ศูนย์ข่าวภาคใต้ - บุคลากรด้านการศึกษาในภาคใต้ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก ระบุจะเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ปกครอง และเสียดายความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของชุมชนใกล้โรงเรียน แต่ยอมรับว่า โรงเรียนขนาดใหญ่จะทำให้เด็กมีโอกาสทางการศึกษาที่ดีกว่า หากจะยุบรัฐต้องชี้แจงให้ชุมชนเข้าใจด้วย
กรณีที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แจ้งว่ามีนโยบายที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ ที่มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่า 60 คน และให้เด็กนักเรียนไปเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ นายชลำ อรรถธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า สำหรับในส่วนของ จ.ภูเก็ต มี 4 โรงเรียนที่เข้านโยบายดังกล่าว ประกอบด้วย โรงเรียนเกาะนาคา มีนักเรียน จำนวน 15 คน โรงเรียนเกาะโหลน มีนักเรียน จำนวน 12 คน ซึ่งโรงเรียนทั้ง 2 แห่งตั้งอยู่บนเกาะ ตรงส่วนนี้เราไม่มีโยบายที่จะยุบ เนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องของการเดินทางของนักเรียนที่จะมาเรียนบนบก
ส่วนโรงเรียนอีก 2 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านโคกวัดใหม่ มีนักเรียน จำนวน 49 คน กับโรงเรียนบ้านในทอน มีนักเรียน จำนวน 17 คน เราจะต้องถามความเห็นต่อทางคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน ว่า ระหว่างยุบกับไม่ยุบสถานศึกษาทั้ง 2 แห่งดังกล่าว อย่างไหนดีกว่ากัน ซึ่งเราก็ต้องกลับมาคุยถึงผลดีผลเสียอีกครั้ง โดยเราจะยึดผลประโยชน์ของเด็กกับผู้ปกครองเป็นหลัก
“บางโรงเรียนก็ไม่คุ้มค่าในการจัดการศึกษา เด็กสามารถที่จะไปเรียนโรงเรียนอื่นได้ อย่างโรงเรียนโคกวัดใหม่ ถ้าชุมชนบอกว่าให้ยุบได้ เราก็มีรถตู้บริการในการรับส่งเด็กก็จะไม่เดือดร้อน แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าพูดถึงศักยภาพของโรงเรียนใน จ.ภูเก็ต แล้วเรายังดูแลตัวเองได้ ไม่เป็นปัญหา ประกอบกับทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตก็ได้ว่าจ้างครูกว่า 200 คน ส่งไปตามโรงเรียนต่างๆ ทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ทำให้เรามีครูเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน” นายชลำกล่าว
ขณะเดียวกัน คณะกรรมการสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ เห็นด้วยว่ายุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก แต่รัฐต้องบริหารจัดการไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเด็กนักเรียน และผู้ปกครอง เนื่องจากปัจจุบัน ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้ามาเล่าเรียนในตัวเมืองเพิ่มขึ้น
นางประหยัด ศรีบุญชู คณะกรรมการสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า ความคิดเห็นส่วนตัวของตนซึ่งเคยเป็นข้าราชการครู และเป็นผู้บริหารโรงเรียนมาก่อน เห็นด้วยที่จะให้มีการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก เนื่องจากในปัจจุบัน สังคมมีความเจริญมากขึ้น ผู้ปกครองส่วนใหญ่ตามชนบทห่างไกลจะนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนในเมืองกันเพิ่มขึ้น โดยเห็นได้ในหลายพื้นที่ และบางโรงเรียนมีรถของโรงเรียนรับส่งนักเรียนถึงบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ปกครอง
คณะกรรมการสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ ยังกล่าวอีกว่า และจากที่เคยเป็นข้าราชการครูและได้เห็นการยุบควบรวมโรงเรียนมาก่อนหน้านี้ในพื้นที่ จ.กระบี่ สามารถทำได้ดี เด็กมีการเรียนที่ดีขึ้น ครูก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น สามารถทำการสอนเรียนได้ตรงตามความถนัดของครู ซึ่งต่างกับก่อนที่จะมีการยุบควบรวม ครูคนเดียวต้องทำหน้าที่หลายอย่าง ตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงภารโรงก็มี และที่สำคัญ การบริหารจัดการของครูก็ไม่ต่างจากโรงเรียนใหญ่ๆ ที่สำคัญคือ โรงเรียนเล็กส่วนใหญ่จะเป็นลูกหลานของแรงงานต่างถิ่นมีการย้ายมาย้ายไปตลอด
นางประหยัด กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับความคิดเห็นของตนเองอาจจะไม่ถูกใจผู้ปกครองนัก แต่ด้วยความเป็นจริง และไม่สามารถปฏิเสธได้ก็คือ ผู้ปกครองในพื้นที่ชนบทส่งลูกหลานเข้ามาเรียนในเมืองกันหมด จึงทำให้โรงเรียนมีขนาดเล็กลง และบางแห่งมีนักเรียนน้อยจนต้องปิดโรงเรียน แต่ทั้งนี้ การยุบควบรวมโรงเรียนให้ได้ผลดี ทางรัฐบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการบริหารจัดการที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อนักเรียน เนื่องจากหากมีการยุบรวมโรงเรียนก็ทำให้การเดินทางไกลลำบากมากขึ้น รัฐต้องเข้ามาดูแลด้วย ไม่ใช่ยุบรวมแล้วแล้วก็จบกัน ต้องติดตามผลกระทบต่อนักเรียนที่ตามมา และแก้ไขด้วย
ด้านนายบุญเสริม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ความเห็นว่า โดยส่วนตัวมีทั้งส่วนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ส่วนที่เห็นด้วย เพราะโรงเรียนขนาดเล็กจะมีความพร้อมด้านการศึกษาน้อยกว่าโรงเรียนที่ใหญ่กว่า ทั้งด้านอุปกรณ์การเรียน บุคลากร และโอกาสทางการศึกษาต่างๆ นอกจากนี้ สำหรับในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การรวบรวมนักเรียนที่กระจัดกระจายอยู่ตามโรงเรียนต่างๆ มาเรียนรวมกันที่โรงเรียนขนาดใหญ่กว่า น่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่า เพราะมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ทั้งบุคลากร และเครื่องไม้เครื่องมือ เรื่องคุณภาพการศึกษา โรงเรียนที่มีขนาดใหญ่กว่า มีเครื่องมือและอุปกรณ์การเรียนเยอะกว่า ย่อมจะดีกว่า
และในส่วนที่ไม่เห็นด้วย คือ จะเกิดข้อเสียตามมา โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและโรงเรียน รวมทั้งความสะดวกของประชาชนในพื้นที่ จึงเป็นหน้าที่ของ สพฐ.ที่จะต้องชี้แจงให้ประชาชนในแต่ละชุมชนเข้าใจ เนื่องจากในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีพื้นที่ยากจนอยู่ ถ้านักเรียนจะต้องเดินทางไกล จากเดิมที่บ้านห่างจากโรงเรียนไม่ถึง 1 กม. ต้องเดินทางไกลกว่าเดิมมากขึ้น จะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ปกครองมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น และเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยระหว่างการเดินทางด้วย
สอดคล้องกับ น.ส.ซาวีรา เบ็ญลาเตะ ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านทำนบ สภป.นธ.3 อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ซึ่งกล่าวว่า ทั้งไม่เห็นด้วย และเห็นด้วยในบางประเด็น เนื่องจากการยุบโรงเรียนจะส่งผลใน 2 ลักษณะ อย่างแรกคือ จะเพิ่มศักยภาพทางการเรียนแก่ตัวนักเรียนเอง และลดปัญหาความไม่พร้อมในด้านงบประมาณ เนื่องจากโรงเรียนขนาดเล็กมีนักเรียนน้อย งบประมาณสนับสนุน หรือค่าหัวเด็กก็จะน้อยไปตามจำนวน ส่งผลให้เด็กขาดสื่อการสอน หรืออุปกรณ์การเรียน และทำให้เด็กที่อยู่โรงเรียนขนาดเล็กขาดโอกาสในการเรียนรู้น้อยลง
แต่อีกมุมหนึ่ง ผอ.ซาวีรา กลับมองว่า การยุบโรงเรียนขนาดเล็กจะส่งผลต่อผู้ปกครองของนักเรียนโดยตรง ซึ่งผู้ปกครองเองก็ต้องการที่จะให้ลูกหลานเรียนใกล้บ้าน เนื่องจากระยะทางการไปส่งลูกหลานเรียนหนังสือ ความพร้อมในเรื่องรายได้ส่งเสียค่าเล่าเรียนของบุตรหลาน และความผูกพันระหว่างโรงเรียน และคนในหมู่บ้าน
“ทางออกที่ดีสุดของการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก คือ รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องงบประมาณ และไม่ทอดทิ้งโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะนั่นจะยิ่งเน้นย้ำให้เห็นถึงความไม่พร้อมในเรื่องระบบการศึกษาของไทย” ผอ.โรงเรียนบ้านทำนบกล่าว
ด้านนางดารี ประหยัดทรัพย์ ครูโรงเรียนบ้านท่าโพธิ์ ต.ท่าโพธิ์ อ.สะเดา จ.สงขลา กล่าวไม่เห็นด้วยกับการยุบโรงเรียนขนาดเล็กว่า จะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ รัฐบาลน่าจะช่วยเหลือในเรื่องนี้ ตนรู้สึกสงสารเด็กในชุมชนที่จะต้องย้าย หรือหาโรงเรียนใหม่ที่ไกลจากบ้าน และมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งอาจส่งผลทำให้เด็กบ้างคนไม่ได้เล่าเรียนต่อ อาจจะต้องอยู่บ้านแทน ถ้าหากโรงเรียนขนาดเล็กเปิดสอนปกติจะเปิดโอกาสให้เด็กที่ด้อยโอกาสในการเรียนได้มีการศึกษา พนักงาน และข้าราชการครูจะได้สอนในโรงเรียนเดิมไม่ต้องโยกย้ายไปตามโรงเรียนต่างๆ
กรณีที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แจ้งว่ามีนโยบายที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ ที่มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่า 60 คน และให้เด็กนักเรียนไปเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ นายชลำ อรรถธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า สำหรับในส่วนของ จ.ภูเก็ต มี 4 โรงเรียนที่เข้านโยบายดังกล่าว ประกอบด้วย โรงเรียนเกาะนาคา มีนักเรียน จำนวน 15 คน โรงเรียนเกาะโหลน มีนักเรียน จำนวน 12 คน ซึ่งโรงเรียนทั้ง 2 แห่งตั้งอยู่บนเกาะ ตรงส่วนนี้เราไม่มีโยบายที่จะยุบ เนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องของการเดินทางของนักเรียนที่จะมาเรียนบนบก
ส่วนโรงเรียนอีก 2 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านโคกวัดใหม่ มีนักเรียน จำนวน 49 คน กับโรงเรียนบ้านในทอน มีนักเรียน จำนวน 17 คน เราจะต้องถามความเห็นต่อทางคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน ว่า ระหว่างยุบกับไม่ยุบสถานศึกษาทั้ง 2 แห่งดังกล่าว อย่างไหนดีกว่ากัน ซึ่งเราก็ต้องกลับมาคุยถึงผลดีผลเสียอีกครั้ง โดยเราจะยึดผลประโยชน์ของเด็กกับผู้ปกครองเป็นหลัก
“บางโรงเรียนก็ไม่คุ้มค่าในการจัดการศึกษา เด็กสามารถที่จะไปเรียนโรงเรียนอื่นได้ อย่างโรงเรียนโคกวัดใหม่ ถ้าชุมชนบอกว่าให้ยุบได้ เราก็มีรถตู้บริการในการรับส่งเด็กก็จะไม่เดือดร้อน แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าพูดถึงศักยภาพของโรงเรียนใน จ.ภูเก็ต แล้วเรายังดูแลตัวเองได้ ไม่เป็นปัญหา ประกอบกับทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตก็ได้ว่าจ้างครูกว่า 200 คน ส่งไปตามโรงเรียนต่างๆ ทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ทำให้เรามีครูเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน” นายชลำกล่าว
ขณะเดียวกัน คณะกรรมการสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ เห็นด้วยว่ายุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก แต่รัฐต้องบริหารจัดการไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเด็กนักเรียน และผู้ปกครอง เนื่องจากปัจจุบัน ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้ามาเล่าเรียนในตัวเมืองเพิ่มขึ้น
นางประหยัด ศรีบุญชู คณะกรรมการสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า ความคิดเห็นส่วนตัวของตนซึ่งเคยเป็นข้าราชการครู และเป็นผู้บริหารโรงเรียนมาก่อน เห็นด้วยที่จะให้มีการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก เนื่องจากในปัจจุบัน สังคมมีความเจริญมากขึ้น ผู้ปกครองส่วนใหญ่ตามชนบทห่างไกลจะนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนในเมืองกันเพิ่มขึ้น โดยเห็นได้ในหลายพื้นที่ และบางโรงเรียนมีรถของโรงเรียนรับส่งนักเรียนถึงบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ปกครอง
คณะกรรมการสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ ยังกล่าวอีกว่า และจากที่เคยเป็นข้าราชการครูและได้เห็นการยุบควบรวมโรงเรียนมาก่อนหน้านี้ในพื้นที่ จ.กระบี่ สามารถทำได้ดี เด็กมีการเรียนที่ดีขึ้น ครูก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น สามารถทำการสอนเรียนได้ตรงตามความถนัดของครู ซึ่งต่างกับก่อนที่จะมีการยุบควบรวม ครูคนเดียวต้องทำหน้าที่หลายอย่าง ตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงภารโรงก็มี และที่สำคัญ การบริหารจัดการของครูก็ไม่ต่างจากโรงเรียนใหญ่ๆ ที่สำคัญคือ โรงเรียนเล็กส่วนใหญ่จะเป็นลูกหลานของแรงงานต่างถิ่นมีการย้ายมาย้ายไปตลอด
นางประหยัด กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับความคิดเห็นของตนเองอาจจะไม่ถูกใจผู้ปกครองนัก แต่ด้วยความเป็นจริง และไม่สามารถปฏิเสธได้ก็คือ ผู้ปกครองในพื้นที่ชนบทส่งลูกหลานเข้ามาเรียนในเมืองกันหมด จึงทำให้โรงเรียนมีขนาดเล็กลง และบางแห่งมีนักเรียนน้อยจนต้องปิดโรงเรียน แต่ทั้งนี้ การยุบควบรวมโรงเรียนให้ได้ผลดี ทางรัฐบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการบริหารจัดการที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อนักเรียน เนื่องจากหากมีการยุบรวมโรงเรียนก็ทำให้การเดินทางไกลลำบากมากขึ้น รัฐต้องเข้ามาดูแลด้วย ไม่ใช่ยุบรวมแล้วแล้วก็จบกัน ต้องติดตามผลกระทบต่อนักเรียนที่ตามมา และแก้ไขด้วย
ด้านนายบุญเสริม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ความเห็นว่า โดยส่วนตัวมีทั้งส่วนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ส่วนที่เห็นด้วย เพราะโรงเรียนขนาดเล็กจะมีความพร้อมด้านการศึกษาน้อยกว่าโรงเรียนที่ใหญ่กว่า ทั้งด้านอุปกรณ์การเรียน บุคลากร และโอกาสทางการศึกษาต่างๆ นอกจากนี้ สำหรับในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การรวบรวมนักเรียนที่กระจัดกระจายอยู่ตามโรงเรียนต่างๆ มาเรียนรวมกันที่โรงเรียนขนาดใหญ่กว่า น่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่า เพราะมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ทั้งบุคลากร และเครื่องไม้เครื่องมือ เรื่องคุณภาพการศึกษา โรงเรียนที่มีขนาดใหญ่กว่า มีเครื่องมือและอุปกรณ์การเรียนเยอะกว่า ย่อมจะดีกว่า
และในส่วนที่ไม่เห็นด้วย คือ จะเกิดข้อเสียตามมา โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและโรงเรียน รวมทั้งความสะดวกของประชาชนในพื้นที่ จึงเป็นหน้าที่ของ สพฐ.ที่จะต้องชี้แจงให้ประชาชนในแต่ละชุมชนเข้าใจ เนื่องจากในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีพื้นที่ยากจนอยู่ ถ้านักเรียนจะต้องเดินทางไกล จากเดิมที่บ้านห่างจากโรงเรียนไม่ถึง 1 กม. ต้องเดินทางไกลกว่าเดิมมากขึ้น จะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ปกครองมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น และเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยระหว่างการเดินทางด้วย
สอดคล้องกับ น.ส.ซาวีรา เบ็ญลาเตะ ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านทำนบ สภป.นธ.3 อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ซึ่งกล่าวว่า ทั้งไม่เห็นด้วย และเห็นด้วยในบางประเด็น เนื่องจากการยุบโรงเรียนจะส่งผลใน 2 ลักษณะ อย่างแรกคือ จะเพิ่มศักยภาพทางการเรียนแก่ตัวนักเรียนเอง และลดปัญหาความไม่พร้อมในด้านงบประมาณ เนื่องจากโรงเรียนขนาดเล็กมีนักเรียนน้อย งบประมาณสนับสนุน หรือค่าหัวเด็กก็จะน้อยไปตามจำนวน ส่งผลให้เด็กขาดสื่อการสอน หรืออุปกรณ์การเรียน และทำให้เด็กที่อยู่โรงเรียนขนาดเล็กขาดโอกาสในการเรียนรู้น้อยลง
แต่อีกมุมหนึ่ง ผอ.ซาวีรา กลับมองว่า การยุบโรงเรียนขนาดเล็กจะส่งผลต่อผู้ปกครองของนักเรียนโดยตรง ซึ่งผู้ปกครองเองก็ต้องการที่จะให้ลูกหลานเรียนใกล้บ้าน เนื่องจากระยะทางการไปส่งลูกหลานเรียนหนังสือ ความพร้อมในเรื่องรายได้ส่งเสียค่าเล่าเรียนของบุตรหลาน และความผูกพันระหว่างโรงเรียน และคนในหมู่บ้าน
“ทางออกที่ดีสุดของการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก คือ รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องงบประมาณ และไม่ทอดทิ้งโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะนั่นจะยิ่งเน้นย้ำให้เห็นถึงความไม่พร้อมในเรื่องระบบการศึกษาของไทย” ผอ.โรงเรียนบ้านทำนบกล่าว
ด้านนางดารี ประหยัดทรัพย์ ครูโรงเรียนบ้านท่าโพธิ์ ต.ท่าโพธิ์ อ.สะเดา จ.สงขลา กล่าวไม่เห็นด้วยกับการยุบโรงเรียนขนาดเล็กว่า จะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ รัฐบาลน่าจะช่วยเหลือในเรื่องนี้ ตนรู้สึกสงสารเด็กในชุมชนที่จะต้องย้าย หรือหาโรงเรียนใหม่ที่ไกลจากบ้าน และมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งอาจส่งผลทำให้เด็กบ้างคนไม่ได้เล่าเรียนต่อ อาจจะต้องอยู่บ้านแทน ถ้าหากโรงเรียนขนาดเล็กเปิดสอนปกติจะเปิดโอกาสให้เด็กที่ด้อยโอกาสในการเรียนได้มีการศึกษา พนักงาน และข้าราชการครูจะได้สอนในโรงเรียนเดิมไม่ต้องโยกย้ายไปตามโรงเรียนต่างๆ