คือ
1. ให้ รมว.ศธ.เสนอเรื่องในการถอนร่าง พ.ร.บ. 2 แห่งออกจากวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรออกไปก่อน
2. ให้รัฐบาลทำหนังสือถึงผู้บริหารมหาวิทยาลัย 2 แห่ง เปิดเผยข้อมูลการออกนอกระบบต่อประชาคมอย่างทั่วถึง
3. ขอแสดงจุดยืนการคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยอื่นๆ ออกนอกระบบ เพราะจะเป็นการเปิดโอกาสให้คณะบุคคลบางกลุ่มเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ในมหาวิทยาลัย
4. ให้ ศธ.สรุปบทเรียน ข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบต่อนิสิตนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร พนักงานมหาวิทยาลัย ภายหลังจากการที่ได้มีการนำมหาวิทยาลัยบางแห่งออกนอกระบบในยุค คมช.ปี พ.ศ. 2551 การนำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2541 และการก่อตั้งมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตั้งแต่แรกเริ่ม เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
5. ขอสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งมีเสรีภาพทางวิชาการ ภายใต้การอุดหนุนงบประมาณจากรัฐบาล โดยขอให้กำหนดว่าการศึกษาเป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้ประชาชนเข้าถึงอย่างเท่าเทียม ฟรีตั้งแต่อนุบาลถึงปริญญาตรี ไว้ในรัฐธรรมนูญ
แต่สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มีประเด็นสำคัญให้คิดเชิงสังคมจิตวิทยา ว่าด้วยชื่อมหาวิทยาลัย ซึ่งมีนัยแอบแฝงตามกระแสการเมืองในปัจจุบัน และเรื่องความจงรักภักดีสถาบัน เพราะมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตนั้น เมื่อได้ออกนอกระบบและอยู่ในกำกับของรัฐแล้ว จะเหลือชื่อแค่ “มหาวิทยาลัยสวนดุสิต” โดยได้ตัดเอาคำว่าราชภัฏออกไป
คำว่าราชภัฏ อันหมายถึง “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” หายไป ซึ่งมีความหมายมากในสถานการณ์ทางสังคมและการเมืองปัจจุบัน เพราะนัยสำคัญตามพระราชประสงค์นั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระราชหฤทัยให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วทุกแห่งในประเทศ รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้เป็นผู้ทำงานถวายเพื่อสนองพระราชกรณียกิจของพระองค์ในเรื่องที่สำคัญ ในการพัฒนาประชาชนทุกหมู่เหล่า เพราะมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตก็มีวิทยาเขตในหลายจังหวัด ให้ประชาชนในต่างจังหวัดได้มีโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาตนเองในทุกๆ ด้าน ช่วยให้นักศึกษามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุกสถานที่ รวมถึงชุมชน สังคม ที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นยังเข้าไม่ถึง หรือละเลยในการพัฒนา
ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งจะต้องเข้าไปพัฒนา และให้โอกาสแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่าอย่างเสมอภาค เติมเต็มความรู้แก่ประชาชนให้มีโลกทรรศน์ที่ก้าวไกล
การให้สถาบันราชภัฏ หรือมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่ง ได้เข้าใจในความหมายของคำว่า “ราชภัฏ” ชัดเจน และคมชัดมากยิ่งขึ้น ในการปฏิบัติตนให้สมกับคำว่า “คนราชภัฏ” อย่างลึกซึ้ง และเมื่อออกนอกระบบแล้ว “มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต” จะรับใช้ใคร รับใช้รัฐบาลเป็นการส่วนตัวหรืออย่างไรนั้นไม่ทราบได้ แต่ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “ตราประจำพระองค์” หรือ “พระราชลัญจกร” แก่สถาบันราชภัฏทั่วประเทศอีกคำรบ เพื่อให้เป็น “ตราประจำสถาบัน” ซึ่งเป็นตราที่มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งหลาย รวมทั้ง “มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต” ได้ใช้มาตราบทุกวันนี้
ด้วยความสำนึกของ “คนราชภัฏ” จึงชัดเจนแล้วว่าทุกคนจักต้องมีจิตสำนึกที่จะต้องอุทิศตน ทำงานทุกอย่างเพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีและเทิดทูนอย่างหาที่สุดมิได้ จะกระทำสิ่งใดต้องคิดคำนึงเพื่อประชาชนเป็นที่ตั้ง รวมทั้งปฏิบัติภารกิจต่างๆ ของมหาวิทยาลัยให้เปรียบเสมือนได้กระทำเพื่อถวายพระองค์ทุกกรณี เมื่ออยากยกฐานะให้เป็นแหล่งอุดมศึกษาสูงขึ้น และประสิทธิประสาทปริญญาบัตร จึงได้ขอพระราชทานนามและตราพระราชลัญจกร แต่พอจะออกนอกระบบจะตัดคำว่าราชภัฏออกไป แต่ได้อ้าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548 ซึ่งได้ออกเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบ เปลี่ยนเป็น “มหาวิทยาลัยนครพนม” และหากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตออกนอกระบบแล้ว อาจจะสับสนในการบริหาร เพราะเกรงว่าจะสับสนกับ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นส่วนราชการ และยังอ้างว่าสวนดุสิตคือพระราชวังสวนดุสิต และยังได้เตรียมขอตราพระราชวังสวนดุสิตเป็นตราประจำมหาวิทยาลัย แทนตราที่ได้รับพระราชทานไว้แล้วและมีความหมายเชิงลึกมากกว่า
ฟังแล้วยังงงอยู่ว่าการที่ยังคง “ราชภัฏ” อยู่นั้นจะทำให้กฎหมายกำกับใช้บังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต หรือชื่ออื่นๆ สับสนได้อย่างไร เพราะทุกคำพูดในกฎหมาย พ.ร.บ.สามารถเขียนได้ใหม่ทั้งสิ้น และสามารถขจัดความสับสนได้อย่างสิ้นเชิง แต่ไม่ทราบว่า คำว่า “ราชภัฏ” เป็นอุปสรรคอะไรในสภาผู้แทนราษฎรที่จะผ่าน พ.ร.บ.ออกนอกระบบให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ส่วนมหาวิทยาลัยนครพนมที่อ้างว่าออกนอกระบบได้ตัด “ราชภัฏ” ออกไม่เห็นมีปัญหาอะไร มหาวิทยาลัยนครพนมนั้นกำเนิดขึ้นจาก พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548 โดยในมาตรา 4 กำหนดให้มีสถานศึกษาอื่นในระดับอาชีวะ 5 แห่ง มาเข้ารวมกันเป็นมหาวิทยาลัย แต่สถาบันทั้ง 5 แห่งไม่เคยมีส่วนร่วมเป็นสถาบันราชภัฏมาก่อน โดยมหาวิทยาลัยนครพนมกำเนิดจาก
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม
3. วิทยาลัยเทคนิคนครพนม
4. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม
5. วิทยาลัยการอาชีพธาตุพนม
6. วิทยาลัยการอาชีพนาหว้า และ
7. วิทยาลัยบรมราชชนนีนครพนม
ใน 7 สถาบันมีเพียง 2 แห่งเป็น “ราชภัฏ” เดิม นอกนั้นเป็นอาชีวศึกษาที่ไม่เคยร่วมเป็นสถาบันราชภัฏมาก่อน ดังนั้น การที่จะไม่มีวลีคำว่าราชภัฏติดอยู่ จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย เพราะไม่เคยเป็นราชภัฏตามนัยแห่งชื่อและประวัติที่ความเป็นมาเกี่ยวข้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์กำเนิดต่างกัน
มีข้อเปรียบเทียบที่ว่า โรงเรียนนายเรืออากาศขอพระราชทานนามเพื่อเป็นสิริมงคลโดยในปัจจุบันเรียกว่า โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช จึงดูเหมือนกับว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตไม่ต้องการความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์อีกต่อไป
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยนครพนมเกิดภายใต้อิทธิพลของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในช่วงนั้น และกลุ่มนักการเมืองนครพนม ซึ่งมองว่าการรวมตัวกันนั้นเป็นการรวมตัวของกลุ่มอาชีวะศึกษาท้องถิ่น ในสาขาที่ไม่ใช่ครู เรื่องนี้สามารถวิเคราะห์ให้กว้างขวางต่อไปได้อีกหลายนัย
การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตนั้น ดูเป็นการกำกับการของกลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการชี้นำเฉพาะในส่วนที่ดี และการบริหารภายในก็มีการบงการจากผู้บริหารอย่างเห็นได้ชัด เช่น อธิการบดีหมดวาระก็มีการเสนอชื่อบุคคลใกล้ชิดและไว้ใจได้เป็นอธิการบดีแทน โดยชี้นำให้รองอธิการบดีที่รับผิดชอบกิจการพิเศษขึ้นเป็นอธิการบดี แต่ตัวอธิการบดีคนเก่ายอมกลับเป็นรองอธิการบดี ซึ่งเป็นเรื่องตลกในหลักการบริหารจัดการองค์กร และยังมีเรื่องราวต่างๆ ที่การบริหารมีลักษณะเล่นพวก เช่น การตั้งคณบดีโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ ซึ่งเคยเป็นอดีตเลขานุการอธิการบดี และเรียนปริญญาเอกในประเทศเยอรมนีไม่จบ ต้องกลับมาเรียนในประเทศ และหากใช้งบประมาณของมหาวิทยาลัยจะต้องใช้ทุนคืน เป็นต้น
สำหรับเรื่องความไม่โปร่งใสนั้นมีหลักฐานการหลีกเลี่ยงพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐบาล พ.ศ. 2542 นั้น มีตัวอย่างแสดงกรณีที่ สตง.ได้ขอตรวจสอบโครงการจัดซื้อจัดจ้างสร้างห้องปฏิบัติการจำลองการบริการบนเครื่องบิน แต่มหาวิทยาลัยไม่ร่วมมือในการแสดงความโปร่งใส โดยมี NGO ผู้ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ได้ทำการตรวจสอบเป็นกรณีศึกษาและสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ สตง.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้จัดทำห้องปฏิบัติการจำลองการบริการบนเครื่องบินโดยสาร เรียกกันว่า Mock Up โดยเป็นที่รู้กันว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้ขอใช้งบประมาณแผ่นดินเพื่อการก่อสร้างและจัดหาสิ่งอุปกรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเก้าอี้โดยสารเครื่องบิน ในการนี้มีกลุ่มต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ได้เข้าไปตรวจสอบ โดยได้ทำหนังสือขอให้สำนักงานตรวจงบประมาณแผ่นดิน ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ได้เข้าไปตรวจสอบเพราะเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย สตง.จึงส่งเจ้าพนักงานสอบสวน แต่เจ้าพนักงาน สตง.ไม่ได้รับความร่วมมือ และมีข้อสรุปดังนี้
1. โครงการ Mock Up นี้ ไม่มีใครรู้เรื่องเลย นอกจากนายนิพนธ์ ระวิยัน อาจารย์จ้างพิเศษเพียงคนเดียว ซึ่งมหาวิทยาลัยเคยมีกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง แต่ไม่สามารถทำงานและรับรู้เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างได้เลย จึงสลายตัวโดยปริยาย นายนิพนธ์ ระวียัน เป็นเพื่อนกับอธิการบดี และภริยา ทั้งยังมีน้องชายเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย แต่นายนิพนธ์ไม่ให้ความร่วมมือ และพยายามหลบหน้าเจ้าพนักงานสอบสวนของ สตง.เพราะไม่ได้เป็นพนักงานประจำมหาวิทยาลัย อันเป็นช่องโหว่และไม่ได้ให้รายละเอียดที่สามารถพิสูจน์ความโปร่งใส พนักงานสอบสวนต้องดักเจอที่ห้องบรรยาย
2. อธิการบดีอ้างว่า การร้องเรียนเพื่อให้สอบสวนในเรื่องนี้ เป็นเรื่องส่วนตัวของคนที่ขัดแย้งกับนายนิพนธ์ ระวิยัน แต่เรื่องการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 นั้นเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แม้ว่าจะเป็นความขัดแย้งส่วนตัวของใครก็ตาม ก็ต้องมีการตรวจสอบเพราะเป็นงบประมาณแผ่นดิน
3. นายวิทยา สุภารัตน์ หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญผล เฟอร์นิเจอร์ ซึ่งมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอธิการบดี และทำธุรกรรมในการจัดซื้อจัดจ้างกับมหาวิทยาลัยแห่งนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จึงให้ความช่วยเหลือในการแก้ต่างในนายนิพนธ์ ระวียัน พ้นจากการสอบสวนอย่างจริงจัง
4. สตง.ได้ทำหนังสือถึงมหาวิทยาลัย เพื่อขอข้อมูลและคำชี้แจงในกรณีดังกล่าว แต่มหาวิทยาลัยแจ้งว่าไม่มีข้อบกพร่องในการจัดซื้อจัดจ้าง แต่ต่อมา สตง.ได้ทำหนังสือไปใหม่ เพื่อขอคำชี้แจงที่มีรายละเอียดในเรื่องจัดซื้อจัดจ้าง และ สตง.ได้รับการชี้แจงว่า เก้าอี้โดยสารนั้นได้รับการบริจาคจากห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญผล เฟอร์นิเจอร์ จำนวน 96 ตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือได้ยาก เพราะวันเปิดห้อง Mock Up นั้น ไม่มีตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดนี้ มาร่วมพิธีเปิดเลยสักคนเดียว และคนทำพิธีเปิดคือภริยาอธิการบดี กับคณาจารย์ จึงเป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่าผู้บริจาคไม่ปรากฏตัวเพื่อเป็นเกียรติและการประชาสัมพันธ์ให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดของตัวเอง แต่ไม่มีข่าวในลักษณะเช่นนี้ นอกจากนี้การผลิตเก้าอี้โดยสารเครื่องบินมีเทคนิคสูงและเครื่องมือเฉพาะ จึงไม่น่าเชื่อว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญผล เฟอร์นิเจอร์ มีศักยภาพเพียงพอ และการผลิตเก้าอี้เพียง 96 ตัวไม่น่าจะคุ้มค่าผลิตเพื่อบริจาค แต่มีข่าวว่านายนิพนธ์ ระวียัน ได้ติดต่อซื้อจากสายการบินโอเรียน ด้วยความสัมพันธ์ส่วนตัว ซึ่ง สตง.หรือป.ป.ช.น่าที่จะสอบสวนต่อไป
ข้อน่าสังเกตหลายประการ ได้แก่ ไม่มีเอกสารตามกฎหมายเรียกให้มีการประกวดราคา หรือขอให้มีการบริจาค หรือการประชาสัมพันธ์เพื่อยกย่องห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญผล เฟอร์นิเจอร์ ที่ได้บริจาค หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดนี้ก็น่าที่จะประชาสัมพันธ์ซึ่งเป็นหลัก Corporate Social Responsibility รวมทั้งการขอยกเว้นภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัดนี้ นอกจากนี้แล้วหากมีการทำเก้าอี้เลียนแบบแล้ว จะต้องละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์อย่างแน่นอน
ด้วยตัวอย่างสั้นๆ นี้คงจะทำให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยนี้ รับรู้ว่านายนิพนธ์ ระวิยัน หลีกเลี่ยงกฎหมาย พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยราชการ พ.ศ.2542 และมหาวิทยาลัย หรือบุคลากรที่รับผิดชอบการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่ได้ให้ความร่วมมือกับ สตง.ในการตรวจสอบเอกสารของโครงการ Mock Up นี้
การออกนอกระบบ และเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มีจุดอ่อนอยู่ 2 ประการ คือ
1. การเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัย โดยไม่คำนึงถึงความผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นเรื่องที่สำคัญของภาวะสังคมจิตวิทยาในปัจจุบัน
2. การเปิดโอกาสให้มีการทุจริตคอร์รัปชัน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งยังไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบความโปร่งใสของนายนิพนธ์ ระวียัน ซึ่งมีความใกล้ชิดกับผู้บริหาร
ดังนั้น การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ โดยเฉพาะการเปลี่ยนชื่อ เป็นการเบี่ยงเบนวัตถุประสงค์ และไม่ได้แสดงตัวอย่างความจงรักภักดีให้นักศึกษาได้มีส่วนรับรู้อย่างชัดเจนและยังมีวาระซ่อนเร้นหลายประการ เช่น การเอาใจนักการเมืองในภาครัฐบาล ทั้งๆ ที่สถาบันการศึกษาต้องวางตัวเป็นกลาง และพยายามตัดตอนการตรวจสอบของหน่วยงานรัฐในกรณีการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งสมาชิกวุฒิสภาและสังคมในฐานะเจ้าของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ควรจะตรวจสอบให้ถ่องแท้เสียก่อน ก่อนที่จะตรา พ.ร.บ.ออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ หรือเห็นว่าไม่ควรออกนอกระบบ เพราะยังไม่พร้อมก็เป็นเรื่องที่ควรพิจารณากันต่อไป